ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การซ้อนโฟกัส: เทคนิคมืออาชีพที่ทำได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วย Focus Bracketing

2019-10-02
4
5.98 k
ในบทความนี้:

การซ้อนโฟกัส (หรือ “การรวมความลึกเข้าด้วยกัน”) เป็นเทคนิคที่ช่างภาพผลิตภัณฑ์มืออาชีพใช้กันบ่อยที่สุดเพื่อให้ได้ภาพผลิตภัณฑ์ที่มีรายละเอียดชัดเจน เทคนิคนี้น่าเบื่อและใช้เวลานานหากต้องทำด้วยตนเอง แต่จะเป็นเรื่องง่ายขึ้นหากได้ฟังก์ชั่น Focus Bracketing ในกล้องช่วย ภาพที่ถ่ายด้วยการซ้อนโฟกัสมีความแตกต่างอย่างไร และคุณจะถ่ายภาพเหล่านี้ได้อย่างไร อ่านต่อเพื่อหาคำตอบ แล้วคุณอาจจะอยากลองถ่ายภาพเช่นนี้เองก็เป็นได้!

ภาพนาฬิกาที่ถ่ายโดยใช้ฟังก์ชั่น Focus Bracketing

 

การซ้อนโฟกัส: เทคนิคที่นำเอาภาพซึ่งถ่ายด้วยทางยาวโฟกัสต่างๆ กันมาซ้อนกันเพื่อให้ได้ระยะชัดมากขึ้น

ฟังก์ชั่น Focus Bracketing ใช้ระบบ AF ในการถ่ายภาพหลายๆ ภาพ โดยวางจุดโฟกัสห่างออกไปจากเดิมเล็กน้อยในแต่ละภาพ คุณสามารถใช้ซอฟต์แวร์ปรับแต่งภาพ Digital Photo Professional (DPP) ของ Canon เพื่อนำเอาส่วนที่อยู่ในโฟกัสของภาพที่ถ่ายด้วย Focus Bracketing มาซ้อนกัน ซึ่งจะทำให้ภาพสุดท้ายที่ได้มีความคมชัดและอยู่ในระยะโฟกัสทั้งหมดตั้งแต่ด้านหน้าไปจนถึงด้านหลัง

ภาพตัวอย่างแสดงการซ้อนโฟกัส

ภาพ A ถึง D คือภาพที่ถ่ายด้วยฟังก์ชั่น Focus Bracketing โดยมีจุดโฟกัสต่างกัน ตั้งแต่ส่วนต่างๆ ของตัวแบบที่อยู่ใกล้กับกล้องมากที่สุดไปจนห่างที่สุด ใช้เครื่องมือ Depth Compositing (การประกอบความลึก) ใน DPP เพื่อรวมภาพเหล่านั้นเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ภาพสุดท้ายที่มีความคมชัดทั่วทั้งภาพ (แผนภาพใช้ในการแสดงตัวอย่างเท่านั้น)

 

เพราะเหตุใดเราจึงต้องใช้การซ้อนโฟกัส


หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับระยะชัด

เราต่างทราบดีว่า การใช้รูรับแสงกว้างทำให้แบ็คกราวด์เกิดการ “เบลอ” หรืออยู่นอกโฟกัสนั่นเอง นั่นหมายความว่าพื้นที่ที่อยู่ในโฟกัสจะแคบลง ซึ่งสามารถเรียกได้ว่า "ระยะชัดตื้น" เช่นกัน

“ระยะชัด” หมายถึง พื้นที่ในภาพที่มีความคมชัด (“อยู่ในโฟกัส”) หลังจากที่เราได้จับโฟกัสบนตัวแบบแล้ว ปัจจัยสามข้อที่มีผลต่อระยะชัดลึกได้แก่:

1. รูรับแสง
2. ทางยาวโฟกัส
3. ระยะการถ่ายภาพ


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแต่ละข้อกับระยะชัดมีดังต่อไปนี้

ปัจจัย ระยะชัด
ตื้น ลึก
รูรับแสง กว้าง แคบ
ทางยาวโฟกัส ยาว สั้น
ระยะการถ่ายภาพ ใกล้ ไกล

 

ปัจจัยข้อใดส่งผลต่อระยะชัดมากที่สุด

บางคนอาจจะประหลาดใจ เพราะคำตอบคือ ระยะการถ่ายภาพ

คุณมักจะไม่สังเกตเห็นความแตกต่างเมื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรตหรือภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ เพราะในภาพเหล่านี้ ตัวแบบมักจะอยู่ไกลออกไประยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม คุณอาจจะเห็นความแตกต่างนี้เมื่อถ่ายภาพแบบโคลสอัพและภาพมาโคร เนื่องจากระยะการถ่ายภาพนั้นสั้นกว่ามาก

ตัวอย่างเช่น: สมมติว่า คุณต้องการถ่ายภาพดอกไม้เล็กๆ แบบโคลสอัพ เคยไหมที่คุณตั้งค่ารูรับแสงที่ f/2.8 เพราะต้องการสร้างโบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์ แต่ลงเอยด้วยระยะชัดที่ตื้นมากจนไม่สามารถโฟกัสดอกไม้ได้ทั้งดอก

หากปัญหาเช่นนี้เคยเกิดขึ้นกับคุณ 

โดยปกติแล้ว คุณจะต้องปรับรูรับแสงให้แคบลงมาที่ประมาณ f/11 ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้จับโฟกัสได้ง่ายขึ้นเท่านั้น แต่คุณจะยังคงมีโบเก้ที่สวยงามในแบ็คกราวด์ด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะระยะการถ่ายภาพนั้นใกล้ ซึ่งทำให้คุณได้ระยะชัดตื้นที่จำเป็นต่อการสร้างโบเก้ในแบ็คกราวด์อยู่เช่นเดิม แม้จะใช้รูรับแสงแคบ 

 

การซ้อนโฟกัสมีความแตกต่างจากโฟกัสชัดลึกตามปกติอย่างไร

ภาพดอกไม้ที่ได้จากการซ้อนโฟกัส

การใช้รูรับแสงแคบมาก เช่น f/22 จะช่วยให้เราได้ภาพที่ดูเหมือนอยู่ในโฟกัสทั้งหมดเช่นภาพนี้ แต่ถ้าหากมองใกล้ๆ คุณจะสังเกตเห็นได้ว่าแต่ละส่วนในภาพมีความคมชัดไม่เท่ากัน

 

ถ่ายที่ค่า f/22

ภาพโคลสอัพของดอกไม้ ถ่ายโดยไม่ใช้การซ้อนโฟกัสที่ f/22

บริเวณนี้คือตรงกลางภาพ ซึ่งเป็นจุดที่ตั้งโฟกัสไว้ แต่ยังคงดูไม่คมชัดเท่าที่ควรเนื่องจากการเลี้ยวเบนของแสง

ภาพที่ถ่ายโดยการซ้อนโฟกัส

ภาพโคลสอัพของดอกไม้ที่ใช้การซ้อนโฟกัส

บริเวณตรงกลางภาพซึ่งเป็นจุดที่ตั้งโฟกัสเอาไว้ ดูมีความคมชัด

ภาพโคลสอัพของดอกไม้ที่ไม่ใช้การซ้อนโฟกัสดูไม่คมชัดเท่าที่ควร

ดอกไม้ดอกนี้อยู่หลังจุดโฟกัสและอยู่นอกระนาบโฟกัสเล็กน้อย จึงดูเหมือนอยู่นอกโฟกัสนิดหน่อยด้วย

ภาพโคลสอัพของดอกไม้ที่ใช้การซ้อนโฟกัส แสดงให้เห็นเส้นขนละเอียดอย่างชัดเจน

ดอกไม้ดอกเดียวกันดูมีความคมชัด

เมื่อคุณพยายามจับโฟกัสชัดลึกในภาพโดยใช้รูรับแสงแคบ จะยังคงมีโอกาสที่ระยะชัดจะขยายออกไปไม่ลึกพอให้องค์ประกอบทุกอย่างอยู่ในโฟกัสอย่างคมชัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวแบบที่คุณใช้ในการถ่ายภาพ รูรับแสงที่แคบมากจะเพิ่มโอกาสในการกระจายแสง ซึ่งทำให้ภาพดูไม่คมชัดเท่าที่ควร

ดังนั้น เราจึงใช้การซ้อนโฟกัสเพื่อให้แน่ใจว่าภาพที่มีระยะชัดกว้างมีความคมชัดอย่างแท้จริงและมีคุณภาพของภาพสูง

 

วิธีการใช้ Focus Bracketing

การซ้อนโฟกัสเป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ระดับมืออาชีพ โดยทั่วไป ช่างภาพจะใช้การโฟกัสแบบแมนนวล (MF) เพื่อถ่ายภาพหลายภาพโดยเปลี่ยนจุดโฟกัสไปเรื่อยๆ ในการถ่ายภาพแต่ละครั้ง จากนั้นจะนำภาพมาจัดให้เป็นแนวเดียวกันและรวมเข้าด้วยกันด้วยซอฟต์แวร์ปรับแต่งภาพ

แม้จะฟังดูไม่ยาก แต่ความจริงแล้วเป็นเทคนิคที่ต้องใช้ทักษะและประสบการณ์อย่างมากหากต้องการให้ภาพออกมาดูดี การใช้ฟังก์ชั่น Focus Bracketing ในกล้องจะลดความยุ่งยากในกระบวนการนี้โดยทำให้ภาพเป็นแบบอัตโนมัติ และเครื่องมือ Depth Compositing ใน DPP จะช่วยให้นำภาพต่างๆ มารวมกันเป็นภาพสุดท้ายที่สวยงามได้ง่ายดายยิ่งขึ้น


คำแนะนำแบบทีละขั้นตอน:

1. ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้อง สิ่งสำคัญคือ ต้องให้กล้องมีความมั่นคงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้!

2. จัดองค์ประกอบภาพ ถ่ายภาพให้กว้างขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากคุณจะต้องครอปภาพในภายหลัง

3. ตรวจดูให้แน่ใจว่าคุณตั้งโหมดการโฟกัสไปที่ “AF”

4. เปิดใช้งานฟังก์ชั่น Focus Bracketing กำหนดจำนวนภาพที่จะได้ในการถ่ายหนึ่งครั้ง และการเพิ่มโฟกัส (คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดในเมนู)

5. จับโฟกัสบนตัวแบบในส่วนที่อยู่ใกล้กับเลนส์มากที่สุด แล้วลั่นชัตเตอร์

6. ถ่ายโอนไฟล์ภาพไปยังคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง DPP เวอร์ชันล่าสุดไว้ (เวอร์ชันที่เก่ากว่า v4.10.0 จะไม่มีเครื่องมือ Depth Compositing)

7. ในซอฟต์แวร์ DPP ให้เลือกภาพที่ถ่ายด้วย Focus Bracketing ทั้งหมด และเริ่มการใช้งานเครื่องมือ Depth Compositing

8. ตรวจดูภาพที่รวมความลึกแล้ว หากภาพออกมาไม่ดี ให้เปลี่ยนพารามิเตอร์แล้วลองใหม่อีกครั้ง

(คุณอาจต้องถ่ายภาพใหม่โดยใช้การเพิ่มโฟกัสที่ต่างไปจากเดิม)

 

วิธีการตั้งค่า Focus Bracketing ในกล้องของคุณ

เมนูการถ่ายภาพที่เลือกฟังก์ชั่น Focus Bracketing ไว้

เลือก “Focus Bracketing” จากเมนูการถ่ายภาพ เลือก “เปิดใช้งาน”

ภาพเมนูแสดงจำนวนภาพที่ถ่าย

กำหนดจำนวนภาพต่อการถ่ายหนึ่งครั้ง
หมายเหตุ: หากคุณกำหนดจำนวนภาพมากเกินไป จะใช้เวลามากขึ้นในการรวมภาพเข้าด้วยกัน

ภาพเมนูแสดงการเลือกการเพิ่มโฟกัส

กำหนดค่าการเพิ่มโฟกัส ช่วงการเพิ่มที่แคบ หมายถึง การที่จุดโฟกัสในแต่ละภาพจะค่อนข้างอยู่ใกล้กัน แต่ช่วงการเพิ่มที่กว้างขึ้นจะทำให้จุดโฟกัสอยู่ห่างกัน โดยทั่วไปแล้ว ตัวแบบที่มีขนาดเล็กจะต้องใช้ช่วงการเพิ่มที่แคบกว่า และตัวแบบที่มีขนาดใหญ่จะต้องใช้ช่วงการเพิ่มที่กว้างกว่า เวลาปรับการตั้งค่านี้ ให้ลองนึกถึงภาพสุดท้ายที่จะได้

เมนูสำหรับการเปิด/ปิดใช้งานการเกลี่ยแสง

โดยปกติแล้ว ค่าการเปิดรับแสงจะกำหนดไว้คงที่ในภาพแรก แต่สำหรับกล้องที่รองรับคุณสมบัติการเกลี่ยแสง จะมีการปรับเล็กน้อยในแต่ละภาพเพื่อป้องกันไม่ให้ความสว่างของภาพเกิดความผันผวน

 

ภาพหน้าจอจากซอฟต์แวร์ DPP ที่แสดงภาพขนาดเล็กของภาพที่ถ่ายด้วย Focus Bracketing

เมื่อคุณถ่ายภาพและอัพโหลดภาพไปที่ DPP แล้ว ให้เลือกภาพและเริ่มใช้เครื่องมือ Depth Compositing จากเมนู DPP

 

เมนูใน DPP แสดงพารามิเตอร์ที่สามารถเลือกได้สำหรับ Depth Compositing

คุณสามารถปรับพารามิเตอร์ต่างๆ ได้ก่อนที่จะเริ่มใช้เครื่องมือ

 

การนำ Focus Bracketing ไปใช้ประโยชน์

การซ้อนโฟกัสเป็นเทคนิคที่ใช้กันมากที่สุดในการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์สำหรับโฆษณา แต่คุณยังสามารถใช้ในการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์สำหรับเว็บไซต์ขายสินค้าหรือการประมูลออนไลน์ได้เช่นกัน หรือคุณอาจอยากลองใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติเช่นกัน เนื่องจากเป็นวิธีหนึ่งในการถ่ายภาพด้วยโฟกัสชัดลึกโดยไม่เสี่ยงต่อการเกิดการเลี้ยวเบนของแสงจากรูรับแสงแคบ

คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้เช่นกัน:
การถ่ายภาพทิวทัศน์: เคล็ดลับสำหรับภาพโฟกัสชัดลึกที่สวยงามน่าทึ่ง 

 

กล้องที่มี Focus Bracketing

EOS RP

EOS RP

Focus Bracketing: เปิดใช้งาน/ปิดใช้งาน
จำนวนภาพ: 2 – 999
การเพิ่มโฟกัส: แคบ – กว้าง (1 - 10)
การเกลี่ยแสง: เปิดใช้งาน/ปิดใช้งาน

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกล้อง EOS RP ได้ที่นี่

เลนส์รุ่นที่เข้ากันได้*

RF24-105mm f/4L IS USM
RF28-70mm f2/L USM
RF50mm f/1.2L USM
RF35mm f/1.8 Macro IS STM
EF16-35mm f/4L IS USM
EF24-70mm f/4L IS USM
EF100mm f/2.8L Macro IS USM^
EF180mm f/3.5L Macro USM^
EF-S35mm f/2.8 Macro IS STM
EF-S60mm f/2.8 Macro USM^

*ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2018
^เมื่อปิดใช้งานการเกลี่ยแสง

 

EOS 90D

EOS 90D

Focus Bracketing: เปิดใช้งาน/ปิดใช้งาน
จำนวนภาพ: 2 – 999
การเพิ่มโฟกัส: แคบ – กว้าง (1 - 10)
การเกลี่ยแสง: เปิดใช้งาน/ปิดใช้งาน

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกล้อง EOS 90D ได้ที่นี่

เลนส์รุ่นที่เข้ากันได้*

EF16-35mm f/4L IS USM
EF24-70mm f/4L IS USM
EF100mm f/2.8L Macro IS USM
EF180mm f/3.5L Macro USM
EF-S35mm f/2.8 Macro IS STM
EF-S60mm f/2.8 Macro USM

*ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2019

 

EOS M6 Mark II

EOS M6 Mark II

Focus Bracketing: เปิดใช้งาน/ปิดใช้งาน
จำนวนภาพ: 2 – 999
การเพิ่มโฟกัส: แคบ – กว้าง (1 - 10)
การเกลี่ยแสง: เปิดใช้งาน/ปิดใช้งาน

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกล้อง EOS M6 Mark II ได้ที่นี่

เลนส์รุ่นที่เข้ากันได้*

EF-M28mm f/3.5 Macro IS STM
EF-M15-45mm f/3.5-6.3 IS STM
EF-M18-150mm f/3.5-6.3 IS STM
EF16-35mm f/4L IS USM
EF24-70mm f/4L IS USM
EF100mm f/2.8L Macro IS USM
EF180mm f/3.5L Macro USM
EF-S35mm f/2.8 Macro IS STM
EF-S60mm f/2.8 Macro USM
EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM

*ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2019

 

PowerShot G5 X Mark II

PowerShot G5 X Mark II

Focus Bracketing: เปิดใช้งาน/ปิดใช้งาน
จำนวนภาพ: 2 – 100
การเพิ่มโฟกัส: แคบ – กว้าง (1 - 10)
การเกลี่ยแสง: Nil

PowerShot G7 X Mark III

PowerShot G7 X Mark III

Focus Bracketing: เปิดใช้งาน/ปิดใช้งาน
จำนวนภาพ: 2 – 100
การเพิ่มโฟกัส: แคบ – กว้าง (1 - 10)
การเกลี่ยแสง: Nil

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกล้อง PowerShot G5 X Mark II และ PowerShot G7 X Mark III ได้ที่นี่

 

ภาพตัวอย่าง


ภาพรถไฟที่ถ่ายด้วยการซ้อนโฟกัส

EOS RP

 

ภาพนาฬิกาที่ถ่ายด้วยการซ้อนโฟกัส

EOS RP

 

ภาพดอกไม้ที่ถ่ายด้วยการซ้อนโฟกัส

PowerShot G5 X Mark II

 

ภาพขนมเค้กที่ถ่ายด้วยการซ้อนโฟกัส

PowerShot G7 X Mark III

 

หากต้องการทราบเคล็ดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ โปรดอ่านบทความต่อไปนี้:
เทคนิคพื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์
วิธีสร้างแบ็คกราวด์ภาพฟรุ้งฟริ้งด้วยวงกลมโบเก้สำหรับภาพถ่ายของตกแต่งชิ้นเล็กน่ารัก

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา