ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

เลนส์เดี่ยวหรือเลนส์ซูม: ควรซื้อแบบไหนดี

2022-12-05
4
7.66 k

 

ในบทความนี้:

เลนส์เดี่ยว/เลนส์ซูมคืออะไร

ลงลึกถึงพื้นฐาน: เลนส์เดี่ยว/เลนส์ซูมคืออะไร

เลนส์ซูมคือเลนส์ที่ครอบคลุมทางยาวโฟกัสช่วงใดช่วงหนึ่ง (มุมรับภาพ) ซึ่งมักจะมีตัวเลขระบุไว้บนเลนส์ เลนส์นี้ช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพฉากนั้นๆ ได้ใกล้ขึ้นหรือกว้างขึ้นเมื่อคุณหมุนวงแหวนซูม

ในขณะเดียวกัน เลนส์เดี่ยวมีทางยาวโฟกัสเดียวเท่านั้น จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสคงที่”


วิธีแยกแยะระหว่างเลนส์เดี่ยวกับเลนส์ซูม

วิธีที่ง่ายที่สุดในการแยกความแตกต่างของเลนส์ทั้งสองคือการดูชื่อเลนส์!

หากชื่อของเลนส์แสดงทางยาวโฟกัสเดียว นั่นคือเลนส์เดี่ยว
หากชื่อของเลนส์แสดงช่วงทางยาวโฟกัส นั่นคือเลนส์ซูม

ในเมื่อคุณเข้าใจความหมายแล้ว เราลองมาศึกษากันว่าเมื่อใดควรใช้เลนส์ซูมและเมื่อใดควรใช้เลนส์เดี่ยว

1. ขนาดสำคัญหรือไม่

1. ขนาดสำคัญหรือไม่

คุณอาจเข้าใจว่าเลนส์เดี่ยวนั้นเล็กกว่าเลนส์ซูม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นเรื่องจริงสำหรับเลนส์ในระดับเดียวกัน แต่ตัวเลนส์จะมีขนาดเล็กกว่ามากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับทางยาวโฟกัสและปัจจัยอื่นๆ ด้วย สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ขนาดต่างกันคือลักษณะทางกายภาพ กล่าวคือ เลนส์ซูมมีส่วนประกอบทางออพติคอลมากกว่าและต้องใช้พื้นที่ภายในท่อเลนส์มากกว่าเพื่อให้ทำงานได้

ตัวอย่างโครงสร้างเลนส์ซูม

โครงสร้างเลนส์ของ RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM ที่ระยะสุดฝั่งมุมกว้าง (15 มม.) กลุ่มเลนส์ในกรอบสีแดงจะเคลื่อนที่ขณะทำการซูม

ตัวอย่างโครงสร้างเลนส์เดี่ยว

โครงสร้างเลนส์ของ RF16mm f/2.8 STM เลนส์รุ่นนี้เหมือนกับ RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM ตรงที่เป็นเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ แต่เลนส์นี้จะใช้พื้นที่น้อยกว่าเพราะไม่มีชิ้นเลนส์สำหรับการซูม

ดังนั้นตอบสั้นๆ ได้ว่า เลนส์เดี่ยวมักจะเบากว่าและเล็กกว่าเลนส์ซูมที่ครอบคลุมทางยาวโฟกัสเท่ากันและที่เป็นเลนส์ในระดับเดียวกัน


ข้อควรรู้: ช่วงทางยาวโฟกัสเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ตัวกำหนดขนาดและน้ำหนักของเลนส์

เลนส์เดี่ยวไม่ได้มีขนาดเล็กกว่าและเบากว่าเลนส์ซูมเสมอไป มีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อขนาดของเลนส์ ซึ่งรวมถึง
- เป็นเลนส์เทเลโฟโต้/ เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้: เนื่องจากลักษณะทางกายภาพ ทำให้ทางยาวโฟกัสยาวๆ มักต้องใช้ท่อเลนส์ที่ยาวขึ้น
- เป็นเลนส์ระดับมืออาชีพหรือไม่: เลนส์ระดับมืออาชีพ (เลนส์ L) มีชิ้นเลนส์มากกว่าและมีโครงสร้างที่แข็งแรงกว่า เพื่อให้แน่ใจว่ามีคุณภาพทางออพติคอลที่ดีขึ้นและมีความทนทานยิ่งขึ้นแม้แต่ท่ามกลางสภาพอากาศที่ท้าทาย
- รูรับแสงกว้างสุด: รูรับแสงกว้างสุดที่กว้างมากมักต้องใช้ชิ้นเลนส์ใหญ่ๆ แต่สมดุลจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการออกแบบเลนส์และปัจจัยอื่นๆ


ตัวอย่างเลนส์ RF ที่เล็กและเบาที่สุดของ Canon

RF50mm f/1.8 STM
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Nifty Fifty” ซึ่งมาจากคุณสมบัติความอเนกประสงค์ของเลนส์ นับเป็นเลนส์ที่หลายคนนึกถึงเมื่อเห็นคำว่า “เลนส์เดี่ยว”

RF16mm f/2.8 STM
Canon ประสบความสำเร็จทางวิศวกรรมเมื่อสร้างสรรค์เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ความไวแสงสูง ขนาดกะทัดรัด และน้ำหนักเบารุ่นนี้ขึ้นมา! นี่เป็นเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ที่เล็กที่สุดในกลุ่มเลนส์ RF ในขณะนี้

RF-S18-45mm f/4.5-6.3 IS STM
ออกแบบมาสำหรับกล้อง APS-C เลนส์ซูมมาตรฐานขนาดจิ๋วรุ่นนี้ยาวเพียง 4 ซม. เมื่อหดจนสุด และมีน้ำหนักเพียง 130 กรัมโดยประมาณ อย่างไรก็ตาม คุณยังสามารถใช้เลนส์นี้กับกล้อง EOS R แบบฟูลเฟรมในโหมดครอป 1.6 เท่าได้อีกด้วย เลนส์นี้ให้มุมรับภาพเทียบเท่าฟูลเฟรม 29 ถึง 72 มม.


อย่าลืม: คุณสมบัติการครอปสำหรับกล้อง APS-C
หากคุณใช้กล้อง APS-C มุมรับภาพที่คุณได้จะเทียบเท่ากับ 1.6 เท่าของทางยาวโฟกัสในชื่อเลนส์ เช่น เลนส์ 50 มม. ทำงานได้เหมือนเลนส์ 80 มม.

2. คุณจำเป็นต้องใช้รูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่หรือไม่

2. คุณจำเป็นต้องใช้รูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่หรือไม่

มีเหตุผลหลักอยู่สองข้อที่ว่าทำไมช่างภาพอาจต้องการเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ (“เลนส์ที่มีความไวแสงสูง”) นั่นคือประสิทธิภาพเมื่อถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อยและโบเก้

ออพติคที่เรียบง่ายขึ้นของเลนส์เดี่ยวยังทำให้รวมรูรับแสงกว้างสุดใหญ่ๆ ไว้ในเลนส์ได้ง่ายขึ้นโดยไม่ส่งผลต่อขนาดและต้นทุนมากนัก นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมเลนส์เดี่ยวที่ราคาย่อมเยาที่สุดจึงสามารถมีความไวสูงได้ถึง f/1.8!


ประสิทธิภาพเมื่อถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย

EOS R3 + RF135mm f/1.8L IS USM ที่ f/1.8, 1/1600 วินาที, ISO 3200

เมื่อใช้เลนส์ความไวแสงสูง คุณสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวหรือป้องกันกล้องสั่นไหว ขณะที่รักษาความไวแสง ISO ให้ต่ำเพื่อหลีกเลี่ยงจุดรบกวนบนภาพ ยกตัวอย่างเช่น ภาพนี้ถ่ายที่ 1/1600 วินาทีเพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของนักฟันดาบ

ข้อควรรู้: เนื่องจากเลนส์ของ Canon วัดแสงที่รูรับแสงกว้างสุด เลนส์ที่มีความไวแสงสูงๆ จึงช่วยให้ AF ทำงานได้ดีขึ้นในสภาวะแสงน้อย


โบเก้

วิธีง่ายๆ วิธีหนึ่งที่จะทำให้ได้โบเก้ที่นุ่มนวลสวยงามคือ การใช้รูรับแสงกว้างๆ และรูรับแสงที่กว้างที่สุดก็อยู่ในเลนส์เดี่ยว

EOS R5 + RF85mm f/1.2L USM ที่ f/1.2, 1/2000, ISO 200 (EV +1)

โบเก้ในแบ็คกราวด์ที่นุ่มนวลสวยงามที่ f/1.2 เนื่องจากคุณสามารถรักษาระยะห่างจากตัวแบบได้อย่างสบายๆ ดังนั้น 85 มม. จึงเป็นทางยาวโฟกัสที่ง่ายต่อการถ่ายภาพบุคคลอีกด้วย! 


EOS R5 + RF135mm f/1.8L IS USM ที่ f/1.8, 1/3200 วินาที, ISO 400

เลนส์เทเลโฟโต้ยาวๆ จะเสริมโบเก้ที่ได้จากการถ่ายภาพด้วยรูรับแสงกว้าง

3. คุณต้องเคลื่อนตัวมากแค่ไหน

4. คุณต้องการความอเนกประสงค์มากขึ้นหรือไม่

3. สไตล์การถ่ายภาพของคุณเป็นอย่างไร คุณต้องใช้พื้นที่แค่ไหนในการเคลื่อนที่ไปมา

4. คุณกำลังมองหาเลนส์ที่มีสารพัดประโยชน์ในบอดี้เดียวใช่หรือไม่

เราจะพูดถึงสองประเด็นนี้ร่วมกัน


เลนส์เดี่ยว: ความคล่องตัวมาก เหมาะสำหรับทำการค้นพบที่คาดไม่ถึง!

เมื่อใช้เลนส์เดี่ยว การถ่ายภาพเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการเคลื่อนตัวมาก คุณจะต้องเข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้นเพื่อถ่ายภาพที่ระยะใกล้ๆ และถอยหลังหากคุณต้องการภาพมุมกว้างขึ้น พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ คุณต้อง “ใช้เท้าของตัวเองซูมเข้าออก” ช่างภาพบางคนอาจพบว่าวิธีนี้ทำได้ง่ายกว่าการหมุนวงแหวนซูม และฝึกให้คุณขยับเท้าได้เร็วขึ้นแน่นอน หรือเสี่ยงที่จะพลาดภาพนั้นๆ ไป!

หากคุณเบื่อหน่ายกับการถ่ายภาพซ้ำซากหรือกำลังมองหามุมมองใหม่ๆ คุณอาจพบว่าความท้าทายในการถ่ายภาพด้วยทางยาวโฟกัสเดียวเป็นเรื่องน่าสนใจไม่น้อย เนื่องจากคุณต้องเคลื่อนที่ไปรอบๆ เพื่อหาองค์ประกอบที่เหมาะกับสิ่งที่คุณมี คุณไม่เพียงแต่ต้องคิดให้มากขึ้นและค้นพบสิ่งใหม่ๆ แต่จำเป็นต้องทดสอบความสามารถในการจัดองค์ประกอบภาพของตัวเองอีกด้วย!

ถ่ายด้วย RF16mm f/2.8 STM

สิ่งที่ค้นพบในระหว่างที่พยายามถ่ายภาพโคลสอัพด้วย RF16mm f/2.8 STM ขณะออกไปเดินเล่น ด้วยโบเก้ f/2.8 รั้วสีเขียวอมน้ำเงินเข้มเพิ่มองค์ประกอบพื้นผิวที่น่าสนใจ และยังสร้างสมดุลให้กับโทนสีเขียวอบอุ่น เสริมให้ดอกไลแลคสีชมพูโดดเด่นยิ่งขึ้น


ถ่ายด้วย RF16mm f/2.8 STM

คุณอาจจะอยากซูมเข้าไปในตัวแบบที่สะดุดตาคุณ แต่จะทำอย่างไรหากคุณไม่สามารถทำได้ การถูกจำกัดให้ใช้ได้เพียง 16 มม. บังคับให้ช่างภาพที่ถ่ายภาพนี้ต้องพยายามหาวิธีอื่นๆ เพื่อดึงความสนใจไปที่กระท่อม เช่น การทำให้สีตัดกันและการใช้เส้นนำสายตา หากเป็นคุณ จะทำอย่างไร

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
3 โจทย์ท้าทายที่ดูเหมือนง่าย แต่ยกระดับทักษะการถ่ายภาพของคุณได้


เลนส์เดี่ยวมุมกว้างพร้อมความสามารถในการถ่ายภาพมาโคร

เลนส์เดี่ยวที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาที่แนะนำไว้ในข้อ 1. เหมาะสำหรับการสำรวจมุมต่างๆ หากต้องการความเป็นไปได้มากขึ้น ลองใช้เลนส์เดี่ยวต่อไปนี้ที่จะช่วยให้สามารถถ่ายภาพโคลสอัพได้ด้วยกำลังขยายอย่างต่ำ 0.5 เท่า


การเลือกเลนส์เดี่ยว: คุณชื่นชอบทางยาวโฟกัสแบบใดเป็นพิเศษหรือไม่

ความรู้นี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าจะซื้อเลนส์เดี่ยวรุ่นใด คนส่วนใหญ่มีทางยาวโฟกัสบางระยะที่ตนเองชื่นชอบโดยไม่รู้ตัว ลองประเมินภาพที่คุณถ่ายด้วยเลนส์คิทหรือเลนส์ซูมที่คุณโปรดปราน ตัวอย่างเช่น หากมีหลายภาพที่ถ่ายที่ระยะประมาณ 35 มม. เลนส์เดี่ยว 35 มม. อาจมีประโยชน์มากที่สุดสำหรับคุณ

แน่นอนว่าหากคุณต้องการออกนอกกรอบเดิมๆ ก็สามารถซื้อเลนส์เดี่ยวที่มีทางยาวโฟกัสที่คุณไม่ค่อยใช้ และราคาอาจย่อมเยากว่าเลนส์ซูมในระดับเดียวกัน ลองพิจารณา RF600mm f/11 IS STM หรือ RF800mm f/11 IS STM ซึ่งมีทางยาวโฟกัสที่เลนส์ซูมมักจะไม่ครอบคลุม


เลนส์ซูม: เพื่อความยืดหยุ่นในการจัดองค์ประกอบได้ง่ายขึ้น

สำหรับพื้นที่ที่จำกัดที่คุณไม่สามารถเคลื่อนที่ไปรอบๆ ได้มากนัก หรือหากคุณต้องการเพียงแค่ความสะดวกสบายในการถ่ายภาพที่ระยะใกล้และในมุมกว้างผสมผสานกันโดยไม่ต้องเคลื่อนที่มากหรือเปลี่ยนเลนส์ เลนส์ซูมย่อมมีความอเนกประสงค์มากที่สุด

24 มม.

50 มม.

 

70 มม.

240 มม.

ทุกภาพถ่ายด้วย RF24-240mm f/4-6.3 IS STM ที่ f/8, 1/160 วินาที, ISO 100

ในบางสถานการณ์ เพียงแค่การขยับเข้าไปใกล้ขึ้นอาจไม่ได้ทำให้คุณเข้าใกล้รายละเอียด ยกตัวอย่างเช่น รายละเอียดในศาลาด้านบนไม่สามารถมองเห็นได้จากใต้ศาลา เลนส์ซูมช่วยให้คุณมีตัวเลือกในการเปลี่ยนขอบเขตการมองเห็นขณะอยู่ในตำแหน่งเดิม


ข้อควรรู้: เลนส์ซูมที่มีรูรับแสงแบบปรับได้และเลนส์ซูมที่มีรูรับแสงคงที่

ความท้าทายของการออกแบบเลนส์ซูมที่มีรูรับแสงกว้างหมายความว่า เลนส์ซูมราคาย่อมเยาที่สุดหรือมีน้ำหนักเบาที่สุดมักจะเป็นเลนส์ที่มีรูรับแสงแบบปรับได้ โดยที่รูรับแสงกว้างสุดจะแคบลงเมื่อใช้ทางยาวโฟกัสยาวขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ใน RF-S18-150mm f/3.5-6.3 IS STM รูรับแสงกว้างสุดที่ระยะสุดฝั่ง 150 มม. คือ f/6.3


ความสัมพันธ์ระหว่างรูรับแสงกว้างสุดกับทางยาวโฟกัสในเลนส์ที่มีรูรับแสงแบบปรับได้

(ในความเป็นจริง อัตราการลดขนาดรูรับแสงกว้างสุดจะสม่ำเสมอน้อยกว่าและขึ้นอยู่กับการออกแบบเลนส์)

หากคุณต้องการความอเนกประสงค์ของเลนส์ซูม แต่ต้องการให้มีรูรับแสงเท่ากันตลอดทั้งช่วงทางยาวโฟกัส ก็ควรเตรียมตัวลงทุนซื้อเลนส์ที่มีรูรับแสงคงที่ เลนส์ต่อไปนี้เป็นเลนส์ระดับมืออาชีพ (ซีรีย์ L) และราคาสูงกว่า แต่มีซีลป้องกันสภาพอากาศ ซึ่งทำให้มีความทนทานกว่าแม้ในสภาพอากาศที่รุนแรง


ตัวอย่างเลนส์ซูมที่มีรูรับแสงคงที่

เลนส์ซูม f/4


เลนส์ซูม f/2.8

อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการเสริมทางยาวโฟกัสของเลนส์คิทโดยมีงบประมาณจำกัด หรือกำลังมองหาความคล่องตัวที่ดีกว่า ควรลองใช้เลนส์ซูมที่มีรูรับแสงแบบปรับได้ต่อไปนี้


ตัวอย่างเลนส์ซูมที่มีรูรับแสงแบบปรับได้

กลุ่มของเลนส์มุมกว้าง เลนส์มาตรฐาน และเลนส์เทเลโฟโต้ เรียกว่า “เลนส์ทรงพลังสามรุ่น” เนื่องจากช่วงโฟกัสกว้างที่เลนส์เหล่านี้ให้รวมกันถือว่าเพียงพอที่จะถ่ายภาพได้ในฉากแทบทุกแบบ การมีกลุ่มเลนส์ f/2.8 หรือ f/4 ทรงพลังสามรุ่นไว้เป็นเรื่องดีหากคุณต้องการความอเนกประสงค์สูงสุด แต่แน่นอนว่าคุณสามารถผสมผสานการใช้งานได้ตามต้องการ!


หากต้องการความยืดหยุ่นสูงสุดในการจัดเฟรมภาพ ลองใช้เลนส์ซูเปอร์ซูม

*เลนส์ซูเปอร์ซูมคือเลนส์ซูมที่ครอบคลุมทางยาวโฟกัสมุมกว้างไปจนถึงทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้ระยะกลางหรือเทเลโฟโต้ นับเป็นตัวเลือกที่ดีเวลาเดินทาง! 

RF24-240mm f/4-6.3 IS STM
ด้วยพลังซูม 10 เท่า เลนส์นี้ผสมผสานความอเนกประสงค์เข้ากับคุณภาพของภาพถ่ายอันยอดเยี่ยม เมื่อใช้กับกล้อง EOS R แบบฟูลเฟรม ให้เปิดโหมดครอป 1.6 เท่าเพื่อยืดระยะให้ไกลขึ้นถึงเทียบเท่า 384 มม.

RF-S18-150mm f/3.5-6.3 IS STM
เลนส์นี้มีน้ำหนักเพียง 310 กรัม ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้กล้อง APS-C EOS R (หรือผู้ใช้กล้อง EOS R แบบฟูลเฟรมที่ให้ความสำคัญกับความสะดวกในการพกพา) เลนส์นี้ครอบคลุมช่วงทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรม 29 ถึง 240 มม.

คำถามคือ หากเลนส์ซูเปอร์ซูมมีขนาดเล็กกะทัดรัดและมีความสามารถรอบด้านขนาดนี้ ทำไมยังมีคนซื้อเลนส์ที่มีรูรับแสงแบบปรับได้ที่มีระยะการซูมน้อยกว่ามาก คำตอบอยู่ในประเด็นสุดท้าย

5. คุณภาพด้านออพติคอลสำคัญหรือไม่

5. คุณภาพด้านออพติคอลสำคัญหรือไม่

คุณอาจจะเคยได้ยินว่าเลนส์เดี่ยวมีความคมชัดกว่าเลนส์ซูม นั่นเป็นเพราะการจะสร้างเลนส์ซูมที่มีคุณภาพด้านออพติคอลที่ดีอย่างสม่ำเสมอตลอดช่วงโฟกัสต้องใช้ความพยายามมากกว่า มีความคลาดที่ต้องแก้ไขมากกว่า เนื่องจากความคลาดของเลนส์ต่างๆ เกิดขึ้นที่ช่วงทางยาวโฟกัสแตกต่างกัน  เมื่อเทียบกันแล้ว การออกแบบเลนส์เดี่ยวเพียงต้องปรับให้เหมาะสมกับทางยาวโฟกัสเดียวเท่านั้น!

ยิ่งมีช่วงโฟกัสมาก ยิ่งเป็นเรื่องยากที่จะแน่ใจว่าคุณภาพออพติคอลอยู่ในระดับที่สม่ำเสมอตลอดทั้งเลนส์ ด้วยเหตุนี้ เลนส์ซูเปอร์ซูมจึงขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพด้านออพติคอลที่แย่กว่า และทำให้เลนส์ซูมที่มีช่วงโฟกัสแบบเดียว (มุมกว้าง มาตรฐาน หรือเทเลโฟโต้) ยังคงเป็นที่นิยมอยู่ และยังเป็นสาเหตุว่าทำไมช่างภาพที่พิถีพิถันในเรื่องคุณภาพของภาพถ่ายมักจะชอบเลนส์เดี่ยว


ข้อควรรู้: เลนส์ซูมประสิทธิภาพสูง

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เลนส์ซูมระดับมืออาชีพสามารถมีคุณภาพเทียบเคียงกับเลนส์เดี่ยวระดับมืออาชีพ ยกตัวอย่างเช่น RF28-70mm f/2L USM มักเป็นที่พูดถึงว่ามีความคมชัดเหมือนมี “เลนส์เดี่ยวสี่ตัวในบอดี้เดียว” อย่างไรก็ตาม ชุดออพติคแก้ไขที่เกี่ยวข้องทำให้ขนาดและน้ำหนักของเลนส์เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อความคล่องตัว แต่ก็ขึ้นอยู่กับความชอบด้วย คุณอาจรู้สึกว่าการพกพาเลนส์ซูมที่มีขนาดใหญ่แต่ความไวแสงสูงและมีคุณภาพสูงนั้นสะดวกสบายกว่าและเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากว่าการซื้อเลนส์เดี่ยวหลายตัว 

สรุป

สรุป: เลนส์ตัวต่อไปที่ฉันต้องการคือเลนส์ซูมหรือเลนส์เดี่ยว

หลังจากอ่านประเด็นด้านบนและประเมินงบประมาณแล้ว คุณก็น่าจะทราบข้อดีและข้อเสียของเลนส์แต่ละแบบ ขั้นตอนต่อไปคือการประเมินเลนส์ที่คุณมีอยู่ในปัจจุบัน คุณรู้สึกว่ามีข้อจำกัดอะไรบ้าง เลนส์ตัวไหนจะช่วยเติมเต็มช่องว่างได้
ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดหรือ “สมบูรณ์แบบ” สำหรับเลนส์ที่ควรมี แม้แต่ช่างภาพมืออาชีพยังผสมผสานการใช้งานเลนส์ประเภทต่างๆ ตามความชอบและความต้องการส่วนตัว
ต่อไปคุณจะซื้อเลนส์อะไร

สรุป

เลนส์เดี่ยว
(เทียบกับเลนส์ซูมในระดับเดียวกัน)
ข้อดี ข้อเสีย
- โดยทั่วไปราคาย่อมเยากว่า
- โดยทั่วไปมีขนาดเล็กกว่าและเบากว่า
- คมชัดกว่า
- มีรูรับแสงกว้างสุดที่ใหญ่กว่า โบเก้ดีกว่า
- ประสิทธิภาพการถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อยดีกว่า
- ช่วยฝึกการจัดองค์ประกอบภาพ
- บางคนรู้สึกว่าการ “ใช้เท้าของตัวเองซูมเข้าออก” เป็นเรื่องง่ายกว่า
- มีทางยาวโฟกัสเดียวเท่านั้น 
- ต้องขยับร่างกายเพื่อซูม
- การจัดองค์ประกอบท้าทายมากขึ้น
เลนส์ซูม
(เทียบกับเลนส์เดี่ยวในระดับเดียวกัน)
ข้อดี ข้อเสีย
- ความอเนกประสงค์: ทางยาวโฟกัสหลายขนาดในบอดี้เดียว
- ความสะดวกสบาย
- รูรับแสงกว้างสุดมีขนาดเล็กกว่า
- มีขนาดใหญ่กว่าและหนักกว่า 
- อาจไม่คมชัดเท่าเลนส์เดี่ยว
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา