ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

วิธีถ่ายภาพแสงไฟวันคริสมาสต์ให้ส่องประกายระยิบระยับ

2018-01-11
3
12.6 k
ในบทความนี้:

ไฟประดับตกแต่งดูสวยงามมากในยามค่ำคืน แต่การถ่ายทอดภาพความระยิบระยับของแสงไฟนั้นอาจเป็นเรื่องยาก ต่อไปนี้คือเทคนิคที่นิยมใช้เพื่อแสดงความระยิบระยับของแสงไฟ ซึ่งเคล็ดลับอยู่ที่ค่ารูรับแสงนั่นเอง! (เรื่องโดย: Teppei Kohno)

ไฟประดับที่มีแฉกแสง

EOS 5D Mark II/ EF100mm f/2.8 Macro USM/ FL: 100 มม./ Manual exposure (f/18, 5 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

 

เปลี่ยนไฟทุกดวงให้เป็นแฉกแสง!

ตัวอย่างของแฉกแสง 1:

ตัวอย่างที่ 1:
EOS 760D/ EF-S18-55mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 18 มม. (เทียบเท่า 28.8 มม.)/ Manual exposure (f/16, 6 วินาที, EV+1)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

ขั้นตอนการถ่ายภาพ
1: ตั้งกล้องไว้ที่โหมด Aperture-priority AE
2: ตั้งค่า f ให้สูงขึ้น
3: เพิ่มค่าชดเชยแสง
4: ใช้ขาตั้งกล้องเมื่อจัดวางองค์ประกอบภาพ

ที่จริงแล้ว เคล็ดลับในการทำให้ไฟประดับตกแต่งดูเหมือนเพชรที่ส่องประกายระยิบระยับนั้นค่อนข้างง่าย นั่นคือการเพิ่มค่า f หากรูรับแสงแคบพอ ภาพที่ออกมาจะมีลำแสงแผ่ขยายจากแหล่งกำเนิดแสงแต่ละดวงอย่างชัดเจนจนดูคล้ายกับมีดวงดาวมากมาย ซึ่งเอฟเฟ็กต์นี้เรียกว่า “เอฟเฟ็กต์แฉกแสง

 

เอฟเฟ็กต์แฉกแสงของแสงไฟ (ขยายใหญ่)

ภาพนี้คือภาพด้านบนที่ขยายให้ใหญ่ขึ้น จะเห็นได้ว่าแสงแต่ละดวงกลายเป็นดวงดาวน้อยๆ

แล้วแสงนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ลำแสงเหล่านี้เป็นผลจากการใช้ม่านรูรับแสง (แผ่นที่ประกอบขึ้นเป็นรูรับแสง) โดยเกิดจากแสงที่ลอดออกมาจากส่วนที่ม่านรูรับแสงซ้อนทับกัน การเพิ่มค่ารูรับแสงจะทำให้แสงที่ลอดออกมานั้นก่อตัวขึ้นเป็นรูปลำแสง และเน้นเอฟเฟ็กต์ให้เห็นเด่นชัด

วิธีถ่ายภาพให้สวยงามยิ่งขึ้น
เราสามารถสร้างลำแสงที่สวยสดงดงามได้โดยใช้ค่ารูรับแสงระหว่าง f/11 ถึง f/16 โดยประมาณ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มค่าชดเชยแสงเพื่อทำให้ภาพดูสว่างขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้ลำแสงดูสว่างไสวขึ้นและเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

เนื่องจากเราเพิ่มค่ารูรับแสงเพื่อถ่ายภาพลำแสงในยามค่ำคืนในสภาพที่มีแสงน้อย ความเร็วของชัตเตอร์จึงช้าลงอย่างมาก ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหากล้องสั่น คุณควรใช้ขาตั้งกล้องเพื่อให้กล้องนิ่งขณะถ่ายภาพ

 

ผมเพิ่มค่า f แล้ว แต่ภาพยังคงไม่ส่องประกายระยิบระยับ เพราะอะไรน่ะหรือ

ถ่ายที่ค่า f/8

ตัวอย่างที่ 2:
EOS 760D/ EF-S18-55mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 18 มม. (เทียบเท่า 28.8 มม.)/ Manual exposure (f/8, 1 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

แม้ผมจะตั้งค่ารูรับแสงสำหรับภาพด้านบนไว้ที่ f/8 แต่ทั่วทั้งภาพยังคงดูไม่ระยิบระยับมากเท่ากับภาพหลัก ซึ่งเหตุผลสำคัญ 2 ข้อที่ทำให้เป็นเช่นนั้นคือ

1. ไม่สามารถเก็บภาพลำแสงที่แผ่ขยายจากแหล่งกำเนิดแสงที่เป็นจุดสว่างแต่ละแห่ง เนื่องจากผมตั้งค่า f ไว้ต่ำเกินกว่าที่จะสามารถสร้างลำแสงได้อย่างเพียงพอ ผมจึงไม่สามารถสร้างเอฟเฟ็กต์สว่างไสวระยิบระยับดังเช่นดวงดาวที่ส่องสว่างได้ ดังนั้นจึงควรเพิ่มค่า f แล้วลองถ่ายภาพอีกครั้ง เราอาจต้องมีการลองผิดลองถูกกันบ้าง!

2. ภาพทั้งภาพดูมืด เนื่องจากผมไม่ได้เพิ่มค่าชดเชยแสง โปรดจำไว้ว่าการเพิ่มค่าชดเชยแสงสำหรับภาพทิวทัศน์ที่มีแหล่งกำเนิดแสงที่สว่างมากอย่างเช่น ไฟประดับตกแต่ง จะทำให้เราสามารถเก็บภาพลำแสงออกมาได้ชัดขึ้น

 

อย่าลืม: ใช้ขาตั้งกล้องเมื่อถ่ายภาพยามค่ำคืน

ใช้ขาตั้งกล้อง

การถือกล้องถ่ายภาพในตอนกลางคืนย่อมเพิ่มโอกาสที่ภาพถ่ายจะเบลอเนื่องจากปัญหากล้องสั่น เมื่อคุณเพิ่มค่า f เพื่อสร้างแฉกแสง ความเร็วชัตเตอร์จะลดลงอีก จึงทำให้ภาพมีแนวโน้มที่จะเบลอจากการสั่นไหวของกล้องมากขึ้น (อ่านสรุปได้จาก พื้นฐานการเปิดรับแสง) ในกรณีนี้ จึงควรใช้ขาตั้งกล้องเพื่อถ่ายภาพ และใช้ตัวตั้งเวลาเพื่อที่คุณจะไม่ทำให้กล้องสั่นไหวโดยไม่ตั้งใจขณะกดปุ่มชัตเตอร์

 

วิธีเปลี่ยนค่าชดเชยแสง

1. เปลี่ยนโหมดการถ่ายภาพ

วงแหวนเลือกโหมดในกล้อง

เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างโหมด P, โหมด Av หรือโหมด Tv

 

2. เลือกค่าชดเชยแสงตามต้องการ

การชดเชยแสง

หมุนวงแหวนอิเล็กทรอนิกส์พร้อมกับกดปุ่มชดเชยแสง ทำการปรับค่าชดเชยแสงทางบวกโดยหมุนวงแหวนไปทางขวา และชดเชยแสงทางลบโดยหมุนวงแหวนไปทางซ้าย

 

3. ตรวจสอบค่าชดเชยแสง

การชดเชยแสง

ตรวจสอบค่าชดเชยแสงที่ตั้งไว้จากจอ LCD ด้านหลัง ตั้งค่าอีกครั้งหากผลที่ได้ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ

 

หากต้องการทราบเคล็ดลับและไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพยามค่ำคืน โปรดอ่านบทความต่อไปนี้:
จุดโฟกัส: การถ่ายภาพยามค่ำคืน(ฉบับภาษาอังกฤษ)
ภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืน – การควบคุมแสงเพื่อภาพสวย
EOS M10 บทที่ 5: วิธีถ่ายภาพแสงไฟวันคริสมาสต์ที่ส่องประกายระยิบระยับ
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #4: การถ่ายภาพอาคารยามค่ำคืน

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Teppei Kohno

เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย

http://fantastic-teppy.chips.jp

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา