ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เคล็ดลับสำหรับการถ่ายภาพอาหารครั้งแรกของคุณ

2024-11-20
0
28

Kim ช่างภาพผู้เป็น EOS Creator ของ Canon Indonesia (@niesukma) จะมาแบ่งปันความรู้ เคล็ดลับ และเทคนิคสำหรับมือใหม่ไปพร้อมๆ กับอธิบายขั้นตอนการถ่ายภาพให้เราได้เรียนรู้กัน

ในบทความนี้:

 

1. วางแผนเกี่ยวกับแนวคิดและภาพ

ก่อนที่คุณจะเริ่มถ่ายภาพ ให้ลองคิดดูว่าคุณต้องการให้ภาพที่ได้ดูเป็นอย่างไร คุณต้องการสื่อถึงแนวคิดหรืออารมณ์แบบใด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อแบ็คกราวด์ โทนสี อุปกรณ์ประกอบฉากที่ใช้ และสไตล์การจัดแสง


อารมณ์

การสร้างอารมณ์ที่สดใสจะทำได้ง่ายขึ้นหากใช้ฉากหลังและอุปกรณ์ประกอบฉากที่มีสีอ่อนหรือสว่าง เช่นเดียวกับการสร้างอารมณ์ที่ดูมืดหม่นและขุ่นมัวมากขึ้นด้วยฉากหลังและอุปกรณ์ประกอบฉากที่มีสีมืดหรือเข้มกว่า

แบ็คกราวด์มีบทบาทสำคัญในการกำหนดอารมณ์ของภาพ แต่คุณยังสามารถใช้อุปกรณ์ประกอบฉากสีอ่อนในภาพที่ดูมืดทึมได้หากวางแผนมาดี

ภาพที่สว่างและดูโปร่งโล่งจะต้องใช้การจัดแสงที่สว่างและสม่ำเสมอกว่า ในขณะที่ภาพโทนเข้มจะมีเรื่องของเงาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย


ภาพพายแอปเปิ้ลด้านบนและขนมปังซินนามอนด้านล่างคือภาพที่ฉันเรียกว่า “สไตล์อารมณ์สดใส” เงาจะดูลุ่มลึกกว่าและเห็นได้ชัดกว่าภาพที่มีลักษณะ “สว่างและโปร่งโล่ง” ทั่วไป

สีของอุปกรณ์ประกอบฉากและแบ็คกราวด์ทำให้อารมณ์ของภาพเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง


แนวคิดและอุปกรณ์ประกอบฉาก

ขณะวางแผนอุปกรณ์ประกอบฉาก ให้คุณลองคิดดูว่าต้องการบอกเล่าเรื่องราวอะไรจากภาพอาหารนี้ คุณต้องการให้ผู้ชมนึกถึงอะไรเมื่อเห็นอาหาร

แนวทางการริเริ่มความคิด:
- ส่วนผสมที่ใช้ทำอาหาร
- เรื่องราวความเป็นมาหรือแหล่งกำเนิดของอาหาร
- อาหารนั้นทำให้ผู้คนรู้สึกอย่างไร

ฉันมักจะใส่เครื่องดื่มเข้าไปในภาพด้วยเพื่อช่วยในการบอกเล่าเรื่องราว ฉันต้องการให้ผู้ที่ได้เห็นภาพรับรู้ถึงอารมณ์และเพลิดเพลินไปกับภาพราวกับเป็นเวลาดื่มชา อาหารเช้า หรือเวลารับประทานของว่าง ฯลฯ

เคล็ดลับระดับมือโปร: หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ประกอบฉากที่แวววาว คุณจะได้ไม่ต้องแก้ปัญหาเรื่องเงาสะท้อน

 

สี

อาหารคือตัวแบบหลัก ดังนั้น ให้คิดถึงสีสันของอาหารและพิจารณาว่าคุณจะทำให้สีสันเหล่านี้โดดเด่นขึ้นได้อย่างไร คุณสามารถใช้ทฤษฎีสีช่วยได้

ภาพพายแอปเปิ้ลที่ถ่ายในภาพแรก ฉันเพิ่มใบโรสแมรี่สีเขียวเข้าไปเพื่อให้เป็นจุดเด่นที่ตัดกับสีน้ำตาลและสีแดงที่ดูกลมกลืนกันของพายแอปเปิ้ล ใบโรสแมรี่ทำให้ “เรื่องราว” ของเวลาอาหารว่างสมบูรณ์ขึ้น และยังสามารถใส่ลงในถ้วยชาเพื่อเพิ่มรสชาติได้!

