ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ความเร็วชัตเตอร์ที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตผมสะบัด

2020-02-03
0
2.24 k
ในบทความนี้:

หากคุณต้องการภาพพอร์ตเทรตน่าตื่นตาในชั่วขณะที่นางแบบสะบัดศีรษะหันกลับมามองคุณพร้อมผมปลิวไสว มาเรียนรู้กันว่าช่างภาพรายหนึ่งกำหนดค่าความเร็วชัตเตอร์อย่างไร และมีสิ่งใดอีกบ้างที่คุณควรพิจารณาเมื่อถ่ายภาพ (เรื่องโดย Haruka Yamamoto, Digital Camera Magazine) นางแบบ: Atsumi Mizuno)

นางแบบพร้อมผมที่กำลังพลิ้วไสว

 

คำถาม: คุณเดาออกไหมว่าภาพด้านล่างนี้ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์เท่าใด

หญิงสาวที่กำลังหันศีรษะพร้อมผมที่กำลังปลิวไสว

EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 200 มม.

ตัวเลือก
a) 1/250 วินาที
b) 1/500 วินาที
c) 1/2,000 วินาที
d) 1/8,000 วินาที


คำใบ้: สภาพการถ่าย 

ภาพเบื้องหลังที่แสดงให้เห็นช่างภาพและนางแบบ

สถานที่: สวนสาธารณะที่มีต้นไม้อยู่ด้านหลังนางแบบ ฉันต้องการทำให้แบ็คกราวด์ส่วนนี้เรียบง่ายขึ้นด้วยการสร้างโบเก้ที่เด่นชัดในส่วนแบ็คกราวด์
ระยะห่างจากตัวแบบ: นางแบบอยู่ห่างออกไปราว 5 ม.
สภาพแสง: แสงย้อนจากด้านหลัง
คําสั่งสำหรับนางแบบ: ยืนหันหลังให้ฉันและหันไปทางขวาอย่างรวดเร็วในจังหวะที่เหมาะสม

 

 

ทำไมจึงใช้ความเร็วชัตเตอร์เท่านี้

1. เพื่อให้ได้ภาพปอยผมทุกเส้นที่มีรายละเอียดคมชัด

ปอยผมแต่ละเส้นนั้นเล็กและเบา ซึ่งหมายความว่ามีการเคลื่อนไหวที่เร็วมากเช่นกัน คุณจำเป็นจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงมากเพื่อตรึงปอยผมเหล่านั้นให้อยู่กับที่และไม่ปรากฏภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว จริงอยู่ที่เอฟเฟ็กต์ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวจะทำให้ภาพถ่ายดูมีชีวิตชีวามากกว่า แต่สำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตแล้ว คุณจะต้องดึงความสนใจไปที่สีหน้าของตัวแบบให้มากขึ้น และภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวที่มากเกินไปก็อาจดึงความสนใจของผู้ชมออกไปได้

2. เพื่อให้ผิวดูเรียบเนียน

คุณจะต้องเพิ่มความไวแสง ISO เมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงมาก (เช่น 1/8,000 วินาที) ความไวแสง ISO ที่สูงมากอาจก่อให้เกิดเม็ดเกรนจากจุดรบกวนที่มองเห็นชัด ซึ่งทำให้ผิวดูเรียบเนียนน้อยลง


ลองมาดูภาพเดียวกันที่ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่างๆ


a) 1/250 วินาที

ภาพผมสะบัด ถ่ายที่ 1/250 วินาที

ภาพผมสะบัด ถ่ายที่ 1/250 วินาที (แบบโคลสอัพ)

ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเกินไป: สังเกตว่าเอฟเฟ็กต์ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวของเส้นผมดูเด่นชัด


b) 1/500 วินาที

ภาพผมสะบัด ถ่ายที่ 1/500 วินาที

ภาพผมสะบัด ถ่ายที่ 1/500 วินาที (แบบโคลสอัพ)

ยังต่ำเกินไปเล็กน้อย: ยังคงมีเอฟเฟ็กต์ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว และไม่เห็นปอยผมแยกออกจากกันเท่าใดนัก 


c) 1/2,000 วินาที

ภาพผมสะบัด ถ่ายที่ 1/2000 วินาที

ภาพผมสะบัด ถ่ายที่ 1/2000 วินาที (แบบโคลสอัพ)

ปอยผมดูคมชัดขึ้นมาก นี่คือค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ดีที่สุดสำหรับฉัน


d) 1/8,000 วินาที

ภาพผมสะบัด ถ่ายที่ 1/8000 วินาที

ภาพผมสะบัด ถ่ายที่ 1/8000 วินาที (แบบโคลสอัพ)

เส้นผมดูคมชัด แต่ฉันต้องเพิ่มความไวแสง ISO ไปที่ ISO 1250 เพื่อให้แน่ใจว่ามีการเปิดรับแสงที่เพียงพอ ซึ่งจะทำให้ภาพเสี่ยงต่อการเกิดจุดรบกวนที่เห็นชัด แม้ว่ากล้องรุ่นใหม่อาจสามารถรับมือกับความไวแสง ISO สูงๆ ได้ดีขึ้น แต่ทางที่ดี ควรใช้ความไวแสง ISO ที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

รายละเอียดเพิ่มเติม: วิธีการถ่ายภาพให้ดียิ่งขึ้น

1. ใช้รูรับแสงกว้างสุดเพื่อทำให้แบ็คกราวด์เรียบง่ายขึ้น

ภาพผมสะบัดเมื่อใช้ค่า f/8

ถ่ายที่ค่า f/8

ระยะชัดลึกที่ f/8 ทำให้ผมของนางแบบดูคมชัด แต่แบ็คกราวด์ดูรกขึ้นเนื่องจากเอฟเฟ็กต์โบเก้เห็นได้ไม่ชัดเจนนัก ทำให้ตัวแบบดูโดดเด่นน้อยลงด้วย ควรใช้รูรับแสงกว้างขึ้นเพื่อให้ตัวแบบแยกออกมาจากแบ็คกราวด์ได้ดีขึ้น

ประโยชน์ของค่า f/8 ในการถ่ายภาพคือ:
f/8: การถ่ายทอดรายละเอียดของอาคารและโครงสร้างต่างๆ

 

2. ให้นางแบบหยุดตรงจุดที่กำหนด

เส้นผมปิดบังใบหน้า

ภาพถ่ายด้านบนคือสิ่งที่จะเกิดขึ้นหากนางแบบหันศีรษะมากเกินไปจนผ่านด้านหน้าของเลนส์ไป คงน่าเสียดายหากคุณตรึงเส้นผมที่กำลังปลิวไสวให้หยุดนิ่งแต่ไม่สามารถจับภาพใบหน้าของนางแบบไว้ได้! ดังนั้น ควรให้นางแบบหยุดสะบัดศีรษะตรงจุดที่คุณสามารถเห็นใบหน้าได้

เคล็ดลับ: นางแบบควรอยู่ในท่วงท่าสบายๆ ขณะมองมาที่เลนส์ด้วย ซึ่งจะช่วยให้คุณได้ภาพสีหน้าที่ดูดีและเป็นธรรมชาติเช่นกัน

คุณสามารถถ่ายภาพการสะบัดผมได้มากกว่าหนึ่งวิธี! ความเร็ว 1/2,000 วินาทีใช้ได้ผลสำหรับคุณหรือไม่ มาบอกเล่าให้เรารู้กัน โดยแบ่งปันภาพถ่ายของคุณได้ที่ My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสในการตีพิมพ์กับเรา!


ต่อไปนี้เป็นการตั้งค่าและคุณสมบัติเพิ่มเติมของกล้องที่จะช่วยให้คุณถ่ายภาพสีหน้าได้อย่างดี
เพราะดวงตาคือทุกสิ่ง: วิธีง่ายๆ ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตให้ตราตรึงใจ
f/2.8: เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการจับภาพสีหน้า
เทคนิคการใช้แฟลชติดกล้อง #1: จัดการเงาที่เด่นชัดซึ่งเกิดจากแสงย้อน

อ่านไอเดียการถ่ายภาพภาพพอร์ตเทรตกลางแจ้งเพิ่มเติมที่:
2 เทคนิคทันใจที่ช่วยเพิ่มชีวิตชีวาให้ภาพพอร์ตเทรตกลางแจ้งของคุณ
5 เทคนิคการถ่ายภาพพอร์ตเทรตสำหรับทั้งตอนกลางวันและกลางคืน
วิธีการถ่ายภาพพอร์ตเทรตให้มีสีสันสวยงามชวนฝันพร้อมโบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์
เทคนิคการใช้แฟลชติดกล้อง #3: ถ่ายภาพพอร์ตเทรตให้น่าประทับใจด้วย Daylight Sync

ดูเพิ่มเติมได้ที่: 5 เทคนิคการถ่ายภาพพอร์ตเทรตเพื่อแสดงถึงความรักที่คุณมีต่อเธอ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Haruka Yamamoto

Yamamoto เกิดที่กรุงโตเกียว เธอเป็นช่างภาพอิสระที่ถ่ายภาพสำหรับสื่อนานาชนิด รวมถึงนิตยสาร ปกซีดี และโฆษณา นอกจากนี้ เธอยังมีบล็อกของตัวเอง ซึ่งโพสต์ภาพจากซีรีส์ภาพถ่ายต่อเนื่องที่ชื่อว่า “Otome-graphy [ภาพถ่ายสาวโสด]” โดยมีเป้าหมายที่จะลบภาพลักษณ์แบบเดิมๆ ของหญิงสาว ตลอดจนจัดการกับปัญหาของตัว Yamamoto เองว่าด้วยการแก่ตัวลง คอลเล็กชั่นภาพเหล่านี้ได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบหนังสือในปี 2018

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา