ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ใช้เลนส์ซูม f/2.8 อย่างมืออาชีพ (4): การถ่ายภาพทิวทัศน์ในสภาวะแสงน้อย

2025-05-20
0
27

ในซีรีย์บทความที่มี 4 ตอนนี้ เราจะมาแบ่งปันไอเดียในการนำความสามารถของเลนส์ซูม f/2.8 มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงเคล็ดลับในการตั้งค่าอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ภาพที่ดียิ่งขึ้น เพราะจะทำสิ่งที่เลนส์ซูมแบบปรับรูรับแสงทำได้ไปทำไม หากเลนส์ซูมที่มีรูรับแสงคงที่ f/2.8 ของคุณสามารถทำได้มากกว่านั้น

ในตอนที่ 3 เราได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ดวงดาวที่ระยิบระยับกันไปแล้ว ในตอนที่ 4 นี้ เราจะมาแบ่งปันไอเดียในการถ่ายภาพทิวทัศน์ในสภาวะแสงน้อยอย่างสร้างสรรค์ (เรื่องโดย: Chikako Yagi, Digital Camera Magazine)

บทความนี้คือตอนที่ 4 จากซีรีย์ที่มีทั้งหมด 4 ตอน คลิกที่ลิงก์เพื่ออ่านตอนอื่นๆ! 
- ตอนที่ 1: การทำให้ตัวแบบของคุณโดดเด่น
- ตอนที่ 2: การสร้างความลึกและความมีมิติ
- ตอนที่ 3: ลองถ่ายภาพดวงดาว

 

ในบทความนี้:

ใช้ประโยชน์จากช่วงเวลาสำคัญได้อย่างเต็มที่ยิ่งขึ้น

พระอาทิตย์ขึ้น

EOS R5/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/100 วินาที, EV-0.3)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ


พระอาทิตย์ตก

EOS R5/ RF24-70mm f/2.8L IS USM/ FL: 29 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/60 วินาที, EV-1.3)/ ISO 160/ WB: อัตโนมัติ

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพกลางแจ้ง คือ ระหว่าง "ช่วงเวลาสำคัญ" ซึ่งคือช่วงเวลาก่อนและหลังพระอาทิตย์ขึ้นและตกไม่นาน รวมถึง "ช่วงเวลาทอง" และช่วงเวลา "Blue Hour" เมื่อดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำใกล้เส้นขอบฟ้า ไม่เพียงทำให้ท้องฟ้ามีสีสันสวยงามน่าทึ่งเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดแสงที่นุ่มนวลสวยงามอีกด้วย อย่างไรก็ตาม สภาวะแสงน้อยเหล่านี้ยังทำให้การเปิดรับแสงอย่างเพียงพอเป็นเรื่องท้าทายอีกด้วย

เนื่องจากมีรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ เลนส์ซูม f/2.8 จึงช่วยให้คุณสามารถปรับแสงที่เข้าสู่เลนส์ให้มากที่สุดได้ ทำให้การตั้งค่าการเปิดรับแสงมีความยืดหยุ่นมากขึ้น คุณสามารถถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นได้เพื่อหลีกเลี่ยงการสั่นของกล้องเมื่อถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง รวมถึงสามารถใช้ความไวแสง ISO ต่ำๆ เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดขึ้น ประโยชน์ที่ได้รับจากเลนส์นี้จะชัดเจนเป็นพิเศษเมื่อใช้เลนส์เทเลโฟโต้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นเพื่อป้องกันการสั่นของกล้องเมื่อเปรียบเทียบกับการถ่ายภาพโดยใช้ทางยาวโฟกัสที่สั้นลง

ต่อไปนี้คือไอเดียการถ่ายภาพทิวทัศน์ในช่วงเวลาสำคัญที่ควรลองทำ!

 

ไอเดียที่ 1: เล่นกับความเปรียบต่างและสีสัน

น่าประทับใจ: การตั้งค่าการเปิดรับแสงให้มืดลงและโบเก้

EOS R5/ RF24-70mm f/2.8L IS USM/ FL: 46 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/40 วินาที, EV-1.3)/ ISO 100/ WB: แมนนวล

สีสันอันนุ่มละมุนที่เกิดจากแสงสุดท้ายของดวงอาทิตย์ที่กำลังลับขอบฟ้า ทำให้ได้ฉากหลังที่สวยงามน่าประทับใจสำหรับภาพซิลูเอตต์ของดอกไม้เหล่านี้ ฉันได้เลือกใช้ค่าการเปิดรับแสงที่มืดลงและเบลอโฟร์กราวด์ ภาพที่ได้จึงมีบรรยากาศที่ดูลึกลับมากขึ้น

เคล็ดลับ: หากไม่ใช้โหมดการเปิดรับแสงแบบแมนนวล ให้ใช้การชดเชยแสงเพื่อปรับความสว่าง


นุ่มนวลและชวนฝัน: การเปิดรับแสงที่สมจริงสำหรับท้องฟ้า

EOS R5/ RF24-70mm f/2.8L IS USM/ FL: 46 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/5 วินาที, EV-1.7)/ ISO 100/ WB: แมนนวล

ในภาพนี้ ฉันปรับการตั้งค่าการเปิดรับแสงเพื่อให้ความสว่างของท้องฟ้าในภาพใกล้เคียงกับสิ่งที่ฉันเห็นด้วยตาตนเองมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้คือภาพที่ดูสว่างและสร้างบรรยากาศชวนฝันมากขึ้น

เคล็ดลับ: เราอาจต้องปรับการตั้งค่าบ้างจนกว่าจะค้นพบสมดุลที่ลงตัว ใช้การชดเชยแสงเพื่อปรับความสว่างได้ง่ายขึ้น ตรวจดูหน้าจอ Live View และทดลองถ่ายภาพสักสองสามภาพโดยใช้ระดับแสงที่ต่างกัน


เปลี่ยนสมดุลแสงขาวเพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่ดูแตกต่าง

EOS R5/ RF24-70mm f/2.8L IS USM/ FL: 46 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/160 วินาที, EV-2)/ ISO 400/ WB: แมนนวล

ฉันปรับอุณหภูมิสีด้วยตนเองเพื่อให้ภาพมีโทนสีที่เยือกเย็นขึ้น เพียงแค่เปลี่ยนสมดุลแสงขาวก็สามารถเปลี่ยนความรู้สึกของภาพได้อย่างมาก!

 

 

ไอเดียที่ 2: ออกตามหาเงาสะท้อน

โดยปกติ แหล่งน้ำจะนิ่งสนิทกว่าในเวลาเช้าตรู่และตอนเย็นเนื่องจากมีลมน้อย ช่วงเวลาที่มีแสงน้อยเหล่านี้จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพสะท้อนด้วยเช่นกัน!

EOS R5 Mark II/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 3.2 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: แมนนวล/ บนขาตั้งกล้อง

คุณไม่จำเป็นต้องใช้รูรับแสงแคบเพื่อถ่ายภาพเงาสะท้อนเสมอไป ในภาพนี้ ระยะชัดตื้นที่ f/2.8 ทำให้ต้นกกในแบ็คกราวด์อยู่นอกระยะโฟกัส และเส้นระหว่างโฟร์กราวด์และแบ็คกราวด์เบลอจนเกิดเอฟเฟ็กต์แบบแอ็บสแตรกต์ คุณยังสามารถใช้การซูมให้เป็นประโยชน์เพื่อทดลองจัดเฟรมภาพในรูปแบบต่างๆ ได้ นอกจากนี้ ทางยาวโฟกัสสั้นๆ จะทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวามากขึ้น และทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้นจะช่วยดึงความสนใจไปที่รายละเอียดต่างๆ มากขึ้น


เคล็ดลับระดับมือโปรข้อที่ 1: รอคอยช่วงเวลาที่ไม่มีลม

มีลมพัดเบาๆ
หลีกเลี่ยงคลื่นบนผิวน้ำด้วยการถ่ายภาพในช่วงเวลาที่ไม่มีลม นอกจากเลือกช่วงเวลาในการถ่ายภาพแล้ว ควรมองหาจุดถ่ายภาพที่จะได้รับผลกระทบจากลมน้อย เช่น สถานที่ที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง


เคล็ดลับระดับมือโปรข้อที่ 2: ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

การใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงจะทำให้ภาพที่ได้ดูแข็งและไม่เป็นธรรมชาติ ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเพื่อให้การเคลื่อนไหวของน้ำดูนุ่มนวลขึ้น

 

ไอเดียที่ 3: นำแสงไฟในเมืองมาผสมผสาน

หากคุณมองเห็นแสงไฟในเมืองที่ใกล้ที่สุดจากจุดที่คุณอยู่ ให้รวมเอาแสงไฟเหล่านั้นไว้ในภาพด้วยเพื่อสร้างภาพถ่ายกลางคืนที่สว่างไสวระยิบระยับ!

EOS R5/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 70 มม./ Manual exposure (f/2.8, 15 วินาที)/ ISO 1600/ WB: แมนนวล/บนขาตั้งกล้อง

ข้อดีของเลนส์ซูมรูรับแสงคงที่ f/2.8 ในสภาวะแสงน้อยจะยิ่งชัดเจนมากขึ้นสำหรับการถ่ายภาพกลางคืน เนื่องจากฟังก์ชั่นการซูมช่วยให้คุณจัดองค์ประกอบภาพได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะซูมออกเพื่อถ่ายภาพโดยรวมอันน่าประทับใจ หรือซูมเข้าเพื่อดึงความสนใจไปยังตัวแบบที่ต้องการ!


เปลี่ยนแหล่งกำเนิดแสงให้เป็นวงกลมโบเก้

EOS R5 Mark II/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 13 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: แมนนวล/บนขาตั้งกล้อง

เปลี่ยนแหล่งกำเนิดแสงจากความศิวิไลซ์ที่อยู่ใกล้เคียงให้กลายเป็นวงกลมโบเก้ชวนฝัน โดยใช้ f/2.8 เพื่อทำให้แสงอยู่นอกโฟกัส ใช้ปัจจัยที่ช่วยให้โบเก้สวยงามขึ้นตามที่เราได้เรียนรู้ในตอนที่ 1 เพื่อสร้างบรรยากาศชวนฝันยิ่งขึ้น!


เคล็ดลับระดับมือโปร: ระวังแสงสว่างโพลน

EOS R5/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 70 มม./ Manual exposure (f/2.8, 30 วินาที)/ ISO 3200/ WB: แมนนวล

ใช้ฟังก์ชั่นเตือนบริเวณสว่างโพลนหรือฮิสโตแกรม เพื่อค้นหาการตั้งค่าการเปิดรับแสงที่จะไม่ทำให้รายละเอียดในส่วนสำคัญของภาพมีแสงจ้าเกินพอดีจนไม่สามารถแก้ไขได้ (อ่านได้ที่: วิธีหลีกเลี่ยงส่วนสว่างโพลนที่ไม่จำเป็น)

 

หากต้องการทราบไอเดีย เคล็ดลับ และฟังก์ชั่นของกล้องอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพยามค่ำคืน อ่านได้ที่:
- 3 ฟังก์ชั่นของกล้องที่เป็นประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืน
- 3 วิธีสำหรับมือใหม่เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้ภาพถ่ายทิวทัศน์เมืองยามค่ำคืน
- ถ่ายภาพพอร์ตเทรตยามค่ำคืนให้สวยงามโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องและแฟลช

 

สรุป: เคล็ดลับการถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย
- ในสภาวะแสงน้อย เลนส์ซูม f/2.8 ให้ความยืดหยุ่นทั้งในเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพและการตั้งค่าการเปิดรับแสง
- เทคนิคง่ายๆ ในการเปลี่ยนภาพถ่ายในสภาวะแสงน้อย: วงกลมโบเก้ เปลี่ยนสมดุลแสงขาว และเปลี่ยนสมดุลการเปิดรับแสง
- ลองถ่ายภาพเงาสะท้อนบนผิวน้ำ: น้ำจะนิ่งสงบกว่าในช่วงเวลาที่มีแสงน้อย (ช่วงเช้าตรู่และตอนเย็น)

 

เลนส์ซูม f/2.8 ที่แนะนำ

สามเลนส์ f/2.8L สุดเทพ

Rf15-35mm f/2.8L IS USM, RF24-70mm f/2.8L IS USM และ RF70-200mm f/2.8L IS USM

หากคุณวางแผนที่จะลงทุนซื้อเลนส์ซูม f/2.8 ที่ดีที่สุด เลนส์ซีรีย์ L ระดับมืออาชีพเหล่านี้ได้รับการผลิตให้มีความทนทานพร้อมคุณภาพด้านออพติคอลที่ดีที่สุด เลนส์เหล่านี้จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ใช้งานจำนวนมากที่ถ่ายภาพเป็นอาชีพ
- RF15-35mm f/2.8L IS USM
- RF24-70mm f/2.8L IS USM
- RF70-200mm f/2.8L IS USM


RF16-28mm f/2.8 IS STM and RF28-70mm f/2.8 IS STM

เลนส์เหล่านี้มีขนาดเล็กกว่า เบากว่า และได้รับการออกแบบมาให้มีราคาที่จับต้องได้สำหรับผู้ใช้จำนวนมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันฝุ่นละอองและหยดน้ำได้ แม้ว่าจะแตกต่างกันในระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับเลนส์ L ก็ตาม
- RF16-28mm f/2.8 IS STM
- RF28-70mm f/2.8 IS STM

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Chikako Yagi

Chikako Yagi มีอายุเพียง 20 ปีตอนที่เธอเริ่มเรียนรู้การถ่ายภาพด้วยตัวเองโดยใช้กล้องฟิล์ม SLR เธอออกจากงานประจำมาเป็นช่างภาพทิวทัศน์เต็มตัวในปี 2016 เธอเคยฝึกงานกับช่างภาพชื่อดังหลายราย เช่น Kiyoshi Tatsuno และ Tomotaro Ema และยังเป็นสมาชิกของชมรม Shizensou Club ซึ่งก่อตั้งโดย Kiyoshi Tatsuno และเป็นหนึ่งในชมรมช่างถ่ายภาพทิวทัศน์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ในปี 2013 เธอได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 10 อันดับช่างภาพฝีมือดีของชมรม Tokyo Camera Club

www.chikakoyagi.com
Instagram: @chikako_yagi

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา