ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด จุดโฟกัส: เทคนิคการใช้แฟลชติดกล้อง- Part5

เทคนิคการใช้แฟลชติดกล้อง #5: สร้างเส้นแสงที่เร็วและแรงด้วยซิงค์ม่านชัตเตอร์ที่ 2

2019-09-16
4
9.51 k
ในบทความนี้:

ถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ และแสงสว่างจากไฟหน้าและไฟท้ายรถยนต์ที่กำลังแล่นจะปรากฏเป็นเส้นแสง เมื่อใช้แฟลชร่วมกับความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ไม่เพียงคุณจะสามารถถ่ายภาพเส้นแสงได้เท่านั้น แต่ยังถ่ายภาพตัวรถยนต์ได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยสร้างผลลัพธ์ที่น่าประทับใจเสมือนกับฉากในภาพยนตร์ไซไฟ ดูวิธีการใช้ประโยชน์จากโหมดซิงค์ม่านชัตเตอร์ที่ 2 ได้ในบทความนี้ (เรื่องโดย Teppei Kohno)

รถที่มีเส้นแสง

FL: 18 มม. (เทียบเท่า 28 มม.)/ Manual exposure (f/3.5, 1 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ
การชดเชยปริมาณแสงแฟลช: EV-0.7

แฟลชซิงค์ม่านชัตเตอร์ที่ 2 ช่วยให้คุณสร้างเอฟเฟ็กต์ที่ซิงค์แฟลชม่านชัตเตอร์แรกไม่สามารถทำได้

กล้องของคุณจะมีซิงค์ม่านชัตเตอร์แรกเป็นค่าเริ่มต้น ซึ่งหมายความว่าแฟลชติดกล้องจะยิงแสงแฟลชทันทีเมื่อมีการเปิดรับแสง เมื่อคุณพยายามจะถ่ายภาพเส้นแสง เส้นแสงเหล่านั้นวิ่งไปที่ด้านหน้ารถ จึงทำให้ดูเหมือนรถกำลังวิ่งถอยหลัง 

ดังนั้น หากต้องการถ่ายภาพเส้นแสงด้านหลังรถให้ดูเหมือนรถกำลังแล่นไปข้างหน้า เราจะต้องตั้งค่าแฟลชติดกล้องไปที่ซิงค์ม่านชัตเตอร์ที่ 2 ซึ่งแฟลชจะยิงแสงแฟลชก่อนที่ชัตเตอร์จะปิด และคุณจะสามารถถ่ายภาพเส้นแสงที่ด้านหลังรถได้

ตัวอย่างที่ไม่ดี: ซิงค์ม่านชัตเตอร์แรก

รถที่มีเส้นแสงอยู่ด้านหน้า

เส้นแสงวิ่งไปที่บริเวณด้านหน้ารถเสมือนว่ารถกำลังวิ่งถอยหลัง

ตัวอย่างที่ดี: ซิงค์ม่านชัตเตอร์ที่ 2

รถที่มีเส้นแสงอยู่ด้านหลัง

ถ่ายแสงไฟหน้ารถที่วิ่งไปบรรจบที่บริเวณด้านหลังรถได้เสมือนว่ารถกำลังแล่นไปข้างหน้า

 

วิธีการทุกขั้นตอน: วิธีการถ่ายภาพรถยนต์และเส้นแสงโดยใช้แฟลชซิงค์ม่านชัตเตอร์ที่ 2

แผนภาพแสดงวิธีการถ่ายภาพ

ขั้นตอนการถ่ายภาพ
A: ตั้งค่าเลนส์ของคุณไปที่ฝั่งมุมกว้างให้มากที่สุด
B: ใช้ขาตั้งกล้องเพื่อปรับให้กล้องอยู่ในระดับต่ำที่สุด
C: ตั้งค่ากล้องไปที่โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง
D: ค่าการเปิดรับแสง: ความเร็วชัตเตอร์: 1/2 ถึง 1 วินาที, รูรับแสงกว้างสุด, ISO อัตโนมัติ
E: เปลี่ยนการตั้งค่าแฟลชเป็น “ซิงค์ม่านชัตเตอร์ที่ 2” (คลิกที่นี่เพื่อดูคำแนะนำอย่างละเอียด)
F: ทดสอบถ่ายภาพและลดความเร็วชัตเตอร์ลงหากเส้นแสงสั้นเกินไป (สิ่งที่คุณต้องระวัง)

คำอธิบายเพิ่มเติมอย่างละเอียดมีดังต่อไปนี้

 

อุปกรณ์และตำแหน่งการถ่ายภาพ - เลนส์มุมกว้าง, ขาตั้งกล้อง, มุมต่ำ

- การถ่ายภาพจากมุมต่ำโดยใช้เลนส์มุมกว้าง ช่วยให้ถ่ายภาพการเคลื่อนไหวของรถที่กำลังแล่นไปออกมาได้ดียิ่งขึ้น
- ใช้ขาตั้งกล้องเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหากล้องสั่น ซึ่งทำให้เกิดภาพเบลอที่ไม่พึงประสงค์

หากยังไม่มีขาตั้งกล้อง นี่คือวิธีหาขาตั้งกล้องที่เหมาะกับการถ่ายภาพ

 

ค่าการเปิดรับแสง - โหมด M, ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ, รูรับแสงกว้างสุด

