ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด จุดโฟกัส: การตั้งค่ารูรับแสงสำหรับฉากต่างๆ- Part3

ความมหัศจรรย์ของ f/2.2 ในการถ่ายภาพหุ่นนิ่ง (Still-life)

2019-11-18
1
5.93 k
ในบทความนี้:

การสร้างโบเก้ด้วยรูรับแสงกว้างสุดเป็นเรื่องน่าสนุก โดยเฉพาะเมื่อเลนส์ของคุณปรับรูรับแสงกว้างได้ถึง f/1.8 หรือ f/2.0 และมอบภาพเบลอที่ดูนุ่มนวลสวยงาม แต่รูรับแสงซูเปอร์ไวด์อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อคุณถ่ายภาพวัตถุชิ้นเล็กๆ มาดูเหตุผลกันว่าทำไมช่างภาพมืออาชีพจึงแนะนำให้ใช้รูรับแสงที่แคบลงเล็กน้อย ซึ่งตามหลักการทั่วไปคือ f/2.2 (เรื่องโดย: Teppei Kohno)

กระเป๋ารูปช้าง

 

รูรับแสงกว้างสุดไม่ได้เหมาะที่สุดสำหรับการสร้างสรรค์ภาพโบเก้สวยๆ เสมอไป

ใน เทคนิคเกี่ยวกับการตั้งค่าตามขนาดรูรับแสง 1 เราได้เรียนรู้ว่าเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดที่กว้างขึ้น (ค่า f ต่ำสุดที่น้อยลง) สามารถสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ได้ชัดขึ้น และยังควรใช้รูรับแสงกว้างสุดเพื่อทำให้ตัวแบบภาพพอร์ตเทรตดูโดดเด่นออกมาจากแบ็คกราวด์ได้ดีกว่า

แน่นอนว่า รูรับแสงที่กว้างมาก เช่น f/1.4 หรือ f/1.8 สามารถสร้างโบเก้ที่สวยงามในส่วนแบ็คกราวด์ได้ จึงเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมเลนส์เดี่ยวพอร์ตเทรตที่เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุดของ Canon (เช่น เลนส์ 50 มม. และ 85 มม.) จึงกว้างถึง f/1.2

อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์ การใช้โบเก้รูรับแสงกว้างสุดอาจไม่เหมาะสมนัก


เหตุผลที่ควรใช้รูรับแสงแคบลงเล็กน้อย

- ถ้าค่า f ต่ำเกินไป ระนาบโฟกัสจะแคบมาก ซึ่งทำให้จับโฟกัสได้ยาก
- ถ้าเอฟเฟ็กต์โบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์ชัดเจนเกินไป จะทำให้ตัวแบบหลักถูกกลืนหายไปในภาพเบลอ
- สำหรับตัวแบบบางประเภท ความคลาดบางอย่างของเลนส์จะเห็นชัดขึ้นเมื่อใช้รูรับแสงกว้างสุด ซึ่งทำให้ภาพที่ถ่ายดูคมชัดน้อยลง

สถานการณ์หนึ่งที่การใช้รูรับแสงแคบลงเล็กน้อยอาจให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าคือ เมื่อคุณถ่ายภาพวัตถุชิ้นเล็กๆ เริ่มแรก ให้ลองใช้ f/2.2

ลองดูภาพต่อไปนี้ที่ถ่ายโดยใช้โหมด Aperture-priority AE จากภาพที่วางเทียบกันนี้ คุณเห็นข้อแตกต่างหรือไม่

 

f/1.8
ภาพถ่ายเครื่องประดับขนาดเล็กที่ f/1.8
f/1.8/ 1/80 วินาที/ ISO 200

f/2.2
ภาพถ่ายเครื่องประดับขนาดเล็กที่ f/2.2
f/2.2/ 1/150 วินาที/ ISO 200

ลองดูภาพขนาดใหญ่ขึ้น


f/2.2
ภาพถ่ายเครื่องประดับขนาดเล็กที่ f/2.2

เกิดเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ชัดเจน และจับโฟกัสบนตัวแบบหลักได้อย่างแม่นยำ

f/1.8
ภาพถ่ายเครื่องประดับขนาดเล็กที่ f/1.8

เอฟเฟ็กต์โบเก้ดูน่ามองมาก แต่ภาพไม่คมชัดนัก

 

เทคนิคพิเศษ: เพิ่มรูปแบบภาพ “ความเปรียบต่าง” และ “ความอิ่มตัวของสี”

เมื่อถ่ายภาพของชิ้นเล็ก โบเก้ที่มากเกินไปอาจทำให้ภาพถ่ายดูจืดชืด นอกจากถ่ายภาพด้วยรูรับแสงที่แคบลงเล็กน้อยแล้ว ลองเพิ่มค่า “ความเปรียบต่าง” และ “ความอิ่มตัวของสี” ในเมนู รูปแบบภาพ [ตั้งค่าละเอียด] วิธีนี้จะช่วยเพิ่มสีสันและชีวิตชีวาให้กับภาพถ่ายของคุณ

 

รูปแบบภาพ - มาตรฐาน
(การใช้พารามิเตอร์เริ่มต้น)

ของตกแต่งที่มีสีจืดชืดกว่า
แม้ว่าเอฟเฟ็กต์โบเก้ดูสวยงาม สีเอิร์ธโทนจะทำให้ภาพจืดชืด

รูปแบบภาพ - มาตรฐาน
(ความเปรียบต่าง +3 ความอิ่มตัวของสี +2)

ของตกแต่งที่มีสีสันสดใสยิ่งขึ้น
ภาพที่ได้ยังคงมีโบเก้ที่สวยงามในส่วนแบ็คกราวด์ แต่ดูน่าสนใจมากขึ้น

หากคุณไม่แน่ใจว่าควรเปลี่ยนการตั้งค่ารูรับแสงอย่างไร คลิกที่นี่เพื่อดูคำแนะนำทีละขั้นตอน

 

ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ด้วยตัวคุณเอง!

ถ้าคุณมีเลนส์ EF50mm f/1.8 STM, EF-M22mm f/2.0 STM หรือเลนส์ความไวแสงสูงรุ่นอื่นๆ คุณสามารถทดลองวิธีนี้ได้ด้วยตัวเอง: มองหาของตกแต่ง ตุ๊กตา หรือวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ ถ่ายภาพด้วยรูรับแสงกว้างสุด จากนั้นปรับรูรับแสงให้แคบลงเหลือ f/2.2 แล้วลองอีกครั้ง เปรียบเทียบผลลัพธ์ดู นอกจากนี้ คุณสามารถลองใช้รูรับแสงที่แคบกว่านี้ และดูว่าภาพเปลี่ยนไปอย่างไร ความแตกต่างที่ปรากฏอาจดูไม่ชัดนัก แต่ก็ส่งผลต่อความประทับใจของผู้ชมที่มีต่อภาพถ่ายของคุณ ในบางสถานการณ์ คุณอาจได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นเมื่อใช้รูรับแสงที่แคบลงอีก (เช่น f/2.5 หรือ f/2.8)!


มาดูกันว่าค่า f/2.2 ใช้ในการถ่ายภาพอาหารที่สวยงามได้อย่างไรใน: 
5 เทคนิคการถ่ายภาพที่คุณลองใช้ได้ในทริปถัดไป

คุณยังสามารถลองอ่านบทความต่อไปนี้:
วิธีสร้างแบ็คกราวด์ภาพฟรุ้งฟริ้งด้วยวงกลมโบเก้สำหรับภาพถ่ายของตกแต่งชิ้นเล็กน่ารัก

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Teppei Kohno

เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย

http://fantastic-teppy.chips.jp

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา