ผักที่หั่นไว้เต็มหม้อและพร้อมใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการทำอาหารครั้งต่อไปของคุณ มาศึกษาวิธีที่ใช้ได้ผลต่อไปนี้กันเพื่อถ่ายภาพเนื้อสัมผัสของอาหารอย่างรวดเร็วด้วยแสงธรรมชาติ! (เรื่องโดย: Maiko Fukui, Digital Camera Magazine)
EOS 5D Mark III/ EF50mm f/2.5 Compact Macro/ Manual exposure (f/7.1, 1/80 วินาที)/ ISO 3200
ขั้นตอนที่ 1: ขยับเข้าใกล้
คุณไม่จำเป็นต้องใช้เลนส์มาโครแท้ๆ (กำลังขยาย 1:1) สำหรับการถ่ายภาพนี้ แต่จะต้องถ่ายภาพผักแบบโคลสอัพให้ใกล้พอที่จะเห็นเนื้อสัมผัส ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของตัวแบบและระยะที่คุณต้องการเข้าใกล้
เลนส์มาโครกว้างๆ (เช่น RF35mm f/1.8 Macro IS STM) แสดงให้เห็นบริบทโดยรอบได้มากกว่า อีกทั้งยังช่วยให้คุณถ่ายใกล้ขึ้น เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสยาวๆ (เช่น RF85mm f/2 Macro IS STM) จะช่วยให้คุณถ่ายภาพครอปได้ใกล้ขึ้น หรือได้มุมรับภาพเหมือนกับเลนส์มุมกว้างด้วยการถ่ายจากระยะไกล สำหรับภาพนี้ ฉันใช้เลนส์มาโครมาตรฐาน 50 มม. รุ่นเก่าซึ่งมีกำลังขยายสูงสุด 0.5 เท่าพร้อมระยะโฟกัสใกล้สุดที่ 23 ซม.
เนื่องจากฉันต้องการแสดงให้เห็นบริบทมากขึ้น ฉันจึงจัดองค์ประกอบภาพให้มีขอบหม้อและส่วนหนึ่งของผ้าปูโต๊ะรวมอยู่ด้วย
สำรวจการถ่ายภาพอาหารด้วยเลนส์มาโครแท้ๆ ได้ใน:
ภาพมาโครชวนน้ำลายสอ: ศิลปะแห่งการถ่ายภาพอาหารแบบโคลสอัพ
ขั้นตอนที่ 2: ถ่ายโดยใช้แสงด้านข้างหรือแสงเฉียงหลัง
ปัจจัยสำคัญสำหรับการเน้นเนื้อสัมผัสในภาพนี้คือความมีมิติ ซึ่งสามารถสร้างได้โดยใช้เงาที่ทอดมาจากแสงด้านข้างหรือแสงเฉียงหลัง (อีกทั้งยังเป็นเหตุผลที่แสงจ้าจากด้านข้างไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดหากคุณต้องการทำให้ใครดูมีผิวเรียบเนียน)
สำหรับภาพนี้ ฉันวางหม้อผักไว้ในแนวทแยงใต้หน้าต่างเพื่อให้มีแสงเฉียงหลัง ความมีมิติอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามมุมกล้องของคุณ ดังนั้นลองขยับไปมาแล้วดูว่ามุมไหนได้ผลดีที่สุดสำหรับคุณ
เรียนรู้อีกหนึ่งวิธีในการเล่นกับแสงและเงาได้ใน:
การถ่ายภาพอาหารในสไตล์ Chiaroscuro ให้ดูน่าตื่นตาตื่นใจ
ขั้นตอนที่ 3: การตั้งค่าและมุมกล้อง—ทำไมต้องใช้ค่า f/7.1
ฉันต้องการให้ผักทุกชิ้นในหม้อเป็นจุดสนใจหลัก ฉันจึงตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ f/7.1 ซึ่งทำให้ได้ระยะชัดที่เพียงพอเพื่อให้ผักต่างๆ แม้แต่ชิ้นที่อยู่ลึกลงไปในหม้อดูค่อนข้างคมชัด แต่ยังมีความเบลอพอเหมาะเพื่อให้ภาพดูเป็นธรรมชาติแทนที่จะดูแต่งเติมมากเกินไป
มุมกล้องก็มีความสำคัญเช่นกัน ฉันตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่ได้เอียงกล้องมากเกินไป เนื่องจากอาจทำให้ผักที่อยู่ลึกลงไปในหม้อหลุดโฟกัสจนเกินไปและดูเลือนราง แต่การเอียงเล็กน้อยจะช่วยเสริมอารมณ์ของมุมมองภาพ ราวกับว่าคุณพร้อมที่จะประกอบอาหารด้วยวัตถุดิบที่อยู่ตรงหน้าได้เลย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
3 เทคนิคการออกแบบและจัดองค์ประกอบสำหรับการถ่ายภาพอาหาร
เคล็ดลับพิเศษ: แสงด้านหลังหรือแสงเฉียงหลังช่วยให้วัตถุโปร่งใสดูสวยงามขึ้น
หากคุณถ่ายภาพวัตถุโปร่งใส เช่น เครื่องดื่มใสในแก้ว ลองจัดตำแหน่งแก้วเพื่อให้แหล่งกำเนิดแสงส่องมาจากด้านหลังโดยตรงหรือในแนวทแยง วิธีนี้จะช่วยเน้นความคมชัดของตัวแบบ
อ่านเคล็ดลับและบทเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพอาหารได้ที่:
เคล็ดลับสำหรับการถ่ายภาพในเชิงพาณิชย์ พิซซ่าชีสยืดที่น่ารับประทาน
คู่มือการถ่ายภาพอาหารที่แสดงอารมณ์ลุ่มลึกและยั่วยวนใจ
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดปี 1983 ในโอซาก้า ช่างภาพ ทำงานในงานถ่ายภาพนิตยสารและโฆษณา เขียนหนังสือ เวิร์คช็อปการถ่ายภาพ และอื่นๆ