- โหมดตั้งค่าระดับแสง: ด้วยตนเอง เนื่องจากคุณจะต้องตั้งค่า f และความเร็วชัตเตอร์ด้วยตนเอง
- ความเร็วชัตเตอร์: 1/2 วินาที ถึง 1 วินาที เป็นแนวทางคร่าวๆ ความเร็วเท่านี้จะทำให้ได้เส้นแสงที่ยาวขึ้น แม้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของรถด้วยก็ตาม
- รูรับแสง: กว้างสุด เนื่องจากคุณกำลังถ่ายภาพตอนกลางคืน
- ความไวแสง ISO: อัตโนมัติ ให้กล้องปรับการตั้งค่าที่จำเป็น

 

การตั้งค่ากล้องของคุณไปที่ซิงค์ม่านชัตเตอร์ที่ 2

*หมายเหตุ: ขั้นตอนจริงอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้อง หากมีข้อสงสัย ให้ตรวจสอบคู่มือผู้ใช้


1. กดปุ่มแฟลชบนกล้องของคุณ เมนูต่อไปนี้จะปรากฏขึ้น

เมนูเปิด/ปิดแฟลช

กดปุ่ม MENU


2. ในเมนูที่แสดงขึ้น เลือก “ชัตเตอร์ซิงค์”

เมนูการตั้งค่าแฟลชติดกล้อง

นอกจากนี้ คุณสามารถไปที่หน้าจอนี้ได้โดยกดปุ่ม MENU --> เมนูถ่ายภาพ --> ควบคุมแฟลช --> การตั้งค่าแฟลชติดกล้อง


3. เลือก “ม่านชัตเตอร์ที่ 2”

เมนูการตั้งค่าชัตเตอร์ซิงค์

หลังถ่ายภาพเสร็จ คุณควรตั้งค่ากลับไปที่ “ม่านชัตเตอร์แรก” ด้วย มิฉะนั้น คุณอาจลืมและเผลอถ่ายภาพโดยใช้โหมดนี้ในครั้งต่อไป!

 

การค้นหาความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสม

เมื่อใช้แฟลชซิงค์ม่านชัตเตอร์ที่ 2 หลังจากที่คุณกดปุ่มชัตเตอร์แล้ว การยิงแฟลชจะใช้เวลาพอสมควร ดังนั้น การถ่ายภาพรถยนต์ในตำแหน่งตามที่คุณต้องการอาจเป็นเรื่องยากมากกว่าการใช้แฟลชธรรมดา

การตั้งค่าจังหวะแฟลชขึ้นอยู่กับความเร็วของรถที่กำลังเคลื่อนที่ ดังนั้น กลเม็ดที่จะทำให้ได้เส้นแสงที่สวยงามในเฟรมคือ ลั่นชัตเตอร์เมื่อรถอยู่ห่างออกไป 3-4 เมตรก่อนที่จะเริ่มเข้ามาในเฟรม ไม่ว่าเราจะยิงแสงแฟลชในจังหวะที่ดีที่สุดขณะที่รถแล่นเข้ามาได้หรือไม่ก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับความเร็วของรถที่วิ่ง แต่โดยทั่วไปแล้ว ความเร็วชัตเตอร์ที่ราว 1/2 ถึง 1 วินาทีน่าจะได้ผลดี

ตัวอย่างที่ไม่ดี (1): ตั้งความเร็วชัตเตอร์ต่ำเกินไป

เส้นแสง ไม่มีรถ
ถ่ายที่ 1 วินาที

จังหวะแฟลชช้าเกินไป เนื่องจากตั้งความเร็วชัตเตอร์ไว้ต่ำจนเกินไป เราจึงได้ภาพที่มีแต่เส้นแสงเท่านั้น เนื่องจากเรายิงแฟลชหลังจากที่รถแล่นออกนอกเฟรมไปแล้ว

ตัวอย่างที่ไม่ดี (2): ตั้งความเร็วชัตเตอร์สูงเกินไป

เส้นแสงสั้นมาก
ถ่ายที่ 1/15 วินาที

เส้นแสงสั้นเกินไป เนื่องจากตั้งความเร็วชัตเตอร์ไว้สูงจนเกินไป เราสามารถกะจังหวะยิงแฟลชได้ง่ายขึ้นในขณะที่รถแล่นเข้ามาในเฟรมหากตั้งความเร็วชัตเตอร์ไว้สูง แต่เส้นแสงจะสั้นและขาดพลัง

 

หมายเหตุ: อย่ารบกวนการจราจรตามปกติ!

การถ่ายภาพโดยใช้แฟลชในลักษณะนี้อาจเป็นการรบกวนผู้ขับขี่บนท้องถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณถ่ายภาพใกล้ตัวรถและยิงแฟลชซ้ำๆ จึงควรใช้รถของเพื่อนเป็นตัวแบบจะดีที่สุด เนื่องจากคุณสามารถถ่ายภาพได้มากเท่าที่ต้องการจนกว่าคุณจะเริ่มชำนาญ

 

อ่านเคล็ดลับเกี่ยวกับการถ่ายภาพยามค่ำคืนเพิ่มเติมที่:
ฟังก์ชั่นของกล้องที่มีประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนให้ดูแตกต่าง
หนึ่งสถานที่กับภาพสองแบบ: ภาพยามค่ำคืนแนวแอ็บสแตรกต์ - ความสงบเยือกเย็น กับ ความมีชีวิตชีวา
เทคนิคการใช้เส้นแสงมาตรฐาน
เคล็ดลับการถ่ายภาพยามค่ำคืน: วิธีใช้รีโมทสวิตช์เพื่อป้องกันกล้องสั่นไหว

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Teppei Kohno

เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย

http://fantastic-teppy.chips.jp

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา