ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

3 วิธีในการใช้ EOS M6 เพื่อเก็บภาพทิวทัศน์เมืองให้สวยมีสไตล์

2021-08-13
2
5.06 k
ในบทความนี้:

นึกอยากพกกล้องตัวใหม่ออกไปเดินเที่ยวในเมืองใช่ไหม มาศึกษาฟังก์ชั่นภายในกล้องต่อไปนี้กันเพื่อช่วยให้คุณจับภาพช่วงวินาทีสำคัญและถ่ายภาพให้ดูสวยแหวกแนวควรค่าแก่การแชร์ได้จากกล้องโดยตรง! (เรื่องโดย: Teppei Kohno)

FL: 18 มม. (เทียบเท่า 29 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 1/160 วินาที, EV -1/3)/ ISO 160/ WB: หลอดไฟทังสเตน/ รูปแบบภาพ: เน้นรายละเอียด

ผมให้ความสำคัญกับพื้นผิวของอาคาร และตั้งค่ารูปแบบภาพ ไปที่ "Fine Detail" และสมดุลแสงขาวเป็น "หลอดไฟทังสเตน" เพื่อสร้างอารมณ์ภาพอันโดดเด่นให้กับอาคารที่ไร้ชีวิตชีวา

 

1. ใช้ฟิลเตอร์สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มอารมณ์ในเชิงศิลป์ให้กับภาพถ่ายของคุณ

ฉากถนนและเมืองเป็นตัวแบบที่เหมาะกับฟิลเตอร์สร้างสรรค์อย่างมาก

กำลังมองหาโอกาสสร้างสรรค์ภาพในเชิงศิลป์ใช่ไหม หากกล้องของคุณมีฟิลเตอร์สร้างสรรค์ คุณควรลองใช้ฟิลเตอร์เหล่านี้เวลาถ่ายภาพทิวทัศน์เมือง

เพราะองค์ประกอบในเมืองโดยทั่วไป เช่น อาคาร ป้าย และถนน มีรูปทรงที่ชัดเจนต่างจากภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ ซึ่งทำให้เอฟเฟ็กต์ที่ได้ดูชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างของฟิลเตอร์สร้างสรรค์ทั่วไปที่คุณสามารถใช้กับภาพเมืองได้คือ “เอฟเฟ็กต์ย่อส่วน” ซึ่งให้ภาพที่ดูเหมือนแบบจำลองย่อส่วน และ “เอฟเฟ็กต์เลนส์ตาปลา” ซึ่งถ่ายภาพให้มีรูปทรงที่บิดเบี้ยวแบบโป่งออก

ฟิลเตอร์สร้างสรรค์อื่นๆ ที่น่าลองคือเอฟเฟ็กต์ HDR (High Dynamic Range) ต่างๆ ซึ่งจะรวมภาพสามภาพที่ถ่ายจากฉากเดียวกันแต่มีการเปิดรับแสงต่างกันให้เป็นภาพเดียวโดยอัตโนมัติ

FL: 16 มม. (เทียบเท่า 26 มม.)/ f/5.6/ 1/60 วินาที/ ฟิลเตอร์สร้างสรรค์: เอฟเฟ็กต์ย่อส่วน/ ISO 160/ WB: อัตโนมัติ/ รูปแบบภาพ: ปกติ

ในตัวอย่างด้านบน ผมใช้ “เอฟเฟ็กต์ย่อส่วน” ในการถ่ายบุคคลเป็นภาพซิลูเอตต์และทำให้ส่วนแบ็คกราวด์เบลออย่างชัดเจนเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่สื่ออารมณ์ยิ่งขึ้น จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่าฟิลเตอร์สร้างสรรค์สามารถเพิ่มพลังให้กับภาพถ่ายได้แม้จะเป็นฉากที่ดูธรรมดาๆ ก็ตาม

เคล็ดลับ: หากคุณใช้ DSLR การถ่ายภาพด้วยจอ LCD ด้านหลังจะช่วยให้คุณดูตัวอย่างเอฟเฟ็กต์ฟิลเตอร์สร้างสรรค์ได้ สำหรับกล้องมิเรอร์เลส เช่น EOS M50 Mark II คุณยังสามารถดูได้ผ่านช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EVF)


การใช้ฟิลเตอร์สร้างสรรค์ “เอฟเฟ็กต์ย่อส่วน”

1. หมุนวงแหวนเลือกโหมดไปที่ [ฟิลเตอร์สร้างสรรค์](A) จากนั้นกด [เมนู Quick Set](B)


2. เลือก [เอฟเฟ็กต์กล้องรูเข็ม](C) จากเมนูที่แสดงขึ้น


3. บริเวณที่มีเส้นแนวนอนสองเส้นกำกับไว้ (ในวงกลมสีฟ้าด้านล่าง) คือเฟรมฉาก องค์ประกอบต่างๆ ในเฟรมนี้จะอยู่ในระยะโฟกัสขณะที่องค์ประกอบนอกเฟรมจะดูเบลอ หากต้องการเปลี่ยนตำแหน่งเฟรม ให้แตะไอคอนที่มุมขวาล่างของหน้าจอ (แสดงในกรอบสีแดง)

(หากคุณถ่ายภาพผ่าน EVF คุณสามารถกดปุ่มเพื่อเปิดใช้งานเครื่องมือปรับตำแหน่งเฟรมของเอฟเฟ็กต์กล้องรูเข็ม ซึ่งขึ้นอยู่กับกล้องของคุณ ดังนั้นควรทำตามคำแนะนำบนหน้าจอ!)


4. เฟรมของเอฟเฟ็กต์กล้องรูเข็มจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม กดปุ่มควบคุมขึ้น/ลงหรือแตะหน้าจอเพื่อขยับเฟรม

หากต้องการเปลี่ยนการวางแนวของเฟรม ให้แตะไอคอนที่แสดงด้วยสีแดง หรือกดปุ่มควบคุมซ้าย/ขวา กดปุ่ม [INFO] เพื่อให้เฟรมกลับไปอยู่ตรงกลาง กด [SET] เพื่อยืนยันตำแหน่ง


5. เมื่อเฟรมฉากอยู่ในแนวตั้ง คุณสามารถขยับเฟรมโดยกดลูกศรซ้าย/ขวาได้

 

2. กำหนดค่าให้กับตั้งโหมดถ่ายภาพเองเพื่อเข้าถึงการตั้งค่าที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

เก็บภาพโอกาสที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันได้ง่ายดายยิ่งขึ้น

เมื่อถ่ายภาพบนท้องถนน คุณอาจพบเห็นฉากมากมายที่คุณอยากเก็บภาพได้ทันที ความเร็วและจังหวะคือสิ่งสำคัญ เพราะทุกวินาทีที่ใช้ไปกับการปรับตั้งค่ากล้องอาจหมายถึงการเสียโอกาสในการถ่ายภาพ!

ซึ่งในจุดนี้ที่โหมดถ่ายภาพเอง (C1, C2 และ C3 ซึ่งขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้อง) มีประโยชน์อย่างมาก เพราะช่วยให้คุณสามารถจัดเก็บการตั้งค่าการถ่ายภาพที่คุณใช้มากที่สุด เพื่อเรียกใช้อย่างง่ายดายด้วยการหมุนวงแหวนเลือกโหมด

ยกตัวอย่างเช่น สำหรับภาพถ่ายนี้ ผมบันทึกโหมด Program AE รูปแบบภาพ (ทิวทัศน์) และการตั้งค่ารายละเอียดอื่นๆ ส่วนหนึ่งไว้ในช่อง C1 และเรียกใช้ทุกครั้งที่ผมพบฉากที่มีสีเขียวสดใสกว่าปกติ ผมตั้งค่าช่อง C2 ให้เรียกใช้รูปแบบภาพ [ภาพขาวดำ]

FL: 17 มม. (เทียบเท่า 27 มม.)/ Program AE (f/10, 1/200 วินาที)/ ISO 100/ WB: แสงแดด (A1, G2)/ รูปแบบภาพ: ภาพวิว

ผมใช้ตั้งโหมดถ่ายภาพเองที่บันทึกค่าไว้ล่วงหน้าเพื่อสร้างสีสันสดใสโดยเน้นไปที่ต้นไม้เขียวขจี คุณสมบัตินี้ช่วยให้ผมจัดองค์ประกอบภาพได้อย่างสนุกสนานโดยไม่ถูกจำกัดด้วยการตั้งค่าของกล้อง


การกำหนดค่าตั้งโหมดถ่ายภาพเอง

1. กำหนดค่ากล้องตามการตั้งค่าที่คุณต้องการจัดเก็บ


2. กด [MENU] และในแท็บเมนูการตั้งค่า [4] เลือก [ตั้งโหมดถ่ายภาพเอง (C1, C2)]


3. เลือก [บันทึก] จากนั้นเลือกโหมดถ่ายภาพเอง (C1 หรือ C2) ที่ต้องการบันทึก


4. เมื่อคุณต้องการเรียกใช้การตั้งค่าที่จัดเก็บไว้ ก็เพียงแค่หมุนวงแหวนเลือกโหมดตามนั้น

รูปแบบภาพไม่ใช่การตั้งค่าเดียวที่คุณสามารถบันทึกไว้ในโหมดถ่ายภาพเอง ช่างภาพนกคนหนึ่งได้บอกเล่าวิธีใช้โหมดังกล่าวไว้ในบทความนี้:
ภาพพอร์ตเทรตนก: 4 เคล็ดลับง่ายๆ ในการหามุมที่ดีขึ้น (เทคนิคพิเศษ)

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
คู่มือการใช้โหมด Fv คืออะไรและใช้งานอย่างไร

 

3. ตรวจดูแนวนอนของภาพอาคารและสิ่งก่อสร้างให้มีความเหมาะสม

แสดงเส้นตารางและระดับ

การถ่ายในภาพเมืองเหมือนกับการถ่ายภาพทิวทัศน์และสถาปัตยกรรมตรงที่ว่า ต้องรักษาระดับแนวนอนและระดับแนวตั้งเพื่อให้องค์ประกอบภาพดูมั่นคงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากตัวแบบของคุณมีเส้นแนวนอนและแนวตั้งที่ชัดเจน เนื่องจากการเอียงแม้เพียงเล็กน้อยที่สุดจะมองเห็นได้ชัดเจน

แม้ว่าคุณสามารถลองยืดภาพในระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพได้ แต่วิธีนี้เป็นการครอปส่วนขอบภาพออกไปและผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ใช่สิ่งที่คุณตั้งใจไว้ คุณสามารถควบคุมองค์ประกอบภาพได้ดียิ่งขึ้นด้วยการแสดงเส้นตารางและระดับในหน้าจอ Live View หรือ EVF เพื่อให้ภาพของคุณดูได้ระดับในทันที

ใช้เส้นตารางเมื่อตัวแบบมีเส้นที่มองเห็นได้
เส้นตารางจะใช้ได้ผลดีเป็นพิเศษในฉากที่มีเส้นชัดเจน โดยสามารถแสดงตารางทั้งในแบบ 9 ส่วน (3 x 3), 24 ส่วน (6 x 4) หรือ 9 ส่วน (3 x 3) พร้อมเส้นทแยงมุม ตามแต่ความต้องการในแต่ละฉาก

ใช้ระดับเมื่อไม่มีเส้นที่มองเห็นได้
สำหรับฉากที่ไม่มีเส้นแนวนอนหรือแนวตั้งที่เห็นได้ชัด คุณสามารถแสดงตัววัดระดับความเอียงอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้แน่ใจว่าคุณถือกล้องอยู่ในแนวตรงและได้ระดับ ซึ่งคุณสามารถใช้เส้นตารางร่วมกับระดับได้หากคุณต้องการ

เคล็ดลับ: การทำให้ขอบฟ้าดูเป็นเส้นตรงไม่ได้เกี่ยวกับการถือกล้องขนานกับพื้นเสมอไป

FL: 16 มม. (เทียบเท่า 26 มม.)/ ฟิลเตอร์สร้างสรรค์: เอฟเฟ็กต์ย่อส่วน/ ISO 160/ WB: อัตโนมัติ/ รูปแบบภาพ: ปกติ

ผมถ่ายภาพกรอบหน้าต่างและผู้คนบนจุดชมวิวให้มีลักษณะแบบซิลูเอตต์โดยใช้การแสดงเส้นตารางเป็นตัวช่วยในการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งในฉากประเภทนี้ การแสดงเส้นตารางจะมีประโยชน์มากที่สุด


การใช้เส้นตารางและระดับ

1. กด [INFO] เพื่อแสดงเส้นตารางและระดับ


2. ขยับกล้องเพื่อปรับตำแหน่งจนกว่าเส้นแสดงระดับสีแดงจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว


3. เมื่อต้องการเปลี่ยนไปใช้เส้นตารางแบบอื่น ให้เข้าไปที่แท็บเมนูการถ่ายภาพ [1] > [แสดงข้อมูลการถ่ายภาพ] > [แสดงตาราง]


4. คุณยังสามารถเปลี่ยนการแสดงเป็นเส้นตารางอย่างเดียวหรือระดับอย่างเดียวได้ โดยเข้าไปที่ [แสดงข้อมูลการถ่ายภาพ] > [Screen info/toggle settings]

 

หากต้องการทราบเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพอาคาร โปรดอ่านบทความต่อเนื่องเกี่ยวกับการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมของเรา เริ่มต้นจาก:
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #1: 3 แนวคิดพื้นฐาน

ดูแนวคิดการถ่ายภาพในเมืองเพิ่มเติมได้ที่:
เคล็ดลับระดับมือโปรเพื่อปรับปรุงการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมจากระดับพื้นถนน
3 วิธีสำหรับมือใหม่เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้ภาพถ่ายทิวทัศน์เมืองยามค่ำคืน
หนึ่งสถานที่กับภาพสองแบบ: ภาพยามค่ำคืนแนวแอ็บสแตรกต์ - ความสงบเยือกเย็น กับ ความมีชีวิตชีวา

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Teppei Kohno

เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย

http://fantastic-teppy.chips.jp

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา