ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เทคนิคการถ่ายภาพมาโคร: การสร้างพื้นที่ว่างและความลึกลวงตา

2021-01-06
1
1.06 k
ในบทความนี้:

รู้หรือไม่ว่าการใช้ความเปรียบต่างและโบเก้อย่างได้ผลจะช่วยเพิ่มมิติพื้นที่ว่างและความลึกในภาพมาโครได้ ช่างภาพทิวทัศน์ GOTO AKI จะมาบอกเล่าให้ทราบกัน (เรื่องโดย: GOTO AKI, Digital Camera Magazine)

ภาพโคลสอัพของหยดน้ำบนใบเฟิร์น

EOS 5D Mark III/ EF100mm f/2.8L Macro IS USM/ FL: 100 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/250 วินาที, EV -1.3)/ ISO 1600/ WB: แสงแดด

หยดน้ำที่ปลายใบเฟิร์นคือตัวแบบหลักของภาพถ่ายด้านบน แต่ผมก็อยากสื่อถึงมิติพื้นที่ว่างและความลึกด้วย และต่อไปนี้คือวิธีที่ผมใช้ในการถ่ายภาพ

 

ขั้นตอนที่ 1: ใส่ส่วนที่มืดไว้ในแบ็คกราวด์ แล้วใช้ความเปรียบต่างเพื่อดึงดูดสายตาไปทางด้านหลัง

คนเรามักจะสนใจส่วนที่สว่างก่อน จากนั้นจะเปลี่ยนไปสนใจส่วนที่มืดกว่า เมื่อใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้แล้ว เราจะสามารถใช้ความเปรียบต่างในภาพเพื่อสร้างมิติพื้นที่ว่างได้

A: ส่วนที่มืด
B: ส่วนที่สว่าง

สำหรับภาพด้านบน ผมจับโฟกัสไปที่หยดน้ำที่ผมต้องการให้เป็นตัวแบบหลัก แล้วจัดองค์ประกอบภาพในเฟรมเพื่อให้แบ็คกราวด์ส่วนใหญ่ดูมืด วิธีนี้จะสร้างความเปรียบต่างที่ช่วยดึงดูดสายตาจากด้านหน้าไปด้านหลัง

เอฟเฟ็กต์เช่นนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากแบ็คกราวด์เป็นสีเขียวสดทั้งหมด เนื่องจากจะไม่มีสิ่งใดมา “ขยับ” เส้นนำสายตาและภาพจะดูแบนมากขึ้นมากด้วย

เคล็ดลับ: แนวคิดนี้ยังเป็นเหตุผลที่คุณควรให้ความสนใจกับเงาเมื่อถ่ายภาพตัวแบบที่สว่าง

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีใช้สีเพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์แบบต่างๆ ได้ในบทความ:
ทำความเข้าใจทฤษฎีสี: คู่มือที่เป็นมิตรกับช่างภาพ
ควรใช้สีสันอย่างไรเพื่อดึงความสนใจไปที่ตัวแบบ

 

ขั้นตอนที่ 2: เพิ่มความลึกด้วยการวางตัวแบบไว้ระหว่างโบเก้ในแบ็คกราวด์กับในโฟร์กราวด์

การใช้โบเก้ในแบ็คกราวด์และในโฟร์กราวด์ร่วมกันจะช่วยกระตุ้นจินตนาการของผู้ชม และยังสามารถสร้างมิติความลึกได้อีกด้วย

ควรใช้ค่า f ที่ค่อนข้างกว้าง แต่เพียงพอที่จะรักษาตัวแบบหลักให้อยู่ในโฟกัส โดยปกติแล้ว เราสามารถใช้ค่าใดก็ได้ตั้งแต่รูรับแสงกว้างสุดไปจนถึงค่าประมาณ f/5.6 สำหรับภาพนี้ ผมใช้ f/3.5 จับโฟกัส (และตัวแบบ) ที่ระยะมิดเดิลกราวด์ แล้วภาพที่ได้ควรมีทั้งโบเก้ในโฟร์กราวด์และในแบ็คกราวด์ซึ่ง “ประกบ” ตัวแบบอยู่ ทำให้ภาพดูมีความลึกมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #3: การสร้างโบเก้
เคล็ดลับที่ไม่ควรพลาดจากมืออาชีพในการเพิ่มความลึกให้กับภาพ

เคล็ดลับ: เลนส์มาโครเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสร้างเอฟเฟ็กต์นี้เนื่องจากคุณสามารถใช้เลนส์ชนิดนี้ถ่ายภาพโคลสอัพ และระยะชัดตื้นที่ได้ก็ช่วยให้ง่ายต่อการจัดสิ่งต่างๆ ให้อยู่นอกโฟกัส!


หากต้องการทราบเคล็ดลับและบทเรียนเกี่ยวกับการถ่ายภาพมาโคร โปรดอ่านบทความเหล่านี้:
การถ่ายภาพมาโครในสภาพแสงน้อย: การป้องกันปัญหากล้องสั่นไหว
บทเรียน: ดอกไม้ที่สะท้อนบนหยดน้ำ
ภาพมาโครชวนน้ำลายสอ: ศิลปะแห่งการถ่ายภาพอาหารแบบโคลสอัพ

เรียนรู้วิธีอื่นๆ ในการควบคุมการดึงความสนใจของผู้ชมได้ใน:
การจัดองค์ประกอบภาพที่มีประสิทธิภาพ: ดึงความสนใจไปยังกบตัวจิ๋วในดอกไม้
สร้างฉากตระการตาด้วยเส้นนำสายตาระยะเทเลโฟโต้

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

GOTO AKI

เกิดเมื่อปี 1972 ที่จังหวัดคานากาวะ จบการศึกษาจาก Sophia University และ Tokyo College of Photography Goto เผยแพร่ผลงานคอลเลคชั่นภาพถ่ายที่มีชื่อว่า "LAND ESCAPES" และยังมีส่วนร่วมในผลงานอื่นๆ อีก อาทิ "water silence" การแสดงผลงานศิลปะที่ผสานภาพถ่ายกับวิดีโอเข้าไว้ด้วยกัน

http://gotoaki.com/

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา