ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ถ่ายภาพสวยดั่งใจ: ทะเลหมอกในเมืองยามค่ำคืน

2021-02-22
0
505
ในบทความนี้:

ทะเลหมอกเป็นทิวทัศน์อันสวยงามในตอนกลางวัน แต่ในเวลากลางคืนอาจยิ่งน่าทึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากประดับประดาด้วยแสงไฟในเมืองที่ส่องประกายระยิบระยับผ่านเมฆที่ปกคลุม ถ้าคุณเคยพบเห็นภาพเช่นนี้ ต่อไปนี้คือเคล็ดลับในการถ่ายภาพชวนฝันราวเทพนิยายที่เห็นรายละเอียดของเมืองที่คมชัดแต่เมฆยังคงดูนุ่มนวลและปุกปุย! (เรื่องโดย: Yusuke. O, Digital Camera Magazine)

EOS 5D Mark IV/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 185 มม./ โหมด Bulb (f/14, 218 วินาที)/ ISO 200/ WB: 4,000K
สถานที่ถ่ายภาพ: สวนมิโนะยามะ เมืองชิชิบุ จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น

 

ขั้นตอนที่ 1: ใช้รูรับแสงแคบเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดจนถึงขอบภาพ

ในความเป็นจริง ทะเลหมอกมักจะดูไม่สว่างเหมือนในภาพถ่าย ดังนั้น คนเราจึงมักจะอยากถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงกว้างๆ เพื่อให้เมฆดูสว่างขึ้น อย่างไรก็ตาม การถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงกว้างมาก อาจทำให้วัตถุที่อยู่บริเวณขอบของภาพพร่ามัว ควรใช้รูรับแสงแคบเพื่อให้มั่นใจว่าภาพดูคมชัด สำหรับภาพนี้ ผมถ่ายด้วยค่า f/14

f/4

f/14

f/11 คือค่าพื้นฐานที่ช่างภาพทิวทัศน์มากมายใช้เพื่อให้ได้ภาพคมชัด ดูเหตุผลได้ใน:
f/11: ค่ารูรับแสงที่เหมาะกับการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติให้ดูคมชัดและมีระยะชัดลึก

 

ขั้นตอนที่ 2: ลดความเร็วชัตเตอร์ ลดความไวแสง ISO เพื่อความคมชัดยิ่งขึ้น

ความไวแสง ISO ที่สูงมากทำให้เกิดจุดรบกวนที่เห็นชัด ซึ่งอาจทำให้ภาพดูมีคุณภาพต่ำลง ควรใช้ความไวแสง ISO ต่ำ ส่วนตัวผมเองพยายามไม่ใช้ค่าสูงกว่า ISO 400 แต่ข้อนี้ก็ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ของคุณและระดับปัญหาเม็ดเกรนที่เกิดจากค่า ISO สูงที่คุณยอมรับได้ ควรชดเชยความไวแสง ISO ที่ต่ำลงด้วยการเปิดรับแสงนานขึ้น ถ้ากล้องของคุณมีฟังก์ชันการตั้งเวลาโหมด Bulb วิธีนี้จะมีประโยชน์มาก

ISO 100/ 320 วินาที

ISO 1600/ 20 วินาที


ข้อควรรู้: ใช้สมาร์ทโฟนเป็นรีโมทกดชัตเตอร์บนแอพ Canon Camera Connect

สำหรับการเปิดรับแสงนานเป็นพิเศษเช่นนี้ คุณจำเป็นจะต้องใช้ขาตั้งกล้องที่มั่นคงและรีโมทกดชัตเตอร์ ถ้าคุณไม่มีรีโมทกดชัตเตอร์แต่ใช้กล้องที่มี Wi-Fi (กล้องรุ่นใหม่ทั้งหมด) แอพ Canon Camera Connect สำหรับสมาร์ทโฟนมีฟังก์ชันการถ่ายภาพ Live View ระยะไกลที่สามารถใช้ได้เช่นกัน


แตะปุ่มลั่นชัตเตอร์ในฟังก์ชันการถ่ายภาพ Live View ระยะไกลในแอพ Canon Camera Connect เพื่อเริ่มการเปิดรับแสง หน้าจอ Live View จะกลายเป็นสีดำและแสดงคำว่า “การถ่ายภาพ”  ตัวจับเวลาที่อยู่มุมขวาบน (กรอบสีแดง) จะแสดงระยะเวลาที่ผ่านไป ถ้าคุณใช้ฟังก์ชันการตั้งเวลาโหมด Bulb การเปิดรับแสงจะสิ้นสุดหลังจากเวลาที่กำหนดไว้ มิฉะนั้น ให้แตะปุ่มหยุดเพื่อสิ้นสุดการเปิดรับแสง

 

ขั้นตอนที่ 3: รวมภาพที่ถ่ายคร่อมเข้าด้วยกันเพื่อให้ไฟถนนดูสว่างขึ้น

ย่านชิชิบุซึ่งใช้ในการถ่ายภาพนี้ เป็นสถานที่ที่ขึ้นชื่อในเรื่องการถ่ายภาพทะเลหมอกท่ามกลางทิวทัศน์เมืองยามค่ำคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมต้องการแสดงไฟถนนหลากสีสันที่ส่องผ่านหมู่เมฆ ความเปรียบต่างสูงระหว่างพื้นที่สว่างกับพื้นที่มืดทำให้ยากที่จะถ่ายทอดสีสันอย่างเหมาะสมในภาพเดียว ดังนั้น อาจจะได้ผลกว่าถ้าถ่ายภาพหลายภาพด้วยระบบถ่ายภาพคร่อม แล้วค่อยรวมกันเป็นภาพ HDR ภาพเดียว

100 วินาที

200 วินาที

300 วินาที


ระบบถ่ายภาพคร่อมแบบแมนนวล: ใช้ความเร็วชัตเตอร์ในการควบคุมการเปิดรับแสง

ระบบถ่ายภาพคร่อมอัตโนมัติจะใช้ไม่ได้ในโหมด Bulb ดังนั้น ผมจึงถ่ายภาพคร่อมด้วยตัวเอง ผมปรับความเร็วชัตเตอร์เพื่อเปลี่ยนค่าการเปิดรับแสง เพื่อให้รูรับแสงและความไวแสง ISO คงที่


ภาพที่รวมกันแล้ว

 

หากคุณรู้สึกหลงใหลในทะเลหมอก ศึกษาฉากทะเลหมอก (ตอนกลางวัน) ส่วนหนึ่งพร้อมเคล็ดลับการถ่ายภาพได้ที่:
6 คุณสมบัติของกล้อง EOS R ที่เป็นประโยชน์ต่อการถ่ายภาพภูเขาและก้อนเมฆ
ทำความเข้าใจช่วงไดนามิกเรนจ์: วิธีหลีกเลี่ยงแสงสว่างโพลนที่ไม่จำเป็น
ภาพทิวทัศน์ตระการตา: ซ้อนทับฟิลเตอร์ GND ด้วยฟิลเตอร์อีกชั้นหนึ่ง

อ่านเคล็ดลับเกี่ยวกับการถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนเพิ่มเติมที่:
หนึ่งสถานที่กับภาพสองแบบ: ภาพยามค่ำคืนแนวแอ็บสแตรกต์ - ความสงบเยือกเย็น กับ ความมีชีวิตชีวา
คำแนะนำที่ห้ามพลาดสำหรับการถ่ายภาพยามค่ำคืนที่น่าตื่นตาตื่นใจ
เทคนิคการใช้เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์: เส้นแสงจากมุมมองใหม่

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Yusuke O.

ด้วยความสนใจในการถ่ายภาพสวยๆ ของทิวทัศน์ยามค่ำคืน Yusuke O. ซื้อกล้อง Canon EOS 550D ตัวแรกของตนเองในปี 2011 ตั้งแต่นั้นมา เขาทุ่มเทกับการถ่ายภาพทิวทัศน์โดยเฉพาะทิวทัศน์ในเวลากลางคืน และขณะนี้กำลังศึกษาการถ่ายภาพดวงดาว เขาคอยมองหาฉากยามค่ำคืนที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าอยู่เสมอ

Instagram: @snufkin25

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา