ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ภาพโคลสอัพระยะ 24 มม.: 3 แบบฝึกหัดง่ายๆ เพื่อฝึกใช้มุมมองเปอร์สเปคทีฟมุมกว้างให้ชำนาญ

2021-10-25
1
1.73 k
ในบทความนี้:

เลนส์เป็นเครื่องมือสำคัญในศิลปะแห่งการถ่ายภาพ เมื่อคุณใช้เลนส์ได้อย่างชำนาญแล้ว คุณจะสามารถปลดล็อกวิธีใหม่ๆ ในการถ่ายทอดตัวแบบและฉากแบบเดียวกันได้

ในบทความนี้ เราจะมาแบ่งปันสามแบบฝึกหัดที่คุณสามารถทำได้เพื่อสร้างความคุ้นเคยในการใช้มุมมองเปอร์สเปคทีฟมุมกว้าง สิ่งที่คุณต้องมีคือเวลาว่างไปเดินเล่นและถ่ายภาพ รวมถึงเลนส์ที่สามารถถ่ายที่ระยะ 24 มม. ได้ (เทียบเท่าฟูลเฟรม) ทำไมต้องใช้ระยะ 24 มม. เพราะเป็นทางยาวโฟกัสมุมกว้างอัลตร้าไวด์ที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุด ที่จริงแล้ว ระยะดังกล่าวอาจถือได้ว่าเป็นระยะสุดฝั่งมุมกว้างที่สุดของเลนส์คิทซูมมาตรฐานหากคุณใช้กล้องฟูลเฟรม (เรื่องโดย: Masatsugu Kohrikawa, Digital Camera Magazine)

EOS 6D Mark II/ EF17-40mm f/4L USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/9.5, 1/250 วินาที)/ ISO 400

 

แบบฝึกหัดที่ 1: เรียนรู้ที่จะตระหนักถึงมุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริงและความบิดเบี้ยว

คุณอาจรู้อยู่แล้วว่าเลนส์มุมกว้างสามารถถ่ายภาพให้เห็นฉากได้มากขึ้นในเฟรมเดียวกัน แต่รู้หรือไม่ว่าเลนส์ชนิดนี้สามารถทำให้มุมมองเปอร์สเปคทีฟดูเกินจริงและทำให้รูปทรงบิดเบี้ยวได้
ขั้นตอนแรกในการฝึกฝนเทคนิคการใช้เลนส์ต่างๆ ให้ชำนาญคือการเรียนรู้ที่จะจดจำเอฟเฟ็กต์ของเลนส์นั้นๆ เนื่องจากจะช่วยให้คุณสามารถควบคุมการใช้งานของเลนส์ได้มากขึ้น ลองดูภาพบางส่วนที่ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง ซึ่งอาจเป็นภาพของคุณเองหรือของคนอื่นก็ได้  คุณสามารถระบุเอฟเฟ็กต์มุมมองเปอร์สเปคทีฟและความบิดเบี้ยวได้หรือไม่


มุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริง

เปอร์สเปคทีฟ” หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ทำให้สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวผู้ชมดูมีขนาดใหญ่ขึ้น และสิ่งที่อยู่ไกลออกไปดูมีขนาดเล็กลง ซึ่งส่งผลต่อการรับรู้ระยะระหว่างวัตถุต่างๆ ทางยาวโฟกัสมุมกว้างจะทำให้วัตถุที่อยู่ใกล้บิดเบี้ยวไปจนดูใหญ่ขึ้น ซึ่งทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์เปอร์สเปคทีฟเกินจริง

ส่วนเครนของรถบรรทุกคันนี้ดูใหญ่มากเมื่อเทียบกับตัวรถซึ่งดูเล็กกว่าและไกลออกไป นี่คือผลของเอฟเฟ็กต์เปอร์สเปคทีฟ


ความบิดเบี้ยว

นอกจากมุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริงแล้ว เลนส์มุมกว้างยังทำให้รูปทรงของตัวแบบบิดเบี้ยวอีกด้วย ซึ่งจะเห็นเด่นชัดมากขึ้นเมื่อเลนส์เข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้น ทั้งสองปรากฏการณ์นี้เชื่อมโยงกันในระดับหนึ่งเนื่องจากความบิดเบี้ยวทำให้ตัวแบบระยะใกล้ดูใหญ่ขึ้น

สังเกตเห็นหรือไม่ว่าตัวถังของรถบรรทุกดูนูนออกมา นี่คือเอฟเฟ็กต์ความบิดเบี้ยว

 

แบบฝึกหัดที่ 2: ถ่ายภาพด้วยเส้นรวมสายตา

ฉากต่างๆ ที่เราพยายามถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้างมักจะมีเส้นตรงสามมิติในลักษณะของถนน ทางเดิน ระเบียง หรือสิ่งที่คล้ายกัน เราสามารถจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้เส้นเหล่านี้กลายเป็นเส้นนำสายตาที่บรรจบกันที่จุดนำสายตาได้ ซึ่งวิธีนี้ไม่เพียงช่วยสร้างมุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริงเท่านั้น แต่ยังเพิ่มมิติความลึกอีกด้วย

ลองใช้เลนส์รุ่นใดก็ได้ของคุณที่มีทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรม 24 มม. (15 มม. บนเลนส์ APS-C) เพื่อสร้างภาพที่มีจุดรวมสายตาในแบบของคุณเอง อย่าลืมตรวจดูให้แน่ใจว่ามองเห็นจุดรวมสายตาได้ชัดเจน!


ไม่เห็นจุดรวมสายตา

ในภาพนี้ จุดรวมสายตาที่สร้างขึ้นจากถนนมีรถยนต์ขวางอยู่ สายตาของเราหยุดอยู่ที่รถยนต์ ดังนั้นภาพจึงไม่มีมิติความลึก (เปอร์สเปคทีฟ) ดังที่ควรจะมี


มองเห็นจุดรวมสายตา

เพียงขยับตำแหน่งตัวของผมเล็กน้อยและตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีวัตถุขวางทางอยู่ ผมได้สร้างจุดรวมสายตาที่มีเส้นต่างๆ จากถนน รางรถไฟเหนือศีรษะ และทางหลวงมาบรรจบกัน ซึ่งช่วยเน้นเปอร์สเปคทีฟและเพิ่มมิติความลึก

 

แบบฝึกหัดที่ 3: ขยับเข้าใกล้ตัวแบบในโฟร์กราวด์มากขึ้น

สร้างจุดรวมสายตาอย่างที่คุณทำในแบบฝึกหัดที่ 2 แต่ในคราวนี้ให้ขยับเข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้น  เห็นการเปลี่ยนแปลงของภาพขณะที่คุณเข้าใกล้มากขึ้นหรือไม่

นี่คืออีกหนึ่ง “ความลับ” ในการใช้ประโยชน์จากมุมมองเปอร์สเปคทีฟมุมกว้างอย่างเต็มที่ โดยการจัดวางตัวแบบของคุณในโฟร์กราวด์และถ่ายภาพให้ใกล้ที่สุดเท่าที่จะทำได้ ลองเข้าไปใกล้กว่าที่คุณเคยทำตามปกติ และถ้าตัวคุณยังอยู่ภายในระยะโฟกัสใกล้ที่สุด ภาพที่ถ่ายออกมาจะดูน่าประทับใจมากยิ่งขึ้นโดยอัตโนมัติ


ไม่ดีนัก: ตัวแบบในโฟร์กราวด์อยู่ไกลเกินไป

ภาพนี้มีจุดรวมสายตา ดังนั้นจึงมีความลึกและเปอร์สเปคทีฟ แต่เอฟเฟ็กต์ไม่ชัดเจนมากนัก


ดี: ใกล้ตัวแบบ มุมมองเปอร์สเปคทีฟดูเกินจริง

ในภาพนี้ ผมขยับเข้าใกล้รั้วทางขวามากขึ้น รั้วที่มีป้าย “GATE No. 1” ดูใหญ่ขึ้นและใกล้มากขึ้น ซึ่งทำให้เอฟเฟ็กต์เปอร์สเปคทีฟชัดเจนยิ่งขึ้น


ดี: ใกล้จนมุมมองเปอร์สเปคทีฟดูเกินจริงเป็นอย่างมาก

เมื่อผมขยับไปทางขวาเข้าหารั้วเพื่อถ่ายภาพ รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากของป้าย “GATE No. 1” จะดูบิดเบี้ยว มีบางสถานการณ์ที่เราต้องการหลีกเลี่ยงความบิดเบี้ยวดังกล่าว เช่น ในการถ่ายภาพสินค้าเมื่อเราต้องการถ่ายภาพรูปทรงของสินค้าได้อย่างสมจริง อย่างไรก็ตาม เรายังสามารถใช้ความบิดเบี้ยวได้อย่างสร้างสรรค์เพื่อให้ภาพดูน่าประทับใจยิ่งขึ้น

 

เคล็ดลับระดับมือโปร: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าความบิดเบี้ยวไม่ได้ดูผิดธรรมชาติจนเกินไป

เอฟเฟ็กต์ความบิดเบี้ยวอาจทำให้ตัวแบบดูน่าสนใจมากขึ้น แต่ก็อาจทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติและผิดแปลกเช่นกัน ไม่มีกฎตายตัวว่าความบิดเบี้ยวระดับใดจึงจะถือว่ามากเกินไป แต่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละคนรวมทั้งเอฟเฟ็กต์ที่คุณพยายามสร้าง ลองดูภาพของคุณอย่างละเอียด หากคุณคิดว่าความบิดเบี้ยวทำให้ตัวแบบดูผิดแปลกเกินไป ให้ขยับถอยเลนส์ของคุณออกมาแล้วถ่ายภาพจนได้ผลลัพธ์ที่ยอมรับได้มากขึ้น

ความบิดเบี้ยวมุมกว้างทำให้รถโดยสารคันนี้ดูยาวอย่างผิดธรรมชาติ

 

ยกระดับแบบฝึกหัดไปอีกขั้น

ถึงตอนนี้คุณคงคุ้นเคยกับการใช้มุมมองเปอร์สเปคทีฟมุมกว้างแล้ว ลองทำสิ่งต่อไปนี้โดยใช้เลนส์ 24 มม.


1. ทำสิ่งตรงกันข้าม: สร้างภาพที่ไม่มีเอฟเฟ็กต์เปอร์สเปคทีฟแบบเห็นได้ชัด

คุณได้เรียนรู้วิธีระบุและเพิ่มเอฟเฟ็กต์เปอร์สเปคทีฟไปแล้ว คราวนี้ลองทำแบบย้อนขั้นตอน แล้วดูว่าคุณจะสามารถใช้ทางยาวโฟกัสที่เท่ากันเพื่อตั้งใจสร้างภาพสวยงามโดยที่ไม่มีเอฟเฟ็กต์นั้นได้อย่างไร ภาพเช่นนี้จะให้มุมมองเปอร์สเปคทีฟที่ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น แต่ยังคงให้ความรู้สึกถึงมุมกว้างที่ไม่เหมือนใคร

ภาพนี้ถ่ายที่ระดับสายตาโดยที่ตัวแบบทั้งหมดอยู่ค่อนข้างไกลออกไป และมีระยะชัดลึกที่กว้างพร้อมด้วยเปอร์สเปคทีฟที่ดูเป็นธรรมชาติ เนื่องจากมีองค์ประกอบในเฟรมน้อยมาก จึงอาจทำให้ภาพออกมาดูน่าเบื่อ ทว่าไม่เป็นเช่นนั้น เพราะมีนักดับเพลิงสองคนอยู่ที่ด้านล่างซ้ายซึ่งกลายเป็นจุดเด่นที่ทำให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจมากขึ้น


2. ถ่ายภาพตัวแบบที่เอียงเพื่อสร้างการเคลื่อนไหวบางส่วน

ตัวแบบส่วนใหญ่จะดูเป็นธรรมชาติมากขึ้นเมื่อถ่ายในแนวตรงและได้ระดับ อย่างไรก็ตาม หากคุณถ่ายภาพตัวแบบให้เอียงเล็กน้อยแทนที่จะถ่ายในแนวตรงด้วยเลนส์ ภาพอาจดูมีพลังมากขึ้น

ผมถ่ายภาพเสาเหล็กนี้ให้ได้มุมเฉียงจากกล้อง โดยที่เส้นต่างๆ อยู่ในแนวเอียงแทนที่จะอยู่ในแนวนอนอย่างสมบูรณ์แบบ ทำให้เพิ่มเปอร์สเปคทีฟบางส่วนและราวกับเสาเหล็กดูสูงขึ้นไปบนฟ้ายิ่งขึ้น


---

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้เลนส์มุมกว้างได้ที่:
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 1: เอฟเฟ็กต์ภาพที่ได้จากเลนส์มุมกว้าง
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 2: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับเลนส์มุมกว้าง
เทคนิคการใช้เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์: เส้นแสงจากมุมมองใหม่

หากคุณสนุกกับการถ่ายภาพที่ระยะ 24 มม. คุณสามารถสร้างเปอร์สเปคทีฟที่ชัดเจนขึ้นหากถ่ายด้วยมุมกว้างยิ่งขึ้น ลองพิจารณาเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์บางรุ่นต่อไปนี้

สำหรับระบบ EOS R:
RF16mm f/2.8 STM (เลนส์เดี่ยวราคาประหยัด)
RF14-35mm f/4L IS USM (เลนส์ซูมน้ำหนักเบาระดับมืออาชีพ)
RF15-35mm f/2.8L IS USM (เลนส์ซูมรูรับแสงกว้างระดับมืออาชีพ)

สำหรับกล้อง DSLR ฟูลเฟรม:
EF17-40mm f/4L USM (ฉบับภาษาอังกฤษ) (เลนส์เดี่ยวราคาประหยัด)
EF16-35mm f/4L IS USM (เลนส์ซูมน้ำหนักเบาระดับมืออาชีพ)
EF16-35mm f/2.8L III USM (เลนส์ซูมรูรับแสงกว้างระดับมืออาชีพ)

สำหรับกล้อง APS-C:
EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM
EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM (มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว)
EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM (สำหรับกล้องมิเรอร์เลส EOS M)

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Masatsugu Koorikawa

เกิดในเมืองนาระ นอกจากการถ่ายภาพพอร์ตเทรตและสินค้าให้กับนิตยสารกล้องและเพลงแล้ว Koorikawa ยังมีผลงานที่ใช้ริมฝั่งบริเวณอ่าวโตเกียวเป็นธีมอีกด้วย

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา