ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด In Focus: Lenses FAQs- Part2

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #2: เลนส์ไวแสงทำให้มองเห็นผ่านช่องมองภาพได้ง่ายขึ้นหรือไม่

2019-06-19
2
3.25 k
ในบทความนี้:

บทความชุดนี้จะตอบคำถามเกี่ยวกับเลนส์ที่คุณคิดว่ารู้แล้ว (แต่อาจไม่รู้) ในบทความนี้ เราจะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรูรับแสงกว้างสุดของเลนส์กับภาพที่เห็นจากช่องมองภาพ (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)

 

เลนส์ไวแสง (“ให้ความสว่าง”) คืออะไร

เลนส์ไวแสงคือ เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ เช่น f/1.2, f/1.4 หรือ f/2.8

เมื่อเลนส์มีรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ แสงจะสามารถผ่านและเข้ามาถึงเซนเซอร์ได้มากขึ้น และเมื่อตั้งค่ารูรับแสงกว้างสุด คุณจะได้รับการเปิดรับแสงที่เพียงพอได้รวดเร็วกว่าเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดเล็กกว่าด้วย ดังนั้น เลนส์ที่มีลักษณะเช่นนี้จึงเป็นเลนส์ที่ “ไวแสง” หรือ “ให้ความสว่าง”

 

คุณสมบัตินี้ส่งผลต่อภาพที่เห็นในช่องมองภาพแบบออพติคอลอย่างไร

ภาพที่เห็นผ่าน OVF (เลนส์ f/1.4)

ภาพที่เห็นผ่าน OVF เมื่อใช้เลนส์ f/1.4

ภาพที่เห็นผ่าน OVF (เลนส์ f/4)

ภาพที่เห็นผ่าน OVF เมื่อใช้เลนส์ f/4

ภาพด้านบนเป็นภาพที่เห็นจากช่องมองภาพแบบออพติคอล (OVF) ของเลนส์ EF24-105mm f/4L IS USM และ EF24mm f/1.4L II USM ตามลำดับ ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ารูรับแสงของเลนส์ส่งผลโดยตรงอย่างไรต่อความสว่างของภาพที่เห็นผ่าน OVF ช่องมองภาพที่มีความสว่างมากกว่าจะช่วยให้คุณเห็นรายละเอียดบนตัวแบบได้ชัดเจนกว่า และยังเป็นข้อได้เปรียบเมื่อต้องถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อยด้วย

ถึงแม้จะมองเห็นความแตกต่างได้ค่อนข้างยากในฉากที่สว่าง เช่น เมื่อถ่ายภาพกลางแจ้ง แต่จะเห็นได้ชัดเจนขึ้นเมื่อคุณถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย


อะไรทำให้เกิดความแตกต่างเช่นนี้

ภาพประกอบด้านล่างแสดงการเดินทางของแสงผ่านเลนส์ของกล้อง DSLR และเกิดเป็นภาพใน OVF

แผนภาพแสดงวิธีการเกิดภาพใน OVF

A: เพนทาปริซึมหรือเพนทามิเรอร์
B: ช่องมองภาพแบบออพติคอล
C: กระจกชิ้นหลัก


1. แสงเข้าสู่เลนส์
2. กระจกชิ้นหลัก (C) สะท้อนแสงนี้ไปยังเพนทามิเรอร์ (A) ด้วย
3. ภาพที่เกิดขึ้นที่ (A) คือสิ่งที่คุณมองเห็นเมื่อมองผ่านช่องมองภาพ OVF (B)

แสงที่ผ่านเข้ามาถึง OVF จะไม่ได้รับผลกระทบจากการตั้งค่ารูรับแสงหรือการตั้งค่าอื่นๆ ในกล้องของคุณเลย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ความสว่างของภาพที่เห็นใน OVF ขึ้นอยู่กับปริมาณแสงที่ผ่านเข้ามาในเลนส์เมื่อใช้รูรับแสงกว้างสุดเท่านั้น*

เมื่อคุณใช้เลนส์ไวแสง โดยปกติแล้ว แสงจะผ่านเข้ามาในเลนส์ได้มากขึ้น ทำให้แสงสะท้อนไปยัง OVF ได้มากขึ้น ภาพที่เห็นใน OVF จึงมีความสว่างมากกว่าหากเทียบกับการใช้เลนส์ไวแสงน้อยกว่า


*ข้อควรรู้: ระบบวัดแสงด้วยรูรับแสงกว้างสุด

กล้อง DSLR ส่วนมากวัดความสว่างของฉากด้วยระบบวัดแสงด้วยรูรับแสงกว้างสุด (ฉบับภาษาอังกฤษ) (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบวัดแสงด้วยรูรับแสงแบบเปิด) ซึ่งไดอะแฟรมรูรับแสงจะถูกตั้งค่าเริ่มต้นไว้ที่ตำแหน่งรูรับแสงกว้างสุด หากตั้งค่ากล้องโดยใช้ค่า f ที่แคบลง ไดอะแฟรมรูรับแสงจะแคบลงชั่วขณะเมื่อคุณลั่นชัตเตอร์ แต่หลังจากนั้นจะกลับไปอยู่ที่ค่ารูรับแสงกว้างสุดอีกครั้ง กล้องมิเรอร์เลสของ Canon ก็มีวิธีการทำงานแบบเดียวกันนี้ แต่สำหรับกล้องอื่นๆ อาจแตกต่างออกไป


หมายเหตุ: เพราะเหตุใดช่างภาพบางคนจึงชื่นชอบภาพที่ได้จากการมองผ่าน OVF

ระบบนี้ช่วยให้คุณมองเห็นภาพใน OVF ได้เช่นเดียวกับที่มองเห็นด้วยตาเปล่าด้วย ภาพที่เป็นธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรับแต่ง และเป็นภาพของฉากที่คุณเห็นได้ “โดยตรง” คือสิ่งที่ช่างภาพหลายคนชื่นชอบเมื่อถ่ายภาพด้วย OVF

 

เลนส์ไวแสงส่งผลต่อภาพที่เห็นผ่าน EVF หรือไม่

ภาพที่คุณเห็นในช่องมองภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ (EVF) เกิดขึ้นได้ด้วยกระบวนการต่อไปนี้:

1. แสงเข้าสู่เลนส์
2. เซนเซอร์ภาพบันทึกแสงนี้ไว้
3. ภาพที่เกิดขึ้นบนเซนเซอร์ภาพจะถูกฉายลงบน EVF

เมื่อคุณเปลี่ยนการตั้งค่าของกล้อง ค่าเหล่านี้จะมีผลต่อภาพที่เกิดบนเซนเซอร์ภาพ ดังนั้น ภาพที่คุณเห็นใน EVF ก็จะเปลี่ยนไปด้วย และช่องมองภาพ EVF ยังเพิ่มความสว่างของภาพได้แบบอิเล็กทรอนิกส์ รูรับแสงกว้างสุดของเลนส์จึงไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อความสว่างของภาพที่เห็นใน EVF

อย่างไรก็ตาม เลนส์ไวแสงสูงๆ อาจมีผลต่อคุณภาพของภาพใน EVF ได้อีกทางหนึ่ง


ผลของเลนส์ไวแสงต่อความสว่างของ EVF

เมื่อคุณถ่ายภาพในสภาพแวดล้อมที่มืด EVF จะ “เพิ่มแสง” (เพิ่มความสว่าง) โดยอัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นได้ดีขึ้น แต่การเพิ่มแสงที่มากเกินไปอาจทำให้ภาพใน EVF ดูหยาบแบบมีเม็ดเกรน

EVF จะเพิ่มแสงน้อยลงหากแสงผ่านเข้ามาถึงเซนเซอร์ได้มากขึ้น นี่จึงเป็นข้อได้เปรียบของเลนส์ไวแสงสูงๆ ความหยาบที่น้อยลงและแสงที่ผ่านเข้ามาถึงเซนเซอร์ได้มากขึ้นยังมีส่วนช่วยให้ AF ทำงานได้ดีขึ้นในสภาวะแสงน้อยด้วย

ภาพที่เห็นจาก EVF

ภาพท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวจาก EVF ของกล้อง EOS R

สภาพการถ่ายจริง

ภาพจำลองของท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวที่เห็นด้วยตาเปล่า

 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง OVF กับ EVF ได้ที่:
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #12: ช่องมองภาพ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Ryosuke Takahashi

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ นอกจากถ่ายภาพสำหรับงานโฆษณาและนิตยสารทั้งในและนอกญี่ปุ่นแล้ว เขายังทำหน้าที่เป็นนักรีวิวให้กับ "Digital Camera Magazine" นับตั้งแต่นิตยสารเปิดตัว ตลอดจนตีพิมพ์ผลงานต่างๆ มากมาย ในส่วนของการรีวิวผลิตภัณฑ์และเลนส์ Takahashi เน้นให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพที่ดึงประสิทธิภาพการทำงานของเลนส์ออกมาผ่านมุมมองและการทดสอบเฉพาะตัวของเขาเอง ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา