ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด สิ่งที่ช่างภาพพูดถึง เลนส์ RF- Part

บทวิจารณ์เลนส์: เลนส์ RF14-35mm f/4L IS USM กับการถ่ายภาพทิวทัศน์

2021-10-13
0
1.84 k
ในบทความนี้:

เลนส์ซูม f/4L ของ Canon สร้างมาเพื่อมอบความสะดวกสบายในการพกพาควบคู่กับประสิทธิภาพระดับมืออาชีพ โดยเฉพาะเลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์ RF14-35mm f/4L IS USM ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และความสามารถรอบด้าน เป็นเลนส์ที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ซึ่งรวมไปถึงเส้นทางขรุขระหรือการเดินป่าชมธรรมชาติ Takashi Karaki ได้ทดลองใช้เลนส์รุ่นนี้และจะมาบอกเล่าความประทับใจให้เราทราบกัน (เรื่องโดย: Takashi Karaki, Digital Camera Magazine)

1) ขนาดและน้ำหนัก: ความสะดวกในการพกพาที่ดีเยี่ยม
2) ระยะสุดฝั่งมุมกว้าง 14 มม.: มุมรับภาพแนวทแยงใหญ่ถึง 114°
3) ระยะโฟกัสใกล้สุด 20 ซม.: เพิ่มโอกาสในการถ่ายภาพเชิงสร้างสรรค์
4) คุณภาพของภาพ: สีสันสวยงามแม้ในฉากที่มีแสงย้อนจากด้านหลัง
5) ระบบป้องกันภาพสั่นไหว: ถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งได้อย่างมั่นคงแม้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 2 วินาที

 

ขนาดและน้ำหนัก: ความสะดวกในการพกพาที่ดีเยี่ยม

ครั้งแรกที่ผมถือ RF14-35mm f/4L IS USM ไว้ในมือ ผมรู้สึกทึ่งกับความเบาของเลนส์รุ่นนี้ การนำเมาท์ RF มาใช้ทำให้ Canon มีความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในการออกแบบเลนส์ขนาดกะทัดรัดน้ำหนักเบา และเลนส์รุ่นนี้ได้ประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด สามารถเก็บใส่กระเป๋ากล้องใบเล็กได้อย่างง่ายดาย


ความกะทัดรัดที่รู้สึกได้แม้ในระหว่างการถ่ายภาพ

*ตามขนาดที่วัดได้

เลนส์ซูม f/4L ของ Canon สร้างขึ้นเพื่อความสะดวกสบายในการพกพา เสริมด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่และระยะแบ็คโฟกัสที่สั้นของเมาท์ RF เลนส์ RF14-35mm f/4L IS USM สั้นลงราว 13 มม. และเบาขึ้นถึง 75 กรัมเมื่อเทียบกับ EF16-35mm f/4L IS USM ดังที่เห็นได้ในภาพด้านบนนี้ เมื่อเลนส์ยืดออกสำหรับการถ่ายภาพ ความยาวจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย

 

ระยะโฟกัส: ความกว้างขึ้น 2 มม. หมายความว่ามีมุมรับภาพแนวทแยงใหญ่ถึง 114°

สิ่งแรกที่ช่างภาพส่วนใหญ่จะสังเกตเห็นคือระยะสุดฝั่งมุมกว้าง 14 มม. ของ RF14-35mm f/4L IS USM ที่กว้างกว่าเลนส์เทียบเท่าในเวอร์ชันเมาท์ EF อย่าง EF16-35mm f/4L IS USM ถึง 2 มม.

สำหรับเลนส์มาตรฐานหรือเลนส์เทเลโฟโต้ ระยะที่เพิ่มขึ้น 2 มม. ไม่ได้สร้างความแตกต่างมากนัก แต่สำหรับเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์นั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก! เพราะนอกจากจะเป็นความสำเร็จด้านเทคนิคแล้ว คุณสมบัตินี้เพิ่มโอกาสในการถ่ายภาพ สำหรับช่างภาพอย่างเรา โดยที่เราสามารถใส่ฉากเข้าไปในเฟรมได้มากขึ้น และยังมีประโยชน์มากสำหรับสถานที่ที่คุณต้องการถ่ายให้มีโฟร์กราวด์มากขึ้น

การถ่ายภาพที่ระยะ 14 มม. ทำให้ได้มุมรับภาพแนวทแยง 114° ซึ่งกว้างขึ้นราว 4° เมื่อเทียบกับระยะสุดฝั่ง 15 มม. ของRF15-35mm f/2.8L IS USM และกว้างขึ้น 7° เมื่อเทียบกับระยะสุดฝั่งมุมกว้าง 16 มม. ของเลนส์ซูมมุมกว้าง EF16-35mm

ภาพถ่ายสองภาพนี้ถูกจัดวางเพื่อให้แน่ใจว่ามีองค์ประกอบภาพเหมือนกัน ภาพถ่้ายที่ระยะ 14 มม. ดูเหมือนมีมิติมากกว่าใช่หรือไม่ นั่นเป็นเพราะว่าสามารถนำมุมที่กว้างขึ้นมาใช้เพิ่มเปอร์สเป็คทีฟ ซึ่งจะสร้างมิติความลึกได้มากขึ้น


EOS R5/ RF14-35mm f/4L IS USM/ FL: 14 มม./ Manual exposure (f/8, 0.8 วินาที)/ ISO 200/ WB: 4,500K

เมื่อกระแสน้ำตกไหลเบา วิธีเดียวที่จะถ่ายภาพให้น่าประทับใจและดูทรงพลังคือ การเข้าไปใกล้มากขึ้น หากใช้เลนส์ที่แคบกว่านี้ วิธีนี้มักจะทำให้ใบไม้ด้านข้างและแบ็คกราวด์หลุดออกไปจากองค์ประกอบภาพ แต่ระยะสุดฝั่งที่ 14 มม. ช่วยให้ผมสามารถรวมตัวแบบเหล่านี้และพรรณไม้สีเขียวมากมายไว้ในภาพได้

 

ระยะโฟกัสใกล้สุด 20 ซม.: คุณสมบัติอเนกประสงค์ร่วมด้วยเปอร์สเป็คทีฟมุมกว้าง

โดยส่วนตัวแล้ว คุณสมบัติที่ผมเห็นว่าน่าสนใจของเลนส์นี้คือระยะโฟกัสใกล้สุด ซึ่งในขณะนี้อยู่ที่ 20 ซม. เท่านั้น ทำให้ถ่ายทอดอารมณ์ภาพได้อย่างหลากหลายยิ่งขึ้นโดยใช้เพียงเลนส์เดียว ไม่เพียงแต่สามารถใช้ถ่ายภาพโคลสอัพเหมือนใช้เลนส์มาโครเท่านั้น แต่ยังสามารถถ่ายตัวแบบในโฟร์กราวด์ได้ใกล้ขึ้นด้วยระยะสุดฝั่งมุมกว้าง 14 มม. ที่ช่วยสร้างเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟที่คมชัดยิ่งขึ้น นับว่าเป็นประสิทธิภาพที่คุ้มค่ามาก!


เหมือนกับเลนส์มาโคร

EOS R5/ RF14-35mm f/4L IS USM/ FL: 35 มม./ Manual exposure (f/4, 1/1000 วินาที)/ ISO 500/ WB: 4,500K

การถ่ายภาพที่ระยะโฟกัสใกล้สุดด้วยระยะสุดฝั่งยาว 35 มม. ทำให้ผมได้สนุกกับการถ่ายภาพโคลสอัพของหยดน้ำบนใบไม้เหล่านี้ เรียกได้ว่าแทบจะเหมือนกับการถ่ายภาพด้วยเลนส์มาโคร ผมรู้สึกทึ่งกับความคมชัด ความชัดเจน และความมีมิติของหยดน้ำ


เพิ่มเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟ

EOS R5/ RF14-35mm f/4L IS USM/ FL: 14mm/ Manual exposure (f/4, 1/13 วินาที)/ ISO 1600/ WB: อัตโนมัติ

ต้นไม้เก่าแก่ดูมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครที่ผมบังเอิญพบในป่า ผมไม่ได้ต้องการแค่ถ่ายภาพต้นไม้แต่ยังต้องการแสดงให้เห็นบรรยากาศโดยรอบด้วย ผมจึงตั้งค่าเลนส์ไว้ที่ระยะสุดฝั่งมุมกว้าง 14 มม. และขยับเข้าไปใกล้ขึ้นเพื่อให้อยู่ในระยะโฟกัสใกล้สุด ต้นไม้ดูน่าประทับใจมากยิ่งขึ้นเมื่อถ่ายภาพด้วยวิธีนี้ รวมทั้งเหล่าพรรณไม้และภูมิทัศน์โดยรอบช่วยเสริมให้ต้นไม้นี้ดูโดดเด่นยิ่งขึ้น

 

คุณภาพของภาพ: สีสันสวยงามแม้ในฉากที่มีแสงย้อนจากด้านหลัง

แม้ว่า RF14-35mm f/4L IS USM อาจมีขนาดเล็กกว่าและเบากว่าเลนส์ในเวอร์ชัน EF แต่การออกแบบออพติคอลของเลนส์รุ่นนี้พยายามปรับปรุงคุณภาพของภาพอย่างเต็มที่ โครงสร้าง 16 ชิ้นเลนส์ใน 12 กลุ่มประกอบด้วยเลนส์ UD (ฉบับภาษาอังกฤษ) 2 ชิ้น เลนส์ UD แก้ความคลาดทรงกลม (ฉบับภาษาอังกฤษ) 1 ชิ้น และเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมแบบขึ้นรูปด้วยแก้ว 2 ชิ้น ซึ่งแก้ไขความคลาดเคลื่อนต่างๆ ที่ทำให้คุณภาพของภาพลดลง เพื่อให้แน่ใจว่าภาพมีความชัดเจนไปจนถึงมุมภาพ

เช่นเดียวกับเลนส์ในเวอร์ชันเมาท์ EF มีการใช้การเคลือบพิเศษสองแบบอย่างการเคลือบแบบ ASC (Air Sphere Coating ) และการเคลือบแบบ SWC (Subwavelength Structure Coating) (ฉบับภาษาอังกฤษ) เพื่อลดแสงแฟลร์และแสงหลอก ซึ่งจริงๆ แล้วผมแทบจะไม่เคยพบปัญหาเหล่านี้เวลาถ่ายภาพด้วยเลนส์นี้ อันที่จริง เลนส์ถ่ายทอดสีสันได้อย่างสวยงามแม้ในขณะที่ผมถ่ายแบบย้อนแสง ซึ่งเป็นคุณภาพที่ช่างภาพทิวทัศน์ไม่ควรมองข้าม

EOS R5/ RF14-35mm f/4L IS USM/ FL: 14mm/ Manual exposure (f/4, 1/100 วินาที)/ ISO 1600/ WB: อัตโนมัติ

ผมใช้จอ LCD แบบปรับหมุนได้ของกล้อง EOS R5 เพื่อถ่ายภาพนี้โดยให้กล้องอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำเรี่ยพื้นและเล็งกล้องขึ้นฟ้า ที่ระยะ 14 มม. ลำต้นของต้นไม้จะสร้างเส้นนำไปยังกึ่งกลางของภาพ

ค้นพบวิธีอื่นๆ ที่คุณสามารถใช้ประโยชน์จากจอแบบปรับหมุนได้ของกล้องให้เต็มที่ได้ที่นี่

 

ระบบป้องกันภาพสั่นไหว: ถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งได้อย่างมั่นคงแม้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ใกล้ 2 วินาที

RF14-35mm f/4L IS USM มาพร้อมกับ IS แบบออพติคอล (ระบบป้องกันภาพสั่นไหวในเลนส์) ที่ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีของ Canon เมื่อใช้งานร่วมกับ IS ในตัวกล้องของ EOS R5 (และ EOS R6) คุณจะสามารถป้องกันภาพสั่นไหวได้เทียบเท่าความเร็วชัตเตอร์สูงสุด 7 สต็อปเมื่อถ่ายภาพนิ่ง

หากพิจารณาดู จะพบว่าคุณสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้ต่ำถึงราว 2 วินาทีขณะถ่ายภาพมุมกว้างอัลตร้าไวด์ ทำให้ไม่ต้องใช้ขาตั้งกล้องเวลาถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยอย่างในสถานที่และช่วงเวลามืดๆ เช่น พลบค่ำ จึงเพิ่มโอกาสในการถือกล้องถ่ายภาพด้วยมือได้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
ฉาก 3 ประเภทที่ใช้ประโยชน์จาก IS ในตัวกล้องได้เต็มที่
ทำไมกล้อง EOS R5 ถึงเป็นกล้องในอุดมคติสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ของผม


EOS R5/ RF14-35mm f/4L IS USM/ FL: 35 มม./ Manual exposure (f/7.1, 2 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

ถ่ายที่ระยะ 35 มม. โดยเปิดรับแสง 2 วินาที ภาพนี้เป็นภาพที่แสดงคุณภาพของภาพอันยอดเยี่ยมอย่างที่คุณคาดหวังจากเลนส์ซีรีส์ L ผมเลือกถ่ายภาพในสภาพแสงที่มีความเปรียบต่างสูงซึ่งทำให้น้ำตกและใบไม้ดูลอยขึ้นมาจากพื้นหลังสีดำ เลนส์นี้ถ่ายทอดรายละเอียดและความเปรียบต่างได้อย่างสวยงาม ทำให้ได้ภาพที่ดูน่าประทับใจ

 

EOS R5 + RF14-35mm f/4L IS USM

 

ข้อมูลจำเพาะที่สำคัญ

โครงสร้างเลนส์: 16 ชิ้นเลนส์ใน 12 กลุ่ม
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 0.2 ม.
กำลังขยายสูงสุด: 0.38 เท่า
จำนวนม่านรูรับแสง: 9 (กลีบ)
เส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์: 77 มม.
ขนาด: φ84.1 x 99.8 มม. (ที่ทางยาวโฟกัส 22 มม.)
น้ำหนัก: ประมาณ 540 ก.

 

โครงสร้างของเลนส์

A: ชุด IS
B: เลนส์แก้ความคลาดทรงกลม
C: เลนส์ UD
D: ชิ้นเลนส์ UD แก้ความคลาดทรงกลม
E: SWC
F: ASC

 

เลนส์ฮูด: EW-83P (มีให้ในชุด)

 

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่คุณสามารถทำได้ด้วยเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ใน:
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 1: เอฟเฟ็กต์ภาพที่ได้จากเลนส์มุมกว้าง
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 2: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับเลนส์มุมกว้าง
วิธีการถ่ายภาพนี้: การเพิ่มความพิเศษให้กับภาพทิวทัศน์ในป่าอันกว้างใหญ่
โอเวอร์-อันเดอร์: แนวคิดการถ่ายภาพใต้น้ำแบบแยกส่วน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ RF ได้ที่นี่:
In Focus: RF Lens

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Takashi Karaki

หลังจากผ่านประสบการณ์การเป็นโค้ชกีฬา ต่อด้วยการทำงานในแวดวงการผลิตนิตยสารและบรรณาธิการมาเป็นเวลา 10 ปี Karaki ก็ย้ายไปยังเมืองโยนาโงะในจังหวัดท็อตโตริ ซึ่งเขาได้กลายเป็นที่รู้จักจากผลงานการถ่ายภาพทิวทัศน์ในภูมิภาคซันอินของญี่ปุ่น ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์ใน จุลสาร Amazing Village ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับหมู่บ้านสวยๆ ในญี่ปุ่นที่จัดทำขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือ CANON × Discover Japan ในปี 2017 และภาพทะเลหมอกที่ช่องเขาอาเคชิในจังหวัดท็อตโตริก็เป็นหนึ่งใน 12 ภาพที่ได้รับคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (JNTO) ให้เป็นตัวแทนของญี่ปุ่น

Instagram: @karakky0918

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา