ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์เท่าใดเพื่อถ่ายภาพกระโดดให้ดูเหมือนกำลังลอยตัว

2020-01-27
3
2.08 k
ในบทความนี้:

คุณจะถ่ายภาพกระโดดให้ตัวแบบดูเหมือนกำลังลอยตัวขึ้นจากพื้นได้อย่างไร นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่อาศัยเพียงแค่ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดในกล้องของคุณเท่านั้น! Haruka Yamamoto ช่างภาพพอร์ตเทรตมืออาชีพจะมาอธิบายให้เราฟังถึงเหตุผลที่ทำให้เธอเลือกความเร็วชัตเตอร์ค่าหนึ่งโดยเฉพาะ (เรื่องโดย: Haruka Yamamoto, Digital Camera Magazine)

ภาพกระโดดลอยตัว

 

คำถาม: คุณเดาออกไหมว่าภาพด้านล่างนี้ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์เท่าใด

เด็กผู้หญิงกำลังกระโดดบนถนน

EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 200 มม.

ตัวเลือก
a) 1/125 วินาที
b) 1/500 วินาที
c) 1/2,000 วินาที
d) 1/8,000 วินาที


คำใบ้: สภาพการถ่าย 

ภาพเบื้องหลังของช่างภาพที่กำลังถ่ายภาพ

สถานที่: ทางเดินที่สามารถมองเห็นวิวได้ชัดเจนและปราศจากสิ่งกีดขวาง
ระยะห่างจากตัวแบบ: นางแบบอยู่ห่างออกไปราว 10 ม.
สภาพแสง: แสงสว่างค่อนข้างน้อย ฉันจึงตั้งค่าความไวแสง ISO ไว้ที่ ISO 2000
แนวคิด: นางฟ้ากำลังลอยตัวลงมายังโลก
คำสั่งสำหรับนางแบบ: กระโดดขึ้นตรงๆ (ภาพนี้ถ่ายตอนนางแบบกำลังกระโดดลง)

 

 

ทำไมจึงใช้ความเร็วชัตเตอร์เท่านี้

1. เพื่อหยุดการเคลื่อนไหว

หากต้องการถ่ายภาพกระโดดให้ตัวแบบดูเหมือนกำลังลอยตัวอยู่กลางอากาศ คุณจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบ ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำเกินไปจะทำให้เกิดภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว ซึ่งจะทำให้โครงร่างของตัวแบบไม่ชัดเจนและยังทำให้ภาพดูไม่เหนือจริงเท่าที่ควรด้วย 

2. เพื่อใช้รูรับแสงที่กว้างขึ้น

ความเร็วชัตเตอร์มีผลต่อค่ารูรับแสงที่คุณสามารถใช้ได้เช่นกัน หากต้องการให้ภาพมีความโดดเด่นยิ่งขึ้น คุณต้องสร้างโบเก้ในแบ็คกราวด์เพื่อแยกตัวแบบออกจากแบ็คกราวด์ให้เห็นได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้รูรับแสงที่กว้างมาก (ภาพนี้ใช้ f/2.8)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: ความสัมพันธ์ระหว่างรูรับแสงของเลนส์และโบเก้


ลองมาดูภาพเดียวกันที่ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่างๆ


a) 1/125 วินาที

ภาพกระโดด ถ่ายที่ 1/125 วินาที

ภาพกระโปรงแบบโคลสอัพ ถ่ายที่ 1/125 วินาที

ที่ความเร็ว 1/125 วินาที เกิดภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวที่กระโปรงและเส้นผมของนางแบบ รูรับแสงที่เหมาะที่สุดซึ่งจะทำให้ได้ระดับแสงที่เหมาะสมคือ f/11 ซึ่งไม่กว้างพอสำหรับการสร้างโบเก้ที่สวยงามและนุ่มนวล

เคล็ดลับ: ยิ่งชุดมีความพลิ้วไหว ยิ่งเกิดภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวเมื่อตัวแบบกระโดด


b) 1/500 วินาที

ภาพกระโดด ถ่ายที่ 1/500 วินาที

ภาพเส้นผมแบบโคลสอัพ ถ่ายที่ 1/500 วินาที

ยังคงเกิดภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวในบริเวณกระโปรงและเส้นผมของนางแบบ แม้เราจะเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ขึ้นสองเท่าเป็น 1/500 วินาที ขนาดของรูรับแสงที่เหมาะที่สุดซึ่งจะทำให้ได้ระดับแสงที่เหมาะสมคือ กว้างกว่า f/5.6 เล็กน้อย แต่โบเก้ในแบ็คกราวด์ที่ได้ยังไม่ถือว่าน่าพอใจ


c) 1/2,000 วินาที

ภาพกระโดด ถ่ายที่ 1/2,000 วินาที

ภาพกระโปรงแบบโคลสอัพ ถ่ายที่ 1/2,000 วินาที

นี่คือความเร็วชัตเตอร์ที่ดีที่สุดสำหรับเรา กระโปรงมีความคมชัด และฉันสามารถใช้รูรับแสงกว้างสุดที่ f/2.8 ได้เพื่อสร้างโบเก้ที่เด่นชัดขึ้นในแบ็คกราวด์ 


d) 1/8,000 วินาที

ภาพกระโดด ถ่ายที่ 1/8,000 วินาที

ภาพใบหน้าแบบโคลสอัพ ถ่ายที่ 1/8,000 วินาที

เมื่อเราใช้ความเร็วสูงขึ้นที่ 1/8,000 วินาที ซึ่งเป็นความเร็วชัตเตอร์สูงสุดของกล้อง ภาพกลับดูมืดเกินไปแม้จะใช้รูรับแสงกว้างสุด ฉันสามารถใช้ค่าความไวแสง ISO ที่สูงขึ้นได้เพื่อให้ภาพสว่างขึ้น แต่ฉันไม่ได้ใช้เพราะจะเกิดจุดรบกวนมากขึ้นและทำให้ผิวหนังดูหยาบและมีเม็ดเกรน 

ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้ด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/8,000 วินาที
คู่มือตามขั้นตอนสำหรับการถ่ายภาพคลื่นที่สาดกระเซ็นด้วยการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์สูง

 

รายละเอียดเพิ่มเติม: วิธีการถ่ายภาพให้ดียิ่งขึ้น

1. ใช้เลนส์เทเลโฟโต้เพื่อสร้างโบเก้ที่เด่นชัดขึ้น

ภาพกระโดด ถ่ายที่ทางยาวโฟกัส 50 มม.

ถ่ายที่ระยะ 50 มม.

ฉันต้องขอย้ำอีกทีหนึ่งว่า หัวใจสำคัญของการถ่ายภาพกระโดดลอยตัวเช่นนี้ให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เพียงแค่การทำให้ตัวแบบดูเหมือนลอยกลางอากาศเท่านั้น แต่ตัวแบบควรดูเหมือนกำลัง “ลอยออกมา” จากแบ็คกราวด์ด้วย การใช้เลนส์เทเลโฟโต้จะช่วยให้โบเก้ในแบ็คกราวด์ดูเด่นชัดขึ้นและทำให้ตัวแบบแยกออกมาจากแบ็คกราวด์ได้ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกัน ภาพด้านบนที่ถ่ายด้วยเลนส์มาตรฐานที่ระยะ 50 มม. แสดงรายละเอียดในแบ็คกราวด์ได้ชัดเจนเกินไป 

ดูภาพ gif ด้านล่างเพื่อเปรียบเทียบ

ภาพเคลื่อนไหว GIF แสดงการเปรียบเทียบภาพกระโดดที่ระยะ 50 มม. และ 200 มม.

 

2. ถ่ายช้อนขึ้นจากมุมต่ำ

ภาพกระโดดในระดับสายตา

ภาพถ่ายที่ระดับสายตา

เพื่อเพิ่มเอฟเฟ็กต์ของการ “ลอยตัวกลางอากาศ” ให้ถ่ายภาพจากมุมต่ำโดยให้กล้องของคุณอยู่ใกล้กับพื้นมากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ ฉันนั่งยองๆ เพื่อถ่ายภาพระดับสายตาด้านบน จะเห็นได้ว่าตัวแบบดูไม่เหมือนกำลังลอยขึ้นจากพื้นเท่าใดนัก

สำหรับภาพหลัก ฉันนอนลงบนพื้น แต่คุณอาจไม่จำเป็นต้องทำเช่นนี้หากถ่ายภาพจาก Live View ของกล้องที่มีหน้าจอ LCD แบบพลิกออกที่ปรับหมุนได้

ภาพเคลื่อนไหว GIF แสดงการเปรียบเทียบภาพถ่ายที่ระดับสายตาและมุมต่ำ

 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ที่คุณสามารถสร้างจากความเร็วชัตเตอร์ที่แตกต่างกันได้ที่:
จับภาพความเคลื่อนไหวของสัตว์ป่าด้วยการควบคุมความเร็วชัตเตอร์
การตั้งค่ากล้องเพื่อใช้ถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่ยอดเยี่ยม!
การถ่ายภาพกีฬา: วิธีเน้นความเร็วโดยการถ่ายทอดความสงบนิ่งตัดกับการเคลื่อนไหว

อ่านเคล็ดลับเกี่ยวกับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตเพิ่มเติมที่:
เทคนิคการโพสท่าและจัดท่าทางให้ตัวแบบในการถ่ายภาพพอร์ตเทรต
5 เทคนิคการถ่ายภาพพอร์ตเทรตสำหรับทั้งตอนกลางวันและกลางคืน
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต: การตั้งค่ารูรับแสง 3 รูปแบบที่ช่างภาพมืออาชีพชื่นชอบ


คุณเคยถ่ายภาพกระโดดแบบใดบ้าง และเพราะเหตุใดจึงเลือกการตั้งค่าที่คุณใช้
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณกับเราได้ที่ My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสในการตีพิมพ์กับเรา!

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Haruka Yamamoto

Yamamoto เกิดที่กรุงโตเกียว เธอเป็นช่างภาพอิสระที่ถ่ายภาพสำหรับสื่อนานาชนิด รวมถึงนิตยสาร ปกซีดี และโฆษณา นอกจากนี้ เธอยังมีบล็อกของตัวเอง ซึ่งโพสต์ภาพจากซีรีส์ภาพถ่ายต่อเนื่องที่ชื่อว่า “Otome-graphy [ภาพถ่ายสาวโสด]” โดยมีเป้าหมายที่จะลบภาพลักษณ์แบบเดิมๆ ของหญิงสาว ตลอดจนจัดการกับปัญหาของตัว Yamamoto เองว่าด้วยการแก่ตัวลง คอลเล็กชั่นภาพเหล่านี้ได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบหนังสือในปี 2018

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา