ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

พระอาทิตย์ทรงกลด: เคล็ดลับและเทคนิคการถ่ายภาพรวมถึงการปรับแต่ง

2025-01-27
2
103

แสงทรงกลดรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์เป็นปรากฏการณ์แสงอันน่าตื่นตาตื่นใจที่ทำให้ถ่ายภาพได้สวยงามอย่างน่าทึ่ง แม้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับอากาศเย็น แต่ปรากฏการณ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกฤดูกาล และเคยมีผู้พบเห็นมาแล้วแม้กระทั่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอากาศร้อนชื้น! ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้กันว่าพระอาทิตย์ทรงกลดเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงตัวอย่างเทคนิคการถ่ายภาพปรากฏการณ์นี้และขั้นตอนการปรับแต่งภาพ (เรื่องโดย: Chikako Yagi, Digital Camera Magazine)

EOS R5/ RF15-35mm f/2.8L IS USM/ FL: 15 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/800 วินาที, EV -0.7)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
สถานที่: สุสานโบราณไคโชชิสุกะ จังหวัดยามานาชิ/ ต้นเดือนเมษายน/ 12:50 น.

อาทิตย์ทรงกลดที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าสีครามเหนือหมู่ไม้ในภาพที่ดูราวกับภาพวาดอันเหนือจริงนี้ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ที่ 15 มม. ฉันลองจัดองค์ประกอบภาพหลายๆ แบบเพื่อให้ต้นไม้ที่ดูแปลกตาอยู่ในเฟรมภาพ ภาพที่ดูเหมือนอยู่เหนือกาลเวลาในอีกภพหนึ่งนี้ถ่ายโดยอาศัยกระบวนการขจัดองค์ประกอบออกไป ซึ่งทำให้ลักษณะเด่นอื่นๆ ทั้งหมดของสถานที่แห่งนี้ไม่ปรากฏอยู่ในภาพ

ในบทความนี้:

 

ขั้นตอนที่ 1: มองหาเมฆซีร์โรสเตรตัส (เมฆชั้นสูง)

เมื่อคุณเข้าใจสภาพอากาศที่ทำให้มีโอกาสเกิดพระอาทิตย์ทรงกลด คุณจะมีความพร้อมมากขึ้นในการมองหาปรากฏการณ์นี้

สภาวะที่ทำให้เกิดพระอาทิตย์ทรงกลด:
- เมื่อมีเมฆซีร์โรสเตรตัส (เมฆชั้นสูงบางๆ ที่ดูเหมือนม่านบางเบา) เป็นจำนวนมาก
- เมื่อพายุ แนวปะทะอากาศ หรือหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวใกล้เข้ามา

พระอาทิตย์ทรงกลดเป็นปรากฏการณ์แสงของสภาพอากาศที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อเมฆซีร์โรสเตรตัสที่มีรูปร่างเหมือนม่านบางๆ และเกิดจากผลึกน้ำแข็งขยายตัวจนครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง แสงทรงกลดเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อผลึกน้ำแข็งในก้อนเมฆทำให้แสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านเข้ามาเกิดการหักเหที่มุมใดมุมหนึ่ง แม้ปรากฏการณ์นี้จะสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีในประเทศญี่ปุ่น แต่จะเกิดขึ้นบ่อยกว่าในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิหรือช่วงต้นฤดูร้อนเมื่อแนวปะทะความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งทางใต้

เมฆหางเครื่องบินก็เกิดขึ้นในสภาวะเช่นเดียวกับอาทิตย์ทรงกลดเช่นกัน ดังนั้น หากคุณสังเกตเห็นว่ามีเมฆหางเครื่องบินบนท้องฟ้ามากขึ้นและเกิดขึ้นนานกว่าปกติ นี่คือสัญญาณว่าอากาศมีสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด หลังจากที่เห็นว่ามีเมฆหางเครื่องบินเป็นจำนวนมาก ฉันก็หันหน้าไปทางดวงอาทิตย์ ซึ่งมันเหลือเชื่อจริงๆ ที่มีแสงทรงกลดอยู่รอบๆ!

เคล็ดลับระดับมือโปร: ดูพยากรณ์เมฆ
ใช้เว็บไซต์หรือแอปพยากรณ์เมฆเพื่อตรวจดูเมฆชั้นสูง คุณสามารถใช้ Windy.com ซึ่งมีแอปสมาร์ทโฟนสำหรับทั้งอุปกรณ์ Apple และ Android

 

ขั้นตอนที่ 2: ถ่ายภาพด้วยเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์

24 มม. กว้างไม่พอสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ทั้งหมด

ระยะมุมกว้าง 24 มม. ของเลนส์ซูมมาตรฐานส่วนใหญ่จะไม่กว้างพอที่จะถ่ายภาพทั้งพระอาทิตย์ทรงกลดและทิวทัศน์ที่อยู่ด้านล่างได้

เมื่อเราเห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ดูงดงามแปลกตาอย่างพระอาทิตย์ทรงกลด สายตาของเราจะมองไปที่ปรากฏการณ์นั้นก่อน แต่ภาพของคุณจะโดดเด่นมากขึ้นหากทำให้พระอาทิตย์ทรงกลดเป็นตัวแบบรองแล้วหาองค์ประกอบอื่นในทิวทัศน์รอบๆ มาเป็นตัวแบบหลัก

ทางยาวโฟกัสที่เหมาะสมที่สุดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงอาทิตย์และขนาดของแสงทรงกลด แต่คุณจะถ่ายภาพได้ง่ายกว่าหากใช้เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์อย่าง RF15-35mm f/2.8L IS USM ซึ่งฉันใช้ถ่ายภาพหลักที่อยู่ด้านบน

เคล็ดลับการถ่ายภาพ

1. เปิดรับแสงโดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดส่วนที่สว่างเกินไป
แสงทรงกลดที่เกิดขึ้นรอบๆ ดวงอาทิตย์ทำให้ภาพนี้เป็นภาพที่มีความเปรียบต่างสูง หากคุณเปิดรับแสงในส่วนที่เป็นทิวทัศน์ อาจกลายเป็นการทำให้อาทิตย์ทรงกลดได้รับแสงมากเกินไปและมองไม่เห็นรายละเอียดในส่วนที่สว่าง 
- เปิดใช้งาน ฟังก์ชัน Highlight Tone Priority เพื่อปกป้องส่วนที่สว่างในภาพของคุณ 
- หากคุณถ่ายภาพในโหมดกึ่งอัตโนมัติ ให้ใช้ค่าการชดเชยแสงติดลบ ข้อควรจำ: คุณสามารถทำให้โฟร์กราวด์สว่างขึ้นได้ในภายหลังเสมอระหว่างการปรับแต่งภาพ
- แสดงฮิสโตแกรมและตรวจดูว่าภาพไม่มีส่วนสีขาวที่สว่างจ้ามากเกินไป คุณสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ฮิสโตแกรมและเคล็ดลับอื่นๆ ได้ที่ ทำความเข้าใจช่วงไดนามิกเรนจ์: วิธีหลีกเลี่ยงแสงสว่างโพลนที่ไม่จำเป็น

2. หลีกเลี่ยงการใช้ฟิลเตอร์เลนส์หากทำได้
ฟิลเตอร์เลนส์อาจทำให้เกิดแสงหลอกและแสงแฟลร์ ไม่ใช้เลยจะเป็นการดีที่สุด


ด้านล่างนี้คือลักษณะของภาพที่ได้จากกล้องก่อนการปรับแต่ง:

 

ขั้นตอนที่ 3: ลบหมอกออกไปในกระบวนการปรับแต่ง

×ไม่ควรทำ: ทำให้ภาพสว่างขึ้นทั้งภาพ
✓ควรทำ: ลบหมอกออกไปจากนั้นจึงทำให้เงาสว่างขึ้น

เมฆซีร์โรสเตรตัสมักดูเหมือนหมอกเนื่องจากมีปริมาณไอน้ำมาก หากคุณทำให้ภาพสว่างขึ้นมากเกินไปขณะพยายามทำให้ทิวทัศน์ในโฟร์กราวด์สว่างขึ้น อาจทำให้พื้นที่สว่างรอบๆ ดวงอาทิตย์กลายเป็นส่วนสว่างโพลน

หากซอฟต์แวร์ปรับแต่งภาพของคุณมีเครื่องมือลบหมอกก็สามารถใช้งานได้เลย! เครื่องมือนี้จะทำให้รูปร่างของแสงทรงกลดดูชัดเจนขึ้น ท้องฟ้าดูแจ่มใสขึ้นและมีสีครามชัดขึ้น รวมถึงช่วยลดแสงสว่างโพลนได้ในเวลาเดียวกัน จากนั้นเพิ่มความสว่างในส่วนเงาเพื่อให้โฟร์กราวด์สว่างขึ้น


การปรับแต่งภาพในเบื้องต้นของฉันด้วย Adobe Lightroom Classic

หลังจากนั้นฉันจึงปรับแต่งโทนสีตามที่ตนเองต้องการ 


ดูเคล็ดลับและเทคนิคการค้นหา การถ่ายภาพ และการปรับแต่งภาพปรากฏการณ์ทางสภาพอากาศได้ที่:
ทิวทัศน์ฤดูหนาวแสนมหัศจรรย์: เมื่อเกล็ดหิมะระยิบระยับราวอัญมณีกลายเป็นเสาแสงอาทิตย์
ถ่ายภาพตระการตาให้โดนใจ: น้ำตกเมฆ
การถ่ายภาพทิวทัศน์: เทคนิคในการถ่ายภาพพายุที่กำลังเคลื่อนตัว
เคล็ดลับสำหรับการถ่ายภาพรุ้งกินน้ำ

 

เลนส์ในบทความนี้


เลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์รุ่นอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
- RF14-35mm f/4L IS USM
- RF10-20mm f/4L IS STM
- RF15-30mm f/4.6-6.3 IS STM
- (สำหรับผู้ใช้กล้อง APS-C) RF-S10-18mm f/4.5-6.3 IS STM

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Chikako Yagi

Chikako Yagi มีอายุเพียง 20 ปีตอนที่เธอเริ่มเรียนรู้การถ่ายภาพด้วยตัวเองโดยใช้กล้องฟิล์ม SLR เธอออกจากงานประจำมาเป็นช่างภาพทิวทัศน์เต็มตัวในปี 2016 เธอเคยฝึกงานกับช่างภาพชื่อดังหลายราย เช่น Kiyoshi Tatsuno และ Tomotaro Ema และยังเป็นสมาชิกของชมรม Shizensou Club ซึ่งก่อตั้งโดย Kiyoshi Tatsuno และเป็นหนึ่งในชมรมช่างถ่ายภาพทิวทัศน์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ในปี 2013 เธอได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 10 อันดับช่างภาพฝีมือดีของชมรม Tokyo Camera Club

www.chikakoyagi.com
Instagram: @chikako_yagi

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา