ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ภาพทิวทัศน์ซูเปอร์เทเลโฟโต้: “ถ้ำ” ลึกลับในช่องเขาที่ถูกปกคลุมไปด้วยตะไคร่น้ำ

2020-09-10
1
760
ในบทความนี้:

คำถาม: ภาพที่อยู่ด้านบนเป็นภาพของ ก) ถ้ำลึก หรือ ข) ช่องเขาที่มีหน้าผาสูงชัน พอจะเข้าใจได้หากคุณคิดว่าคำตอบคือข้อ ก) แต่ความจริงแล้วนี่เป็นภาพของทารุมาเอะ กาโระ ซึ่งเป็นหุบเขาหินภูเขาไฟที่ปกคลุมไปด้วยตะไคร่น้ำดูแปลกตาในเมืองโทมะโกไม ฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น Katsuhiro Yamanashi ช่างภาพทิวทัศน์จะมาแสดงให้ดูว่าเขาใช้เลนส์ซูมซูเปอร์เทเลโฟโต้ในการถ่ายภาพบรรยากาศอันแสนลึกลับของสถานที่แห่งนี้ได้อย่างไร (เรื่องโดย: Katsuhiro Yamanashi, Digital Camera Magazine)

ช่องเขาทารุมาเอะ กาโระ ในฮอกไกโด

EOS 5D Mark IV/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 400 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 0.8 วินาที, EV -1.3)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ
อุปกรณ์อื่นๆ: ฟิลเตอร์ PL 

 

เรื่องราวเบื้องหลังภาพนี้:

ทารุมาเอะ กาโระเป็นช่องเขาที่มีกำแพงหินปกคลุมไปด้วยตะไคร่น้ำสีเขียวอ่อนนุ่มอย่างหนาแน่น ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาทางทิศใต้ของภูเขาทารุมาเอะ เนื่องจากอยู่ลึกเข้าไปในหุบเขา บรรยากาศจึงเต็มไปด้วยความลึกลับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมต้องการจะถ่ายภาพและสื่อออกไป เพื่อให้ได้ผลเช่นนั้น ผมจึงตัดสินใจใช้เลนส์ซูมซูเปอร์เทเลโฟโต้เพื่อเข้าใกล้ส่วนที่ลึกที่สุดของช่องเขาซึ่งมีหมอกบางๆ จากแม่น้ำล่องลอยอยู่

ผมตั้งใจจะถ่ายภาพหินในสามจุด (ดู “เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพ/การใช้เลนส์” ด้านล่าง) จากมุมหนึ่งเพื่อใช้เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ถ่ายก้อนหินทั้งสามได้ด้วยมุมรับภาพที่แคบ ผมจึงต้องตั้งขาตั้งกล้องในแม่น้ำที่มีน้ำไหล ในสถานการณ์เช่นนี้ กระแสน้ำอาจทำให้ขาตั้งกล้องของคุณเคลื่อนตัวได้ ดังนั้น จึงควรมีวิธีป้องกันการสั่นของกล้องด้วยตามความจำเป็น ผมหลีกเลี่ยงการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำจนเกินไป

 

ทางยาวโฟกัส: 400 มม.

เลนส์ที่ผมใช้

EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM

หมอกจากแม่น้ำปรากฏให้เห็นเฉพาะในส่วนที่ลึกที่สุดของช่องเขาเท่านั้น เพื่อให้หมอกนั้นโดดเด่นออกมา ผมเลือกถ่ายภาพโดยใช้ทางยาวโฟกัสยาวสุดที่อุปกรณ์ที่ผมใช้ในขณะนั้นสามารถทำได้ นั่นคือ 400 มม. ของเลนส์ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM ปรากฏว่าได้มุมรับภาพที่สมบูรณ์แบบซึ่งมองเห็นกระแสน้ำในเฟรมภาพได้มากพอ กำลังขยาย 4 เท่าของเลนส์นี้ทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม และผมก็พอใจกับกำลังในการแยกรายละเอียดของเลนส์นี้


เลนส์ในเวอร์ชันเมาท์ RF สำหรับผู้ที่ใช้ระบบ EOS R:

RF100-500mm f/4.5-7.1L IS USM 

 

เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพ/การใช้เลนส์: ใช้เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพให้เป็นประโยชน์

แผนภาพด้านบนแสดงให้เห็นว่าฉากเป็นอย่างไรเมื่อซูมออกมา สี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดงแสดงพื้นที่ที่ผมซูมเข้าไปในการถ่ายภาพแรกของบทความนี้
ผมจัดเฟรมภาพให้หินในสามส่วนต่อไปนี้เป็นจุดสนใจหลัก

(1) กำแพงหินที่เปิดเป็นช่อง
(2) หินส่วนที่เว้าอยู่ด้านหลังทางซ้ายมือ และ
(3) หินที่อยู่ด้านในสุดซึ่งทำให้เกิดรูปสามเหลี่ยม

ทางยาวโฟกัสแบบซูเปอร์เทเลโฟโต้ (400 มม.) ทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพที่สามารถดึงเอาโขดหินด้านหลังออกมาได้และทำให้ดูเหมือนหินเหล่านั้นซ้อนกันอย่างใกล้ชิดขึ้น ทำให้เกิดเป็นภาพของช่องเขาที่สื่อถึงความลึกคล้ายถ้ำรวมทั้งความรู้สึกน่าหวั่นกลัวถึงสิ่งที่มองไม่เห็นซึ่งอยู่ไกลออกไป

การรวมเอาข้อ (4) ซึ่งเป็นก้อนหินที่เต็มไปด้วยตะไคร่น้ำในโฟร์กราวด์ด้านซ้ายของภาพเข้าไปด้วยช่วยกระตุ้นให้รู้สึกถึงสิ่งแวดล้อมที่เปียกชื้น


คุณอาจสนใจบทความต่อไปนี้: 
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (3): ดึงความสามารถสูงสุดของเลนส์มาใช้

 

การเปิดรับแสง: ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำและค่าการชดเชยแสงเป็นลบ

เบลอแม่น้ำที่กำลังไหลเพื่อเพิ่มมิติให้กับภาพ

ผมใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 0.8 วินาทีเพื่อเปลี่ยนให้แม่น้ำที่กำลังไหลกลายเป็นภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว เนื่องจากผมตั้งขาตั้งกล้องในแม่น้ำ ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำจนเกินไปอาจทำให้เกิดการสั่นของกล้องที่เห็นได้ชัดเจน ผมจึงเพิ่มค่าความไวแสง ISO ให้เป็น 800


ค่าการชดเชยแสงเป็นลบช่วยลดการสูญเสียรายละเอียดของกระแสน้ำไหล

EV ±0

EV -1.3

ในองค์ประกอบภาพนี้มีก้อนหินสีเข้มหลายรูปแบบ ในโหมดวัดแสงบางโหมด กล้องจะเปิดรับแสงตามส่วนที่มืดของก้อนหิน ทำให้รายละเอียดที่สว่างกว่าในกระแสน้ำไหลได้รับแสงมากเกินไปและกลายเป็นส่วนสว่างโพลน ในภาพนี้ ผมใช้ค่าชดเชยแสงเป็นลบ (EV -1.3) เพื่อคงรายละเอียดในส่วนที่เป็นไฮไลต์เอาไว้

แสงแดดที่สะท้อนออกมาจากตะไคร่น้ำและก้อนหินที่เปียกชื้นอาจทำให้เกิดเป็นแสงสว่างโพลนได้ด้วย แต่สามารถป้องกันได้โดยการใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (ฟิลเตอร์ PL)

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้เลนส์เทเลโฟโต้เพื่อเพิ่มความแปลกใหม่ให้ภาพทิวทัศน์ของคุณได้ที่:
สร้างฉากตระการตาด้วยเส้นนำสายตาระยะเทเลโฟโต้
เทคนิคของเลนส์เทเลโฟโต้: การสร้างโบเก้ซ้อนกันหลายชั้น
เทคนิคการถ่ายภาพมาโครเทเลโฟโต้: สร้างจุดสนใจให้ใบไม้ธรรมดาๆ


หากคุณชื่นชอบการถ่ายภาพแม่น้ำลำธารท่ามกลางธรรมชาติเขียวขจี นี่คือเคล็ดลับเพิ่มเติมในการถ่ายภาพความประทับใจให้ได้ดังที่คุณจินตนาการ:
การตั้งค่ากล้องสำหรับการถ่ายภาพแม่น้ำและลำธารในม่านหมอก
เทคนิคในการใช้รูปแบบภาพเพื่อยกระดับการถ่ายภาพทิวทัศน์

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Katsuhiro Yamanashi

เกิดที่กรุงโตเกียวในปี 1945 Yamanashi ทำงานที่สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งหลังจบการศึกษาจาก Tokyo College of Photography (ปัจจุบันมีชื่อว่า Tokyo Polytechnic University) และเดินทางไปทั่วญี่ปุ่นเพื่อเยี่ยมชมและถ่ายภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงนานถึงเวลา 4 ปี หลังลาออกจากบริษัท เขาผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ และท้ายที่สุดได้ก่อตั้งบริษัทของตัวเองที่มีชื่อว่า Yamanashi Photo ในปี 1989 นอกจากงานภาพถ่ายสต็อกแล้ว เขายังถ่ายภาพให้ปฏิทินบริษัท นิตยสารกล้องและการท่องเที่ยว และโปสเตอร์สำหรับการรถไฟญี่ปุ่นอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา