ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด สิ่งที่ช่างภาพพูดถึง เลนส์ RF- Part

บทวิจารณ์เลนส์: RF50mm f/1.8 STM ในการถ่ายภาพแนวสตรีท

2021-03-17
1
1.72 k
ในบทความนี้:

เลนส์ 50 มม. ความไวสูงประสิทธิภาพดีและพกพาสะดวกจะให้ทั้งความคล่องตัวและความสามารถรอบด้านที่คุณต้องการขณะลองสำรวจมุมต่างๆ บนท้องถนน ซึ่งในขณะนี้ มีรุ่นปกติสำหรับ RF เมาท์ให้คุณเลือกใช้แล้ว นั่นก็คือเลนส์ RF50mm f/1.8 STM Kazuyuki Okajima ช่างภาพแนวสตรีทได้นำเลนส์ไปทดลองใช้กับกล้อง EOS R6 และแบ่งปันความประทับใจให้เราฟัง (เรื่องโดย: Kazuyuki Okajima, Digital Camera Magazine)

 

เลนส์เดี่ยวมาตรฐานความเร็วสูงสารพัดประโยชน์ที่สามารถถ่ายภาพระยะใกล้ได้

หากคุณถ่ายภาพด้วยเลนส์ของ Canon มาได้ระยะหนึ่งแล้ว คุณอาจจะคุ้นเคยกับเลนส์ EF50mm f/1.8 ของ Canon เป็นอย่างดี และอาจจะเป็นเลนส์รุ่นแรกที่คุณเป็นเจ้าของด้วยซ้ำหากไม่นับเลนส์คิท! ด้วยขนาดที่เล็ก ราคาไม่แพง และคุณภาพของภาพที่สูง เลนส์นี้จึงเคยและยังคงเป็นเลนส์ยอดนิยมรุ่นหนึ่งของ Canon ซึ่ง EF50mm f/1.8 STM นั้นเป็นเลนส์รุ่นที่สาม ระบบมิเรอร์เลสของ EOS R ในปัจจุบันมีเวอร์ชันเมาท์ RF ปกติแล้ว นั่นคือเลนส์ RF50mm f/1.8 STM ซึ่งเป็นตัวเลือกสำหรับเลนส์เดี่ยวมาตรฐานขนาดกะทัดรัดที่มีราคาเป็นมิตร ต่างจาก RF50mm f/1.2L USM เลนส์ระดับมืออาชีพที่มีขนาดใหญ่กว่า


ความประทับใจแรก: น้ำหนักเบาและมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม

ในการทดลองใช้ครั้งนี้ ผมใช้เลนส์กับกล้อง EOS R6 สิ่งแรกที่ทำให้ผมประทับใจคือน้ำหนักที่เบาของเลนส์ ตามมาด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงแหวนเมาท์สีเงินที่ส่วนฐานซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเลนส์ RF

ตัวเลนส์เข้ากันได้ดีกับกล้องในซีรีย์ EOS R พกพาได้สะดวกสำหรับการเดินเล่นและมีขนาดเล็กพอที่จะใส่กระเป๋าใบเล็กๆ ได้ และเมื่อใช้เลนส์นี้ ผมรู้สึกว่าได้สัมผัสกับความคล่องตัวของกล้องมิเรอร์เลสอย่างแท้จริง ตลอดระยะเวลาที่ผมใช้เลนส์ ผมมักจะพบว่าตนเองถ่ายภาพได้ทั้งวันโดยใช้เพียงแค่เลนส์ RF50mm f/1.8 STM เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่สะดวกสบายมาก!

 

คุณสมบัติเด่นข้อที่ 1: โบเก้นุ่มนวลที่ f/1.8

แยกแบ็คกราวด์ออกได้ง่ายเพื่อให้ตัวแบบของคุณโดดเด่น

ผมชอบเลนส์เดี่ยวมาตรฐานมากกว่าเลนส์ซูมมาตรฐานเนื่องจากผมมักจะอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องถ่ายภาพที่ f/1.4 หรือ f/2 รูรับแสงกว้างสุดที่กว้างกว่าทำให้ผมสามารถควบคุมระยะชัดได้ดีขึ้น และยังทำให้ภาพเกิดระยะชัดลึกและความมีมิติได้ง่ายกว่าด้วย

ที่ f/1.8 รูรับแสงกว้างสุดของเลนส์ RF50mm f/1.8 STM จะกว้างกว่า f/2.8 ของเลนส์ซูมมาตรฐานความไวสูงอยู่หนึ่งสต็อป ซึ่งไม่ใช่แค่โบเก้เท่านั้นที่เพิ่มขึ้นหนึ่งสต็อป แต่ความเร็วชัตเตอร์ก็เพิ่มขึ้นหนึ่งสต็อปด้วยเช่นกัน จึงแยกตัวแบบออกจากแบ็คกราวด์และโฟร์กราวด์ได้ง่ายขึ้น และยังทำให้องค์ประกอบที่คุณต้องการให้เด่นออกมามีความคมชัดมากขึ้นด้วย

EOS R6/ Aperture-priority AE (f/1.8, 1/800 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ตัวแบบนี้ค่อนข้างอยู่ห่างจากผม แต่ผมก็ยังได้โบเก้ชัดเจนในแบ็คกราวด์เมื่อใช้รูรับแสงกว้างสุดที่ f/1.8 เลนส์สามารถแยกตัวแบบออกจากแบ็คกราวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและนำสายตาของผู้ชมไปยังดอกไม้


พื้นที่ในกรอบสีแดงที่ถูกครอปคือส่วนที่ผมจับโฟกัสเอาไว้ พื้นที่โดยรอบดอกไม้มีความเบลอที่นุ่มนวลและสม่ำเสมอ เลนส์ไม่เพียงแต่สามารถแสดงความมีมิติของฉากได้อย่างสวยงามเท่านั้น แต่ยังทำให้เห็นผิวสัมผัสอันนุ่มนวลของกลีบดอกไม้ด้วย

 

คุณสมบัติเด่นข้อที่ 2: ความคล่องตัว

ให้อิสระในการถ่ายภาพจากหลากหลายมุม

ด้วยขนาดเล็กกะทัดรัดและน้ำหนักที่เบา เลนส์ RF50mm f/1.8 STM จึงช่วยให้คุณเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว เหมาะสำหรับการขยับไปมาเมื่อต้องหามุมและองค์ประกอบภาพใหม่ๆ

นอกจากยาวโฟกัสมาตรฐาน 50 มม. จะสามารถถ่ายภาพที่มีมุมมองใกล้เคียงกับสายตามนุษย์ได้แล้ว คุณยังสามารถถ่ายภาพให้ดูคล้ายกับภาพที่ได้จากเลนส์ต่อไปนี้ด้วย…
- เลนส์มุมกว้าง: เมื่อทำให้เกิดระยะห่างระหว่างตัวคุณและตัวแบบ และถ่ายภาพจากมุมที่ช่วยเพิ่มเอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริง
- เลนส์เทเลโฟโต้: เมื่อคุณขยับเข้าใกล้ตัวแบบ เอามุมมองแบบเปอร์สเปคทีฟออกไป และจำกัดปริมาณข้อมูลในภายในเฟรมเพื่อทำให้องค์ประกอบภาพมีความเรียบง่าย


ภาพแบบเทเลโฟโต้

EOS R6/ Program AE (f/8, 1/800 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ 

หากต้องการภาพที่ดูเหมือนภาพเทเลโฟโต้ ให้เข้าใกล้บางส่วนของตัวแบบแทนที่จะถ่ายภาพตัวแบบทั้งหมด เอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริงใดๆ จะทำให้ภาพดูเหมือนถูกถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการเอียงกล้องขึ้นด้านบน และให้อยู่ในแนวตรงมากที่สุด


EOS R6/ Program AE (f/10, 1/800 วินาที, EV -1.0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ 

เมื่อทำให้แบ็คกราวด์เบลอและเข้าใกล้ตัวแบบมากพอที่จะทำให้องค์ประกอบที่ไม่ต้องการอยู่นอกเฟรม ผมจึงสามารถทำให้องค์ประกอบภาพมีความเรียบง่ายขึ้นและสร้างภาพครอปในระยะใกล้ให้เหมือนกับภาพที่ผมจะได้จากทางยาวโฟกัสที่ยาวกว่า หากต้องการให้มุมรับภาพแคบลงซึ่งสามารถดึงความสนใจไปยังตัวแบบที่อยู่ไกลได้มากขึ้น ให้ถ่ายภาพในแนวตั้ง


ภาพแบบมุมกว้าง

EOS R6/ Program AE (f/5.6, 1/320 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

หากคุณให้ความสนใจกับการจัดเฟรมภาพไม่เพียงพอ ฉากที่อยู่ไกลอาจดูรกตา แม้จะใช้เลนส์มาตรฐานก็ตาม! สำหรับภาพนี้ ผมใช้เส้นแนวทแยงในฉากเพื่อดึงองค์ประกอบต่างๆ เข้าหากันและสร้างมุมมองแบบเปอร์สเปคทีฟ ผลที่ได้คือภาพที่ดูเหมือนถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (3): ดึงความสามารถสูงสุดของเลนส์มาใช้

 

ออพติคที่มีความคมชัด

นอกจากจะมีออพติคที่เป็นที่ยอมรับเช่นเดียวกับเลนส์ EF50mm f/1.8 STM แล้ว RF50mm f/1.8 STM ยังมีเส้นผ่านศูนย์กลางเมาท์ขนาดใหญ่และแบ็คโฟกัสที่สั้นของเลนส์ RF ด้วย รวมทั้งเพิ่มชิ้นเลนส์แก้ความคลาด PMo ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพออพติคให้ดียิ่งขึ้น ภาพจึงให้ความคมชัดที่น่าพอใจจนถึงขอบภาพและสามารถแก้ไขความคลาดของเลนส์ได้เป็นอย่างดี ทำให้ได้โบเก้ที่สวยงามไร้ที่ติที่รูรับแสงกว้างสุด f/1.8 ผมไม่เห็นแสงแฟลร์และแสงหลอกที่ชัดเจนเลยแม้มีแสงจ้าจากด้านหลัง

 

คุณสมบัติเด่นข้อที่ 3: ภาพที่คมชัด

รายละเอียดที่คมชัดกว่าแม้ใช้รูรับแสงที่แคบกว่ารูรับแสงกว้างสุดเพียงเล็กน้อย

เลนส์รุ่นนี้ให้โบเก้ที่สวยงามเมื่อใช้รูรับแสงกว้างสุด แต่สำหรับในสถานการณ์ที่คุณต้องการให้ฉากและตัวแบบดูคมชัดมากขึ้น คุณก็สามารถปรับรูรับแสงให้แคบลงได้ จะปรับให้แคบลงเท่าใดขึ้นอยู่กับระยะในการถ่ายภาพและระยะห่างจากแบ็คกราวด์ แต่เลนส์นี้มีความคมชัดพออยู่แล้วแม้คุณจะไม่ปรับรูรับแสงให้แคบลงเกินไป

หากคุณเปลี่ยนค่ารูรับแสงบ่อย สามารถกำหนดให้วงแหวนควบคุมเป็นทางลัดได้ และยังลดการเบลอที่เกิดจากการกระจายแสงได้ด้วย Digital Lens Optimizer ดังนั้น คุณจึงสามารถใช้โฟกัสชัดลึกได้ด้วยรูรับแสงแคบสุด f/22 ในสถานการณ์ที่จำเป็น


f/4.5

EOS R6/ Aperture-priority AE (f/4.5, 1/160 วินาที, EV -1.0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ใบไม้บนต้นไม้ต้นนี้เพิ่งจะเริ่มเปลี่ยนสี ซึ่งเป็นสัญญาณแห่งการเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ผมปรับรูรับแสงให้แคบลงเล็กน้อยเพื่อให้ส่วนที่ได้รับแสงแดดดูคมชัดขึ้น ยังคงมีโบเก้อยู่บ้างในองค์ประกอบส่วนที่อยู่ตรงข้ามและด้านหลังใบไม้ แต่ก็เป็นการช่วยสร้างความลึกในภาพ


f/9

หากคุณไม่ได้อยู่ห่างจากตัวแบบจนเกินไปนัก คุณสามารถใช้โฟกัสชัดลึกได้โดยไม่ต้องปรับรูรับแสงให้แคบลงมากเกินไป และหากมีแสงมาก โหมด Program AE จะเลือกรูรับแสงที่แคบลงเพื่อให้ฉากดูมีความคมชัดโดยอัตโนมัติ

 

คุณสมบัติเด่นข้อที่ 4: ระยะโฟกัสใกล้สุด 30 ซม.

ถ่ายภาพตัวแบบขนาดเล็กในระยะใกล้ให้เต็มเฟรมภาพยิ่งขึ้น

แม้ภาพระยะใกล้ของเลนส์นี้จะดูคล้ายกับภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์กึ่งมาโคร เช่น RF35mm f/1.8 Macro IS STM หรือ RF85mm f/2 Macro IS STM แต่ RF50mm f/1.8 STM นั้นเป็นเลนส์มาโครหนึ่งส่วนสี่ (กำลังขยายสูงสุด 0.25 เท่า) ระยะโฟกัสใกล้สุด 30 ซม. ช่วยให้คุณถ่ายภาพตัวแบบได้ใกล้ขึ้นเมื่อเทียบกับ EF50mm f/1.8 STM คุณจึงสามารถสนุกไปกับการถ่ายภาพตัวแบบขนาดเล็กในระยะใกล้ได้

Aperture-priority AE (f/3.2, 1/100 วินาที, EV +3.0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

เลนส์ที่ช่วยให้คุณถ่ายภาพระยะใกล้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการนั้นเป็นอะไรที่ยอดเยี่ยม คุณจะได้เส้นที่คมชัดและความละเอียดสูงทั่วทั้งภาพ เมื่อสังเกตดูจะพบว่าแม้แต่เส้นบนใบไม้ขนาดเล็กก็ยังมีความละเอียดมาก มีความคมชัดสูงและความเปรียบต่างที่เพียงพอ


ระยะโฟกัสใกล้สุดที่ 30 ซม. ช่วยให้คุณเข้าใกล้ตัวแบบได้ค่อนข้างมาก อันที่จริงนั้นมากพอที่จะทำให้เกิดเงาบนตัวแบบด้วย! จึงควรระวังข้อนี้ไว้ขณะคุณถ่ายภาพ

 

AF ที่ว่องไวและราบรื่น ระบบป้องกันภาพสั่นไหว 7 สต็อปเมื่อใช้กับ EOS R5/R6

AF ที่ขับเคลื่อนด้วย STM (Stepping Motor) นั้นทำงานได้เงียบเชียบและจับโฟกัสได้อย่างรวดเร็วและราบรื่น และวงแหวนควบคุมก็มีประโยชน์ เนื่องจากสามารถใช้เป็นวงแหวนโฟกัสที่ช่วยให้ใช้โฟกัสแบบแมนนวลและระบบแมนนวลโฟกัสแบบ Full-time ได้ด้วยการสับสวิตช์เพียงครั้งเดียว

แม้เลนส์จะไม่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัว แต่หากคุณใช้กับกล้อง EOS R5 หรือ EOS R6 ระบบ IS ในตัวกล้องจะสามารถป้องกันภาพสั่นไหวได้เทียบเท่าความเร็วชัตเตอร์สูงสุดเจ็ดสต็อป จึงทำให้คุณสามารถถ่ายภาพโดยถือกล้องด้วยมือได้แม้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ราว 2 วินาที

 

สรุป: เลนส์สำหรับเดินถ่ายรูปสารพัดประโยชน์ที่มีความสามารถรอบด้าน

อย่าเพิ่งคิดว่าคุณคงทำอะไรไม่ได้มากนักเมื่อใช้เลนส์เดี่ยวมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเลนส์ที่ให้ความคล่องตัวสูงเช่นนี้ ด้วยประโยชน์ใช้งานในหลากหลายสาขาและประเภทการถ่ายภาพ คุณอาจพบว่าตนเองถ่ายภาพมากขึ้นด้วยกล้องในซีรีย์ EOS R หลังจากได้เพิ่มเลนส์นี้เข้าไปในชุดอุปกรณ์ของคุณ!

*เนื่องจากรีวิวนี้ใช้เลนส์รุ่นก่อนการผลิต รูปลักษณ์ภายนอกและคุณภาพของภาพที่ได้จากผลิตภัณฑ์อาจแตกต่างไปจากนี้

 

RF50mm f/1.8 STM

ข้อมูลจำเพาะ
โครงสร้างเลนส์: 6 ชิ้นเลนส์ใน 5 กลุ่ม
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 0.3 ม.
กำลังขยายสูงสุด: 0.25 เท่า
จำนวนม่านรูรับแสง: 7 (กลีบ)
เส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์: 43 มม.
ขนาด: φ69.2 x 40.5 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 160 ก.

 

โครงสร้างเลนส์

A: เลนส์แก้ความคลาด PMO


ฮูดเลนส์ ES-65B (ขายแยกต่างหาก)

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีของเลนส์ RF และเลนส์ RF รุ่นอื่นๆ ได้ที่:
In Focus: RF Lens

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuyuki Okajima

Kazuyuki Okajima เกิดเมื่อปี 1967 ที่เมืองฟุกุโอกะ และจบการศึกษาจาก Tokyo School of Photography (ปัจจุบันชื่อ: Tokyo Visual Arts) หลังจากทำงานเป็นผู้ช่วยในสตูดิโอและผู้ช่วยช่างภาพ เขาก็ผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ นอกจากจะทำงานเป็นช่างภาพโฆษณาและนิตยสารแล้ว เขายังเดินทางไปทั่วโลกเพื่อถ่ายภาพมากมายที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างลึกซึ้งราวกับบทกวี อีกทั้งยังตีพิมพ์สิ่งพิมพ์มากมาย รวมถึงคอลเลคชั่นภาพถ่ายที่มีชื่อว่า Dingle และจัดนิทรรศการแสดงผลงานมาแล้วหลายครั้ง รวมถึง “The Light and Wind of Dingle,” “Shio-sai” (Tidal Tints) และ “Let’s Go to School”

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา