ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ฉากต้นซากุระตระการตาในญี่ปุ่นฝั่งตะวันตกที่ควรถ่ายด้วยเลนส์เทเลโฟโต้

2020-03-16
2
636
ในบทความนี้:

หากคุณกำลังจะเดินทางไปญี่ปุ่นฝั่งตะวันตกในฤดูซากุระบาน ต่อไปนี้คือฉากสองแบบที่คุณอาจจะอยากถ่ายภาพ เคล็ดลับ: นำเลนส์ซูเปอร์ซูมหรือเลนส์เทเลโฟโต้ติดตัวไปด้วยเพื่อถ่ายภาพสถานที่เหล่านี้ให้ออกมาสวยงามที่สุด (เรื่องโดย Yoshiki Fujiwara, Katsuhiro Yamanashi, Digital Camera Magazine)

วิวแบบพาโนรามาของภูเขาโยชิโนะในฤดูซากุระบานและทะเลหมอก

EOS 6D/ EF70-300mm f/4-5.6L IS USM/ FL: 124 มม./ Manual exposure (f/10, 1/80 วินาที)/  ISO 320/  WB: อัตโนมัติ
เดือน/ช่วงเวลาของวัน: กลางเดือนเมษายน/ 9.30 น.
ภาพโดย: Yoshiki Fujiwara

 

จุดที่ 1: ภูเขาโยชิโนะ (จังหวัดนาระ) 

ทิวทัศน์ชวนฝันของต้นซากุระบนภูเขาที่ซ่อนอยู่ในม่านหมอก 

ด้วยต้นซากุระกว่า 30,000 ต้นและการกล่าวถึงในวรรณกรรมและศิลปะโบราณอีกนับไม่ถ้วน ภูเขาโยชิโนะ (“โยชิโนะยามะ (ฉบับภาษาอังกฤษ)”) จึงเป็นจุดชมซากุระอันเป็นที่รักมากที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น ในปี 2004 บริเวณนี้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกปี 2004 ในชื่อ “สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเส้นทางแสวงบุญแห่งเทือกเขาคิอิ”

ผมถ่ายภาพด้านบนด้วยเลนส์เทเลโฟโต้เพื่อจับภาพซากุระบานรอบๆ วัดคินปูเซนจิซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญบนภูเขา เพราะท้องฟ้ามืดและไม่ต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าจนเกินไป ผมจึงถ่ายภาพโดยใช้ขาตั้งกล้องแล้วลั่นชัตเตอร์เพื่อป้องกันการสั่นของกล้อง


เทคนิคที่ 1: วางแผนการถ่ายภาพหมอกให้ดีด้วยการติดตามข่าวพยากรณ์อากาศ

หมอกเกิดจากละอองน้ำหยดเล็กๆ ที่ลอยอยู่ในอากาศ แม้หมอกจะก่อตัวได้ง่ายในสถานที่เช่นภูเขาโยชิโนะ การวางแผนก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการถ่ายภาพภูเขาที่ซ่อนตัวอยู่ในม่านหมอกคือ

i) เช้าตรู่ในวันที่มีอุณหภูมิแปรปรวน หรือ
ii) ในวันที่มีฝนตก

สำหรับภาพนี้ ผมเลือกถ่ายในวันที่มีฝนตกหนัก เพราะผมคิดว่าเมื่อฝนกับหมอกรวมตัวกัน จะทำให้ภาพดูมีมนต์ขลังมากยิ่งขึ้น อุณหภูมิของอากาศที่เย็นลงและความชื้นที่เพิ่มขึ้นในวันฝนตกหมายถึงจำนวนหยดน้ำในอากาศที่มากขึ้น เกิดเป็นหมอกที่หนาขึ้น 


หากไม่มีหมอก ภาพจะดูสมจริงเกินไป

วิวแบบพาโนรามาของภูเขาโยชิโนะในฤดูซากุระบานที่ไม่มีทะเลหมอก

หากคุณถ่ายภาพในเช้าวันที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมากนัก จะไม่มีหมอกที่ทำให้เกิดความรู้สึกชวนฝันและมีมนต์ขลัง คุณจะสามารถเห็นรายละเอียดของเมืองที่อยู่ด้านบนของภาพได้อย่างชัดเจน ทำให้ภาพดูสมจริงมากเกินไป 


เทคนิคที่ 2: ทำให้ภาพโดยรวมโดดเด่นยิ่งขึ้นด้วยกระบวนการปรับแต่งภาพ

ผมเพิ่มเอฟเฟ็กต์ของหมอกให้เด่นชัดขึ้นโดยใช้ Lightroom ปรับแต่งภาพ

ขั้นตอนที่ 1: ลด ‘ความคมชัด’ ลงเพื่อให้ภาพดูพร่ามัวเหมือนมีหมอกหนา
ขั้นตอนที่ 2: ใช้เครื่องมือ ‘ลดความพร่ามัว’ (Dehaze) เพื่อลดปริมาณหมอกและเพิ่มสีสันให้เด่นชัดขึ้น

ภาพหลังการปรับแต่ง

ในภาพนี้ ผมตั้งค่าความคมชัดไว้ที่ -30 และลดความพร่ามัวให้เหลือ +60 ขั้นตอนเหล่านี้ช่วยให้ภาพดูเหมือนฝันและเหนือจริงมากยิ่งขึ้น เคล็ดลับ: คอยสังเกตว่าการปรับค่าต่างๆ ของคุณส่งผลอย่างไรต่อทั้งภาพ แทนที่จะดูเพียงแค่ส่วนเดียว


การเดินทางไปยังจุดถ่ายภาพ: จุดชมวิวฮานะยะรุงะ
ที่อยู่: Kami Senbon, Yoshinoyama, Yoshino-machi, Yoshino-gun จังหวัดนาระ
คลิกที่นี่เพื่อดูแผนที่ Google (ฉบับภาษาอังกฤษ)

ระบบขนส่งสาธารณะ: ขึ้นรถไฟสายคินเท็ตสึและลงที่สถานีโยชิโนะ
รถยนต์: ไม่อนุญาตให้รถยนต์ส่วนตัวเข้าในฤดูซากุระบาน คุณจะต้องจอดรถที่ลานจอดหรับนักท่องเที่ยวบนภูเขาโยชิโนะ ซึ่งมีพื้นที่สำหรับจอดรถ 400 คัน

จุดถ่ายภาพจะอยู่ในพื้นที่คามิ เซนบง (“ต้นไม้ 1000 ต้นบนที่สูง”) ของภูเขา เนื่องจากไม่มีรถบัสหรือกระเช้าลอยฟ้าในเวลาเช้าตรู่ คุณจะต้องเดินเป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงจากลานจอดรถไปยังจุดถ่ายภาพ สำหรับขากลับ คุณสามารถขึ้นรถบัสจากป้ายในสวนนากะ เซนบง กลับมายังลานจอดรถได้ 

เคล็ดลับการแต่งตัว: แต่งตัวให้พร้อมสำหรับอากาศหนาว
แม้ภาพนี้จะถ่ายในเดือนเมษายน แต่อากาศบนภูเขาโยชิโนะก็อาจหนาวทีเดียว แต่งตัวให้เหมือนกับว่าคุณกำลังจะไปปีนเขาในฤดูหนาว

 

จุดที่ 2: ปราสาทมัตสึยามะ (จังหวัดเอฮิเมะ)

ซากุระบานเต็มที่รอบๆ ปราสาทอันมีชื่อเสียง

ปราสาทมัตสึยามะท่ามกลางต้นซากุระและท้องฟ้าสีฟ้า

EOS-1Ds Mark III/  EF28-300mm f/3.5-5.6L IS USM/ FL: 80 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/125 วินาที, EV +0.3)/ ISO 250/ WB: อัตโนมัติ
เดือน/ช่วงเวลาของวัน: ปลายเดือนมีนาคม/ 12.30 น.
ภาพโดย: Katsuhiro Yamanashi

ปราสาทมัตสึยามะ (ฉบับภาษาอังกฤษ) ตั้งอยู่บนภูเขาสูงชันและเป็นหนึ่งในปราสาท 12 แห่งเท่านั้นในญี่ปุ่นที่ยังหลงเหลืออยู่หลังจากการปฏิรูปเมจิในปี 1868 ในวันที่ผมถ่ายภาพมุมต่ำนี้มีแสงแดดที่กระจายตัวอย่างสวยงามในช่วงเที่ยงวัน ทำให้ดอกซากุระ โซเมอิ โยชิโนะ ดูสว่างสดใสในเฟรมภาพจนแทบจะเป็นสีขาวมากกว่าสีชมพู


เทคนิคที่ 1: ใช้เลนส์เทเลโฟโต้เพื่อตัดเอาองค์ประกอบที่ไม่จำเป็นออกไป 

การใช้เลนส์ซูเปอร์ซูมทำให้ผมสามารถลองจัดเฟรมภาพโดยใช้ทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้นได้ ผมพบว่าการจัดเฟรมภาพที่เหมาะสมที่สุดคือใช้ทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้ระยะกลางที่ 80 มม. ซึ่งไม่เพียงแต่ตัดนักท่องเที่ยวในโฟร์กราวด์ออกไปได้เท่านั้น แต่ยังทำให้ดอกซากุระดูมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย

การตัดองค์ประกอบที่ไม่จำเป็นออกไปจากเฟรมทำให้ได้การจัดองค์ประกอบภาพที่แน่นขึ้น 


50 มม.: จะมีนักท่องเที่ยวอยู่ในเฟรมภาพด้วย

ปราสาทมัตสึยามะที่มีต้นซากุระและนักท่องเที่ยวในโฟร์กราวด์ิ

การถ่ายภาพที่ระยะ 50 มม. จากมุมเดียวกันจะถ่ายติดนักท่องเที่ยวในเฟรมภาพด้วย แต่ทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟที่เด่นชัดกว่าหากเทียบกับระยะ 80 มม. หากคุณต้องการองค์ประกอบภาพเช่นนี้ ให้หาฐานสำหรับยืนหรือปรับขาตั้งกล้องเพื่อให้กล้องอยู่ในตำแหน่งสูง วิธีนี้จะทำให้คนอยู่นอกเฟรมภาพ

ดูเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากลักษณะเฉพาะของเลนส์ในการจัดองค์ประกอบภาพได้ที่:
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (3): ดึงความสามารถสูงสุดของเลนส์มาใช้


เทคนิคที่ 2: ใช้การชดเชยแสง 

เนื่องจากมีท้องฟ้าอยู่ในเฟรมภาพและดอกไม้มีความสว่างทั้งยังมีสีอ่อนมาก การใช้โหมดวัดแสงอัตโนมัติจะทำให้ได้ภาพที่ดูมืดเกินไป ควรใช้การชดเชยแสง และผมขอแนะนำค่า EV +0.3 ถึง +0.5


การเดินทางไปจุดถ่ายภาพ: ปราสาทมัตสึยามะ
ที่อยู่: Marunouchi, Matsuyama-shi จังหวัดเอฮิเมะ
คลิกที่นี่เพื่อดูแผนที่ Google (ฉบับภาษาอังกฤษ)

ระบบขนส่งสาธารณะ: ที่สถานี JR มัตสึยามะ ให้เปลี่ยนมาขึ้นรถรางสายหมายเลข 5 ของรถรางสายอิโยะเท็ตสึและลงที่สถานีโอไกโดะ เดิน 5 นาทีจึงจะถึงสถานีกระเช้าลอยฟ้า (เคเบิล คาร์) ของปราสาทมัตสึยามะ
รถยนต์: ใช้เวลาประมาณ 15 นาทีจึงจะถึงสถานีกระเช้าลอยฟ้าปราสาทมัตสึยามะจาก Matsuyama IC บนทางหลวงมัตสึยามะ

นอกจากนี้ คุณสามารถเดินขึ้นภูเขาคัตสึยามะประมาณ 20 นาทีไปยังปราสาทได้จากสถานีโอไกโดะหรือสวนนิโนะมารุ ข้อควรระวัง: เส้นทางนี้สวยงามแต่มีความลาดชัน!


ดูจุดถ่ายภาพซากุระที่แนะนำและเคล็ดลับเพิ่มเติมได้จากบทความต่อไปนี้:
การถ่ายภาพต้นซากุระในญี่ปุ่น: จุดชมวิวและเคล็ดลับของช่างภาพมืออาชีพ (1)
การถ่ายภาพต้นซากุระในญี่ปุ่น: จุดชมวิวและเคล็ดลับของช่างภาพมืออาชีพ (2)
การถ่ายภาพต้นซากุระในญี่ปุ่น: จุดชมวิวและเคล็ดลับของช่างภาพมืออาชีพ (3)
วิธีถ่ายภาพดอกซากุระให้มีความละเอียดแต่ดูชวนฝันด้วยซอฟต์ฟิลเตอร์
การถ่ายภาพต้นซากุระ: ควรถ่ายที่ระยะมุมกว้างหรือเทเลโฟโต้ดี

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Yoshiki Fujiwara

แต่เดิม Fujiwara เคยเป็นนักสโนว์บอร์ดมืออาชีพ ต่อมาได้ผันตัวเข้าสู่อาชีพที่สองในฐานะช่างภาพหลังจากเลิกเล่นสโนว์บอร์ดเพราะอาการบาดเจ็บ เขามุ่งหาวิธีใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติเพื่อสร้างความรู้สึกโปร่งแสง และประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาด้วยตนเองทำให้ภาพถ่ายของเขาได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน “10 ภาพที่แชร์กันอย่างแพร่หลายของ Tokyo Camera Club”

http://www.yoshiki-fujiwara.com/

Katsuhiro Yamanashi

เกิดที่กรุงโตเกียวในปี 1945 Yamanashi ทำงานที่สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งหลังจบการศึกษาจาก Tokyo College of Photography (ปัจจุบันมีชื่อว่า Tokyo Polytechnic University) และเดินทางไปทั่วญี่ปุ่นเพื่อเยี่ยมชมและถ่ายภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงนานถึงเวลา 4 ปี หลังลาออกจากบริษัท เขาผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ และท้ายที่สุดได้ก่อตั้งบริษัทของตัวเองที่มีชื่อว่า Yamanashi Photo ในปี 1989 นอกจากงานภาพถ่ายสต็อกแล้ว เขายังถ่ายภาพให้ปฏิทินบริษัท นิตยสารกล้องและการท่องเที่ยว และโปสเตอร์สำหรับการรถไฟญี่ปุ่นอีกด้วย

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา