ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

[เทคนิคการใช้ไฟ 2 ดวง] แสงจากด้านหลัง: วิธีเพิ่มมิติให้ภาพถ่ายของคุณ

2021-11-11
0
943
ในบทความนี้:

คุณได้เรียนรู้วิธีการใช้ไฟเสริมหรือรีเฟลกเตอร์ในการเพิ่มความสว่างให้ตัวแบบเมื่อถ่ายภาพในสภาพย้อนแสงไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ภาพก็ยังดูราบเรียบไร้มิติ หรือมีแบ็คกราวด์ที่ดูยุ่งเหยิงและดูเหมือนว่าตัวแบบจะกลืนหายไปกับแบ็คกราวด์ แต่หากคุณมีแฟลช Speedlite นอกตัวกล้อง ก็สามารถแก้ไขได้ง่ายๆ คือ ทำให้ตัวแบบดูโดดเด่นด้วยแสงจากด้านหลัง หรือที่เรียกว่าไฟขอบ (edge light) หรือไฟเฉียงจากด้านหลัง (kicker light)! Mark Teo (ฉบับภาษาอังกฤษ) ช่างภาพแอ็คชั่นเชิงพาณิชย์จะมาแบ่งปันวิธีการใช้เทคนิคนี้ในสองสถานการณ์ (ภาพและเรื่องราวโดย Mark Teo)

1. แสงจากด้านหลังคืออะไร
2. ฉากที่ 1: ภาพพอร์ตเทรตในสภาพแวดล้อมภายในอาคาร
3. ฉากที่ 2: ความเปรียบต่างสูงตัดกับแบ็คกราวด์สีขาว

 

ก่อนที่จะเริ่ม: แสงจากด้านหลังคืออะไร

แสงจากด้านหลังเกิดขึ้นจากการให้แสงที่ด้านข้างหรือด้านหลังของตัวแบบ จึงดูเหมือนว่าแสงทำให้เกิดเค้าโครง (หรือขอบ) ที่ตัวแบบ คุณอาจเคยเห็นเทคนิคนี้ในภาพแบบโลวคีย์อันน่าตื่นตาตื่นใจ (ฉบับภาษาอังกฤษ) ซึ่งมีการถ่ายภาพตัวแบบเป็นภาพซิลูเอตต์แบบมืดทึบตัดกับแบ็คกราวด์สีดำ โดยที่มีการสร้างเส้นขอบของรูปทรงด้วยไฮไลต์

แต่นอกจากเอฟเฟ็กต์ดังกล่าวแล้ว ยังสามารถใช้แสงจากด้านหลังเป็นส่วนหนึ่งของการจัดแสงแบบใช้ไฟหลายดวงเพื่อทำให้ตัวแบบดูเป็นสามมิติมากขึ้นได้ ลองดูภาพตัวอย่างทั้งสองภาพด้านล่าง

ไม่มีแสงจากด้านหลัง

มีแสงจากด้านหลัง

ภาพแรกถ่ายโดยมีแสงที่กระจายตัวเพื่อเพิ่มความสว่างให้กับใบหน้าของตัวแบบ ในขณะที่ภาพที่สองมีการเพิ่มแสงจากด้านหลังมาจากทางด้านขวาของภาพเพื่อไฮไลต์ด้านข้างของตัวแบบ จะเห็นได้ว่าแสงนี้ช่วยให้ตัวแบบเด่นออกมาจากแบ็คกราวด์และเพิ่มมิติความลึกให้กับภาพ

เทคนิคนี้อาจดูเหมือนซับซ้อน แต่เมื่อเข้าใจแนวคิดแล้ว ก็สามารถทำได้ค่อนข้างง่าย ในบทความนี้ ผมจะแบ่งปันวิธีการใช้เทคนิคนี้ในสองสถานการณ์

 

ฉากที่ 1: ภาพพอร์ตเทรตในสภาพแวดล้อมภายในอาคาร

EOS R + RF28-70mm f/2L USM ที่ 62 มม., f/2.8, 1/200 วินาที, ISO 800
แฟลช Speedlite EL-1 นอกตัวกล้อง 2 ดวง (ไม่ใช้อุปกรณ์ปรับแสง)


ก่อนถ่ายภาพ: ประเมินฉากถ่ายภาพ

ภาพนี้ถ่ายในยิม มีลำแสงเข้ามาจากหน้าต่างของกล้องทางซ้ายและมีแสงสลัวที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นที่ด้านหลังตัวแบบและทางด้านขวา สถานที่โดยรวมมีแสงน้อย มีเงาที่ด้านข้างของตัวแบบที่กำลังหันหน้าเข้าหากล้อง เราจึงต้องใช้แฟลชเสริมเพื่อทำให้ตัวแบบสว่างขึ้น

แสงโดยรอบสามารถให้ไอเดียได้ว่าควรวางแสงจากด้านหลังไว้ที่จุดใด
หากคุณดูภาพเบื้องหลังฉากด้านบนดีๆ ก็อาจสังเกตเห็นว่ามีแสงจากด้านหลังที่ตัวแบบอยู่แล้ว โดยที่ไม่ได้มีการยิงแฟลชที่ทางด้านซ้าย แต่แสงจากด้านหลังเหล่านั้นเกิดขึ้นจากแสงโดยรอบ ผมจึงตัดสินใจที่จะเพิ่มประสิทธิภาพด้วยแฟลชนอกตัวกล้อง และคุณยังสามารถสร้างสมดุลของแสงจากด้านหลังโดยรอบด้วยแฟลชเสริมได้ แต่ขึ้นอยู่กับว่าคุณตั้งใจที่จะควบคุมแบ็คกราวด์อย่างไร

เคล็ดลับ: แสงจากด้านหลังจะโดดเด่นมากขึ้นบนแบ็คกราวด์มืด
แสงจากด้านหลังจะทำงานได้ดีเมื่อเกิดความเปรียบต่างกับแบ็คกราวด์ จึงดูโดดเด่นมากขึ้นเมื่อตัดกับแบ็คกราวด์มืดๆ ลองพิจารณาสิ่งนี้เมื่อคุณกำหนดการจัดเฟรมภาพ และในการถ่ายภาพด้วยแฟลช คุณยังสามารถปรับการตั้งค่ากล้องเพื่อให้ถ่ายภาพโดยที่มีแสงโดยรอบน้อยลงได้ จึงทำให้แบ็คกราวด์ดำมืดยิ่งขึ้น


การจัดแสง

A: แฟลชนอกตัวกล้องเป็นแสงจากด้านหลัง
B: แฟลชนอกตัวกล้องเป็นไฟเสริม
C: กล้องที่มีตัวส่งสัญญาณแฟลช


ขั้นตอนที่ 1: จัดแสงจากด้านหลัง

แสงจากด้านหลังควรอยู่ในแนวทแยงด้านหลังตัวแบบ เพื่อให้แสงตกกระทบที่ด้านหลังตัวแบบและล้อมรอบตัวแบบเพื่อทำให้เกิดแสงที่บริเวณขอบ สำหรับภาพที่มีความเปรียบต่างสูงและคมชัดมากเช่นเดียวกับในภาพนี้ ควรใช้แสงที่สว่างจ้าและตรวจสอบว่าไม่ได้มีแสงล้นไปด้านหน้า ทดลองถ่ายภาพทดสอบและปรับมุมการให้แสงให้เหมาะสม

เคล็ดลับในการปรับ
แฟลช Speedlite ที่ยังไม่ผ่านการปรับแต่งมักทำให้เกิดแสงจ้าที่ตกกระทบบนพื้นที่เล็กๆ หากคุณต้องการให้แสงจากด้านหลังตกกระทบบนพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้น ให้ขยับไฟออกไปมากขึ้นหรือใช้ตัวกระจายแสง

แสงที่สว่างจ้า

แสงที่นุ่มนวล (กระจายตัวมากกว่า)

แสงสว่างจ้าที่ไม่ได้ล้นไปด้านหน้าทำให้เกิดเส้นขอบที่คมชัดขึ้น แสงที่กระจายตัวซึ่งมีการจัดมุมเพื่อให้แสงล้นไปด้านหน้าเล็กน้อยสามารถสร้างเอฟเฟ็กต์ที่นุ่มนวลซึ่งมีเส้นขอบที่นุ่มนวลมากขึ้นได้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
หลักพื้นฐานในการจัดแสง: แสงสว่างจ้าและแสงที่นุ่มนวล


ควรระมัดระวังเรื่องใดอีกบ้าง

- จุดแสงสะท้อนและรายละเอียดที่สว่างจ้าเกินไป
ตรวจสอบว่าแสงจากด้านหลังไม่ได้ทำให้สิ่งต่างๆ เช่น จุดเด่นบนใบหน้า หรือผมของตัวแบบได้รับแสงสว่างมากเกินไป

- แสงแฟลร์
หากแฟลชของคุณอยู่ในเฟรมหรืออยู่นอกเฟรมเล็กน้อย ก็อาจทำให้เกิดแสงแฟลร์ที่มองเห็นได้ชัดเจนเมื่อยิงแฟลช คุณสามารถใช้แสงแฟลร์เป็นเอฟเฟ็กต์สร้างสรรค์ได้ มิเช่นนั้นก็ควรหลีกเลี่ยงด้วยการปรับมุมกล้องหรือตำแหน่งของแฟลช


ขั้นตอนที่ 2: จัดไฟเสริม

สำหรับภาพนี้ นอกจากผมจะจัดมุมของไฟเสริมให้ส่องแสงไปที่ใบหน้าของตัวแบบแล้ว ยังทำให้เกิดไฮไลต์บนขอบยางรถอีกด้วย

มีอัตราส่วนแฟลชที่ใช้ได้ผลดีที่สุดหรือไม่
ไม่มีกฎตายตัวสำหรับการตั้งค่าอัตราส่วนกำลังแสงแฟลชของไฟทั้งสองประเภทนี้ คู่มือการถ่ายภาพบางเล่มอาจแนะนำให้ตั้งค่าแสงจากด้านหลังให้สูงกว่าไฟเสริม แต่จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น มุมการให้แสง ระยะห่างจากตัวแบบ และการใช้อุปกรณ์ปรับแสงต่างๆ ควรจัดมุมก่อนที่จะปรับสิ่งอื่นๆ ตามความชอบ สำหรับแฟลชที่ยังไม่ผ่านการปรับแต่ง ผมมักจะเริ่มต้นโดยที่แฟลชทั้งสองประเภทมีกำลังแฟลชเท่ากันที่ 1/32 หรือ 1/64 ก่อนจะปรับตามการทดสอบถ่ายภาพ


ขั้นตอนที่ 3: ปรับการตั้งค่ากล้องของคุณสำหรับแบ็คกราวด์

ผมตั้งค่า ISO ให้อยู่ที่ 100 รูรับแสงที่ f/2.8 เพื่อให้มีระยะชัดที่เหมาะสม และใช้ความเร็วชัตเตอร์ในการควบคุมปริมาณการรับแสงโดยรอบ ในกรณีนี้ ผมตั้งค่าความเร็วซิงค์แฟลชของกล้องอยู่ที่ 1/200 วินาที ซึ่งเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นบริบทต่างๆ แต่ก็มืดพอที่จะทำให้ตัวแบบและแสงจากด้านหลังดูโดดเด่น

การให้แสงลงที่ด้านหน้าของตัวแบบไม่ได้แย่เสมอไป ดูวิธีที่ช่างภาพรายหนึ่งนำมาใช้อย่างมีชั้นเชิงทางศิลปะที่นี่:
[เทคนิคการใช้แฟลช] ถ่ายภาพพอร์ตเทรตยามค่ำคืนในสไตล์ป๊อปอาร์ต

 

ฉากที่ 2: ภาพที่มีความเปรียบต่างสูงบนแบ็คกราวด์สีขาว

EOS R + RF28-70mm f/2L USM ที่ 28 มม., f/5.6, 1/200 วินาที, ISO 640
แฟลช Speedlite EL-1 นอกตัวกล้อง 2 ดวง (ไม่ใช้อุปกรณ์ปรับแสง)

แม้ว่าแสงจากด้านหลังจะเห็นเด่นชัดที่สุดเมื่อตัดกับแบ็คกราวด์มืดๆ แต่แนวคิดเดียวกันนี้ (แสงล้นจากด้านหลัง) ยังช่วยให้คุณจัดแสงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้เห็นรูปทรงของตัวแบบได้อย่างชัดเจนแม้ว่าจะอยู่บนแบ็คกราวด์สีขาวก็ตาม


การจัดแสงแบบใช้ไฟ 4 ดวงทั่วๆ ไป และวิธีที่ผมทำได้โดยใช้แฟลช 2 ตัว

โดยปกติแล้ว ในการจัดแสงดังกล่าว คุณอาจต้องใช้ไฟจำนวนมากถึงสี่ดวงคือ สองดวงสำหรับทำให้แบ็คกราวด์สว่าง และอีกหนึ่งหรือสองดวงสำหรับตัวแบบ หากเป็นเช่นนั้น การจัดแสงของคุณอาจมีลักษณะดังนี้

การจัดแสงแบบใช้ไฟ 4 ดวง

แต่คุณสามารถใช้แฟลชสองตัวแทนแฟลชสี่ตัวได้หากให้ตัวแบบอยู่ใกล้แบ็คกราวด์

การจัดแสงแบบใช้แฟลชสองตัวของผม

A: ไฟสำหรับแบ็คกราวด์
B: ไฟเสริม โดยที่มีแสงส่วนหนึ่งตกกระทบบนแบ็คกราวด์


วิธีการถ่ายภาพ

แสงจากไฟ A และไฟ B ต่างก็ตกกระทบลงบนฉากหลังสีขาว ซึ่งทำหน้าที่เหมือนรีเฟลกเตอร์ขนาดมหึมา สะท้อนแสงไปที่ด้านหลังของตัวแบบในลักษณะที่มีแสงล้นพอที่จะทำให้เกิดแสงที่บริเวณขอบ  เกิดเงาที่ด้านหน้า แต่มีการจัดมุมให้ไฟ B ทำหน้าที่เป็นไฟเสริมสำหรับตัวแบบ


ขั้นตอนที่ 1: จัดตำแหน่งแสงและทดสอบ

ควรจัดมุมให้ไฟทั้งสองดวงทำให้ฉากหลังสว่าง หากไม่มีไฟทั้งสองดวงนี้ แบ็คกราวด์ก็จะดูเป็นสีเทา

เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับมุมที่ผมต้องการให้ตัวแบบหันเข้าหากล้องแล้ว ผมก็ปรับไฟ B ทางขวาเล็กน้อยเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นไฟเสริมสำหรับตัวแบบด้วย

จัดตำแหน่งให้ไฟ A อยู่ด้านหลังตัวแบบเล็กน้อยและให้แสงส่องไปที่แบ็คกราวด์สำหรับกล้องด้านซ้ายเป็นหลัก แสงจะมีปริมาณน้อยลงในขณะที่เดินทางออกจากแหล่งกำเนิดแสง จึงควรวางไฟนี้ไว้ใกล้กับฉากหลังมากขึ้น

ตั้งค่าแฟลชให้มีมุมซูมกว้างที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าแสงจะกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอและกว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ดูว่าคุณสามารถใช้มุมซูมอย่างสร้างสรรค์ได้อย่างไรใน:
[เทคนิคการใช้แฟลช] วิธีการถ่ายภาพให้ได้สีสันน่าประทับใจในสภาพย้อนแสง


ขั้นตอนที่ 2: ทดสอบและปรับจนกว่าจะได้ภาพซิลูเอตต์ที่คมชัด

ให้ตัวแบบเข้าที่ และทดสอบถ่ายภาพเพื่อตรวจสอบ “ประกายแสง” รอบๆ ตัวแบบ มีแสงล้นน้อยเกินไป มากเกินไป หรือกำลังพอเหมาะพอดี

หากมีแสงล้นน้อยไปหมายความว่า จะไม่มีไฮไลต์ที่ขอบของตัวแบบ และหากมากเกินไปก็จะทำให้รายละเอียดต่างๆ ได้รับแสงสว่างจ้าเกินไปและตัวแบบดูซีดจาง

ในการควบคุม ให้ปรับระยะห่างระหว่างตัวแบบกับฉากหลัง การอยู่ใกล้ฉากหลังมากขึ้นจะทำให้มีแสงเปล่งประกายมากขึ้น ในขณะเดียวกันยิ่งอยู่ห่างจากฉากหลังก็จะยิ่งมีแสงเปล่งประกายน้อยลง การจัดวางตำแหน่งตัวแบบให้อยู่ห่างจากฉากหลังอย่างน้อย 3 ถึง 4 เมตรมักจะขจัดประกายแสงออกไปโดยสิ้นเชิง

เคล็ดลับ: ไม่ต้องกังวลว่าแสงในแบ็คกราวด์จะดูไม่สม่ำเสมอเล็กน้อย
ไม่มีสิ่งใดที่จะสว่างไปกว่าสีขาว ดังนั้นปรับการตั้งค่ากล้องให้ส่วนที่มืดที่สุดของฉากหลังได้รับแสงมากเกินไป ในภาพนี้ ผมใช้ความไวแสง ISO ในการควบคุมความสว่างของแบ็คกราวด์


ขั้นตอนที่ 3: เพิ่มแสงให้กับตัวแบบตามความชอบ

หลังจากได้ภาพซิลูเอตต์ที่ต้องการแล้ว ให้ปรับไฟเสริมตามความชอบ คุณอาจปรับกำลังแฟลชหรือมุมก็ได้ เป็นอันเสร็จสิ้น!


---
เคล็ดลับเพิ่มเติมในการถ่ายภาพแบบใช้ไฟสองดวงใน:
วิธีง่ายๆ ในการจัดแสงให้วัตถุที่โค้งมนและสะท้อนแสง
(รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพด้วยแฟลชนอกตัวกล้อง)
ถ่ายภาพกลางแจ้งในแสงแดดจ้าอย่างไรให้แหวกแนว
วิธีถ่ายภาพหยดฝนเพื่อสร้างสรรค์พอร์ตเทรตที่เหนือจริง

คุณอาจได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เกี่ยวกับแฟลช Speedlite ของคุณใน:
เร็วยิ่งกว่าความเร็วชัตเตอร์: การใช้ระยะเวลาการยิงแฟลชเพื่อหยุดการเคลื่อนไหว
เริ่มถ่ายภาพโดยใช้แฟลชได้ใน 9 ขั้นตอน!

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา