ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #7: อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างเลนส์เทเลโฟโต้ 200 มม. และ 300 มม.

2019-07-15
6
9.67 k
ในบทความนี้:

การตัดสินใจว่าจะซื้อเลนส์ซูมเทเลโฟโต้รุ่นไหน หรือใช้ทางยาวโฟกัสแบบใดนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ระยะที่มากขึ้น 100 มม. สร้างความแตกต่างได้มากแค่ไหน เรามาลองดูกัน (เรื่องโดย: Kazuo Nakahara, Digital Camera Magazine)

 

ลักษณะเฉพาะ 2 ประการของเลนส์เทเลโฟโต้

เลนส์เทเลโฟโต้มีลักษณะเฉพาะ 2 ประการหลักๆ ได้แก่

- เอฟเฟ็กต์การดึงวัตถุ: ดึงวัตถุที่อยู่ห่างไกลให้เข้ามาใกล้ๆ เพื่อให้ดูเหมือนอยู่ใกล้กับกล้องมากกว่าความเป็นจริง
- เอฟเฟ็กต์แบบวางซ้อน: ช่วยให้สิ่งที่อยู่ห่างกันดูเหมือนอยู่ใกล้กันยิ่งขึ้น

 เอฟเฟ็กต์ทั้งสองจะเห็นชัดเจนยิ่งขึ้นที่ระยะ 300 มม. เพราะมุมรับภาพ ซึ่งก็คือ ระยะของฉากที่เลนส์บันทึกภาพไว้ สำหรับกล้องฟูลเฟรมนั้น เมื่อใช้ทางยาวโฟกัส 200 มม. มุมรับภาพในแนวทแยงจะอยู่ที่ประมาณ 12 องศา ส่วนที่ระยะ 300 มม. มุมรับภาพจะอยู่ที่ประมาณ 8 องศา อีกนัยหนึ่งคือ ที่ระยะ 300 มม. ภาพจะเก็บส่วนที่แคบกว่าของฉาก เมื่อเทียบกับที่ระยะ 200 มม.

 

เปรียบเทียบเอฟเฟ็กต์การดึงวัตถุ

ความแตกต่างระหว่างมุมรับภาพ 8 องศากับ 12 องศาอาจดูไม่มากนัก แต่เห็นความแตกต่างได้ชัดเจน ลองดูภาพ 2 ภาพด้านล่าง

ที่ระยะ 200 มม.

ภาพฝูงชนในวัดที่ระยะ 200 มม.

EOS 5D Mark III/ EF70-300mm f/4-5.6L IS USM/ FL: 200 มม./Aperture Priority (f/5.6, 1/2500 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

ที่ระยะ 300 มม.

ภาพฝูงชนในวัดที่ระยะ 300 มม.

EOS 5D Mark III/ EF70-300mm f/4-5.6L IS USM/ FL: 300 มม./ Aperture Priority (f/5.6, 1/1250 วินาที, EV+0.7)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

ในภาพเหล่านี้ ผมเปลี่ยนทางยาวโฟกัส พร้อมกับรักษาตำแหน่งเดิมในการถ่ายภาพ ที่ระยะ 300 มม. ประตูที่อยู่ตรงกลางภาพจะดูใหญ่ขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับภาพที่ถ่ายที่ระยะ 200 มม. ราวกับว่าถูกดึงให้เข้ามาใกล้กับโฟร์กราวด์ เมื่อใช้เอฟเฟ็กต์แบบวางซ้อนร่วมด้วย จึงเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนมากขึ้น

 

เปรียบเทียบเอฟเฟ็กต์แบบวางซ้อน

เอฟเฟ็กต์แบบวางซ้อนเกิดขึ้นเนื่องจากเอฟเฟ็กต์การดึงวัตถุจะเกิดมากขึ้นกับสิ่งที่อยู่ใกล้แบ็คกราวด์ ซึ่งทำให้สิ่งเหล่านั้นดูใหญ่ขึ้นและอยู่ใกล้กล้องมากขึ้น หรือเรียกได้ว่า ระยะห่างต่างๆ ดูเหมือนถูกบีบเข้าหากัน จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพหรือการบีบภาพระยะไกล

ที่ระยะ 200 มม.

ดอกไม้ที่ระยะ 200 มม.

EOS 5D Mark III/ FL: 200 มม./ Aperture Priority (f/5.6, 1/250 วินาที, EV+1.3)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

ที่ระยะ 300 มม.

ดอกไม้ที่ระยะ 300 มม.

EOS 5D Mark III/ FL: 300 มม./ Aperture Priority (f/5.6, 1/200 วินาที, EV+1.3)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

ผมถอยมาด้านหลังเพื่อถ่ายภาพที่ระยะ 300 มม. และรักษาขนาดของดอกไม้ให้คงที่ ในภาพที่ถ่ายที่ระยะ 300 มม. ดอกไม้ที่เบลอในแบ็คกราวด์นั้นดูใหญ่ขึ้นและอยู่ใกล้เรามากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเอฟเฟ็กต์แบบวางซ้อนเด่นชัดขึ้นที่ระยะ 300 มม. 


อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีใช้ประโยชน์จากลักษณะเฉพาะเหล่านี้ของเลนส์เทเลโฟโต้ได้ใน:
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (3): ดึงความสามารถสูงสุดของเลนส์มาใช้
พัฒนาทักษะการถ่ายภาพท่องเที่ยวของคุณด้วย EOS M10 ตอนที่ 3: การใช้เลนส์ซูมเทเลโฟโต้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #15: ฉันจะถ่ายภาพสัตว์ตัวเล็กๆ ตัดกับแบ็คกราวด์ที่ยุ่งเหยิงแต่งดงามได้อย่างไร

 

ข้อควรพิจารณาอื่นๆ: ขนาดและน้ำหนักของเลนส์

โดยปกติแล้ว ยิ่งทางยาวโฟกัสยาวมากเท่าใด เลนส์มักจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากขึ้นเท่านั้น คุณอาจจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องแบบสามขาหรือขาเดียวเพื่อให้มีความมั่นคงมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฉากที่ถ่าย เมื่อคุณเลือกเลนส์ ให้พิจารณาถึงความคล่องตัวและความสะดวกในการพกพาที่คุณต้องการ

 

ตัวอย่างของเลนส์ซูม 200 มม. และ 300 มม. ของ Canon

*ทางยาวโฟกัสทั้งหมดที่ระบุไว้นั้นเทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. (แบบฟูลเฟรม)


EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM

EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM

 

เลนส์เทเลโฟโต้น้ำหนักเบาสำหรับกล้อง EOS ฟูลเฟรมในราคาที่คุณเป็นเจ้าของได้ เลนส์รุ่นนี้มีแผง LCD ที่แสดงข้อมูลระยะการถ่ายภาพ ทางยาวโฟกัส และระดับการสั่นไหวของกล้อง อีกทั้งเป็นที่นิยมในกลุ่มนักดูนก ช่างถ่ายภาพกีฬา และช่างภาพทิวทัศน์ ที่ชอบการถ่ายภาพด้วยเลนส์เทเลโฟโต้

- ระยะเทเลโฟโต้ของกล้อง APS-C: ประมาณ 480 มม.

- เส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุด × ความยาว/ น้ำหนัก: 80 มม. × 145.5 มม. / 710 กรัม

 


EF70-300mm f/4-5.6L IS USM

EF70-300mm f/4-5.6L IS USM

 

สำหรับผู้ที่ต้องการเลนส์คุณภาพระดับมืออาชีพ รุ่นซีรีย์ L ของเลนส์ข้างต้นนั้นมีทางยาวโฟกัสและช่วงรูรับแสงเท่ากัน อีกทั้งยังมีระบบป้องกันภาพสั่นไหวพร้อมด้วยคุณภาพของภาพที่ดีกว่าและป้องกันสภาพอากาศได้

- ระยะเทเลโฟโต้ของกล้อง APS-C: ประมาณ 480 มม.

- เส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุด × ความยาว/ น้ำหนัก: 89 มม. × 143 มม. / 1050 กรัม

 


EF70-200mm f/4L IS II USM

EF70-200mm f/4L IS II USM

 

เลนส์รุ่นนี้มีน้ำหนักเบาและกะทัดรัด เหมาะสำหรับกล้อง EOS แบบฟูลเฟรม พร้อมด้วยคุณภาพของภาพถ่ายระดับสูงในแบบฉบับของเลนส์ L และมีระบบป้องกันภาพสั่นไหวสูงสุดถึง 5 สต็อป ตัวเลือกยอดนิยมสำหรับการถ่ายภาพกีฬาและกิจกรรม

- ระยะเทเลโฟโต้ของกล้อง APS-C: ประมาณ 320 มม.

- เส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุด × ความยาว/ น้ำหนัก: 80 มม. × 176 มม. / 780 กรัม

 


EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM

EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM

 

เลนส์มาตรฐานสำหรับกล้อง EOS DSLR พร้อมเซนเซอร์ APS-C (รุ่น EOS ***D และ **D) ราคาย่อมเยา กะทัดรัด และน้ำหนักเบา สามารถใช้ถ่ายภาพสัตว์ป่า กีฬา ทิวทัศน์ และแม้แต่ภาพพอร์ตเทรต สามารถติดตั้งบนกล้องซีรีย์ EOS M ด้วยเมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS M ได้

- ระยะเทเลโฟโต้บนกล้อง APS-C: ประมาณ 400 มม.

- เส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุด × ความยาว/ น้ำหนัก: 70.0 มม. × 111.2 มม./ 375 กรัม

 


EF-M55-200mm f/4.5-6.3 IS STM

EF-M55-200mm f/4.5-6.3 IS STM

 

เลนส์น้ำหนักเบาและกะทัดรัดรุ่นนี้ออกแบบมาสำหรับกล้องมิเรอร์เลสซีรีย์ EOS M

- ระยะเทเลโฟโต้ของกล้อง APS-C: ประมาณ 320 มม.

- เส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุด × ความยาว/ น้ำหนัก: 60.9 มม. × 86.5 มม./ 260 กรัม


 

ดูตัวอย่างเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสามารถของเลนส์เทเลโฟโต้ และเรียนรู้วิธีถ่ายภาพได้ใน:
วิธีถ่ายภาพไฟประดับตกแต่งเพื่อสร้างบรรยากาศชวนฝัน
เทคนิคของเลนส์เทเลโฟโต้: การสร้างโบเก้ซ้อนกันหลายชั้น
เคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพที่ทำให้หมอกสวยงามเตะตา
 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา