ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง: การจัดองค์ประกอบภาพทำได้ง่ายขึ้นในกล้องมิเรอร์เลสใช่หรือไม่

2021-03-29
0
558
ในบทความนี้:

กล้องมิเรอร์เลส EOS มีความครอบคลุมของโฟกัสอัตโนมัติ (AF) ดีกว่า AF ช่องมองภาพของกล้อง EOS DSLR เนื่องจากครอบคลุมพื้นที่ภาพได้เกือบทั้งหมดและมีตำแหน่ง AF ที่สามารถเลือกเองได้มากกว่ามาก แล้วปัจจัยนี้จะเปลี่ยนวิธีการใช้งาน AF ของคุณอย่างไร พบคำตอบได้ในบทความนี้! (เรื่องโดย: Takashi Karaki, Digital Camera Magazine)

 

ความครอบคลุมของ AF กว้างขึ้นและหนาแน่นขึ้นระหว่างการถ่ายภาพด้วยช่องมองภาพ

ขณะถ่ายภาพนิ่งผ่านช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EVF) ของกล้องมิเรอร์เลส Canon EOS ระบบโฟกัสอัตโนมัติ (AF) ที่ทำงานอยู่คือ ระบบ Dual Pixel CMOS AF แบบใช้เซนเซอร์ภาพ ซึ่งแต่ละพิกเซลบนเซนเซอร์ภาพนั้นสามารถตรวจจับระยะได้นอกเหนือจากการจับแสงเพื่อถ่ายภาพ วิธีนี้ช่วยให้ได้พื้นที่ AF ที่ครอบคลุมพื้นที่ภาพเกือบทั้งหมด ตลอดจนมีตำแหน่ง AF ที่เป็นไปได้มากขึ้น (เช่น กล้อง EOS R5 มีตำแหน่ง AF ที่เลือกได้สูงสุด 5,490 ตำแหน่ง)

ซึ่งเป็นการเทียบกับระบบ AF ช่องมองภาพของกล้อง DSLR ที่จุด AF มีจำนวนคงที่และมักจะหนาแน่นที่ตรงกลางภาพ

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อแตกต่างดังกล่าวได้ที่:
สเปคของกล้อง EOS R แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร

 


จุดโฟกัสอัตโนมัติ/ความครอบคลุมของ AF ของกล้อง DSLR
(ตัวอย่าง: EOS 5D Mark IV - จุด AF 61 จุด)


*ภาพนี้ใช้เป็นภาพประกอบเท่านั้น

จุดโฟกัสอัตโนมัติ/ความครอบคลุมของ AF ของกล้องมิเรอร์เลส
(ตัวอย่าง: EOS R5 - ครอบคลุมพื้นที่สูงสุด 100% x 100%)

ความครอบคลุมของ AF จริงขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้องและเลนส์ของคุณ สำหรับระบบ EOS R นั้นอาจสูงถึง 100% ในแนวตั้ง และ 88-100% ในแนวนอน (ขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้อง) เมื่อใช้ร่วมกับเลนส์รุ่นที่เข้ากันได้


คุณสมบัตินี้มีผลต่อการถ่ายภาพนอกสถานที่อย่างไร ลองพิจารณาภาพท้องฟ้ายามอาทิตย์อัสดงภาพต่อไปนี้

ในภาพนี้ จุดสนใจหลักคือพระอาทิตย์ที่ขอบด้านล่างของภาพ และนั่นคือจุดที่คุณจะต้องจับโฟกัส


การโฟกัสด้วยกล้อง DSLR

สำหรับกล้อง DSLR นั้น การจัดองค์ประกอบแล้วจับโฟกัสจะใช้ไม่ได้ผลสำหรับตัวแบบที่อยู่ตรงขอบเฟรม คุณจำเป็นต้องใช้เทคนิคการล็อค AF (‘โฟกัสแล้วจัดองค์ประกอบภาพใหม่’):

ขั้นตอนที่ 1: หาโฟกัสโดยใช้จุด AF จุดใดจุดหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 2: “ล็อคโฟกัส” โดยกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 3: จัดองค์ประกอบภาพใหม่ตามต้องการ
ขั้นตอนที่ 4: ถ่ายภาพ


การโฟกัสด้วยกล้องมิเรอร์เลส

สำหรับกล้องมิเรอร์เลส เนื่องจากพื้นที่ AF ครอบคลุมเฟรมภาพเกือบทั้งหมด คุณจึงจัดองค์ประกอบภาพได้เกือบทุกแบบที่คุณต้องการตั้งแต่ต้น โดยไม่ต้องล็อคโฟกัสและจัดองค์ประกอบใหม่ ขั้นตอนการใช้งานที่ไม่ซับซ้อนนี้ไม่เพียงช่วยให้คุณถ่ายภาพได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่ยังให้อิสระในการสร้างสรรค์มากขึ้นอีกด้วย

 

เทคนิคพิเศษ: การใช้วิธีการโฟกัสอัตโนมัติแบบต่างๆ

ส่วนใหญ่แล้ว โหมด AF ตรวจจับใบหน้า + ติดตามตัวแบบ (AF อัตโนมัติเต็มรูปแบบ) จะเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของตัวแบบ การเคลื่อนไหวของตัวแบบ ตลอดจนระดับความแม่นยำที่คุณต้องการ การใช้วิธีการโฟกัสอัตโนมัติที่ต่างกันอาจช่วยให้คุณจับโฟกัสได้ง่ายขึ้น

คุณอาจมีวิธีโฟกัสอัตโนมัติให้เลือกถึง 8 วิธี ขึ้นอยู่กับกล้องของคุณ มาดูสองวิธียอดนิยมต่อไปนี้กัน

 

AF 1 จุด: สำหรับความแม่นยำในการโฟกัสแบบ Pinpoint

‘AF 1 จุด’ จะโฟกัสด้วยจุด AF เล็กๆ เพียงจุดเดียว ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับฉากที่มีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ หรือหากตัวแบบมีขนาดเล็กจิ๋ว วิธีนี้เหมาะสำหรับฉากที่ตัวแบบหลักเคลื่อนไหวไม่มากนักและกินพื้นที่ส่วนเล็กๆ ของเฟรมภาพ กล้องบางรุ่นยังมี ‘AF จุดเล็ก’ ซึ่งช่วยให้คุณจับโฟกัสในพื้นที่ที่เล็กยิ่งกว่า AF 1 จุดได้

ลองใช้วิธีนี้: ใช้โหมดนี้ร่วมกับฟังก์ชั่นขยายใหญ่และ Touch AF เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด!

ตัวอย่างการใช้งาน AF 1 จุด/AF จุดเล็ก:
RF85mm f/2 Macro IS STM: มองดูธรรมชาติให้ใกล้ชิดขึ้น
การถ่ายภาพดอกไม้: เทคนิคและคุณสมบัติของกล้องที่เป็นประโยชน์

 

Zone AF: สำหรับติดตามตัวแบบที่เคลื่อนไหว

เช่นเดียวกับโหมดเวอร์ชันกล้อง DSLR โหมด Zone AF จะแบ่งพื้นที่ AF ทั้งหมดออกเป็นโซนต่างๆ และทำการตรวจจับตัวแบบภายในโซนที่คุณเลือกเท่านั้น จึงเหมาะสำหรับตัวแบบที่เคลื่อนไหว

ข้อควรรู้: โหมด Large Zone AF ที่มีในกล้องบางรุ่นจะทำงานในลักษณะคล้ายกัน เว้นแต่ใช้กับโซนที่ใหญ่กว่า เมื่อตัดสินใจว่าจะใช้โหมดใด ควรพิจารณาขนาดของตัวแบบและขอบเขตการเคลื่อนไหวของตัวแบบ


ดูตัวอย่างการใช้งาน Zone AF และ Large Zone AF ได้ที่นี่:
สถานที่น่าสนใจในสวิตเซอร์แลนด์: 5 วิธีใช้กล้อง EOS R ให้คุ้มค่าที่สุด
นกโผบิน: การตั้งค่ากล้องเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการถ่ายภาพ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Takashi Karaki

หลังจากผ่านประสบการณ์การเป็นโค้ชกีฬา ต่อด้วยการทำงานในแวดวงการผลิตนิตยสารและบรรณาธิการมาเป็นเวลา 10 ปี Karaki ก็ย้ายไปยังเมืองโยนาโงะในจังหวัดท็อตโตริ ซึ่งเขาได้กลายเป็นที่รู้จักจากผลงานการถ่ายภาพทิวทัศน์ในภูมิภาคซันอินของญี่ปุ่น ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์ใน จุลสาร Amazing Village ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับหมู่บ้านสวยๆ ในญี่ปุ่นที่จัดทำขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือ CANON × Discover Japan ในปี 2017 และภาพทะเลหมอกที่ช่องเขาอาเคชิในจังหวัดท็อตโตริก็เป็นหนึ่งใน 12 ภาพที่ได้รับคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (JNTO) ให้เป็นตัวแทนของญี่ปุ่น

Instagram: @karakky0918

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา