ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

วิธีเมทริกซ์: เพิ่มความหลากหลายให้ภาพถ่ายของคุณด้วยวิธีการที่เป็นระบบ

2020-04-29
1
1.24 k
ในบทความนี้:

คุณถ่ายภาพโดยใช้เลนส์เดิม มุมกล้องเดิม จากมุมมองเดิมที่ทำให้ได้ภาพที่แบบเดิมๆ มาตลอดใช่หรือไม่ วิธีหนึ่งที่จะช่วยฝึกการเพิ่มความหลากหลายให้กับภาพถ่ายของคุณคือ วิธีเมทริกซ์ ลองใช้วิธีนี้ดู แล้วคุณจะประหลาดใจกับภาพที่ถ่ายได้ (เรื่องโดย GOTO AKI, Digital Camera Magazine)

 

ขั้นตอนที่ 1: เริ่มต้นด้วยเมทริกซ์การจัดองค์ประกอบภาพ

คุณอาจได้พบตัวแบบสำหรับการถ่ายภาพที่น่าสนใจ แต่อย่าเพิ่งรีบร้อนถ่ายภาพจากจุดที่คุณอยู่ในทันที! เพราะตำแหน่งที่คุณยืนอยู่อาจไม่ใช่มุมที่ดีที่สุด

เพื่อให้ได้องค์ประกอบภาพที่ดีที่สุด คุณอาจจะอยากลองใช้ทางยาวโฟกัสและมุมถ่ายภาพหลายๆ แบบร่วมกัน ให้คุณสร้างเมทริกซ์ขึ้นมาเพื่อช่วยในการบันทึกว่าคุณได้ลองผสมผสานค่าอะไรไปแล้วบ้าง จุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อถ่ายภาพให้สวยงามจากการใช้ค่าต่างๆ ร่วมกัน (แม้ว่าคุณจะสามารถท้าทายตนเองได้หากต้องการ) แต่ให้ใช้เมทริกซ์เพื่อช่วยในการถ่ายทอดภาพได้หลากหลายมากขึ้นจากตัวแบบเดียวกัน

นี่คือเมทริกซ์ที่ผมใช้ ภาพที่ผมถ่ายอยู่ด้านล่าง

เมทริกซ์การจัดองค์ประกอบภาพแบบพื้นฐาน แกนแนวตั้ง: ระยะไกล ระยะใกล้ แกนแนวนอน: ขวา หน้า หลัง ซ้าย มุมต่ำ มุมสูง


1. ภาพแรกของผม: ภาพด้านหน้าจากระยะไกล (= “มุมกว้าง”)

ภาพถ่ายมุมกว้างจากด้านหน้าของต้นไม้ในป่า

สภาพแสงและเถาไม้เลื้อยที่เกี่ยวพันต้นไม้อยู่คือสิ่งที่เตะตาผม มุมจากด้านหน้านี้ถ่ายภาพได้เหมือนกับสิ่งที่ตาผมเห็นในตอนแรก


2. อีกด้านหนึ่งของต้นไม้: ภาพระยะไกลจาก “ด้านหลัง”

ภาพต้นไม้ที่มีแสงย้อนจากด้านหลัง

นี่ช่วยให้ผมได้เห็นว่าภาพจะเป็นอย่างไรเมื่อมีแสงย้อนจากด้านหลัง


3. ระยะใกล้จากด้านหลัง

ภาพระยะใกล้ของเถาไม้เลื้อยบนต้นไม้

ผมเข้าไปใกล้ขึ้นและถ่ายภาพไม้เลื้อยในระยะใกล้ ใบไม้สีเขียวอมเหลืองดูโดดเด่นมากขึ้นเมื่อมีแสงย้อนจากด้านหลัง ซึ่งดึงดูดความสนใจของผม ผมจึงขยับเข้าไปเพื่อถ่ายภาพในระยะใกล้


4. ใกล้เข้าไปอีก

ภาพถ่ายระยะใกล้มากของเถาไม้เลื้อยบนต้นไม้

ภาพระยะใกล้มากของเถาไม้เลื้อยนี้แสดงให้เห็นรายละเอียดมากขึ้น หากมีเลนส์มาโคร คุณจะสามารถเข้าใกล้ได้ยิ่งกว่านี้อีก!


5. มุมต่ำ ระยะไกล

ภาพถ่ายไม้เลื้อยจากมุมต่ำ

ถ่ายโดยมองขึ้นไปจากรากของต้นไม้


6. มุมต่ำ ระยะใกล้

ภาพถ่ายไม้เลื้อยในระยะใกล้จากมุมต่ำ

สำหรับภาพก่อนๆ ผมถ่ายโดยใช้ทางยาวโฟกัสเดียวกันมาตลอด ในที่สุดผมจึงเปลี่ยนทางยาวโฟกัสในภาพนี้ และถ่ายทอดสีสันและรายละเอียดของใบไม้ในแสงที่สวยงาม


เคล็ดลับที่ 1: พยายามเตือนตนเองให้ลองใช้เมทริกซ์
สถานที่หรือตัวแบบหนึ่งอาจดูไม่ดีจากมุมหนึ่ง แต่กลับดูน่าทึ่งจากมุมอื่นๆ ถึงอย่างนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ เรามักจะออกจากจุดนั้นๆ เพื่อไปถ่ายภาพอย่างอื่นต่อหลังจากเพิ่งถ่ายภาพได้จากมุมเดียว พยายามเตือนตัวเองให้ลองใช้มุมและทางยาวโฟกัสต่างๆ ร่วมกันด้วยเมทริกซ์ อันที่จริง คุณอาจจะพิมพ์เมทริกซ์ออกมาก็ได้ แล้วกาเครื่องหมายลงไปในช่องที่ได้ลองใช้แล้ว


เคล็ดลับที่ 2: เปลี่ยนเลนส์ของคุณเมื่อจำเป็น
คอยเปลี่ยนเลนส์เป็นครั้งคราวหากคุณคิดว่าจะทำให้ถ่ายภาพได้ดีขึ้น ดูวิธีการใช้เลนส์ประเภทต่างๆ กันให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ที่นี่

 

ขั้นตอนที่ 2: เพิ่มมุมรับแสงเข้าไปในเมทริกซ์ของคุณ

เมื่อพร้อมจะก้าวสู่ระดับที่สูงขึ้นจากการใช้เมทริกซ์การจัดองค์ประกอบภาพ คุณสามารถเพิ่มรายการใหม่เข้าไปในเมทริกซ์ได้ นั่นคือ ‘แสง’

เมทริกซ์พื้นฐานที่มีการเพิ่ม “แสง” เข้าไปในคอลัมน์ทางซ้ายมือ

การเปลี่ยนตำแหน่ง มุม และแนวของกล้องสามารถเปลี่ยนสภาพแสงในภาพของคุณได้ นี่คือภาพตัวอย่างของผม 3 ภาพ

 

1. ตำแหน่งที่ต่ำกว่าทำให้เอฟเฟ็กต์ของแสงสะท้อนเปลี่ยนแปลงไป

เงาของต้นไม้บนหิมะ

เงาของต้นไม้บนหิมะ ส่วนที่สว่างเกิดจากแสงที่ส่องผ่านต้นไม้ลงมา


ตำแหน่งที่ต่ำมาก

ภาพถ่ายหิมะที่มีวงโบเก้ถ่ายจากตำแหน่งและมุมต่ำ

ถ่ายโดยให้กล้องของผมอยู่บนพื้นเพื่อดึงความสนใจไปยังแสงให้มากขึ้น ตำแหน่งที่ต่ำทำให้ภาพสื่อถึงความลึกได้ดียิ่งขึ้น


เบื้องหลังการถ่ายภาพ

ภาพถ่ายหิมะที่มีวงโบเก้ถ่ายจากตำแหน่งและมุมต่ำ

ในการถ่ายภาพที่สอง ผมนอนลงบนหิมะเพื่อให้กล้องอยู่เหนือพื้นพอดี

 

2. การถ่ายภาพในแนวตั้งทำให้แสงสะท้อนดูน่าประทับใจมากยิ่งขึ้น

เมื่อพูดถึง “แสง” หลายคนจะนึกถึงแสงอาทิตย์ แต่อย่าลืมว่าแสงมีอยู่ในทุกสิ่งและทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นในก้อนเมฆ สายฝน ในรูปแบบแสงสะท้อน แสงโดยตรง แสงย้อนจากด้านหลัง ฯลฯ อย่าลืมสังเกตสิ่งที่อยู่นอกช่องมองภาพหรือภาพใน Live View ของคุณด้วย

ในภาพตัวอย่างด้านล่าง ผมสังเกตเห็นว่ามีแสงสะท้อนบนผิวน้ำ จึงเปลี่ยนแนวการถ่ายภาพเพื่อให้แสงสะท้อนนั้นเป็นตัวแบบ


ก่อน

ภาพแนวนอนของก้อนหินในทะเล

ขณะที่ผมมองดูคลื่นและลักษณะการเปลี่ยนแปลงของคลื่น เมฆบนท้องฟ้าก็สว่างขึ้น


หลัง

ภาพแนวตั้งของก้อนหินในทะเล

แสงที่ส่องมาจากระหว่างก้อนเมฆสะท้อนบนผิวน้ำ เกิดเป็นพื้นผิวที่น่าสนใจ ผมจึงเปลี่ยนแนวของกล้องเพื่อถ่ายภาพนี้และจัดเฟรมเพื่อให้แสงนั้นเป็นจุดสนใจหลักในภาพ

 

3. การเปลี่ยนมุมถ่ายภาพจะเปิดโอกาสในการเกิดสภาพแสงแบบใหม่ๆ

ผมถ่ายภาพด้านล่างนี้จากจุดที่ห่างกันโดยใช้เวลาเดินไม่ถึง 10 วินาที ไม่ใช่เรื่องยากนักหากคุณมีความตั้งใจในการมองหาโอกาส!


ถ่ายจากทิศเหนือ หันไปทางใต้

ภาพแผ่นน้ำแข็งในระยะใกล้

ผมถ่ายภาพจากมุมนี้เพื่อให้เห็นรูปร่างและลักษณะของแผ่นน้ำแข็ง แต่ในขณะถ่ายภาพ ผมสังเกตเห็นว่ามีแสงส่องมาจากทางด้านขวาของเฟรม (ทิศตะวันตก) จึงตัดสินใจขยับตามไปเพื่อดูว่าจะได้ภาพแบบใด


ถ่ายจากทิศตะวันออก หันไปทางตะวันตก

แผ่นน้ำแข็งในทะเลและลำแสง

นี่คือภาพที่ผมถ่ายจากอีกจุดหนึ่งซึ่งอยู่ห่างจากจุดแรกออกไป 90 องศา ตรงข้ามกับแหล่งกำเนิดแสง แสงสะท้อนทำให้เกิดเส้นทางสีทองบนผิวน้ำ

 

ขั้นตอนที่ 3: เพิ่มการตั้งค่าเลนส์ลงไปในเมทริกซ์

คุณสามารถเพิ่มการตั้งค่าเลนส์ลงไปในเมทริกซ์ได้ด้วย จุดเริ่มต้นที่ง่ายที่สุดคือ ค่ารูรับแสง (ค่า f) ลองใช้ค่า f ที่แตกต่างกัน แล้วดูว่าการเปลี่ยนระยะชัดและระดับของโบเก้เปลี่ยนลักษณะของภาพไปอย่างไร

เมทริกซ์พื้นฐานที่เพิ่มสภาพแสงและค่า f ลงไป

ภาพทั้งสองด้านล่างมีจุดโฟกัสจุดเดียวกันคือ บนผิวน้ำในส่วนบนของเฟรมภาพ สังเกตว่าระดับของโบเก้เปลี่ยนไปอย่างไร และส่งผลให้อารมณ์ของภาพเปลี่ยนไปอย่างไร จะเห็นได้ว่าค่า f เป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่คุณสามารถใช้ในการเพิ่มความหลากหลายให้กับการถ่ายทอดภาพอย่างสร้างสรรค์


ถ่ายที่ค่า f/2.8

ภาพสะท้อนต้นไม้บนผิวน้ำที่มีโฟกัสตื้น

ระยะชัดตื้นที่รูรับแสงกว้างสุดที่ f/2.8 ทำให้ต้นไม้เบลออย่างนุ่มนวลในภาพสะท้อน ภาพที่ได้จึงดึงความสนใจของเราไปที่พื้นที่ว่างและบรรยากาศ


ถ่ายที่ค่า f/8

ภาพสะท้อนต้นไม้บนผิวน้ำ ถ่ายที่ค่า f/8

การใช้รูรับแสงที่แคบกว่าจะทำให้ความสนใจของเรามุ่งไปที่พื้นผิวของต้นไม้และผิวน้ำ


อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลของการตั้งค่ารูรับแสงที่แตกต่างกันได้ใน:
จุดโฟกัส: การตั้งค่ารูรับแสงสำหรับฉากต่างๆ

 

---

สรุป

ตัวอย่างในบทความนี้มาจากการถ่ายภาพทิวทัศน์ แต่วิธีนี้สามารถใช้ได้ในการฝึกถ่ายภาพประเภทอื่นด้วย ไม่ว่าคุณจะอยู่ในที่ร่มหรือกลางแจ้ง คุณสามารถเพิ่มตัวแปรอื่นๆ ที่คุณอยากจะศึกษาได้ เมื่อคุณคุ้นเคยมากขึ้นว่าตัวแปรแต่ละชนิดส่งผลอย่างไรต่อภาพถ่าย คุณจะเห็นความเป็นไปได้มากขึ้นในแต่ละฉากและตัวแบบที่คุณพบเห็น นอกจากนี้ ภาพถ่ายที่คุณเก็บสะสมไว้ในระหว่างฝึกฝนจะช่วยเพิ่มความหลากหลายให้แฟ้มผลงานของคุณด้วย

อย่ารอช้า ลองสร้างเมทริกซ์ของคุณแล้วเริ่มถ่ายภาพตอนนี้เลย 


หากคุณต้องการไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการฝึกถ่ายภาพ โปรดอ่านบทความต่อไปนี้:
ถ่ายภาพได้ดียิ่งขึ้นด้วย 3 เคล็ดลับง่ายๆ !
3 โจทย์ท้าทายที่ดูเหมือนง่าย แต่ยกระดับทักษะการถ่ายภาพของคุณได้

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

GOTO AKI

เกิดเมื่อปี 1972 ที่จังหวัดคานากาวะ จบการศึกษาจาก Sophia University และ Tokyo College of Photography Goto เผยแพร่ผลงานคอลเลคชั่นภาพถ่ายที่มีชื่อว่า "LAND ESCAPES" และยังมีส่วนร่วมในผลงานอื่นๆ อีก อาทิ "water silence" การแสดงผลงานศิลปะที่ผสานภาพถ่ายกับวิดีโอเข้าไว้ด้วยกัน

http://gotoaki.com/

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา