ยามเช้าหลังช่วงบ่ายที่ชุ่มชื้นหรือหลังจากคืนที่มีฝนตก หยดน้ำค้างที่เกาะตามต้นไม้ใบหญ้าเป็นภาพงดงามชวนฝัน ซึ่งเมื่อถ่ายทอดออกมาเป็นวงกลมโบเก้จะเปลี่ยนฉากนั้นๆ ให้กลายเป็นโลกแฟนตาซีอันน่ามหัศจรรย์ และต่อไปนี้คือวิธีสร้างเอฟเฟ็กต์ดังกล่าวนี้ (เรื่องโดย: Haruhi, Digital Camera Magazine)
EOS 5D Mark IV/ EF100mm f/2.8L Macro IS USM/ Aperture-priority AE (f/3.5, 1/1000 วินาที, EV +1.0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
ทบทวนความจำ: วิธีการสร้างวงกลมโบเก้
วงกลมโบเก้จะเกิดขึ้นเมื่อคุณใช้รูรับแสงที่กว้าง (ค่า f ต่ำ) ในการถ่ายภาพจุดแสงเล็กๆ (แหล่งกำเนิดแสงที่เป็นจุด) เพื่อให้อยู่นอกโฟกัส เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบน้ำค้างและหยดน้ำ จะทำให้หยดน้ำเหล่านี้เปล่งประกายและกลายเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่เป็นจุดด้วย
แหล่งกำเนิดแสงที่เป็นจุดอื่นๆ:
- แสงที่ส่องลอดผ่านใบไม้และกิ่งไม้
- แสงอาทิตย์ที่สะท้อนบนผิวน้ำ
- หลอดไฟและไฟประดับตกแต่ง
เคล็ดลับ: เมื่อใช้เลนส์เทเลโฟโต้ จะควบคุมความชัดของโบเก้ (ขนาดของวงกลมโบเก้) ได้ง่ายกว่า สำหรับภาพหลัก ผมใช้เลนส์ EF100mm f/2.8L Macro IS USM ซึ่งเป็นเลนส์มาโคร 100 มม.
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการถ่ายภาพวงกลมโบเก้ที่เข้าใจยาก!
ส่วนใดที่ควรโฟกัสเพื่อให้ได้ภาพถ่ายวงกลมโบเก้ที่สวยงาม
ขั้นตอนที่ 1: ถ่ายภาพในยามเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
ในยามเช้าที่มีอากาศเย็นสบายหลังบ่ายอันชุ่มชื้นมักจะพบเห็นน้ำค้างได้มากกว่า มิฉะนั้น ควรมองหาหยดน้ำที่เกาะตามใบหญ้าและดอกไม้ในช่วงเช้าหลังจากคืนฝนตก หยดน้ำเหล่านี้จะเริ่มระเหยทันทีที่พระอาทิตย์ขึ้น จึงต้องรีบถ่ายตั้งแต่เช้าตรู่ ผมถ่ายภาพนี้ตอนประมาณ 6 โมงเช้า ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
หากไปสายก็จะไม่เหลือน้ำค้างให้สร้างวงกลมโบเก้แล้ว!
ขั้นตอนที่ 2: ใช้ทางยาวโฟกัสยาวและค่า f ที่ใกล้เคียงค่ารูรับแสงกว้างสุด
มองหามุมที่น้ำค้างส่องประกาย ยิ่งรูรับแสงกว้างแค่ไหน วงกลมโบเก้ก็จะยิ่งมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่านั้น แต่ค่ารูรับแสงกว้างสุดไม่ได้ดีที่สุดเสมอไป เพราะปกติคุณจะได้รูปทรงกลมที่ชัดกว่าหากคุณลดค่ารูรับแสงกว้างสุดลงมาเล็กน้อย ในภาพนี้ ผมใช้เลนส์มาโคร 100 มม. ที่ f/3.5 ซึ่งแคบกว่าค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ f/2.8 เล็กน้อย การใช้ทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้ยังทำให้ได้วงกลมโบเก้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเทียบกับการใช้มุมกว้างหรือทางยาวโฟกัสมาตรฐาน
f/5.6
การใช้ค่ารูรับแสงแคบจะทำให้ได้วงกลมโบเก้ที่มีขนาดเล็ก
ขั้นตอนที่ 3: เสริมให้ภาพดูเปล่งประกายยิ่งขึ้นด้วยการชดเชยแสงเป็นบวก
ในตอนแรกผมถ่ายภาพนี้โดยไม่มีการชดเชยแสง (ดูภาพแรกด้านล่าง) วงกลมโบเก้ดูสว่างเพราะถ่ายแบบย้อนแสง แต่ผมรู้สึกว่าใบหญ้ายังดูมืดทึมไปเล็กน้อย ผมอยากให้ภาพสื่อถึงความมีชีวิตชีวาของยามเช้าอันสดชื่น ซึ่งเป็นการเริ่มต้นวันใหม่ ผมจึงทำให้ภาพทั้งภาพสว่างขึ้นด้วยการปรับค่าชดเชยแสงขึ้นหนึ่งสต็อปเป็น EV+1.0
EV ±0
EV +1.0
หากต้องการเรียนรู้วิธีอื่นๆ ในการถ่ายภาพหยดน้ำค้างและหยดน้ำ มาอ่านบทความต่อไปนี้เพื่อศึกษาไอเดียเพิ่มเติมและบทเรียนทีละขั้นตอน:
การถ่ายภาพมาโคร: สร้างแบ็คกราวด์ไล่เฉดสีที่งดงามด้วยเลนส์ f/2.8
วิธีถ่ายภาพหยดน้ำให้มีแสงส่องประกาย!
เทคนิคการใช้แฟลชติดกล้อง #6: วงกลมโบเก้ที่น่ามหัศจรรย์ในวันฝนตก
ดอกไม้ที่สะท้อนบนหยดน้ำ
เทคนิคการใช้เลนส์มาโคร: ถ่ายภาพแสงส่องประกายของหยดน้ำให้สวยแจ่ม
ไม่ว่าต้องการถ่ายภาพโบเก้นุ่มนวลละมุนละไมหรือโบเก้แบบฟองสบู่ที่ไม่เหมือนใคร RF100mm f/2.8L Macro IS USM มีวงแหวนควบคุมความคลาดทรงกลมที่ช่วยให้คุณปรับเปลี่ยนลุคของโบเก้ได้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่:
RF100mm f/2.8L Macro IS USM: เลนส์มาโคร 1.4 เท่าที่สามารถปรับลักษณะของโบเก้ได้
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
สิ่งที่เชื่อมโยงภาพถ่ายของช่างภาพทิวทัศน์ Haruhi เข้าด้วยกันคือ ธีมแห่ง “การเยียวยา” สำหรับช่างภาพผู้นี้ ฉากอันงดงามแต่ละฉากที่เขาได้พบเจอมีเพียงหนึ่งเดียวและหาดูที่ไหนไม่ได้อีก เขาจึงเก็บภาพไว้ด้วยหัวใจที่เต็มไปด้วยความรู้สึกขอบคุณแต่ยังคง “อิสระเสรีและไร้รูปแบบดั่งสายลม” หนึ่งในผลงานตีพิมพ์ล่าสุดคือคอลเลคชั่นภาพถ่าย Iyashi no Shizuku [หยดน้ำแห่งการเยียวยา] (Fukei Shashin Shuppan)
Twitter:@mu_haruhi