ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #20: ฉันจะถ่ายภาพดอกไม้ให้ดูเกินจริงได้อย่างไร

2019-09-23
6
3.64 k
ในบทความนี้:

เมื่อถ่ายภาพดอกไม้ไปสักระยะหนึ่ง คุณพบว่าภาพของคุณเริ่มดูเหมือนๆ กันใช่หรือไม่ ต่อไปนี้เป็นเทคนิคสองประการในการใช้แบ็คกราวด์อย่างสร้างสรรค์ เพื่อทำให้ภาพดอกไม้ของคุณดูเตะตาและโดดเด่นยิ่งขึ้น (เรื่องโดย Kazuo Nakahara, Takashi Namiki)

ภาพซิลูเอตต์ของดอกไม้ตัดกับแสงโบเก้

 

ฉาก 1: เก็บภาพดอกไม้ให้มีลักษณะแบบซิลูเอตต์โดยใช้แสงประดับตกแต่งในส่วนแบ็คกราวด์

ภาพซิลูเอตต์ของดอกไม้ตัดกับวงกลมโบเก้

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 80 มม./ Manual exposure (f/4, 1/160 วินาที, EV±0)/ ISO 1600/ WB: หลอดไฟทังสเตน
ผมพบดอกไม้ใกล้กับบริเวณที่มีการประดับโคมไฟตกแต่งสีทองสว่างไสว แต่การถ่ายภาพดอกไม้ให้ดูสว่างในสภาวะที่มืดเช่นนั้นทำได้ยาก ผมจึงใช้วิธีที่แปลกใหม่และถ่ายภาพโดยการเปิดรับแสงอันเดอร์เพื่อถ่ายภาพดอกไม้ให้มีลักษณะแบบซิลูเอตต์

 

เคล็ดลับที่ 1: โฟกัสให้แม่นยำเพื่อให้ภาพซิลูเอตต์มีความคมชัด!

ความเปรียบต่างระหว่างเส้นขอบที่คมชัดของภาพซิลูเอตต์ดอกไม้กับวงกลมโบเก้แสงที่นุ่มนวลในแบ็คกราวด์เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อภาพที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก คุณจึงควรทำให้ภาพซิลูเอตต์นั้นอยู่ในโฟกัสที่คมชัด กล้อง EOS 5D Mark III ของผมมีปัญหานิดหน่อยในการโฟกัสให้ตรงจุด ดังนั้น หลังจากใช้ AF ผมจึงปรับโฟกัสโดยละเอียดด้วยโหมดระบบโฟกัสอัตโนมัติแบบปรับแมนนวลได้แบบฟูลไทม์ แต่คุณอาจไม่จำเป็นต้องทำเช่นนี้หากใช้กล้องรุ่นใหม่กว่าที่มีคุณสมบัติด้าน AF ในสภาวะแสงน้อยที่ดีกว่า

ภาพเบลอของซิลูเอตต์

เมื่อโฟกัสเลยผ่านภาพซิลูเอตต์ไป
EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Manual exposure (f/4, 1/160 วินาที, EV±0)/ ISO 1600/ WB: หลอดไฟทังสเตน

 

เคล็ดลับที่ 2: ใช้รูรับแสงกว้างสุดที่มีเพื่อสร้างวงกลมโบเก้ขนาดใหญ่

ภาพซิลูเอตต์จะดูมืดขึ้นและส่งผลต่ออารมณ์ได้มากขึ้นหากมีแบ็คกราวด์ที่สว่างกว่า ผมจึงตัดสินใจสร้างวงกลมโบเก้จากแสงสว่างทั้งหมดในแบ็คกราวด์ และตั้งค่าเลนส์ให้มีรูรับแสงกว้างสุดเพื่อให้วงกลมโบเก้มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เรียนรู้วิธีการเปลี่ยนแหล่งกำเนิดแสงให้เป็นวงกลมโบเก้ได้ที่นี่:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #8: ส่วนใดที่ควรโฟกัสเพื่อให้ได้ภาพถ่ายวงกลมโบเก้ที่สวยงาม

 

ฉาก 2: ใช้องค์ประกอบภาพตามแนวเส้นทแยงมุมเพื่อถ่ายภาพดอกไม้สองดอก

ดอกไม้ในองค์ประกอบภาพตามแนวเส้นทแยงมุมที่มีโบเก้

EOS 6D/ EF100mm f/2.8L Macro IS USM/ FL: 100 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/320 วินาที, EV+1.0)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
ผมถ่ายภาพดอกไม้เพียงสองดอกที่กำลังผลิบานโดยใช้องค์ประกอบภาพตามแนวเส้นทแยงมุม ซึ่งในภาพนี้ผมใช้การปรับมุมภาพเพื่อให้ได้เส้นนำสายตาที่ขยายจากตัวแบบไปจนถึงภาพเบลอของดอกไม้ที่อยู่ในส่วนแบ็คกราวด์

 

เคล็ดลับที่ 1: ถ่ายภาพโดยใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุดเพื่อสร้างสมดุลระหว่างดอกไม้ซึ่งเป็นตัวแบบรองและเอฟเฟ็กต์โบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์

อันที่จริง ผมสามารถปรับรูรับแสงให้แคบลงเล็กน้อยเพื่อให้เห็นรูปทรงของดอกไม้ดอกที่สอง (ดอกที่เบลอในแบ็คกราวด์) ได้ชัดเจนขึ้นอีกนิด แต่เนื่องจากแบ็คกราวด์อยู่ใกล้ดอกไม้ดอกหลัก (ตัวแบบหลัก) ในฉากนี้ รูรับแสงที่แคบลงอาจทำให้แบ็คกราวด์ดูโดดเด่นมากเกินไปเล็กน้อย ผมจึงใช้รูรับแสงกว้างสุดที่ f/2.8

 

เคล็ดลับที่ 2: สร้างพื้นที่สำหรับความเปรียบต่างระหว่างดอกไม้สองดอก

ในการสร้างองค์ประกอบภาพตามแนวเส้นทแยงมุม สิ่งสำคัญคือจัดวางตัวแบบหลักให้ดูเล็กลงในเฟรมภาพ เพราะหากตัวแบบหลักมีขนาดใหญ่เกินไป จะไม่มีพื้นที่สำหรับจัดวางดอกไม้ดอกอื่นๆ ในเฟรม ซึ่งอาจทำให้เราสร้างความเปรียบต่างได้ยาก

 

ดูเคล็ดลับในการถ่ายภาพดอกไม้เพิ่มเติมได้ที่:
การถ่ายภาพดอกไม้: เทคนิคและคุณสมบัติของกล้องที่เป็นประโยชน์
2 ไอเดีย สำหรับการถ่ายภาพดอกไม้ยามเย็น
การถ่ายภาพดอกไม้: วิธีสร้างวงกลมโบเก้ที่สว่างจ้าให้สวยแจ่มด้วยเลนส์มาโคร

 

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

Takashi Namiki

เกิดในโตเกียว ปี 1971 หลังจากเข้าเรียนที่ Tokyo School of Photography (ปัจจุบันชื่อ: Tokyo Visual Arts) เขาได้เริ่มทำงานเป็นช่างภาพอิสระ ปัจจุบันเขามีผลงานเผยแพร่ในนิตยสารต่างๆ มากมาย เขายังคงสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ดอกไม้เป็นตัวแบบหลัก นอกจากนี้ เขายังสอนที่ EOS Gakuen School อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา