ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: 2 ไอเดียสำหรับเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพถ่ายแบบแพนกล้อง
การแพนกล้องเป็นหนึ่งในเทคนิคยอดนิยมที่ใช้สื่อถึงความเร็วและความมีมิติของยวดยานที่กำลังเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว แต่คุณทราบหรือไม่ว่า ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวที่เกิดจากการแพนกล้องนั้นทำให้ภาพของคุณสวยงามขึ้นได้เช่นกัน มาดูเทคนิคสองข้อในการถ่ายภาพเช่นนี้กัน (เรื่องโดย: Yuya Yamasaki, Digital Camera Magazine)
EOS 5D Mark III/EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 200 มม./ Manual exposure (f/11, 1/30 วินาที)/ ISO 50/ WB: แสงแดด (M4)
อุปกรณ์อื่นๆ: ฟิลเตอร์ PL
เทคนิคที่ 1: แพนกล้องในส่วนที่เป็นโบเก้ในโฟร์กราวด์
เชื่อหรือไม่ว่าภาพด้านบนเป็นภาพที่ไม่ได้ใช้ฟิลเตอร์ (หรืออย่างน้อยก็ไม่ได้ใช้ฟิลเตอร์จากซอฟต์แวร์) คุณเห็นความแตกต่างจากภาพที่ถ่ายด้วยการแพนกล้องแบบดั้งเดิมหรือไม่
ในภาพจากการแพนกล้องแบบดั้งเดิม คุณจะรู้สึกถึงความเร็วเนื่องจากมีภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวในแบ็คกราวด์ แต่หากคุณให้โฟร์กราวด์อยู่นอกโฟกัสจากนั้นจึงแพนกล้อง คุณจะได้ภาพเหมือนด้านบน ซึ่งโบเก้ในโฟร์กราวด์ดูเหมือน “ถูกปัด” จนทั่วทั้งภาพ
ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวสีชมพูเกิดจากดอกซากุระในโฟร์กราวด์ ซึ่งผมวางไว้ให้อยู่นอกโฟกัสก่อนแพนกล้อง ผมเริ่มการแพนกล้องเมื่อรถไฟความเร็วสูงเคลื่อนตัว แม้ผมจะใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (ฟิลเตอร์ PL) เพื่อให้สีชมพูของดอกซากุระเด่นชัดขึ้น ผลที่ได้ก็ยังไม่เพียงพอ ผมจึงใช้การแก้ไขสมดุลแสงขาว โดยปรับโทนสีแดงม่วงให้เพิ่มเป็น +4
เคล็ดลับที่ 1: ยิ่งทางยาวโฟกัสยาว ยิ่งเห็นภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวได้ชัด
ด้วยความเร็วของรถไฟความเร็วสูง ผมจึงไม่สามารถถ่ายภาพได้ด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าเกินไป เพราะรถไฟคงจะหายไปก่อน!
แต่หากมีทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้ คุณจะได้เส้นของภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวที่ชัดเจนของโบเก้ในโฟร์กราวด์และแบ็คกราวด์ได้ไม่ยากนักเมื่อคุณแพนกล้อง ยิ่งทางยาวโฟกัสยาว ยิ่งเห็นเอฟเฟ็กต์ได้ชัดขึ้น เมื่อใช้ระยะเทเลโฟโต้ 200 มม. ของเลนส์ ผมจึงได้ภาพดังที่คุณเห็นด้านบนด้วยความเร็ว 1/30 วินาที
ฉากจริง
ถ่ายที่ f/5, 1/2,500 วินาที, ISO 640
นี่คือฉากเดียวกันกับภาพแรก ถ่ายโดยใช้เลนส์มาตรฐาน มุมรับภาพที่กว้างกว่าจะทำให้เห็นว่ารถไฟเคลื่อนตัวไปได้มากแค่ไหนเท่านั้น ผมจึงต้องถ่ายด้วยความเร็วถึง 1/2,500 วินาทีเพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของรถไฟ สภาพแสงในฉากเหมือนกับภาพแรก
เคล็ดลับที่ 2: อย่าให้รูรับแสงแคบจนเกินไป!
เหตุผลอีกข้อหนึ่งที่ทำให้ผมไม่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำก็คือ เพราะจะทำให้ต้องใช้รูรับแสงที่เล็กลง ซึ่งจะทำให้โบเก้ในโฟร์กราวด์และเอฟเฟ็กต์ที่ดูเหมือนใช้ฟิลเตอร์นั้นอ่อนลง สำหรับภาพแรก ผมตั้งค่าความไวแสง ISO ไว้ที่ 50 และรูรับแสงที่ f/11 ทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้ทำให้ผมมั่นใจว่าจะสามารถเห็นโบเก้ได้ชัดเจนพอแม้ถ่ายด้วยค่า f/11
เทคนิคที่ 2: เปลี่ยนแสงไฟในเมืองให้กลายเป็นลวดลายพู่กันสีรุ้ง
EOS 5DS R/EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 200 มม./ Manual exposure (f/7.1, 1/2 วินาที)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
ในขณะที่กำลังถ่ายภาพอยู่ ณ ใจกลางชินจุกุที่แสนคึกคักในคืนวันหนึ่ง ผมก็นึกอยากถ่ายภาพโดยใช้มือแพนกล้องเพื่อเปลี่ยนให้แสงไฟนีออนในเมืองกลายเป็นลวดลายพู่กันสีสันสดใสของแสงไฟที่ดูเหมือนคลื่น
เนื่องจากสถานีอยู่ใกล้ รถไฟจึงเคลื่อนตัวช้ามาก และผมต้องลดความเร็วชัตเตอร์ลงเป็น ½ วินาทีเพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ
สำหรับกล้อง DSLR การถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำเช่นนี้จะทำให้กระจกเคลื่อนตัวขึ้นเป็นระยะเวลานาน ซึ่งทำให้คุณเคลื่อนไหวตามตัวแบบได้ยากขึ้น วิธีเดียวที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้คือต้องฝึกฝนจนกว่าคุณจะไม่ต้องมองผ่านช่องมองภาพ!
ผมตั้งค่าสมดุลแสงขาวไปที่ “แสงแดด” เพื่อเพิ่มความเพี้ยนของสีเล็กน้อยและทำให้ภาพดูเหนือจริงมากยิ่งขึ้น
เคล็ดลับที่ 3: ความเร็วชัตเตอร์ที่ดีที่สุดสำหรับการแพนกล้องคือความเร็วที่ทำให้คุณได้ภาพที่ต้องการ
เกิดภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวไม่เพียงพอที่ 1/8 วินาที
เนื่องจากรถไฟกำลังเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ ความเร็ว 1/8 วินาทีจึงไม่ให้ผลดังที่ต้องการ นอกจากจะมีภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวแค่เพียงเล็กน้อยแล้ว คุณยังสามารถเห็นรูปร่างของอาคารได้ด้วย ซึ่งทำให้ความน่าตื่นตาตื่นใจในภาพหายไป ไม่มีความเร็วชัตเตอร์ใด “เหมาะสมที่สุด” สำหรับการแพนกล้อง ความเร็วชัตเตอร์ที่ดีที่สุดคือความเร็วที่ให้ผลตามที่คุณจินตนาการไว้
ดูเทคนิคศิลปะในการใช้ชัตเตอร์ต่ำได้ที่:
ฉันจะใช้การแพนกล้องเป็นวงกลมเพื่อสร้างภาพที่โดดเด่นไม่ซ้ำใครได้อย่างไร
การตั้งค่ากล้องเพื่อใช้ถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่ยอดเยี่ยม
ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: การใช้ระเบิดซูมเพื่อเปลี่ยนดวงดาวบนท้องฟ้าให้เป็นฝนดาวตก
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
3 แนวทางที่น่าสนใจมากขึ้นเล็กน้อยในการถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวเร็ว
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดเมื่อปี 1970 ที่เมืองฮิโรชิมา Yamasaki เป็นตัวแทนของ "Railman Photo Office" ห้องสมุดภาพถ่ายเฉพาะทางด้านภาพถ่ายรถไฟ เขาทำผลงานภาพถ่ายทางรถไฟจากมุมที่แปลกใหม่ด้วยไหวพริบพิเศษของเขา