ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

3 คุณสมบัติของกล้องสำหรับการจัดการรายละเอียดของภาพบริเวณสว่างและโทนน้ำหนักกลาง

2021-06-16
3
607
ในบทความนี้:

การรักษาและฟื้นฟูรายละเอียดจากบริเวณสว่างอาจทำได้ยาก พอถึงเวลาที่คุณจะใช้คอมพิวเตอร์ปรับแต่งภาพ ก็สายเกินไปแล้วที่จะแก้ไขบริเวณสว่างที่สว่างโพลน! ในบทความนี้ เราจะมาบอกเล่าคุณสมบัติที่มีประโยชน์สองข้อซึ่งจะช่วยรักษารายละเอียดของบริเวณสว่าง และคุณสมบัติอีกหนึ่งข้อที่จะปรับโทนน้ำหนักกลาง ซึ่งในบางฉากสามารถช่วยทำให้รายละเอียดดูโดดเด่นขึ้นมาได้ (เรื่องโดย: Takashi Karaki, Kazuo Nakahara, Digital Camera Magazine)

 

1. เตือนบริเวณสว่างโพลน

หาการตั้งค่านี้ได้ที่: เมนู PLAY

ช่องมองภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ (EVF) มีประโยชน์อย่างมากในการช่วยคุณประเมินระดับแสง และช่องมองภาพที่มีความละเอียดสูงเช่นรุ่นที่มีในกล้องระบบ EOS R ระดับสูง จะทำให้มองเห็นฉากได้สว่างและชัดเจนเป็นพิเศษ แต่ในบางสถานการณ์ก็อาจยังคงเป็นเรื่องยากที่จะมองเห็นความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ในโทนสีและหลีกเลี่ยงแสงสว่างโพลนที่ไม่จำเป็น ปัญหานี้สามารถแก้ไขด้วยการเปิดใช้งานการเตือนบริเวณสว่างโพลน หรือที่เรียกกันว่า “แสงกะพริบ” หรือ “ลายม้าลาย”


เมื่อคุณเปิดดูภาพ บริเวณใดก็ตามที่มีแสงสว่างโพลนจะกะพริบเป็นสีดำ นับเป็นเครื่องมือที่ดีที่ควรเปิดใช้งานตลอดเวลา เพื่อให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนการตั้งค่าที่จำเป็นและถ่ายภาพใหม่ได้ทันที!

ข้อควรรู้: หากกล้องของคุณไม่มีคุณสมบัติการเตือนบริเวณสว่างโพลน ก็ไม่ต้องกังวลไป ในโหมดดูภาพ ให้กดปุ่ม INFO เพื่อสลับไปยังหน้าจอที่แสดงฮิสโตแกรม แล้วคุณจะเห็นการเตือนบริเวณสว่างโพลน แม้ภาพที่ปรากฏจะเล็กลง!

 

2. เน้นโทนภาพบริเวณสว่าง

หาการตั้งค่านี้ได้ที่: เมนู SHOOT

อีกหนึ่งคุณสมบัติที่มีประโยชน์ในการรักษารายละเอียดภาพบริเวณสว่างคือ ‘เน้นโทนภาพบริเวณสว่าง’ ซึ่งใช้สะดวกเป็นพิเศษสำหรับฉากที่มีแสงจากด้านหลังและฉากอื่นๆ ที่มีความเปรียบต่างเด่นชัด เมื่อตั้งค่าเป็น ‘ใช้งาน’ หรือ ‘เพิ่มขึ้น’ แล้ว คุณสมบัตินี้จะจำกัดโทนสีในบริเวณสว่าง จึงลดโอกาสที่จะเกิดแสงสว่างโพลน


เมื่อพูดถึงเรื่องแสงสว่างโพลน การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ย่อมดีกว่าการแก้ไขทีหลัง ฟังก์ชั่น ‘เน้นโทนภาพบริเวณสว่าง’ จะรักษารายละเอียดของบริเวณสว่างในฉากที่มีความเปรียบต่างสูงดังเช่นในภาพนี้

ข้อควรรู้: เมื่อเปิดฟังก์ชั่น ‘เน้นโทนภาพบริเวณสว่าง’ ความไวแสง ISO ขั้นต่ำจะอยู่ที่ 200 และอาจมีจุดรบกวนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในบริเวณที่มืด แต่ถือว่ายังคงมีประโยชน์อยู่ เพียงแต่ต้องระมัดระวังเวลาถ่ายภาพ

ดูว่าช่างภาพนกใช้ฟังก์ชั่นเน้นโทนภาพบริเวณสว่างเพื่อคงรายละเอียดของขนนกสีขาวได้ใน:
นกโผบิน: การตั้งค่ากล้องเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการถ่ายภาพ

 

3. ความคมชัด

หาการตั้งค่านี้ได้ที่: เมนู SHOOT

คุณอาจจะคุ้นเคยกับแถบเลื่อนปรับความคมชัดในซอฟต์แวร์ปรับแต่งภาพ ฟังก์ชั่นนี้จะทำให้รายละเอียดดูชัดเจนขึ้นและคมชัดมากขึ้นด้วยการเพิ่มความเปรียบต่างบริเวณขอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่มีโทนน้ำหนักกลาง ซึ่งมีประโยชน์เป็นพิเศษสำหรับฉากหลายประเภท เช่น การถ่ายภาพดวงดาวหรือทิวทัศน์ยามค่ำคืนที่มีความละเอียด

ปัจจุบัน ฟังก์ชั่นนี้เป็นคุณสมบัติในกล้อง EOS ระดับสูงรุ่นใหม่ๆ เช่น EOS-1D X Mark III, EOS R5 และ EOS R6 ซึ่งช่วยให้คุณสามารถดูตัวอย่าง เปรียบเทียบ และปรับเปลี่ยนเอฟเฟ็กต์ได้ทันทีโดยไม่ต้องนำเข้าไฟล์เข้าซอฟต์แวร์ปรับแต่งภาพ คุณอาจพบว่าฟังก์ชั่นนี้ให้ผลลัพธ์ที่ดูราบรื่นมากกว่าซอฟต์แวร์ที่คุณใช้เป็นประจำ!

มีระดับเอฟเฟ็กต์ให้เลือกแปดระดับ การเลื่อนแถบเลื่อนไปทางซ้ายจะทำให้ภาพดูนุ่มนวลยิ่งขึ้น และการเลื่อนแถบเลื่อนไปทางขวาจะทำให้ขอบภาพดูเด่นชัดและชัดเจนกว่าเดิม


เอฟเฟ็กต์ของแถบเลื่อนความคมชัด

 

ความคมชัด: -2

ความคมชัด: 0

ความคมชัด: +2

ในภาพฉากเขตอุตสาหกรรมยามค่ำคืนนี้ การตั้งค่าความคมชัดไปที่ +2 ขับเน้นผิวสัมผัสของโลหะ แต่การลดระดับเอฟเฟ็กต์ทำให้ผิวสัมผัสดูแนบเนียนกว่าเดิม

ดูตัวอย่างเอฟเฟ็กต์การปรับความคมชัดได้ใน:
ทำไมกล้อง EOS R5 ถึงเป็นกล้องในอุดมคติสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ของผม


---

กล้องของคุณคือเครื่องมือในการถ่ายภาพ และการคุ้นเคยกับคุณสมบัติของกล้องอาจทำให้คุณถ่ายภาพได้ดียิ่งขึ้น! ค้นพบคุณสมบัติที่คุณอาจพลาดไปได้ในบทความต่อไปนี้:
การตั้งค่ากล้อง 7 แบบที่ช่วยให้ถ่ายภาพได้ราบรื่นขึ้นแต่มักถูกมองข้าม
5 การตั้งค่าพื้นฐานของกล้อง EOS R5/ EOS R6 ที่ปรับแต่งได้ตามต้องการตั้งแต่ต้น

หรือทบทวนความรู้พื้นฐานได้ใน:
จุดโฟกัส: พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

Takashi Karaki

หลังจากผ่านประสบการณ์การเป็นโค้ชกีฬา ต่อด้วยการทำงานในแวดวงการผลิตนิตยสารและบรรณาธิการมาเป็นเวลา 10 ปี Karaki ก็ย้ายไปยังเมืองโยนาโงะในจังหวัดท็อตโตริ ซึ่งเขาได้กลายเป็นที่รู้จักจากผลงานการถ่ายภาพทิวทัศน์ในภูมิภาคซันอินของญี่ปุ่น ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์ใน จุลสาร Amazing Village ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับหมู่บ้านสวยๆ ในญี่ปุ่นที่จัดทำขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือ CANON × Discover Japan ในปี 2017 และภาพทะเลหมอกที่ช่องเขาอาเคชิในจังหวัดท็อตโตริก็เป็นหนึ่งใน 12 ภาพที่ได้รับคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (JNTO) ให้เป็นตัวแทนของญี่ปุ่น

Instagram: @karakky0918

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา