ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายวิดีโอ- Part1

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการถ่ายวิดีโอ: การตั้งค่ากล้องพื้นฐาน 7 แบบที่ควรตรวจเช็กและกำหนด

2024-02-09
1
4.21 k

หากคุณตกลงใจที่จะยกระดับการสร้างสรรค์คอนเทนต์/การถ่ายภาพยนตร์ของตนเองขึ้นไปอีกขั้นด้วยการหยุดใช้โหมดอัตโนมัติ ก็นับว่าตัดสินใจได้ดี เพราะคุณกำลังจะมีโอกาสได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดในการตั้งค่าพื้นฐานบางอย่างที่คุณควรตรวจเช็กและปรับเปลี่ยนก่อนเริ่มถ่ายทำ แม้ว่าคุณจะมีประสบการณ์ในการตั้งค่าแบบแมนนวลสำหรับถ่ายภาพนิ่ง แต่ขอบอกไว้ก่อนว่า วิดีโอจะเผยให้เห็นศักยภาพพิเศษที่มีอยู่ในการตั้งค่าธรรมดาๆ บางอย่างของการถ่ายภาพนิ่ง!

ในบทความนี้:

1. ความละเอียดของวิดีโอ

1. ความละเอียดของวิดีโอ: ควรเลือก 4K หรือ Full HD ดีกว่ากัน

การตั้งค่าความละเอียดของวิดีโอจะเป็นตัวกำหนดความละเอียดพิกเซล (ขนาด) ของวิดีโอและรายละเอียดที่สามารถแสดงให้เห็นได้ แม้ว่ากล้องของคุณอาจมีตัวเลือกอื่นๆ แต่ความละเอียดที่คุณจะต้องตัดสินใจเลือกบ่อยๆ น่าจะอยู่ระหว่าง 4K UHD (3840 x2160) และ Full HD (1920 x 1080)

ประเด็นที่ควรพิจารณาเมื่อตัดสินใจเลือกความละเอียดของวิดีโอมีดังนี้
- คุณจะนำฟุตเทจไปใช้ที่ไหนและอย่างไร
- คุณต้องการความยืดหยุ่นมากขึ้นในการครอปและซูมฟุตเทจหรือไม่
- คุณจะปล่อยให้กล้องบันทึกภาพต่อเนื่อง หรือถ่ายคลิปสั้นๆ
- ทรัพยากรต่างๆ เช่น พื้นที่จัดเก็บ กำลังการประมวลผล และแบนด์วิดท์ข้อมูล

4K:
- มีข้อมูลมากกว่า จึงทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในระหว่างขั้นตอนการตัดต่อ
- มีขนาดไฟล์ใหญ่กว่า

Full HD (“1080p”):
- เพียงพอสำหรับการใช้งานส่วนใหญ่ รวมถึงโซเชียลมีเดีย
- มีขนาดไฟล์เล็กกว่า
- ใช้ทรัพยากรน้อยกว่า

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความละเอียดแบบต่างๆ ของวิดีโอได้ที่
คำถามที่พบบ่อยในการถ่ายวิดีโอ: 8K, 4K และ Full HD คืออะไร มีวิธีใช้อย่างไร

2. อัตราเฟรม

2. อัตราเฟรม: ควรมีกี่เฟรมต่อวินาที

โดยทั่วไปแล้ว อัตราเฟรมสูงๆ จะถ่ายทอดการเคลื่อนไหวได้ลื่นไหลมากกว่า อัตราเฟรมที่ใช้กันบ่อยที่สุดคือ 24 fps ซึ่งเป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และ 30 fps แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโปรเจกต์ที่จะถ่ายด้วย นอกจากความสวยงามแล้ว คุณควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้ร่วมด้วย

- แพลตฟอร์มถ่ายทอดเนื้อหา: สำหรับวิดีโอที่ใช้ออกอากาศทางโทรทัศน์หรือฉายภาพ ความแตกต่างระหว่างระบบ PAL กับ NTSC เป็นเรื่องสำคัญ (ดูข้อ 3) การตั้งค่า PAL/NTSC จะส่งผลต่ออัตราเฟรมที่สามารถใช้ได้ นอกจากนี้ อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์บางอย่างที่ใช้เปิดเล่นอาจไม่รองรับอัตราเฟรมที่สูงกว่า 30 fps

- คุณจะนำฟุตเทจไปรวมกับฟุตเทจอื่นๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของลำดับภาพ (Sequence) ที่ใหญ่ขึ้นหรือไม่ หากใช่ ฟุตเทจทั้งหมดในลำดับภาพนั้นๆ ควรถ่ายด้วยอัตราเฟรมที่เท่ากัน แม้ว่าสามารถปรับอัตราเฟรมได้ในขั้นตอนการตัดต่อ แต่การเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่สม่ำเสมอ


ลองรับชม: 30 fps กับ 60 fps

 

วิดีโอทั้งสองถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/30 วินาที เพื่อลดสิ่งรบกวนความสนใจให้เหลือน้อยที่สุด กังหันในวิดีโอ 60 fps ดูหมุนได้ลื่นไหลมากกว่า (หมายเหตุ: สำหรับวิดีโอ 60 fps โปรดตรวจดูให้แน่ใจว่าได้เลือก “1080p60” หรือ “720p60” ในการตั้งค่าวิดีโอ)


ข้อควรรู้ (1): อัตราเฟรมโดยทั่วไป

24 fps เป็นอัตราเฟรมมาตรฐานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ผู้สร้างภาพยนตร์หลายรายรู้สึกว่าอัตราเฟรมนี้จะทำให้การเคลื่อนไหวดูเป็นธรรมชาติขึ้น

25 fps เป็นอัตราเฟรมมาตรฐานในอุตสาหกรรมการแพร่ภาพออกอากาศทางโทรทัศน์สำหรับประเทศที่ใช้ระบบ PAL ซึ่งรวมถึงหลายประเทศในทวีปยุโรปและเอเชีย

30 fps นิยมใช้สำหรับถ่ายทอดสดข่าวในประเทศที่ใช้ระบบ NTSC และในปัจจุบัน ยังมีการใช้บ่อยๆ สำหรับวิดีโอออนไลน์และการสตรีม

50 fps หรือ 60 fps: หากคุณถ่ายการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว เช่น กีฬาหรือสัตว์ป่า การใช้อัตราเฟรมสูงๆ จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ลื่นไหลยิ่งขึ้น

การตั้งค่าอัตราเฟรม (แสดงถัดจากขนาดการบันทึกในเมนู “ขนาดการบันทึกภาพเคลื่อนไหว”) จะกำหนดจำนวนเฟรมที่จะถูกบันทึกในหนึ่งวินาที (fps หมายถึง เฟรมต่อวินาที) “23.98P” หมายถึง 24 fps และ “29.97P” หมายถึง 30 fps ทั้งนี้ ตัวเลขเหล่านี้ไม่ใช่จำนวนเต็มเนื่องจากเหตุผลทางเทคนิค


ข้อควรรู้ (2): วิดีโอสโลโมชั่น

คุณสามารถถ่ายทำโดยใช้อัตราเฟรมสูงๆ แล้วส่งออกวิดีโอด้วยอัตราเฟรมต่ำๆ เพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์สโลโมชั่น ยกตัวอย่างเช่น วิดีโอ 60 fps ที่แปลงเป็นวิดีโอ 30 fps ในขั้นตอนการตัดต่อจะทำให้คุณได้วิดีโอสโลโมชั่นความเร็ว 1/2 เท่า แต่การลดความเร็วฟุตเทจที่ถ่ายด้วยอัตราเฟรม 24/25/30 fps อาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่แน่นอน ดังนั้น ควรระวังให้ดี!

นอกจากนี้ กล้องรุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะมีโหมดอัตราเฟรมสูง ซึ่งคุณสามารถใช้ถ่ายวิดีโอด้วยอัตราเฟรมสูงสุดถึง 180 fps ฟุตเทจจะบันทึกเป็นไฟล์วิดีโอ 30 หรือ 25 fps จึงทำให้ได้วิดีโอที่ความเร็วต่ำถึง 1/6 เท่า

ข้อควรรู้: เนื่องจากโหมดภาพเคลื่อนไหวอัตราต่อเฟรมสูงจะใช้แบตเตอรี่มากขึ้นและมีเวลาในการบันทึกสูงสุดสั้นลง จึงควรเลือกใช้ให้ถูกจังหวะ!

3. PAL หรือ NTSC ดีกว่ากัน

3. PAL หรือ NTSC ดีกว่ากัน

หากคุณไม่เห็นตัวเลือกอัตราเฟรมที่ต้องการ ให้ลองเช็กการตั้งค่าระบบวิดีโอในเมนูสีเหลือง “สำหรับ NTSC” จะ “ปลดล็อก” อัตราเฟรมที่สูงขึ้น ถ้าคุณไม่ได้ถ่ายวิดีโอเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์หรือเปิดฉายบนโปรเจคเตอร์!

ข้อควรรู้: ฉันอยู่ในประเทศที่ใช้ PAL ฉันสามารถใช้การตั้งค่าระบบ NTSC ได้หรือไม่

การตั้งค่าระบบวิดีโอใช้เพื่อซิงค์อัตราเฟรมกับความถี่ของการแพร่ภาพแบบอะนาล็อกที่แตกต่างกันไปในประเทศต่างๆ PAL ใช้สำหรับประเทศที่มีมาตรฐานความถี่ไฟฟ้า 50Hz (หลายประเทศในทวีปเอเชียและยุโรป) และ NTSC ใช้สำหรับประเทศที่ใช้มาตรฐาน 60Hz (อเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ เช่น ฟิลิปปินส์) แต่ไม่เหมาะนักกับทีวีดิจิตอลและเนื้อหาออนไลน์ อย่างไรก็ตาม การใช้การตั้งค่าระบบให้เหมาะกับประเทศที่คุณอยู่อาจช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงปัญหาแสงสั่นไหวเวลาถ่ายทำด้วยแสงเทียมได้

 

4. ความเร็วชัตเตอร์

4. ความเร็วชัตเตอร์

วิดีโอนี้แสดงให้เห็นว่าความเร็วชัตเตอร์ส่งผลต่อความสวยงามของวิดีโออย่างไร

ในวิดีโอ อัตราเฟรมจะเป็นตัวจำกัดความเร็วชัตเตอร์ที่คุณใช้ได้ แนวทางทั่วไปสำหรับการตั้งความเร็วชัตเตอร์คือ ตั้งไว้ที่สองเท่าของอัตราเฟรม ยกตัวอย่างเช่น หากอัตราเฟรมของคุณคือ 24 fps คุณควรตั้งความเร็วชัตเตอร์ไว้ที่ 1/40 หรือ 1/50 วินาที (เนื่องจากไม่มีการตั้งค่า “1/48 วินาที”)

แต่ไม่ใช่เรื่องตายตัว คุณสามารถปรับความเร็วชัตเตอร์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน การเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์มีเหตุผลหลักๆ อยู่สองดังนี้


i) ความสวยงาม
เช่นเดียวกับในการถ่ายภาพนิ่ง ความเร็วชัตเตอร์ช้าๆ จะทำให้เกิดภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวมากขึ้นในแต่ละเฟรม วิดีโอข้างต้นแสดงให้เห็นลักษณะที่ความเร็วชัตเตอร์เปลี่ยนคุณภาพของภาพเคลื่อนไหว จงใช้ความรู้นี้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ!

1/8 วินาที

1/30 วินาที

1/60 วินาที

1/200 วินาที

ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวที่มากขึ้น (ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้ากว่าปกติ) อาจทำให้ลำดับภาพดูเหมือนอยู่ในฝัน หรือสื่อถึงความงุนงงสับสนหรือมึนเมาก็ได้ ภาพที่คมชัดยิ่งขึ้นจากความเร็วชัตเตอร์สูงๆ สามารถทำให้การเคลื่อนไหวที่รวดเร็วดูฉับไวและน่าประทับใจมากขึ้น หากเป็นไปได้ ให้ลองถ่ายวิดีโอให้ต่างกันสองสามเทคด้วยความเร็วชัตเตอร์อื่นนอกจากความเร็ว “ปกติ” แล้วคุณอาจชื่นชอบผลลัพธ์ที่ได้มากกว่า!


ii) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาแสงสั่นไหวและแถบสี

คุณอาจสังเกตเห็นแสงสั่นไหวหรือแถบสี หากความเร็วชัตเตอร์ไม่ตรงกับความถี่ของแหล่งกำเนิดแสงเทียม หากคุณจะถ่ายวิดีโอในสภาพแวดล้อมที่มีความถี่ไฟฟ้า 50Hz อย่างเช่นหลายประเทศในเอเชีย วิธีการแก้ไขนอกจากการตั้งค่า PAL/NTSC คือ การเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่เป็นผลคูณหรือเศษส่วนของ 50 เช่น 1/100 หรือ 1/50 วินาที

เคล็ดลับระดับมือโปร: ใช้ความเร็วชัตเตอร์เพื่อควบคุมการชดเชยแสงเป็นทางเลือกสุดท้ายเท่านั้น
ในวิดีโอ ความเร็วชัตเตอร์ถูกจำกัดเป็นวิธีการควบคุมการชดเชยแสงวิธีหนึ่ง เนื่องจากความเร็วชัตเตอร์จะขึ้นอยู่กับอัตราเฟรมและอาจส่งผลต่อผลงานสร้างสรรค์ ใช้ฟิลเตอร์ ND สำหรับการถ่ายทำในวันที่มีแดดจ้า และใช้แหล่งกำเนิดแสงภายนอกหากคุณถ่ายทำในที่ที่มีแสงน้อย

5. สมดุลแสงขาว

5. สมดุลแสงขาว

การตั้งค่าสมดุลแสงขาวด้วยตนเองช่วยให้ทั้งภายในและระหว่างคลิปมีความสม่ำเสมอมากขึ้น คุณคงไม่ต้องการให้อุณหภูมิสีเปลี่ยนแปลงในระหว่างการบันทึกภาพ เพราะอาจแก้ไขได้ยากในขั้นตอนการตัดต่อ!

เลือกใช้ค่าสมดุลแสงขาวที่ตั้งไว้ล่วงหน้าในกล้องหนึ่งค่า ตั้งค่าสมดุลแสงขาวเอง หรือหมุนการตั้งค่าอุณหภูมิสี คุณอาจลองใช้การ์ดสมดุลแสงขาวหรือเกรย์การ์ด (Grey card) ร่วมด้วย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุดในการถ่ายทำ

6. รูรับแสง

6. รูรับแสง

EOS R6 Mark II + RF50mm f/1.8 IS STM @ f/1.8

รูรับแสงขนาดใหญ่ (ค่า f ต่ำๆ) ให้ระยะชัดที่ตื้นขึ้น (เอฟเฟ็กต์โฟกัสตื้นที่ชัดเจนขึ้น) ไม่ต่างจากการถ่ายภาพนิ่ง ตัวเลือกความเร็วชัตเตอร์ของคุณจึงมีจำกัดเมื่อเทียบกับการถ่ายภาพนิ่ง (ดู 4. ความเร็วชัตเตอร์) ดังนั้น ควรพกฟิลเตอร์ ND ติดตัวไปด้วยหากคุณต้องการสร้างเอฟเฟ็กต์โฟกัสตื้นในที่ที่มีแสงสว่างจ้า

7. ความไวแสง ISO

7. ความไวแสง ISO

ความไวแสง ISO ทำให้เห็นเม็ดเกรน (“จุดรบกวน”) ในฟุตเทจได้อย่างชัดเจน เหมือนกับในการถ่ายภาพนิ่ง จึงควรใช้ความไวแสง ISO ต่ำที่สุดเท่าที่ทำได้ ยกเว้นแต่ว่าคุณต้องการเอฟเฟ็กต์แบบนี้ พยายามหลีกเลี่ยงการปรับระดับแสงในขั้นตอนการตัดต่อ เนื่องจากอาจทำให้เกิดจุดรบกวนมากขึ้น ใช้ประโยชน์สูงสุดจากแสงที่มี และใช้แหล่งกำเนิดแสงอื่นๆ เมื่อจำเป็น

การตั้งค่าอื่นๆ ที่ควรตรวจเช็ก

8. การตั้งค่าอื่นๆ ที่ควรตรวจเช็ก

- โหมด IS (ระบบป้องกันภาพสั่นไหว) (เมนูสีแดง): หากคุณถ่ายทำโดยไม่ใช้ขาตั้ง ตรวจดูให้แน่ใจว่าเปิด Digital IS แล้ว เพื่อให้ได้ฟุตเทจที่นิ่งมากขึ้นแม้ถ่ายโดยไม่ใช้ขาตั้ง หากเลนส์ของคุณมีสวิตช์ IS เช็กดูให้แน่ใจว่าสวิตช์ดังกล่าวถูกตั้งค่าไว้ที่ “เปิด”

- การตั้งค่าการบันทึกด้วยการ์ด (เมนูสีเหลือง): โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกล้องของคุณมีช่องใส่การ์ดแบบคู่ การ์ดบางรุ่นไม่รองรับขนาดการบันทึกวิดีโอหรืออัตราเฟรมบางขนาด คำถามคือ กล้องของคุณบันทึกวิดีโอลงในการ์ดที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นการ์ดที่มีความเร็วในการเขียนข้อมูลมากกว่าและมีความจุสูงกว่าหรือไม่ คุณจะบันทึกวิดีโอและภาพนิ่งลงในการ์ดอันเดียวกันหรือแยกกัน

- การตั้งค่า Movie Servo AF (เมนูสีแดง หรือเมนูสีชมพูในกล้องระดับสูง): หากคุณจะใช้โฟกัสอัตโนมัติ ฟีเจอร์การตรวจจับตัวแบบเปิดอยู่หรือไม่ นอกจากนี้ คุณยังสามารถเปลี่ยนความเร็วและความไวในการติดตามของ Movie Servo AF ในกล้องระดับสูงๆ ซึ่งช่วยให้สามารถควบคุมความเร็วในการเปลี่ยนจุดโฟกัสได้มากขึ้น

- การแก้ไขปัญหาความยาวโฟกัสเปลี่ยนตามระยะถ่ายภาพ (เมนูสีแดง): แก้ไขการเปลี่ยนแปลงที่รบกวนสายตาในขอบเขตการมองเห็นที่อาจเกิดขึ้นเมื่อโฟกัสเปลี่ยนแปลง

- สำหรับผู้ใช้งานระดับสูง: หากคุณวางแผนที่จะถ่ายทำภาพยนตร์ ควรเปิดใช้งานการบันทึก Canon Log หากคุณวางแผนที่จะทำการเกลี่ยสี และคุณยังสามารถบันทึกภาพด้วยอัตราการบีบอัดข้อมูลสีหรือความลึกสีสูงๆ ได้

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา