ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด In Focus: EOS R- Part14

เทคนิคการถ่ายภาพดวงดาวที่ควรลองใช้กับ EOS R

2019-08-09
6
2.79 k
ในบทความนี้:

ค่าการเปิดรับแสงที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวนั้น สูงกว่าค่าที่ใช้ในวันที่มีแดดจัดและท้องฟ้าแจ่มใสถึงสี่ล้านเท่า เมื่อคุณมองแทบไม่เห็นสิ่งที่อยู่รอบตัว การจัดองค์ประกอบภาพและโฟกัสที่ดวงดาวอาจทำได้ยาก แต่กล้อง EOS R ก็ทำให้เป็นเรื่องง่ายได้อย่างไม่น่าเชื่อ ในบทความนี้ เราจะมาแบ่งปันเคล็ดลับและไอเดียในการถ่ายภาพดวงดาวที่คุณควรลองใช้กับกล้อง EOS R (เรื่องโดย: Shigemi Numazawa (Digital Camera Magazine))

 

เหตุผล 3 ข้อที่ทำให้กล้อง EOS R เหมาะสำหรับการถ่ายภาพดวงดาว

1. หากคุณชอบใช้ช่องมองภาพ: EVF ช่วยให้คุณ “มองเห็น” และโฟกัสได้ในความมืด
สำหรับผู้ที่ชอบการถ่ายภาพผ่านช่องมองภาพโดยตรง EVF คือทางเลือกที่ดีสำหรับการถ่ายภาพในที่มืด เนื่องจากสามารถแสดงข้อมูลเดียวกับที่คุณเห็นใน Live View และคุณสามารถแสดงตัวอย่างค่าการเปิดรับแสงได้ด้วย

 

2. เมื่อใช้ Live View: ถ่ายภาพได้สะดวกสบายยิ่งขึ้นด้วยหน้าจอ LCD แบบปรับหมุนได้
แทนที่จะต้องเงยศีรษะขึ้นตลอดเวลาเพื่อมองจอ LCD ขณะที่หันกล้องขึ้นฟ้า คุณสามารถหมุนหน้าจอให้อยู่ในมุมที่สบายที่สุดได้เพื่อลดการปวดเมื่อยคอ 

 

3. น้ำหนักขาตั้งกล้องเบาขึ้น
สำหรับการถ่ายภาพดวงดาว คุณย่อมต้องการเตรียมถ่ายภาพให้มั่นคงที่สุดเท่าที่จะทำได้ และตัวกล้องที่มีขนาดเล็กและเบากว่าของ EOS R ช่วยให้ได้สมดุลที่ดีขึ้นแม้จะใช้ขาตั้งกล้องที่มีขนาดเล็กกว่าเดิม

 

ฉาก 1: การใช้ AF ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ดวงดาวระยิบระยับ

EOS R/ RF35mm f/1.8 Macro IS STM/ FL: 35 มม./ Manual exposure (f/1.8, 20 วินาที, EV±0)/ ISO 1600/ WB: 3900K
อุปกรณ์เพิ่มเติม: ซอฟต์ฟิลเตอร์

ภาพนี้ถ่ายจากท้องฟ้าที่มืดสนิทบนภูเขา กลุ่มดาวต่างๆ ในฤดูหนาว รวมถึงกลุ่มดาวนายพรานและกระจุกดาวลูกไก่ที่ส่องแสงสว่างไสว โดยใช้ AF ในการโฟกัสและตั้งจุดโฟกัสไว้ที่ดวงดาวความสุกสว่างระดับ 1 (Magnitude 1) ในกลุ่มดาวนายพราน ผมใช้ซอฟต์ฟิลเตอร์เพื่อเบลอแสงดาว ซึ่งทำให้ดวงดาวดูมีขนาดใหญ่และสว่างขึ้น เทคนิคนี้นิยมใช้กันในการถ่ายภาพดวงดาว


หากมีกล้อง EOS R ตัวเลือกของคุณจะไม่ได้มีแค่ MF อีกต่อไป

วิธีปกติในการถ่ายภาพเช่นภาพด้านบนคือ ขยายจอภาพ Live View/EVF ให้สูงสุด จากนั้นจึงโฟกัสโดยใช้ MF อย่างไรก็ตาม การระบุพีคโฟกัสด้วยวิธีนี้อาจทำได้ยาก และผมแน่ใจว่าหลายคนคงประสบปัญหาในการควบคุมเลนส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเลนส์รุ่นใหม่ๆ ที่มีจังหวะของวงแหวนโฟกัสสั้นลง

ความสามารถในการโฟกัสในสภาวะแสงน้อยของกล้อง EOS R ช่วยให้ใช้ AF ในการโฟกัสที่ดวงดาวได้ ซึ่งมีความแม่นยำมากกว่าการหาโฟกัสด้วยตาเปล่า เพียงแต่ต้องใช้เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างเท่านั้น

 

หัวใจสำคัญ 3 ข้อที่จะทำให้จับ AF ที่ดวงดาวได้ง่ายขึ้น

1. หาดวงดาวที่สว่างเพื่อจับโฟกัส

หากดวงดาวมีความสว่าง AF จะสามารถจับโฟกัสได้แม้ใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ f/2.8 ดวงดาวนั้นมีการแบ่งประเภทตามค่าความสุกสว่าง ยิ่งตัวเลขค่าความสุกสว่างต่ำเท่าใด ดวงดาวจะสว่างมากเท่านั้น

หมายเหตุ: AF จะจับโฟกัสบนดวงดาวที่มีสีแดงได้ยากกว่าดาวอื่นๆ ที่มีความสว่างระดับเดียวกัน

ความสว่าง (ค่าความสุกสว่าง) ของดวงดาวในกลุ่มดาวนายพราน

ความสุกสว่างของดาวต่างๆ ในกลุ่มดาวนายพราน

 

ผมใช้ทางยาวโฟกัส XX มม. และค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ f/YY AF ของผมจะใช้ได้กับดาวแบบไหนบ้าง

ตารางด้านล่างแสดงค่าความสุกสว่างของดวงดาวที่ AF สามารถจับโฟกัสได้ที่ทางยาวโฟกัสและค่ารูรับแสงกว้างสุดต่างๆ กัน เมื่อติดตั้งซอฟต์ฟิลเตอร์เข้ากับเลนส์*

สัญลักษณ์: 〇 = ได้; × = ไม่ได้; △ = อาจได้

ทางยาวโฟกัส รูรับแสง จอภาพ EVF/Live View ความสุกสว่างที่ปรากฏของดวงดาว
-1 0 1 2 3
16 มม. 2.8 ปกติ × × × × ×
กำลังขยาย 10 เท่า × × × ×
35 มม. 2.8 ปกติ × × × × ×
กำลังขยาย 10 เท่า × × × ×
24 มม. 1.4 ปกติ × × ×
กำลังขยาย 10 เท่า ×
35 มม. 1.8 ปกติ × ×
กำลังขยาย 10 เท่า × ×
50 มม. 1.2 ปกติ × ×
กำลังขยาย 10 เท่า

*ความสามารถในการจับ AF ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ประเภทของซอฟต์ฟิลเตอร์ ตำแหน่งที่ติดตั้งฟิลเตอร์ และสภาพบรรยากาศ

 

2. ใช้เลนส์ไวแสง

ยิ่งเลนส์มีรูรับแสงกว้างสุดมากเท่าใด ก็จะใช้ AF จับโฟกัสที่ดวงดาวที่มืดได้ง่ายขึ้นเท่านั้น ถ้าให้ดี รูรับแสงกว้างสุดของเลนส์ควรอยู่ที่ f/2.8 หรือสว่างกว่านั้น

หากคุณไม่สามารถโฟกัสที่ดาวดวงใดได้ แต่มีแสงไฟจากถนนที่สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล (ห่างออกไปไม่กี่ร้อยเมตร) การโฟกัสไปที่แสงเหล่านั้นก็ได้ผลค่อนข้างดีเช่นกัน

กล้อง EOS R กับเลนส์ EF16-35mm f/2.8L IS III USM

อ่านข้อดีของการใช้เลนส์ f/1.4 ในการถ่ายภาพดวงดาวได้ที่:
การถ่ายภาพดาราศาสตร์: การถ่ายภาพท้องฟ้าที่ดารดาษไปด้วยแสงดาวด้วยเลนส์ f/1.4

 

3. ขยายตัวอย่างภาพใน EVF เพื่อให้โฟกัสได้ง่ายขึ้น

หน้าจอสัมผัสของกล้อง EOS R ช่วยให้คุณแตะลงบนดวงดาวที่มีความสว่างเพื่อกำหนดพื้นที่ AF รอบดวงดาว การขยายพื้นที่โฟกัสนี้จะช่วยให้จับโฟกัสได้แม่นยำมากขึ้น ยิ่งใช้กำลังขยายสูงในการแสดงภาพ ก็จะยิ่งจับโฟกัสได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ให้ใช้กำลังขยายสูงสุด (10 เท่า) เมื่อทำได้

กรอบ AF ที่ไม่มีกำลังขยาย

มุมมองปกติ

กรอบ AF ที่มีกำลังขยาย 10 เท่า

กำลังขยาย 10 เท่า


เคล็ดลับ: ปรับแต่งปุ่มต่างๆ เพื่อให้ขยายมุมมองได้รวดเร็วขึ้น
ผมกำหนดฟังก์ชั่นขยาย/ลดขนาดภาพให้กับปุ่มล็อค AE ซึ่งเป็นปุ่มหนึ่งที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุดในกล้อง EOS R วิธีนี้จะช่วยให้คุณสลับเปิดปิดกำลังขยาย 10 เท่าได้เพียงกดปุ่มครั้งเดียว

 

ฉาก 2: ใช้เส้นแสงดาวในการถ่ายทอดกระแสแห่งเวลา

เส้นแสงดาว

EOS R/ EF16-35mm f/2.8L III USM / FL: 16 มม./ Manual (f/2.8, 30 วินาที x 30 ภาพ, EV±0)/ ISO 2500/ WB: 3700K

เส้นแสงดาวเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่นิยมใช้ในการถ่ายภาพท้องฟ้าพร่างดาว ซึ่งคุณสามารถทำได้ด้วยกล้อง EOS R โดยถ่ายภาพต่อเนื่องด้วยสายลั่นชัตเตอร์ จากนั้นจึงนำภาพที่ได้มารวมกัน

เคล็ดลับ: ถ่ายภาพให้นานขึ้นเพื่อให้ได้ภาพที่ดียิ่งขึ้น
หากระยะเวลาการถ่ายภาพของคุณสั้นเกินไป เส้นแสงดาวจะมีความชัดเจนน้อยลง หากใช้เลนส์มุมกว้าง คุณควรถ่ายภาพเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 20 นาที หากต้องการให้ได้ผลที่น่าตื่นตาตื่นใจยิ่งขึ้น ให้ถ่ายภาพเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

กล้อง Canon EOS R และรีโมทสวิตช์ RS-60E

สายลั่นชัตเตอร์ที่มีกลไกในการล็อคชัตเตอร์ เช่น รีโมทสวิตช์ RS-60E ช่วยให้ล็อคปุ่มลั่นชัตเตอร์ไว้สำหรับการถ่ายภาพที่ต้องเปิดรับแสงต่อเนื่องเป็นเวลานาน

 

เส้นแสงดาวที่ถ่ายด้วยกล้อง EOS R

EOS R/ EF16-35mm f/2.8L III USM / FL: 16 มม./ Manual (f/2.8, 30 วินาที x 53 ภาพ, EV±0)/ ISO 2500/ WB: 3900K

 

2 ขั้นตอนในการถ่ายภาพเส้นแสงดาวให้น่าทึ่ง

1. ตรวจดูให้แน่ใจว่าการตั้งค่ากล้องที่คุณใช้สามารถถ่ายเส้นแสงดาวได้อย่างต่อเนื่อง

- ตั้งค่าโหมดขับเคลื่อนไปที่ “H” (การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง)
- ตั้งค่าการลดจุดรบกวนจากการเปิดชัตเตอร์นานเป็น “ปิด” เนื่องจากกระบวนการลดจุดรบกวนอาจทำให้เกิดความล่าช้าระหว่างการเปิดรับแสง

เมนู Quick Control ของโหมดขับเคลื่อน

ตั้งค่าโหมดขับเคลื่อนไปที่ “H”

เมนูการตั้งค่าการลดจุดรบกวนจากการเปิดชัตเตอร์นาน

ตั้งค่าการลดจุดรบกวนจากการเปิดชัตเตอร์นานเป็น “ปิด”

 

2. สร้างเส้นแสงดาวโดยนำภาพมารวมกันด้วยซอฟต์แวร์

สามารถสร้างเส้นแสงดาวได้โดยนำเฉพาะส่วนที่สว่างในภาพมารวมกัน ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยโปรแกรมซอฟต์แวร์พิเศษ เช่น StarStaX (ฉบับภาษาอังกฤษ) (ซอฟต์แวร์ฟรีที่ใช้ได้กับทั้ง Windows และ Mac)

ภาพหน้าจอจากซอฟต์แวร์ StarStaX

 

ต่อไปนี้คือวิธีอื่นๆ ที่คุณสามารถลองใช้ได้ในการสร้างเส้นแสงดาวให้แตกต่าง:
ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: การใช้ระเบิดซูมเพื่อเปลี่ยนดวงดาวบนท้องฟ้าให้เป็นฝนดาวตก

อ่านเคล็ดลับเกี่ยวกับการถ่ายภาพดวงดาวเพิ่มเติมที่:
ความรู้เบื้องต้นในการถ่ายภาพดาราศาสตร์ - คำแนะนำสำหรับมือใหม่
การถ่ายภาพดวงดาว: สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงเมื่อถ่ายภาพดวงดาว

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Shigemi Numazawa

เกิดเมื่อปี 1958 ที่จังหวัดนีงะตะ Numazawa เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพดาราศาสตร์และภาพประกอบทางดาราศาสตร์เป็นหลัก เขาเคยมีส่วนร่วมในโครงการของรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หลายโครงการที่จัดทำขึ้นโดยสถานีโทรทัศน์ NHK อีกทั้งยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นช่างภาพประจำ National Geographic Tour และได้รับรางวัล Good Life Award จากกระทรวงสิ่งแวดล้อม (ญี่ปุ่น) อีกด้วย

http://www.jplnet.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา