ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ภาพทิวทัศน์ที่มีท้องฟ้าสไตล์มินิมัลลิสต์

2020-09-18
1
2.06 k
ในบทความนี้:

ไม่มีช่างภาพธรรมชาติคนใดสามารถหลีกเลี่ยงท้องฟ้าได้ ท้องฟ้าไม่ได้เป็นเพียงพื้นที่กว้างใหญ่ที่เชื่อมโยงเราทุกคนเข้ากับจักรวาลเท่านั้น แต่ยังเป็นผืนผ้าใบสวยตระการตาให้กับภาพของเราได้ด้วย! แต่ถ้าหากเราไม่มีวิธีการที่ดีพอ องค์ประกอบภาพจะทำให้รู้สึกเหมือนมีพื้นที่ว่างมากเกินไป การถ่ายภาพท้องฟ้าด้วยอัตราส่วน 7:3 จะเป็นการฝึกฝนให้คุณใส่ใจกับวิธีการใช้พื้นที่ในภาพมากขึ้น พร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลย! (เรื่องโดย Toshiki Nakanishi, Digital Camera Magazine)

ฟ้าสีครามเหนือไร่เกษตร

EOS R/ RF28-70mm f/2L USM/ FL: 31 มม./ Flexible-priority AE (f/11, 1/320 วินาที)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

 

ขั้นตอนที่ 1: ทราบว่าภาพของคุณจะดูเป็นอย่างไรเมื่อเพิ่มท้องฟ้าเข้าไปให้มากขึ้น

เมื่อเราได้เห็นฉากน่าตื่นตาตื่นใจ เช่น ทุ่งดอกไม้ที่สวยงามตัดกับท้องฟ้าสดใส เรามักจะต้องการใส่ทุกอย่างเข้ามาในเฟรมภาพ แต่การรวมเอาองค์ประกอบที่สำคัญทั้งหมดเข้ามาในสัดส่วนที่เท่ากันจะทำให้เกิดการแย่งความสนใจ และเมื่อไม่มีตัวแบบหลักที่เห็นได้ชัดเจน ผู้ชมจะไม่ทราบว่าควรมองไปที่ใด


ตัวอย่างที่ไม่ดี: ท้องฟ้า 50% พื้นดิน 50%

ทุ่งลาเวนเดอร์ ต้นไม้ และท้องฟ้า

ตัวแบบหลักคืออะไร ไม่สามารถเห็นได้ชัดในภาพนี้

ในบางสถานการณ์ การใส่ท้องฟ้าเข้าไปในภาพให้มากขึ้นอาจดูสมเหตุสมผลมากกว่า เช่น เมื่อคุณถ่ายภาพท้องฟ้ายามค่ำคืนที่มีดวงดาวส่องประกาย นั่นคือช่วงเวลาที่คุณควรกล้าที่จะปล่อยให้ท้องฟ้ากินพื้นที่มากขึ้นในเฟรมภาพ เพื่อให้ตัวแบบหลักซึ่งก็คือท้องฟ้าเด่นชัดมากยิ่งขึ้น แต่แน่นอนว่าคุณยังคงต้องใช้ความระมัดระวังในการจัดวางท้องฟ้าและพื้นดินให้มีความสมดุลด้วยเช่นกัน!


ตัวอย่างที่ดี: ท้องฟ้า 80% พื้นดิน 20%

ท้องฟ้าเต็มไปด้วยดวงดาวเหนือเทือกเขาหิมะ

เห็นตัวแบบหลักได้ชัดเจนกว่ามาก


คำถามที่พบบ่อย: ระยะใดดีกว่ากัน เทเลโฟโต้หรือมุมกว้าง

ความรู้สึกกว้างใหญ่ที่เกิดจากเลนส์มุมกว้างนั้นสามารถดึงเอารายละเอียดที่โดดเด่นของท้องฟ้าออกมาได้อย่างดีเยี่ยม รายละเอียดนี้เหมาะเป็นพิเศษสำหรับการถ่ายภาพในเวลาที่มีก้อนเมฆน่าสนใจจำนวนมาก เนื่องจากเปอร์สเป็คทีฟแบบมุมกว้างจะช่วยให้เห็นการเคลื่อนที่ของก้อนเมฆได้ชัดขึ้นและทำให้รู้สึกเหมือนเมฆกำลังลอยออกไปนอกเฟรมภาพ

ฟ้าสีครามเหนือไร่เกษตร

การถ่ายภาพโดยใช้มุมกว้างช่วยเพิ่มความรู้สึกกว้างใหญ่ไพศาล

 

ขั้นตอนที่ 2: ทิวทัศน์บนพื้นดินอาจดูสวยงาม แต่คุณควรเลือกให้ดีว่าจะให้อะไรอยู่ในเฟรมภาพ!

รุ้งกินน้ำเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของฉากที่อาจดูรกเกินไปได้ง่าย เพราะเราจะมัวแต่สนใจกับการถ่ายภาพจนมักจะใส่องค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่บนพื้นเข้ามามากเกินไป ไม่ว่าจะตัดสินใจให้ท้องฟ้ากินพื้นที่ 70% หรือ 80% ในภาพ คุณควรคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแบบหลัก (ท้องฟ้า) กับตัวแบบรอง (พื้นดิน) ขณะจัดองค์ประกอบภาพ


ตัวอย่างที่ไม่ดี: มีองค์ประกอบบนพื้นมากเกินไป

รุ้งกินน้ำ (ภาพเสีย)

พื้นดินที่อยู่ในโฟร์กราวด์นั้นมืด และเมื่อกินพื้นที่ในภาพมากจึงถ่วงน้ำหนักของทั้งภาพลงมา ซึ่งเป็นการดึงความสนใจของเราออกไปจากรุ้งกินน้ำ


ตัวอย่างที่ดี: หลังจากจัดองค์ประกอบให้เรียบร้อยขึ้น

รุ้งกินน้ำสองชั้น

ผมจัดองค์ประกอบของภาพใหม่เพื่อให้มีพื้นดินน้อยลงซึ่งทำให้ภาพดูเรียบง่ายขึ้น และยังตรวจดูให้แน่ใจด้วยว่าองค์ประกอบต่างๆ มีความสมดุล สายตาของผู้ชมจะถูกดึงไปยังตัวแบบหลักและคงอยู่ในจุดนั้น ซึ่งก็คือรุ้งกินน้ำสองชั้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: เคล็ดลับสำหรับการถ่ายภาพรุ้งกินน้ำ


ข้อควรระวัง: อย่าลืมดูให้ขอบฟ้าเป็นเส้นตรง! (ระดับความเอียงอิเล็กทรอนิกส์ของคุณมีขีดจำกัด)

เมื่อท้องฟ้ากินพื้นที่มาก จะเห็นเส้นขอบฟ้าที่เอียงได้ชัดเจนขึ้น ตรวจดูความเอียงในขณะที่คุณถ่ายภาพ 

ภาพเอียงในแนวนอนที่แก้ไขแล้ว

เคล็ดลับ: ในภาพนี้ เราให้ความสนใจมากกว่าว่า ขอบฟ้าเป็นเส้นตรงมากแค่ไหนในภาพ ไม่ใช่ขนานกับพื้นมากแค่ไหน ดังนั้น การใช้การวัดระดับความเอียงด้วยวิธีทางกายภาพหรืออิเล็กทรอนิกส์อาจไม่ช่วยมากนัก การใช้ตารางจะช่วยให้คุณมองเห็นได้ดีกว่า การแก้ไขในกระบวนการปรับแต่งภาพจะทำให้คุณต้องหมุนและครอปภาพ ซึ่งอาจทำให้ภาพสูญเสียความรู้สึก “กว้างใหญ่” ไป

 

ขั้นตอนที่ 3: ใช้ก้อนเมฆให้เป็นประโยชน์เพื่อให้ภาพส่งผลต่ออารมณ์ได้มากขึ้น

วันที่มีอากาศดีและแจ่มใสอาจไม่ใช่วันที่เหมาะกับการถ่ายภาพท้องฟ้า ให้ลองถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงนานในวันที่มีเมฆครึ้ม หรือแม้แต่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นหรือหลังพระอาทิตย์ตก


ถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงนานเพื่อเก็บภาพการเคลื่อนที่ของก้อนเมฆ

เมฆครึ้มทะมึนเหนือทิวเขา

สภาวะหนึ่งที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพท้องฟ้าให้ส่งผลต่ออารมณ์เป็นอย่างยิ่งคือเมื่อมีลมแรงและมีเมฆมาก เพื่อถ่ายทอดรายละเอียดของเมฆที่กำลังเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ ให้ดียิ่งขึ้น ให้ลองถ่ายภาพโดยเปิดรับแสงเป็นเวลานานและใช้ฟิลเตอร์ ND เพื่อลดปริมาณแสง


ภาพแสงอาทิตย์เรืองรองอันน่าตื่นตาตื่นใจ

ลำแสงของดวงอาทิตย์เหนือขอบฟ้า

ลำแสงของดวงอาทิตย์ที่ส่องออกมาเหนือขอบฟ้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้นและหลังพระอาทิตย์ตกนับเป็นภาพมหัศจรรย์ที่ใครๆ ควรได้เห็น ขณะถ่ายภาพในฉากเช่นนี้ อย่าลืมทำตามขั้นตอนที่ 2! ท้องฟ้าและแสงอาทิตย์คือตัวแบบหลักของคุณ ดังนั้นจึงควรนึกถึงข้อนี้ไว้และพยายามลดสัดส่วนพื้นที่ของตัวแบบรองลง

 

ตรวจสอบด้วยตนเอง: สิ่งที่คุณต้องถามตัวเองขณะถ่ายภาพ


1. สัดส่วนของท้องฟ้าที่กินพื้นที่ในเฟรมภาพมีความเหมาะสมหรือไม่

อัตราส่วนที่ดีที่สุดระหว่างท้องฟ้ากับพื้นดินจะแตกต่างกันไปในแต่ละฉาก คุณจำเป็นต้องพิจารณาดูว่าต้องการบอกเล่าเรื่องราวใดโดยการใช้พื้นที่ของท้องฟ้า

ท้องฟ้าสีชมพูและม่วงที่มีพระจันทร์

ในภาพด้านบน พระจันทร์เต็มดวงกำลังลอยอยู่บนท้องฟ้าที่มีการไล่เฉดสีอย่างสวยงาม ภาพนี้ได้องค์ประกอบที่สมดุลจากอัตราส่วนระหว่างท้องฟ้ากับพื้นดินที่ 7:3


2. การจัดองค์ประกอบภาพของคุณทำให้ท้องฟ้าดูสวยงามที่สุดหรือไม่

ตัวอย่างที่ไม่ดี: มีพื้นดินมากเกินไป

ท้องฟ้าสีครามไล่เฉดสีขณะพระอาทิตย์ขึ้น

ภาพท้องฟ้ายามรุ่งสางด้านบนมีการไล่เฉดสีที่สวยงาม แต่ความสนใจของผมอยู่ที่พื้นดินด้วยเช่นกัน และภาพก็แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน ท้องฟ้าคงดูน่าประทับใจกว่านี้หากมีพื้นดินน้อยกว่า ตัดสินใจให้ดีว่าคุณต้องการแสดงตัวแบบใดและจัดองค์ประกอบภาพให้สายตาทุกคู่มุ่งไปที่สิ่งนั้นเท่านั้น!


อ่านไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพท้องฟ้าและทิวทัศน์ได้ที่:
การเริ่มต้นถ่ายภาพทิวทัศน์: 5 สิ่งที่ควรทราบ
การตัดสินใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์: ควรใส่ดวงอาทิตย์ไว้ในเฟรมภาพดีหรือไม่
ถ่ายภาพสีสันสดใสและร้อนแรงของพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ
หลักสำคัญ 4 ข้อในการถ่ายภาพทิวทัศน์ก่อนฟ้าสาง

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Toshiki Nakanishi

เกิดปี 1971 ในโอซาก้า หลังจากศึกษาการถ่ายภาพด้วยตัวเอง Nakanishi ย้ายสถานที่ดำเนินกิจกรรมถ่ายภาพของตนไปยังเมือง Biei ที่อำเภอ Kamikawa-gun ในฮอกไกโด นอกจากถ่ายภาพทิวทัศน์ที่โฟกัสที่แสงเป็นหลักแล้ว เขายังสร้างสรรค์ผลงานที่เน้นถึงความงามของธรรมชาติในจินตนาการอีกด้วย เขามีตำแหน่งเป็นหัวหน้า PHOTO OFFICE ของ atelier nipek

http://www.nipek.net/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา