ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น >> All Happenings

CPMC 2019: ในมุมมองของ GOTO AKI

2019-07-01
4
547
ในบทความนี้:

การแข่งขัน Canon PhotoMarathon Championship 2019 (CPMC2019) ในปีนี้เป็นอย่างไร ผู้ที่ชนะการแข่งขันในปีนี้มีความโดดเด่นอย่างไรบ้าง และมีเคล็ดลับสำหรับผู้เข้าแข่งขันในปีต่อไปหรือไม่ GOTO AKI ซึ่งเป็นผู้สอนและพี่เลี้ยงด้านการถ่ายภาพให้กับผู้เข้าร่วมการแข่งขัน CPMC มาแล้วถึง 4 รุ่นจะมาแบ่งปันความประทับใจของเขาให้เราได้ฟังกัน

ภาพหมู่ของผู้เข้าร่วมแข่งขันงาน CPMC2019

 

“ภาพทุกภาพจะต้องถ่ายด้วยกล้อง EOS R หรือ EOS RP”

เดือนมีนาคมเป็นฤดูกาลแห่งการแข่งขัน Canon PhotoMarathon Asia Championship (CPMC) และเมื่อถึงคราว CPMC2019 ผมก็อดที่จะตื่นเต้นไม่ได้ นี่เป็นปีที่ 4 ของผมแล้วในการทำหน้าที่เป็นผู้สอนถ่ายภาพ และผมตื่นเต้นมากที่จะได้ทราบว่าผู้เข้าแข่งขันในปีนี้เป็นใคร และจะได้เห็นภาพถ่ายแบบไหนบ้าง

แชมป์รางวัลใหญ่จากการแข่งขัน Canon PhotoMarathon หลายรายการทั่วเอเชียจำนวน 16 คนเดินทางมาถึงโตเกียวในวันที่ 18 มีนาคม 2019 ในคืนแรก เรามีการแนะนำตัวกันรอบหนึ่ง ทุกอย่างดูเหมือนจะดำเนินไปตามปกติ จนกระทั่งถึงช่วงชี้แจงการแข่งขัน ซึ่ง Evan ผู้ประสานงาน CPMC จาก Canon Singapore ได้ประกาศสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดว่า ภาพทุกภาพจะต้องถ่ายด้วยกล้อง EOS R หรือ EOS RP

แต่ไม่นาน ความประหลาดใจบนในหน้าของผู้เข้าแข่งขันก็เปลี่ยนเป็นการตั้งหน้าตั้งตาคอยแทนเพราะ Canon ได้เตรียมตัวกล้อง EOS R และ EOS RP รวมทั้งเมาท์อะแดปเตอร์ไว้เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันนำไปใช้ และยังมีเลนส์ RF50mm f/1.2L USM สำหรับผู้ที่ใช้กล้อง EOS R อยู่แล้วด้วย ผู้เข้าร่วมแข่งขันต่างก็เริ่มสำรวจกล้อง และใช้เวลาที่เหลือในคืนนั้นสร้างความคุ้นเคยกับคุณสมบัติของกล้องและปรับการตั้งค่าต่างๆ

ส่วนผมก็กลับไปที่ห้องและฝึกอ่านชื่อของผู้เข้าแข่งขันจนหลับไป การผจญภัยเพิ่งเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น

กล้อง EOS R, กล้อง EOS RP, เมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R และเลนส์ RF50mm f/1.2L

ตัวกล้อง EOS R และ EOS RP, เมาท์อะแดปเตอร์ และเลนส์ RF50mm f/1.2L USM ระหว่างรอการแจกจ่ายให้กับผู้เข้าแข่งขัน…

ผู้เข้าแข่งขันงาน CPMC2019 ขณะประชุมชี้แจงการแข่งขัน

…และผู้เข้าแข่งขันที่กำลังตื่นเต้นที่จะได้ลองใช้อุปกรณ์ชิ้นใหม่

 

เดินทางสู่ชิซูโอกะ!

ในวันที่สอง เราก็ออกเดินทางไปยังจังหวัดชิซูโอกะ ซึ่งเป็นเวทีที่จะทำให้เรารู้ว่าใครจะได้เป็นแชมป์ในการแข่งขันครั้งนี้ นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทาง 9 วัน ซึ่งจะพาเราไปชมภูเขาไฟฟูจิ รถไฟชินกันเซ็นและรถจักรไอน้ำ ศาลเจ้า ยามเย็นที่คาบสมุทรอิสุ ชายฝั่งอันเป็นเอกลักษณ์ของอุทยานภูมิศาสตร์อิสุ น้ำตกชิระอิโตะ (อุทยานมรดกโลก) และไร่ชาอันมีชื่อเสียงแห่งชิซูโอกะ

การแข่งขัน CPMC ในปีนี้มีความพิเศษอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ การถ่ายภาพทางรถไฟ Hirokazu Nagane ช่างภาพทางรถไฟมือดีที่สุดคนหนึ่งของญี่ปุ่นได้รับเชิญให้มาเป็นวิทยากรพิเศษเป็นเวลาสองสามวัน ผู้เข้าร่วมแข่งขันต่างก็ทึ่งเมื่อได้เห็นสไลด์ภาพถ่ายของเขาซึ่งแสดงให้เห็นวิธีการที่น่าตื่นตาตื่นใจในการถ่ายภาพให้มีแสงที่สวยงามและความใส่ใจในรายละเอียดที่น่าอัศจรรย์

ดูภาพและเคล็ดลับในการถ่ายภาพจาก Hirokazu Nagane ได้ในบทความเหล่านี้
วิธีถ่ายภาพรถไฟที่กำลังเคลื่อนที่ให้น่าประทับใจด้วยการถ่ายภาพต่อเนื่อง
เคล็ดลับที่มืออาชีพใช้ในการถ่ายภาพด้วยขาตั้งกล้อง

 

ผู้เข้าแข่งขัน CPMC2019 บนรถบัส

ผู้เข้าแข่งขันระหว่างเดินทาง

Hirokazu Nagane และ GOTO AKI ที่งานสัมมนา CPMC2019

นากาเนะซังอยู่ตรงกลางภาพ


การได้สังเกตว่าผู้เข้าแข่งขันมีวิธีอย่างไรในการถ่ายภาพตามโจทย์ที่กำหนดให้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ

ช่างภาพในงาน CPMC2019 ที่สวนพฤกษศาสตร์ฮามะมัตสุ
ช่างภาพในงาน CPMC2019 ที่น้ำตกชิระอิโตะ
ช่างภาพในงาน CPMC2019 ที่ชายหาดโอตาโกะ
ช่างภาพในงาน CPMC2019 ที่สกายวอล์คมิชิมะ

 

ความประทับใจที่มีต่อผู้ชนะรางวัลทั้ง 3 คน

Mohd Safuan ผู้ซึ่งเป็นแชมป์ครั้งนี้ มักจะผ่อนคลายและใจเย็นอยู่เสมอ เขาจะสังเกตฉากและตัวแบบอย่างใกล้ชิดก่อนถ่ายภาพ และมีวิธีต่างๆ ในการเพิ่มลูกเล่นให้แก่ภาพของเขา เช่น เข้าไปใกล้ตัวแบบ ถอยออกมา ซูมเข้าไปยังส่วนใดส่วนหนึ่ง ถ่ายตัวแบบทั้งหมดไว้ในเฟรมภาพ และอื่นๆ อีกมากมาย

Mohd Safuan ที่กำลังถือกล้อง

Mohd Safuan

ภาพผึ้งและดอกซากุระ

ผลงานชิ้นหนึ่งของ Mohd Safuan
EOS R/ EF100mm f/2.8L Macro IS USM/ FL: 100 มม./ Manual exposure (f/10, 1/1000 วินาที, EV+0.7)/ ISO 800/ WB: Manual
สถานที่: เรียวกังบุจิ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเส้นทางการถ่ายภาพของ Mohd Safuan และเรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังภาพถ่ายของเขา รวมถึงภาพนี้ได้ที่บทความนี้

 

William Leung ผู้ชนะรางวัลที่ 2 ด้วยคะแนนไล่เลี่ยกัน มักจะถ่ายภาพคนเดียว ห่างออกไปจากจุดที่คนอื่นอยู่ เขามีความสามารถที่โดดเด่นในการสังเกตแสงและเงา และมีทักษะในการจัดวางตัวแบบหลายๆ อย่างให้อยู่ในเฟรมเดียวกันได้อย่างมีเสน่ห์

William Leung

William Leung

หน้าผาตอนพระอาทิตย์ตกซึ่งมีนกโบยบิน

ผลงานชิ้นหนึ่งของ William
EOS R/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 107 มม. (171.2 มม. เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Shutter-priority AE (f/10, 1/500 วินาที, EV-0.67)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สถานที่: ชายหาดโอตาโกะ

 

ในขณะที่ Luke Singson ผู้ชนะรางวัลที่สามจะใช้แสงและเงาที่มีความชัดเจน เขามีความอดทนที่สูงมากในการรอคอยตัวแบบ

Luke Singson

Luke Singson

เท้าของผู้หญิงใส่กระโปรงลายดอกที่กำลังเดิน

ผลงานชิ้นหนึ่งของ Luke
EOS R/ RF50mm f/1.2L USM/ FL: 50 มม./ Manual exposure (f/1.4, 1/800 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
สถานที่: ศาลเจ้าคุโนะซัง โทโชะกุ

 

มีผลงานที่ดีเยี่ยมมากมาย แต่ข้อด้อยที่พบได้บ่อยคือการโฟกัส

ผลงานอื่นๆ ของผู้เข้าแข่งขันที่ไม่ชนะสามรางวัลแรกก็นับว่ายอดเยี่ยมเช่นกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ผมพบว่าน่าเสียดายที่สุดคือภาพเหล่านั้นไม่อยู่ในโฟกัสที่คมชัดเท่าที่ควรจะเป็น

เมื่อคุณชนะการแข่งขัน CPMC ผลงานของคุณจะไม่ถูกแสดงแบบออนไลน์เพียงอย่างเดียว แต่จะมีการแสดงผลงานในรูปแบบภาพพิมพ์ขนาดใหญ่ด้วย ซึ่งในกรณีนั้น จะเห็นได้ชัดเจนมากหากภาพไม่อยู่ในโฟกัส

ไม่สำคัญว่าภาพนั้นจะอยู่ในกล้องหรือบนหน้าจอขนาดใหญ่ที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ แต่ทุกคนควรจะขยายภาพดูในขณะที่ตรวจสอบภาพเพื่อให้แน่ใจว่าภาพอยู่ในโฟกัส ทั้งกล้อง EOS R และ EOS RP มี EVF ที่ช่วยให้คุณตรวจสอบการโฟกัสได้อย่างชัดเจนแม้เป็นเวลากลางวันที่มีแสงสว่างจ้า ดังนั้น จึงควรใช้ประโยชน์จากคุณสมบัตินี้ให้เต็มที่

คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้เช่นกัน:
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #8: การจับโฟกัส
คุณสมบัติ 8 ข้อในการโฟกัสของกล้อง EOS R ที่ใครๆ ก็อยากสัมผัส

 

สานสัมพันธ์แน่นแฟ้น

CPMC ไม่ได้เป็นแค่การแข่งขัน แต่ยังเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้วย เราได้มีช่วงเวลาที่สนุกสนานร่วมกันในการสำรวจสถานที่และช้อปปิ้ง ภายในครึ่งหลังของการเดินทาง พวกเราทุกคนก็มีความผูกพันกันเหมือนครอบครัว

ผมขอใช้โอกาสนี้ในการแสดงความชื่นชมต่อผู้เข้าแข่งขันที่ให้ความเคารพซึ่งกันและกัน ตรงต่อเวลา และทำให้ทริปนี้น่าประทับใจ ผมขอขอบคุณที่เดินทางมาญี่ปุ่นครั้งนี้

ผู้เข้าแข่งขันงาน CPMC2019 ระหว่างอาหารเช้า
ผู้เข้าแข่งขันงาน CPMC2019 พูดคุยกับชายชราคนหนึ่ง
ผู้เข้าแข่งขันงาน CPMC2019 กำลังถ่ายภาพภูเขาไฟฟูจิ
Alt: ผู้เข้าแข่งขันงาน CPMC2019 และอาหารญี่ปุ่น

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน CPMC ครั้งที่ผ่านมาได้ที่:
มองต่างเลนส์: บทสัมภาษณ์ผู้ชนะการแข่งขัน CPMC ประจำปี 2018
รายงาน Canon PhotoMarathon Asia Championship: การประลองฝีมือเพื่อชิงความเป็นหนึ่งในการสู้ศึกครั้งสุดท้ายที่ญี่ปุ่น

อ่านเคล็ดลับและคำแนะนำจาก GOTO AKI ได้ที่:
ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างในการจัดแสดงผลงานภาพถ่าย
หลักสำคัญ 4 ข้อในการถ่ายภาพทิวทัศน์ก่อนฟ้าสาง
วิธีถ่ายภาพไฟประดับตกแต่งเพื่อสร้างบรรยากาศชวนฝัน

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

GOTO AKI

เกิดเมื่อปี 1972 ที่จังหวัดคานากาวะ จบการศึกษาจาก Sophia University และ Tokyo College of Photography Goto เผยแพร่ผลงานคอลเลคชั่นภาพถ่ายที่มีชื่อว่า "LAND ESCAPES" และยังมีส่วนร่วมในผลงานอื่นๆ อีก อาทิ "water silence" การแสดงผลงานศิลปะที่ผสานภาพถ่ายกับวิดีโอเข้าไว้ด้วยกัน

http://gotoaki.com/

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา