จับภาพความเคลื่อนไหวของสัตว์ป่าด้วยการควบคุมความเร็วชัตเตอร์
เรามักเชื่อมโยงการถ่ายภาพสัตว์ป่ากับความเร็วชัตเตอร์สูง แต่ความเร็วชัตเตอร์ช้าสามารถให้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจได้เช่นกัน โดยขึ้นอยู่กับฉากที่ถ่าย ช่างภาพสัตว์ป่า Yukihiro Fukuda จะมาแนะนำวิธีใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำสำหรับถ่ายภาพนกเพนกวินริมทะเลกัน (เรื่องโดย: Yukihiro Fukuda)
EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/2.8L IS II USM + Extender EF1.4xIII/ FL: 280 มม./ f/16/ 1/4 วินาที/ EV±0/ ISO: 100/ WB: แสงแดด
เปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์เพื่อเปลี่ยนรูปลักษณ์ของภาพถ่าย
ความเร็วชัตเตอร์ คือเครื่องมือที่เป็นประโยชน์มากในการทำให้ภาพถ่ายสัตว์ป่าดูน่าสนใจยิ่งขึ้น ลองนึกถึงภาพถ่ายที่สมบูรณ์แบบของคุณ: ภาพนั้น "หยุด" การเคลื่อนไหวของสัตว์ได้อย่างคมชัดหรือเน้นการเคลื่อนไหวของสัตว์ ทั้งสองภาพจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่แตกต่างกัน
สำหรับภาพถ่ายเพนกวินริมทะเลด้านบนนี้ ผมตัดสินใจใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเพื่อแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวของคลื่นลูกใหญ่ที่กำลังซัดเข้าหาชายฝั่ง และเพนกวินที่กำลังเดินเตาะแตะลงทะเล
ตอนแรกผมนึกถึงการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์สามแบบที่เป็นไปได้คือ 1/4, 1/15 และ 1/30 วินาที
แต่ในที่สุดก็เลือกใช้ค่า 1/4 วินาที เพราะหากน้อยกว่านั้นอาจทำให้ภาพเพนกวินเบลอจนเกินไป แต่หากใช้ค่า 1/15 และ 1/30 วินาที การเคลื่อนไหวที่ได้จะไม่ชัดเจนพอ
เคล็ดลับ: ทดลองถ่ายภาพเพื่อให้ได้ไอเดียว่าควรใช้ความเร็วชัตเตอร์เท่าใด
การทดลองถ่ายภาพสั้นๆ เพื่อตรวจสอบผลที่ได้จากการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์นั้นมีประโยชน์ เพราะจะทำให้คุณตัดสินใจได้ว่าควรจะเพิ่ม ลด หรือรักษาความเร็วชัตเตอร์เดิมไว้
ควรพิจารณาใช้ขาตั้งกล้องเพื่อลดปัญหากล้องสั่น สำหรับฉากนี้ ทิวทัศน์ในแบ็คกราวด์คือส่วนสำคัญของภาพถ่าย ผมจึงใช้ขาตั้งกล้องเพื่อให้แน่ใจว่าภาพที่ได้จะดูคมชัด
เทคนิคอื่น 1: ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดเพื่อสื่อถึงพลัง
EOS 5D Mark III/ EF300mm f/2.8L IS USM/ FL: 300 มม./ f/8/ 1/4000 วินาที/ EV±0/ ISO: 800/ WB: แสงแดด
ผมให้ความสำคัญกับการหยุดหยดน้ำแต่ละหยดในคลื่นที่สาดกระเซ็นโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง ผมต้องเพิ่มความไวแสง ISO ให้สูงถึง 1/4,000 วินาที แล้วจึงถ่ายภาพนี้ เพราะความพยายามครั้งแรกในการใช้ค่า 1/1,000 วินาทียังทำให้เกิดภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว
(อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดนี้ใน: พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #3: การเปิดรับแสง)
คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้:
การถ่ายภาพคลื่น: ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ระดับใดเพื่อถ่ายทอดพลังและการเคลื่อนไหว
คู่มือตามขั้นตอนสำหรับการถ่ายภาพคลื่นที่สาดกระเซ็นด้วยการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์สูง
เทคนิคอื่น 2: ถ่ายภาพแบบแพนกล้อง
EOS 60D/ EF70-200mm f/2.8L IS II USM + Extender EF1.4xIII/ FL: 280 มม./ f/10/ 1/20 วินาที/ EV+0.3/ ISO: 100/ WB: แสงแดด
คุณยังสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเพื่อถ่ายภาพแบบแพนกล้องได้ เทคนิคนี้ช่วยดึงความสนใจไปที่เพนกวินตรงกลางภาพ ซึ่งเตะตาผมมาก เพราะมันกำลังคาบบางอย่างไว้ในจะงอยปาก ผมทดลองถ่ายสองสามภาพเพื่อหาความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสม
คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้เช่นกัน:
เคล็ดลับการแพนกล้องสำหรับการถ่ายภาพที่สื่อถึงการเคลื่อนไหวของนกป่าที่กำลังโผบิน
ฉันจะใช้การแพนกล้องเป็นวงกลมเพื่อสร้างภาพที่โดดเด่นไม่ซ้ำใครได้อย่างไร
ถ่ายภาพโดยใช้ทางยาวโฟกัสต่างกันเพื่อความหลากหลาย
ในฐานะช่างภาพสัตว์ป่า บางครั้งเราอาจติดลมกับการพยายามถ่ายภาพระยะใกล้ด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ แม้เราจะได้ภาพตามต้องการ แต่สุดท้ายอาจขาดองค์ประกอบที่สามารถสร้างความน่าสนใจอย่างแท้จริงให้กับภาพ
ควรลองถ่ายภาพโดยใช้มุมรับภาพที่กว้างกว่าที่ตั้งใจไว้เล็กน้อย ตัวอย่างเช่น หากคุณอยากถ่ายภาพที่ระยะ 500 มม. ให้ลองถ่ายที่ระยะ 300 มม. แทน วิธีนี้จะทำให้คุณได้องค์ประกอบใหม่ๆ ในเฟรมภาพ ซึ่งช่วยให้ "เห็น" ภาพในมุมมองที่ต่างออกไป แน่นอนว่าภาพเพนกวินด้านบนจะดูแตกต่างไปจากเดิมมาก หากไม่มีบรรยากาศที่เกิดขึ้นจากคลื่น พระอาทิตย์ขึ้น และทิวทัศน์ในส่วนแบ็คกราวด์
หากต้องการทราบเคล็ดลับและบทเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ โปรดอ่านบทความต่อไปนี้:
การตั้งค่ากล้องเพื่อใช้ถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่ยอดเยี่ยม
ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: การสร้างภาพเบลอแบบหมุนที่เหนือจริง
อ่านเคล็ดลับการถ่ายภาพสัตว์ป่าเพิ่มเติมได้ที่:
การถ่ายภาพสัตว์ป่า: เทคนิค 3 ประการจากช่างภาพมืออาชีพ
เทคนิคการใช้กล้อง EOS 7D Mark II ของช่างภาพมืออาชีพ - ภาพสัตว์ป่า
เทคนิคการถ่ายภาพด้วยเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ - ภาพซิลูเอตต์ของสัตว์ป่าภายใต้แสงอาทิตย์
7 เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพสวนสัตว์ด้วยกล้องมิเรอร์เลสและ DSLR
อุปกรณ์ที่คุณอาจพิจารณา:
EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM: เลนส์ที่ถ่ายภาพนกได้อย่างยอดเยี่ยมสำหรับผู้เริ่มใช้งาน
รีวิวการใช้งาน EOS-1D X Mark II ตอนที่ 1: โฟกัสที่แม่นยำและสมรรถนะการติดตามตัวแบบของ AF ที่น่าทึ่ง
จุดโฟกัส: EOS 7D Mark II (ฉบับภาษาอังกฤษ)
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!
เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดที่กรุงโตเกียวในปี 1965 การไปเยือนฮอกไกโดของ Fukuda เพื่อตามหานกกระเรียนญี่ปุ่นที่เขาชื่นชอบได้นำเขามาสู่การเป็นช่างภาพสัตว์ป่า หลังจากใช้เวลา 10 ปีในการถ่ายภาพสัตว์ป่าในฮอกไกโด Fukuda เริ่มขยับขยายขอบเขตของเขาไปยังประเทศอื่นๆ รวมถึงการถ่ายภาพใต้น้ำ ปัจจุบัน การถ่ายภาพสัตว์ป่า ภาพใต้น้ำ และทิวทัศน์กลายมาเป็นกิจกรรมหลักของเขา