ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

3 โจทย์ท้าทายที่ดูเหมือนง่าย แต่ยกระดับทักษะการถ่ายภาพของคุณได้

2019-10-07
3
11.2 k
ในบทความนี้:

คุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังถ่ายภาพแบบเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าหรือไม่ หรือคุณกำลังมองหาวิธีที่จะช่วยพัฒนาทักษะการถ่ายภาพพื้นฐานของตัวเองอยู่ มาดูสิ่งที่คุณสามารถทำได้ต่อไปนี้เพื่อเปลี่ยนนิสัยเก่าๆ ค้นพบมุมมองใหม่ๆ และยกระดับทักษะการถ่ายภาพของคุณไปพร้อมกัน (บรรณาธิการโดย studio9)

ต้นไม้ถ่ายจากมุมที่แปลกตา

มุมต่ำของภาพนี้สร้างบรรยากาศที่ดูลึกลับ ผมถ่ายภาพนี้โดยไม่ใช้ช่องมองภาพหรือหน้าจอ Live View ซึ่งเป็นการฝึกทักษะการจินตนาการภาพของคุณ

 

การสร้างข้อจำกัดให้ตนเอง: วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีในการบังคับให้คุณต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์

กล้องในปัจจุบันนี้มีคุณสมบัติที่ช่วยอำนวยความสะดวกมากมาย ยิ่งกล้องมีความซับซ้อนมากเท่าใด ก็ยิ่งมีประโยชน์ต่อเรามากเท่านั้น และมักจะช่วยให้เราถ่ายภาพตามที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเสมอ 

แต่ความสะดวกสบายเช่นนี้ก็มีข้อเสีย นั่นคือ บางครั้งเราปล่อยให้กล้องทำหน้าที่มากเกินไปจนดูเหมือนกับว่ากล้องเป็นช่างภาพ ไม่ใช่เรา และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมภาพที่เราถ่ายจึงดูเหมือนๆ กันไปหมด เพราะเราปล่อยให้คุณสมบัติและฟังก์ชั่นของกล้องเป็นตัวกำหนดจินตนาการของเรา 

ความจริงก็คือ เราจะใช้จินตนาการของเราได้มากกว่าเมื่อต้องถ่ายภาพโดยมีข้อจำกัดเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย แนวคิดนี้อยู่เบื้องหลังโจทย์ท้าทายสามข้อ ซึ่งเราจะนำมาแบ่งปันในบทความนี้ โจทย์แต่ละข้อจะจำกัดการใช้คุณสมบัติที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการถ่ายภาพที่แตกต่างกัน และหากคุณสามารถรับมือกับโจทย์ข้อนั้นๆ ได้สำเร็จ คุณก็จะได้พัฒนาทักษะการถ่ายภาพอย่างน้อยหนึ่งอย่าง

พร้อมไหม มาเริ่มกันเลย!

 

โจทย์ข้อที่ 1: จำกัดทางยาวโฟกัสที่ใช้

นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ง่ายที่สุด และจะช่วยให้คุณมีความเข้าใจในเรื่องระยะทางที่ดีขึ้น

 

หากคุณใช้เลนส์ซูมเป็นส่วนใหญ่ ให้งดใช้การซูม

ใช้เลนส์เหมือนว่าเลนส์นั้นเป็นเลนส์เดี่ยว ผมขอแนะนำให้คุณจำกัดทางยาวโฟกัสที่ใช้ให้เทียบเท่าฟูลเฟรมสามแบบเท่านั้น คือ 35 มม., 50 มม. และ 70 มม. ซึ่งเป็นทางยาวโฟกัสตามปกติของเลนส์มุมกว้าง เลนส์มาตรฐาน และเลนส์เทเลโฟโต้ระดับกลาง 

หากคุณใช้กล้อง APS-C คุณจะได้มุมรับภาพที่ใกล้เคียงกันจากการถ่ายภาพที่ระยะประมาณ 22 มม., 31 มม. และ 44 มม. ตามลำดับ

 

ใช้เทปกาวแปะวงแหวนซูมไว้

การให้สัญญากับตัวเองว่าจะไม่ใช้การซูมอาจเพียงพอแล้ว แต่เพื่อเป็นการป้องกันให้ไม่ให้คุณล้มเลิกความตั้งใจ ให้เอาเทปกาวแปะวงแหวนซูมเอาไว้ด้วย หากคุณถ่ายภาพด้วยความมุ่งมั่นว่าจะไม่แกะเทปกาวออกตลอดทั้งวัน คุณอาจจะค้นพบสิ่งใหม่ๆ ก็เป็นได้

วงแหวนซูมที่แปะเทปกาวไว้

เลนส์ในภาพด้านบนถูกเทปกาวแปะไว้ที่ตำแหน่ง 50 มม. ควรใช้เทปกาวที่ทิ้งร่องรอยไว้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ ผมแนะนำให้ใช้เทปกาว Permacel ซึ่งเป็นเทปกระดาษที่ติดทนได้ดีและทิ้งคราบไว้น้อยที่สุด จะใช้กระดาษกาวหรือเทปกระดาษสำหรับทำแผลก็ได้เช่นกัน

 

หากคุณใช้เลนส์เดี่ยวอยู่แล้ว ให้จำกัดการใช้อยู่แค่ที่ระยะเทเลโฟโต้หรือมุมกว้างอัลตร้าไวด์

ตามปกติ ทางยาวโฟกัสที่ใช้สำหรับการถ่ายภาพสตรีทคือ ช่วงทางยาวโฟกัส 35 มม., 50 มม. และ 70 มม. ดังที่กล่าวไปข้างต้น ช่างภาพบางคนอาจเลือกใช้ทางยาวโฟกัสที่ 24 มม. และ 100 มม. ได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี หากคุณกล้าพอที่จะลองถ่ายภาพแนวสตรีทโดยใช้เลนส์สำหรับถ่ายภาพระยะไกลหรือมุมกว้างมากกว่านั้น คุณอาจได้ภาพที่น่าสนใจมากๆ

คุณจำเป็นจะต้องใช้เลนส์เทเลโฟโต้หรือเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์เพื่อถ่ายภาพดังกล่าว ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีในการนำเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ในชุดเลนส์ซูมคู่ออกมาใช้ในที่สุดหลังจากที่ถูกวางทิ้งไว้โดยไม่ได้ใช้งานเลย

คุณอาจรู้สึกว่าการถ่ายภาพโดยใช้เพียงแค่ระยะ 200 มม. หรือ 16 มม. ไม่น่าจะทำอะไรได้มาก แต่คุณจะได้ฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์และคิดว่าจะจัดเฟรมภาพให้ออกมาดีได้อย่างไร! 


คลิกที่นี่เพื่อดูเทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพที่ควรลองใช้กับเลนส์ประเภทต่างๆ

 

โจทย์ข้อที่ 2: จัดองค์ประกอบภาพของคุณโดยไม่ใช้ช่องมองภาพ (หรือ Live View)

วิธีนี้จะช่วยให้คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับมุมถ่ายภาพและมุมรับภาพที่ดียิ่งขึ้น

 

คุณรู้จริงๆ หรือไม่ว่าเลนส์ที่คุณใช้สามารถถ่ายภาพฉากหนึ่งได้มากแค่ไหน

โดยปกติแล้ว เมื่อเราจัดองค์ประกอบภาพ เราจะใช้เพียงแค่ช่องมองภาพหรือหน้าจอ Live View เป็นตัวช่วยในการปรับเฟรมภาพ 

แต่ถ้าหากคุณไม่ใช้ทั้งสองอย่าง คุณจะสามารถมองเห็นภาพที่เลนส์จะถ่ายได้หรือไม่

การจะทำได้เช่นนั้น คุณจำเป็นต้องเข้าใจดีว่ามุมรับภาพแบบหนึ่งสามารถถ่ายอะไรได้บ้าง และหากคุณมีความเข้าใจในเรื่องนี้ คุณจะสามารถจัดองค์ประกอบภาพอย่างคร่าวๆ ได้แม้จะมองฉากเพียงแว่บเดียว

 

และคุณจะได้ “เห็น” มุมที่ไม่เหมือนใครได้ง่ายขึ้นด้วย

ในบางครั้ง เราไม่ได้นึกถึงการถ่ายภาพจากมุมนั้นๆ เพียงเพราะไม่ใช่สิ่งที่เรามักจะเห็นเมื่อมองผ่านช่องมองภาพหรือหน้าจอ Live View เมื่อเราบังคับให้ตัวเองถ่ายภาพโดยไม่ใช้อุปกรณ์เหล่านี้ช่วย เราก็จะตระหนักถึงมุมมองที่แตกต่างออกไปได้มากขึ้น แม้คุณจะใช้กล้องที่มีหน้าจอ LCD แบบปรับหมุนได้ก็ให้ผลเช่นเดียวกัน

“การจำกัดการใช้ช่องมองภาพ” จะช่วยกระตุ้นให้คุณมองหามุมมองใหม่ๆ อยู่เสมอ แทนที่จะลองผิดลองถูกอยู่กับหน้าจอเท่านั้น แน่นอนว่าวิธีนี้จะทำให้คุณมองสิ่งต่างๆ ด้วยมุมมองที่เปลี่ยนไป ซึ่งส่งผลต่อภาพที่คุณถ่าย

โตเกียวทาวเวอร์ที่ถ่ายจากระดับพื้นดิน

ใครๆ มักจะถ่ายภาพโตเกียวทาวเวอร์โดยมองขึ้นไปจากระดับสายตา แต่ในภาพนี้ ผมถ่ายภาพจากระดับพื้นดินแทน ถนนและอาคารอื่นๆ ก็อยู่ในภาพด้วย จึงเกิดเป็นองค์ประกอบภาพที่แตกต่างไปจากบรรทัดฐานเดิม

 

ใบไม้ร่วงบนผิวน้ำในสระ

ผมถ่ายภาพนี้โดยการเหยียดแขนออกไปเหนือผิวน้ำในสระ แม้จะมองไม่เห็นช่องมองภาพ ก็ไม่เป็นปัญหา

เคล็ดลับ:

- ทางยาวโฟกัสยิ่งยาว ยิ่งถ่ายภาพได้ยากขึ้น
ให้เริ่มด้วยมุมกว้าง 35 มม. เทียบเท่าฟูลเฟรม

- คุณจะไม่สามารถลั่นชัตเตอร์ได้หากกล้องไม่โฟกัส
ให้ลองใช้:
i) วิธีการโฟกัสอัตโนมัติที่ตรวจจับและเลือกจุด/โซน AF อัตโนมัติเมื่อคุณกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง หรือ
ii) โหมดแมนนวลโฟกัส (MF)

 

โจทย์ข้อที่ 3: ถ่ายภาพโดยไม่ใช้การจำลองระดับแสง/ดูภาพ

ในยุคของกล้องที่ใช้ฟิล์ม เราไม่สามารถตรวจสอบภาพที่ถ่ายได้จนกว่าจะนำภาพไปล้างอัดแล้ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทุ่มเทความพยายามในการอ่านแสงของภาพถ่ายทุกๆ ภาพ

แต่ด้วยความสะดวกสบายจากระบบดิจิตอลสมัยใหม่ เช่น การดูภาพได้ทันที และการจำลองระดับแสงใน Live View/EVF เราจึงไม่จำเป็นต้องคิดถึงเรื่องแสงมากเท่าใดนักก่อนจะลั่นชัตเตอร์ ที่จริงแล้ว เราหวังให้กล้องเป็นตัวช่วยหาระดับแสงที่เหมาะสมให้ด้วยซ้ำ

การจำกัดการใช้ฟังก์ชั่นเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณเข้าใจระดับแสงอย่างแท้จริง แต่ยังทำให้คุณได้เห็นได้ว่ากล้องดิจิตอลพัฒนาไปมากแค่ไหน! 

 

ขั้นตอนที่ 1: ปิดการดูภาพ

คุณจะสามารถหาขั้นตอนนี้ได้ในเมนู SHOOT

หน้าจอเมนูการดูภาพ

เมื่อตั้งค่า “ดูภาพ - ปิด” แล้ว ภาพจะไม่แสดงขึ้นหลังจากถ่ายเสร็จในแต่ละช็อต เว้นแต่เมื่อกดปุ่มเล่น

 

ขั้นตอนที่ 2: ปิดใช้งานการจำลองระดับแสง

หา “การจำลองระดับแสง” จากเมนู SHOOT และเลือก “ปิดใช้งาน” การเปลี่ยนแปลงค่าการเปิดรับแสงใดๆ รวมทั้งการชดเชยแสงจะไม่แสดงในภาพตัวอย่างใน Live View และ EVF

หน้าจอเมนูการจำลองระดับแสง

หมายเหตุ: กล้อง DSLR รุ่นเก่าๆ บางรุ่นไม่มีคุณสมบัตินี้ ในกรณีนี้ คุณอาจต้องพึ่งขั้นตอนที่ 3 แทน

 

ขั้นตอนที่ 3: ปิดหน้าจอ LCD ด้วยกระดาษสีดำ

วิธีนี้เป็นวิธีที่สุดโต่ง แต่ก็อาจได้ผลดีที่สุด เพราะคุณจะไม่สามารถเห็นภาพตัวอย่างใน Live View หรือดูภาพได้เลย คุณอาจใช้เทป Permacel สีดำก็ได้ แต่ต้องระวังอย่าเผลอลอกแผ่นป้องกันหน้าจอออกมาด้วยเมื่อคุณดึงเทปกาวออก 

หมายเหตุ: คุณจะยังคงต้องการมองเห็นการตั้งค่าการเปิดรับแสงอยู่ ซึ่งสามารถเห็นได้หากกล้องของคุณมี OVF หรือ EVF ส่วนกล้องระดับสูงๆ จะแสดงข้อมูลการถ่ายภาพพื้นฐานที่แผงจอ LCD ด้านบน
แต่หากไม่มี ให้ทำตามขั้นตอนที่ 1 และ 2 และใช้ระเบียบวินัยของคุณให้เต็มที่

 

เคล็ดลับ:

- คุณจะถ่ายภาพได้ง่ายกว่าเมื่อใช้โหมด M

การที่คุณไม่สามารถตรวจสอบภาพถ่ายได้ทันทีหมายความว่า คุณต้องพึ่งพาตัววัดแสงของกล้องเพื่อกำหนดระดับแสงที่เหมาะสม เมื่อถ่ายภาพตัวแบบบางประเภทด้วยโหมด Av คุณจะต้องคิดให้รอบคอบว่าจะใช้ค่าการชดเชยแสงเท่าใด นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมการถ่ายภาพในโหมดการตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง (โหมด M) จึงง่ายกว่า

- ในโหมด M ให้ใช้การวัดแสงแบบจุด
ผมขอแนะนำให้ใช้การวัดแสงแบบนี้มากกว่าการวัดแสงแบบประเมินทั้งภาพ ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้น ในการวัดแสงแบบจุด จะวัดแสงในส่วนกึ่งกลางภาพเท่านั้น (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมในพื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #7: การวัดแสง)

จากนั้น ความสว่างในภาพของคุณจะไม่มากหรือน้อยเกินไป หากทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. หันกล้องไปยังตัวแบบที่มีความสว่างที่คุณต้องการ
  2. ปรับรูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และความไวแสง ISO ให้สเกลแสดงระดับแสงใกล้เคียงกับ ±0
  3. จัดองค์ประกอบภาพใหม่หากจำเป็น (อย่าลืมกดปุ่มล็อค AE ก่อน)
  4. ลั่นชัตเตอร์

คุณอาจจะซื้อตัววัดปริมาณแสงแยกต่างหากไว้สำหรับอ่านค่าแสงเพื่อฝึกฝนทักษะก็ได้ แต่อาจเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาค่อนข้างแพง หากคุณเพียงแค่ต้องการวัดแสงตามธรรมชาติ มีแอพมากมายบนสมาร์ทโฟนที่จะเปลี่ยนโทรศัพท์ของคุณให้กลายเป็นตัววัดแสงได้

 

สรุป

การกำหนดข้อจำกัดทั้งสามอย่างในคราวเดียวในบทความนี้อาจดูมากเกินไปเล็กน้อย ดังนั้น คุณอาจลองกำหนดข้อจำกัดครั้งละหนึ่งข้อต่อเนื่องกันไป โดยเริ่มจากข้อแรก หากคุณต้องการความท้าทายมากขึ้น ก็สามารถลองพร้อมกันมากกว่าหนึ่งข้อได้

แน่นอนว่า ไม่มีความจำเป็นที่คุณจะต้องกำหนดข้อจำกัดดังกล่าวกับตัวเองอย่างต่อเนื่อง หัวใจสำคัญคือ ให้ลองทำดูเมื่อคุณมีเวลาว่างหรือไม่รีบร้อน ด้วยวิธีนี้ คุณจะค่อยๆ เรียนรู้และใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้ เพราะฉะนั้น ลองทำดูในวันหยุดครั้งถัดไปเลยดีไหม


หากต้องการทราบวิธีอื่นๆ ที่จะช่วยพัฒนาทักษะการถ่ายภาพของคุณ โปรดดูที่:
ถ่ายภาพได้ดียิ่งขึ้นด้วย 3 เคล็ดลับง่ายๆ
5 วิธีฝึกทักษะถ่ายภาพสัตว์ป่า

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

studio9

เว็บไซต์ด้านการถ่ายภาพของญี่ปุ่นที่เริ่มต้นเมื่อปี 2011 ด้วยสโลแกนว่า "ให้การถ่ายภาพใกล้ตัวคุณยิ่งขึ้น" เว็บไซต์นี้นำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับทุกคนที่ชอบการถ่ายภาพ นอกจากเนื้อหาบนเว็บไซต์แล้ว studio9 ยังมีการจัดสัมมนาและเวิร์กช็อปอีกด้วย

http://photo-studio9.com/

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา