ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #10: ควรใช้เลนส์ใดในการถ่ายภาพดอกไม้ให้มีโบเก้ขนาดใหญ่ในส่วนโฟร์กราวด์

2019-07-31
0
3.35 k
ในบทความนี้:

ดอกไม้: หากเป็นการถ่ายภาพแบบโคลสอัพ ดอกไม้คือตัวแบบที่ช่างภาพหลายคนโปรดปราน นี่คือวิธีการที่จะทำให้ภาพของคุณโดดเด่นขึ้นได้ด้วยการใช้โบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์เพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์แนวแอบสแตร็คที่นุ่มนวลชวนฝัน (เรื่องโดย: Shinichi Eguchi (Digital Camera Magazine))

ภาพโคลสอัพของดอกกุหลาบที่มีโบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์

EOS-1D X/ EF180mm f/3.5L Macro USM/ FL: 180 มม./ Aperture-priority AE (f/3.5, 1/250 วินาที, EV+0.3)/ ISO 200/ WB: แสงแดด

ผมต้องการสร้างบรรยากาศเหมือนความฝันที่เหนือจริงโดยใช้โบเก้ที่ได้จากรูรับแสงกว้างสุด เพื่อให้ได้ผลตามต้องการ ผมจึงดึงความสนใจไปยังเส้นที่โค้งมนของกลีบดอกไม้

 

อุปกรณ์: เลนส์มาโคร 180 มม. เพื่อให้ได้โบเก้ที่นุ่มนวลยิ่งขึ้น

เลนส์มาโครมีระยะชัดที่ตื้นมากซึ่งสามารถสร้างโบเก้ที่สวยงามได้

และในบรรดาเลนส์มาโคร เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสยาวๆ เช่น EF180mm f/3.5L Macro USM จะสามารถให้เอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ใหญ่และนุ่มนวลกว่าเลนส์ที่มาโคร (มาตรฐานหรือเทเลโฟโต้ระยะกลาง) ที่มีทางยาวโฟกัสสั้นกว่า แม้คุณจะถ่ายภาพในระยะที่ไกลกว่า และยังให้เอฟเฟ็กต์ซอฟต์โฟกัสที่ไม่เหมือนใครด้วย

สำหรับภาพด้านบน เพื่อใช้ประโยชน์จากเอฟเฟ็กต์ซอฟต์โฟกัสและโบเก้จากรูรับแสงกว้างสุด ผมจึงสร้างโบเก้ในโฟร์กราวด์จากดอกไม้อีกดอกหนึ่งซึ่งอยู่ด้านหน้าตัวแบบหลักซึ่งก็คือดอกกุหลาบ และให้โฟกัสอยู่ที่ขอบของกลีบดอกของตัวแบบหลักเพื่อให้ส่วนนั้นมีความคมชัด 

เคล็ดลับ: ระยะชัดจะตื้นมากที่สุดเมื่อถ่ายภาพด้วยรูรับแสงกว้างสุดที่ระยะโฟกัสใกล้สุด ซึ่งอาจทำให้ยากต่อการโฟกัสด้วย AF ดังนั้น คุณอาจจะอยากเปลี่ยนมาใช้การโฟกัสแบบแมนนวลแทน 

 

ดูวิธีการโฟกัสแบบแมนนวลด้วยเลนส์มาโครและอื่นๆ ได้ที่
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (4): การใช้เลนส์พิเศษ

อยากทราบเกี่ยวกับเลนส์มาโครและประโยชน์ของเลนส์ใช่หรือไม่ โปรดดูที่:
ค้นพบโลกใบใหม่ด้วยเลนส์มาโคร

 

ภาพโคลสอัพของดอกป๊อปปี้ที่มีโบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์

EOS-1D X/ EF180mm f/3.5L Macro USM/ FL: 180 มม./ Aperture-priority AE (f/3.5, 1/2000 วินาที)/ ISO 400/ WB: Manual

วิธีการสร้างโบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์
คุณสามารถสร้างโบเก้ในโฟร์กราวด์โดยใช้กลีบดอกไม้ที่เป็นตัวแบบหลักของคุณหรือใช้เอฟเฟ็กต์นี้กับดอกไม้ดอกอื่นๆ ได้ ในภาพด้านบน ตัวแบบหลักคือดอกป๊อปปี้แคลิฟอร์เนียที่กำลังบานสองดอกซึ่งดอกหนึ่งอยู่ด้านหน้าอีกดอกหนึ่ง โบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์เกิดจากดอกไม้ดอกหนึ่งซึ่งอยู่ด้านหน้าดอกไม้ที่เป็นตัวแบบหลัก

คุณสามารถใช้โบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์เพื่อทำให้ภาพพอร์ตเทรตมีความน่าสนใจมากขึ้นได้ด้วยเช่นกัน เรียนรู้วิธีการได้ที่:
วิธีการถ่ายภาพพอร์ตเทรตให้มีสีสันสวยงามชวนฝันพร้อมโบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์

 

มุมถ่ายภาพและการจัดองค์ประกอบภาพ: ถ่ายในมุมทแยงจากด้านบนเพื่อให้เห็นรายละเอียดได้มากขึ้น

หามุมที่เหมาะกับตัวแบบของคุณมากที่สุด คุณอาจจะต้องลองถ่ายที่มุมต่างๆ กันจนกว่าจะได้ตำแหน่งที่เหมาะสม

สำหรับภาพดอกกุหลาบ ผมรู้ว่าตัวเองต้องใช้ดอกไม้ด้านหน้าอีกดอกหนึ่งที่ผมสามารถเปลี่ยนให้เป็นโบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์ได้ นี่เป็นเกณฑ์ข้อหนึ่งของผมขณะสำรวจมุมที่สามารถใช้ได้ในการถ่ายภาพ
จัดให้เลนส์อยู่ในแนวทแยงเล็กน้อยจากด้านบนในระดับเดียวกับดอกกุหลาบที่เป็นตัวแบบหลัก และดึงเอารายละเอียดในดอกกุหลาบออกมาให้ได้มากที่สุด 

จากนั้นผมจึงปรับองค์ประกอบภาพอย่างละเอียด โดยให้ความสำคัญต่อสิ่งเหล่านี้เป็นพิเศษ:
- ดอกกุหลาบที่ผมใช้เป็นโบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์บังดอกกุหลาบที่เป็นตัวแบบหลักมากแค่ไหน
- ระดับความชัดเจนของเอฟเฟ็กต์โบเก้

ผมจัดเฟรมที่ต้องการได้ที่ระยะโฟกัสใกล้สุด (48 ซม.) ซึ่งสามารถแสดงดอกไม้บานเท่าขนาดจริงได้ในหนึ่งเฟรม

 

แผนภาพแสดงวิธีการถ่ายภาพ
 

การเปิดรับแสง: ใช้การชดเชยแสงเป็นบวกเพื่อรักษาความสดใสและคมชัดของสีสัน

หากดอกไม้มีสีสันสดใส การชดเชยแสงเป็นบวกจะช่วยให้คุณถ่ายทอดสีได้อย่างคมชัด ชัดเจน และเป็นธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับภาพมาโครแบบโคลสอัพเช่นภาพนี้ ซึ่งภาพอาจออกมาดูจืดชืดได้ง่ายกว่าที่คิดเนื่องจากเงาของเลนส์ที่ทอดลงบนตัวแบบ

สำหรับภาพดอกกุหลาบสีชมพูด้านบน มีสองสิ่งที่ผมต้องการเน้นเป็นพิเศษ ได้แก่
1. คุณภาพของความเหนือจริงเหมือนอยู่ในความฝัน
2. สีสันที่สดใสซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในตัวดอกไม้

ผมจะไม่สามารถถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ออกมาได้หากภาพนั้นมีความสว่างเกินไป ผมจึงรักษาระดับการชดเชยแสงเอาไว้ที่ EV+0.3

เคล็ดลับ: ระยะโฟกัสใกล้สุดที่ยาวกว่าในเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสยาวๆ เช่น เลนส์ 180 มม. จะช่วยให้คุณใช้กำลังขยายสูงสุดได้โดยไม่ต้องเข้าใกล้ตัวแบบมากจนเกินไป ซึ่งนี่จะช่วยลดการเกิดเงาของเลนส์บนตัวแบบ หรืออาจป้องกันการเกิดเงาได้

 

หากต้องการไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่คุณสามารถเปลี่ยนภาพถ่ายธรรมชาติในระยะใกล้ให้กลายเป็นการถ่ายภาพแอบสแตร็ค โปรดดูที่:
การถ่ายภาพแอบสแตร็ค: เปลี่ยนธรรมชาติให้เป็นพร็อบ

ต่อไปนี้คือเอฟเฟ็กต์อีกอย่างหนึ่งที่คุณสามารถสร้างได้ด้วยดอกไม้และเลนส์มาโคร 180 มม.
การถ่ายภาพดอกไม้: วิธีสร้างวงกลมโบเก้ที่สว่างจ้าให้สวยแจ่มด้วยเลนส์มาโคร

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Shinichi Eguchi
เกิดที่เมืองฟูชิมิ ในเกียวโต เมื่อปี 1953 Eguchi เป็นสมาชิกของสมาคม Japan Professional Photographers Society และมีผลงานถ่ายภาพในหลากหลายแนว ตั้งแต่การถ่ายภาพมาโครสำหรับตัวแบบที่มีขนาดเล็กในธรรมชาติไปจนถึงการถ่ายภาพทิวทัศน์ เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้กับนิตยสาร จัดงานสัมมนาการถ่ายภาพตามสถานที่ต่างๆ ตัดสินการแข่งขันภาพถ่าย และชื่นชอบที่จะเสนอแนะแนวทางให้แก่ช่างภาพมือสมัครเล่น นอกจากนี้ เขายังจัดนิทรรศการเดี่ยวอย่างสม่ำเสมอ และมีผลงานคอลเลกชั่นภาพถ่ายและหนังสือมากมาย

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา