RF50mm f/1.8 STM เป็นเลนส์ 50 มม. ความไวแสงสูงราคาย่อมเยาที่ผู้ใช้ระบบ EOS R มากมายตั้งตารอ เลนส์รุ่นนี้เป็นอย่างไรบ้างเมื่อเทียบกับเลนส์เวอร์ชันเมาท์ EF EF50mm f/1.8 STM ที่เป็นเลนส์ยอดนิยมรุ่นที่สาม เราจะมาศึกษาเลนส์ 2 รุ่นนี้ใน 6 ด้านด้วยกัน (เรื่องโดย: Kazuyuki Okajima, Digital Camera Magazine)
#1: บอดี้กล้อง
#2: กำลังในการแยกรายละเอียด
#3: โบเก้
#4: สมรรถนะในการแก้ไขแสงจากด้านหลัง
#5: ระบบป้องกันภาพสั่นไหว (กับ EOS R5/R6)
#6: ความสามารถในการใช้งาน
#1: บอดี้กล้อง
แม้ EF50mm f/1.8 STM จะมีขนาดและน้ำหนักใกล้เคียงกับ RF50mm f/1.8 STM แต่คุณก็ต้องใช้เมาท์อะแดปเตอร์เพื่อติดตั้งกับกล้องซีรีย์ EOS R ซึ่งจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นเล็กน้อยและเพิ่มความยาวโดยรวมขึ้นไม่กี่เซนติเมตร ทว่ายังคงรักษาสมดุลกับกล้องได้ดีอยู่
เลนส์ทั้งสองมีเส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์ต่างกัน โดยที่ของ RF50mm f/1.8 STM อยู่ที่ 43 มม. ซึ่งเล็กกว่าของเลนส์ในเวอร์ชัน EF (49 มม.) แต่เส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุดของเลนส์ทั้งคู่ยังคงเท่ากัน เลนส์ RF ดูกะทัดรัดและทันสมัยกว่า แต่สำหรับผู้ที่ชอบติดอุปกรณ์เสริมและอุปกรณ์ยึดติดจำนวนมากกับกล้องอาจรู้สึกว่าดู “เท่” กว่าเมื่อใช้กับเลนส์ EF กับเมาท์อะแดปเตอร์
สำหรับสีและการเคลือบผิวนั้นมีความแตกต่างเล็กน้อย ซึ่งส่วนนี้จะสำคัญมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความชอบของคุณ
A: วงแหวนโฟกัส |
RF50mm f/1.8 STM EF50mm f/1.8 STM |
B: พื้นผิว |
RF50mm f/1.8 STM EF50mm f/1.8 STM |
C: เมาท์ของเลนส์ |
RF50mm f/1.8 STM EF50mm f/1.8 STM |
#2: กำลังการแยกรายละเอียดภาพ
EOS R5/ Aperture-priority AE (f/8, 1/1000 วินาที, EV -0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
A (กึ่งกลางภาพ)
RF50mm f/1.8 STM
EF50mm f/1.8 STM
เมื่อเปรียบเทียบบริเวณกึ่งกลางภาพของภาพถ่ายสองภาพด้านบน เลนส์ทั้งสองมีกำลังการแยกรายละเอียดภาพเท่ากันไม่มากก็น้อย สำหรับผมแล้ว ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ RF ดูเหมือนว่าคมชัดกว่า โดยที่เส้นต่างๆ ละเอียดขึ้นเล็กน้อยและมีความเปรียบต่างย่อยดีกว่า
B (บริเวณขอบภาพ)
RF50mm f/1.8 STM
EF50mm f/1.8 STM
ที่บริเวณขอบภาพ ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ EF ดูเหมือนว่าจะแยกรายละเอียดภาพได้ดีกว่าเล็กน้อย ขณะที่รายละเอียดจากภาพที่ถ่ายด้วย RF ดูนุ่มนวลกว่าเล็กน้อย
ผมเปิดใช้ Digital Lens Optimizer ในขณะถ่ายภาพ ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ทั้งสองดูคมชัดที่สุดเมื่อใช้ f/5.6 และ f/8 ความคมชัดจะค่อยๆ ลดลงหลังจากค่า f/11 ขึ้นไป และภาพจะดูนุ่มนวลขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อใช้ค่ารูรับแสงต่ำสุด f/22
#3: โบเก้
EOS R5/ Aperture-priority AE (f/1.8, 1/1000 วินาที, EV +0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
RF50mm f/1.8 STM
EF50mm f/1.8 STM
ภาพด้านบนนี้ถ่ายที่ระยะโฟกัสใกล้สุดของเลนส์ EF (35 ซม.) ซึ่งช่วยให้ได้กำลังขยายสูงสุด 0.21 เท่า แต่เลนส์ RF สามารถถ่ายได้ใกล้กว่านี้ ด้วยระยะโฟกัสใกล้สุดที่สั้นลงที่ 30 ซม. ซึ่งให้กำลังขยายสูงสุด 0.25 เท่า
ผมตั้งกล้องบนขาตั้งเพื่อรักษาระยะการถ่ายภาพให้เท่ากันสำหรับเลนส์ทั้งสอง แต่ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ RF นั้นดูกว้างกว่าเล็กน้อย ซึ่งทำให้โบเก้ในภาพตัวอย่างที่ถ่ายด้วยเลนส์ EF ดูเด่นชัดกว่าเล็กน้อย แต่โบเก้จากเลนส์ RF นั้นดูนุ่มนวลกว่า โดยค่อยๆ เปลี่ยนจากพื้นที่ที่อยู่ในโฟกัสเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกโฟกัส (ดูพื้นที่ในกรอบสีแดง) เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว
ขอบของวงกลมโบเก้ที่เลนส์ EF สร้างขึ้นนั้นมีความคมชัด มากเสียจนผมรู้สึกว่าค่อนข้างรกสายตา แต่วงกลมโบเก้จากเลนส์ RF ดูนุ่มนวลกว่าและค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า ซึ่งกลมกลืนไปกับโบเก้ที่เหลือ
#4: สมรรถนะในการแก้ไขแสงจากด้านหลัง
RF50mm f/1.8 STM
EF50mm f/1.8 STM
ทั้งสองภาพ: EOS R5/ Aperture-priority AE (f/22, 1/320 วินาที, EV -2.0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
เมื่อใช้ EF50mm f/1.8 STM จะมีแสงหลอกเล็กน้อยรอบดวงอาทิตย์ แต่นอกจากนั้นแล้วผมก็ไม่พบความแตกต่างที่ชัดเจนใดๆ เกี่ยวกับประสิทธิภาพด้านออพติคอลระหว่างเลนส์ทั้งสองในฉากนี้ ภาพอาจดูน่าประทับใจยิ่งขึ้นหากถ่ายด้วย RF50mm f/1.2L USM แต่ก็ไม่มีจุดบกพร่องชัดเจนในด้านความเปรียบต่าง รายละเอียด หรือคุณภาพของภาพในด้านอื่นๆ ไม่ว่าใช้เลนส์ใดก็ตาม
สำหรับการถ่ายภาพแนวสตรีท เลนส์ EF ดูมีแนวโน้มที่จะเกิดแสงหลอกและแสงแฟลร์มากกว่า ในขณะที่เมื่อใช้เลนส์ RF แล้วกลับไม่เกิดปัญหานี้ในฉากคล้ายๆ กัน อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องยากที่จะเปรียบเทียบได้เนื่องจากสภาพการถ่ายไม่ได้เหมือนกันทุกประการ
#5: ระบบป้องกันภาพสั่นไหว
EOS R5/ Shutter-priority AE @ 1/50 ถึง 2.5 วินาที/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
เมื่อติดตั้งกับ EOS R5 หรือ EOS R6 แล้ว เอฟเฟ็กต์ป้องกันภาพสั่นไหวแบบผสานรวมจาก RF50mm f/1.8 STM จะเทียบเท่าความเร็วชัตเตอร์สูงสุด 7 สต็อป ผมได้ทำการทดสอบแล้ว โดยถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ระดับต่างๆ
ประเด็นสำคัญ
ระดับความคมชัดคล้ายกับเวลาใช้ขาตั้งกล้อง เหมาะกับการพิมพ์ภาพขนาดใหญ่
จากหลายๆ ภาพ มี 1 ภาพที่มีปัญหากล้องสั่นไหว แต่ความคมชัดอยู่ในระดับที่ยอมรับได้สำหรับการพิมพ์ภาพทั่วไป (สูงสุดถึงขนาด A4)
ปัญหากล้องสั่นรุนแรงขึ้นและถี่ขึ้น แต่อยู่ในระดับที่ยังยอมรับได้สำหรับการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต
มีปัญหากล้องสั่นอย่างชัดเจน ไม่อาจนำไปใช้งานได้
ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าเอฟเฟ็กต์การป้องกันภาพสั่นไหวของเลนส์ EF ต่ำกว่าเลนส์ RF อยู่ประมาณหนึ่งสต็อป
#6: ความสามารถในการใช้งาน
เลนส์ RF เงียบกว่าเล็กน้อยและจับโฟกัสได้เร็วกว่า อีกทั้งดูเหมือนว่ามีการไล่หาจุดโฟกัสน้อยกว่า
เลนส์ทั้งสองมีสวิตช์อยู่ทางด้านซ้ายของเลนส์ แต่ฟังก์ชั่นไม่เหมือนกัน
สวิตช์ของเลนส์เวอร์ชัน EF จะสลับระหว่างโหมดออโต้โฟกัสกับโฟกัสแบบแมนนวล (AF กับ MF)
สำหรับเลนส์ RF สวิตช์จะเปลี่ยนฟังก์ชั่นของวงแหวนควบคุม/โฟกัส สำหรับการสลับระหว่างโหมด AF กับ MF คุณต้องไปที่เมนูกล้องแล้วเลือกรายการ ‘โหมดโฟกัส’ (ไม่สามารถใช้ได้เมื่อติดตั้งเลนส์ EF) หรือกำหนดปุ่มเป็น “หยุด AF” วงแหวนควบคุมจะใช้งานไม่ได้ในระหว่างการโฟกัสแบบแมนนวล
โปรดทราบว่าหากคุณใช้เลนส์ EF กับเมาท์อะแดปเตอร์วงแหวนควบคุม คุณจะใช้ทั้งวงแหวนโฟกัสและวงแหวนควบคุมในระหว่างการโฟกัสแบบแมนนวลได้
สรุป: RF50mm f/1.8 STM มีประสิทธิภาพโดยรวมดีกว่า แต่เลนส์เวอร์ชัน EF ก็ไม่ได้ด้อยกว่ามากนัก
หากคุณมี EF50mm f/1.8 STM อยู่แล้ว…
วงแหวนควบคุม ระยะโฟกัสใกล้สุดที่สั้นกว่า และกำลังขยายที่มากกว่าของ RF50mm f/1.8 STM ถือเป็นองค์ประกอบหลักๆ ที่น่าสนใจ ส่วนประสิทธิภาพด้านออพติคอลของเลนส์ RF ก็ดีกว่าของ EF50mm f/1.8 STM เล็กน้อย
แต่หากคุณมีเลนส์ EF50mm f/1.8 STM อยู่แล้ว ผมคิดว่าความแตกต่างเหล่านั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้ต้องอัปเกรดเป็นเวอร์ชันเมาท์ RF การซื้อเมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R เพื่อใช้เลนส์กับกล้องระบบ EOS R อาจคุ้มค่ามากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณ แต่ถ้าคุณไม่พอใจกับคุณภาพของภาพจาก EF50mm f/1.8 STM ที่คุณมีอยู่ ลองพิจารณาอัปเกรดเป็นเลนส์ RF ในระดับสูงกว่านี้แทน ส่วนตัวผมนั้นกำลังตั้งตารอเวอร์ชันเมาท์ RF ของ EF50mm f/1.4 USM
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
ความประทับใจจากการใช้เลนส์: RF50mm f/1.2L USM ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตและภาพแนวสตรีท
หากคุณยังไม่มีเลนส์เวอร์ชันเมาท์ EF…
อย่ามัวลังเลระหว่างเลนส์สองรุ่นนี้ แล้วไปซื้อ RF50mm f/1.8 STM เลย เพราะท้ายที่สุดแล้ว เลนส์รุ่นนี้ก็ออกแบบมาเพื่อระบบ EOS R! (ดูบทความ: 6 คุณสมบัติที่สำคัญของเลนส์ RF)
RF50mm f/1.8 STM เป็นตัวเลือกที่ดีเยี่ยมหากคุณต้องการเลนส์เดี่ยวความไวแสงสูงเพื่อเสริมชุดอุปกรณ์ที่มีเลนส์ซูมเป็นส่วนใหญ่ หรือแม้ว่าจะเป็นเลนส์ตัวแรกที่คุณซื้อเพื่อใช้กับกล้องระบบ EOS R ตัวใหม่ เลนส์รุ่นนี้มีประสิทธิภาพยอดเยี่ยมในระดับราคานี้ มีความคล่องตัวสูงและเข้ากันได้ดีกับกล้อง EOS R5/R6 ไม่เพียงเท่านั้น เลนส์ 50 มม. ความไวแสงสูงเช่นนี้ยังพกพาสะดวกเนื่องจากมีน้ำหนักน้อยกว่าเลนส์ซูมมาก ซึ่งใช้ได้ผลดีในการเรียนรู้วิธีการเคลื่อนไหวเพื่อให้ถ่ายทอดอารมณ์ผ่านภาพถ่ายได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ค้นพบวิธีใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติเฉพาะตัวในเลนส์มาตรฐานของคุณได้ที่:
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (3): ดึงความสามารถสูงสุดของเลนส์มาใช้
เทคนิคการถ่ายภาพด้วยเลนส์มาตรฐาน: การใช้มุมมองเพื่อดึงให้คนดูเข้าไปอยู่ในภาพ
หากกำลังคิดจะซื้อกล้อง EOS R5 หรือ EOS R6 บทความนี้อาจช่วยคุณตัดสินใจ:
EOS R5 หรือ EOS R6: 5 ข้อแตกต่างสำคัญที่ควรทราบ
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
Kazuyuki Okajima เกิดเมื่อปี 1967 ที่เมืองฟุกุโอกะ และจบการศึกษาจาก Tokyo School of Photography (ปัจจุบันชื่อ: Tokyo Visual Arts) หลังจากทำงานเป็นผู้ช่วยในสตูดิโอและผู้ช่วยช่างภาพ เขาก็ผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ นอกจากจะทำงานเป็นช่างภาพโฆษณาและนิตยสารแล้ว เขายังเดินทางไปทั่วโลกเพื่อถ่ายภาพมากมายที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างลึกซึ้งราวกับบทกวี อีกทั้งยังตีพิมพ์สิ่งพิมพ์มากมาย รวมถึงคอลเลคชั่นภาพถ่ายที่มีชื่อว่า Dingle และจัดนิทรรศการแสดงผลงานมาแล้วหลายครั้ง รวมถึง “The Light and Wind of Dingle,” “Shio-sai” (Tidal Tints) และ “Let’s Go to School”