เคล็ดลับระดับมือโปร: การเลือกฉากหลังครั้งแรกของคุณ
- เลือกสีกลางๆ เพื่อให้ถ่ายภาพได้หลากหลายมากขึ้น
- ใช้แบ็คกราวด์สองแบบทั้งสีเข้มและสีอ่อน เพื่อถ่ายภาพให้ได้อารมณ์แตกต่างกัน 
- หลีกเลี่ยงลวดลายที่โดดเด่นหรือดูยุ่งเหยิง เพราะจะทำให้อาหารไม่เด่นเท่าที่ควร
- ไม้และเซรามิกคือวัสดุที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพอาหารเสมอ!

 

2. วางแผนการจัดแสง

ใช้แสงด้านข้างหรือด้านหลัง
เรามักจะใช้แสงด้านข้างหรือด้านหลังเพื่อให้เห็นผิวสัมผัส รูปทรง และมิติได้ชัดเจนขึ้น แสงด้านหน้าจะทำให้อาหารดูแบนราบและน่าเบื่อ


การจัดแสงคือการควบคุมเงาด้วยเช่นกัน

การจัดแสงไม่ใช่เพียงแค่การใช้แสงในปริมาณที่เพียงพอกับตัวแบบเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการควบคุมเงาด้วย เพราะเงาจะช่วยให้รูปทรงและผิวสัมผัสโดดเด่นออกมา

เตรียมแผ่นกั้นแสงและรีเฟล็กเตอร์เอาไว้ เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นประโยชน์แม้ในการถ่ายภาพที่ใช้แสงจากธรรมชาติ คุณสามารถประดิษฐ์อุปกรณ์เหล่านี้เองได้โดยใช้กระดาษแข็งหรือวัสดุที่เป็นแผ่นแข็ง รีเฟล็กเตอร์ของฉันคือฐานรองเค้กไม้อัดเคลือบสีเงินที่ซื้อมาจากร้านเค้กในราคาแสนถูก

EOS R6 Mark II + RF50mm f/1.8 STM ที่ f/4, 1/15 วินาที, ISO 320

 

แผ่นกั้นแสงในฉากนี้ช่วยควบคุมแสงธรรมชาติให้ดูเหมือนมีแสงด้านข้างส่องมาจากหน้าต่างที่มุมประมาณ 45 องศาหลังฉากของตัวแบบ และแผ่นกั้นแสงเหล่านี้ยังช่วยเพิ่มเงาเล็กน้อยที่มุมซ้ายล่างและมุมบนขวาของภาพ ซึ่งทำให้ความสนใจของเราไปอยู่ที่ผิวสัมผัสด้านบนของพาย

 

ไม่ใช้แผ่นกั้นแสง

ใช้แผ่นกั้นแสง

เมื่อไม่ใช้แผ่นกั้นแสง แสงจะดูแบนเรียบกว่าและสม่ำเสมอมากกว่า สายตาของเราจะถูกดึงดูดไปที่พายทั้งชิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ด้านหน้าดังแสดงตามลูกศร ซึ่งเป็นจุดที่อยู่ใกล้กับเรามากที่สุด

เคล็ดลับระดับมือโปร: ช่วงเวลาของวันก็สำคัญ!
หากต้องการภาพที่ดูสว่างด้วยแสงธรรมชาติ ให้เลือกถ่ายภาพในเวลาที่แสงไม่จ้าจนเกินไป เช่น ตอนเช้าตรู่หรือบ่ายแก่ๆ


ล้ำไปอีกขั้น: แสงเทียมให้อิสระมากขึ้น

EOS R6 Mark II +  RF50mm f/1.8 STM ที่ f/3.5, 1/100 วินาที, ISO 800

คุณสามารถสร้าง “แสงธรรมชาติ” ขึ้นเองเมื่อใดก็ได้โดยการใช้แฟลชหรือไฟสตูดิโอและซอฟต์บ็อกซ์ขนาดใหญ่กับแผ่นกั้นแสงและรีเฟล็กเตอร์ของคุณ

ซอฟต์บ็อกซ์ขนาดใหญ่ที่วางอยู่ด้านหน้าตัวแบบทำให้แสงดูนุ่มนวลขึ้นและกระจายตัวได้ดีขึ้น เงาจึงดูไม่มืดจนเกินไป ช่องรังผึ้งของซอฟต์บ็อกซ์ก็ช่วยให้กระจายแสงได้มากยิ่งขึ้น

 

3. ควรใช้เลนส์รุ่นใด

เลนส์ 50 มม. จะใช้งานได้ง่ายที่สุด และใช้ทางยาวโฟกัสที่กว้างขึ้นสำหรับการถ่ายภาพการจัดเรียงสิ่งของจากมุมสูง (Flat Lay)

EOS R6 Mark II + RF35mm f/1.8 Macro IS STM ที่ f/4, 1/100 วินาที, ISO 100

ในการถ่ายภาพอาหารเชิงพาณิชย์ เราย่อมต้องไม่อยากให้รูปทรงของอาหารเกิดการบิดเบี้ยว ดังนั้น เราจึงไม่ค่อยใช้ทางยาวโฟกัสที่กว้างเกินไป ระยะที่ 50 มม. เป็นอย่างน้อยจะเหมาะสมกับสถานการณ์ส่วนใหญ่ แม้คุณจะสามารถใช้มุมกว้างขึ้นได้เล็กน้อยหากถ่ายภาพการจัดเรียงสิ่งของจากมุมสูง เนื่องจากการถ่ายภาพจากด้านหน้าจะไม่ทำให้การบิดเบี้ยวชัดเจนนัก

ฉันชอบใช้เลนส์เดี่ยวเนื่องจากมีรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่และมีความคมชัด สามารถโฟกัสอัตโนมัติในสภาวะแสงน้อยได้ลื่นไหลขึ้นเมื่อใช้รูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ แน่นอนว่าเลนส์ซูมมาตรฐานจะใช้จัดเฟรมภาพและถ่ายวิดีโอได้สะดวกมากกว่า หากคุณมีเลนส์ซูมรูรับแสงกว้าง เช่น RF24-70mm f/2.8L IS USM หรือ RF28-70mm f/2.8 IS STM รุ่นใหม่ คุณจะสามารถถ่ายทั้งภาพนิ่งและวิดีโอได้อย่างยอดเยี่ยม!

สิ่งที่ควรพิจารณาด้วยเช่นกัน:

- การบีบอัดและเอฟเฟ็กต์ที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ประกอบฉากของคุณ
ทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรมที่ประมาณ 50 มม. จะให้เปอร์สเปคทีฟที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด หากคุณใช้กล้อง APS-C จะหมายถึงทางยาวโฟกัส 32 มม.
ทางยาวโฟกัสที่ยาวกว่านี้อาจจะทำให้อุปกรณ์ประกอบฉากในแบ็คกราวด์ดูใหญ่กว่าที่คิดเนื่องจาก เอฟเฟ็กต์การบีบอัดเปอร์สเปคทีฟ ซึ่งอาจโดดเด่นเกินอาหารได้ ฉันต้องปรับอุปกรณ์ประกอบฉากบ่อยขึ้นเมื่อใช้เลนส์ 50 มม. กับกล้อง APS-C

- ระยะการทำงาน
ระยะการทำงาน หมายถึง ระยะที่เลนส์ของคุณต้องอยู่ห่างจากตัวแบบเพื่อให้ได้เฟรมภาพที่ต้องการ ซึ่งระยะนี้จะมีความสำคัญมากเป็นพิเศษเมื่อคุณใช้เลนส์เดี่ยว ปกติฉันมักจะใช้เลนส์ RF50mm f/1.8 STM แต่เลือก RF35mm f/1.8 Macro IS STM ซึ่งให้มุมที่กว้างกว่าในการถ่ายภาพการจัดเรียงสิ่งของจากมุมสูง ฉันจึงไม่ต้องปีนขึ้นไปสูงๆ เพื่อถ่ายภาพ!

กล้อง EOS R6 Mark II ของฉันและเลนส์ RF35mm f/1.8 Macro IS STM ที่เตรียมไว้สำหรับการถ่ายภาพการจัดเรียงสิ่งของจากมุมสูง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ เลนส์ 3 แบบสำหรับเริ่มต้นถ่ายภาพอาหาร

 

4. ควรใช้การตั้งค่าแบบใด

ถ่ายภาพให้เสร็จสมบูรณ์ที่สุดตั้งแต่ในกล้อง
ขณะถ่ายภาพแบบ RAW ฉันจะพยายามถ่ายภาพในกล้องให้ออกมาใกล้เคียงกับภาพสุดท้ายที่ต้องการมากที่สุด เพื่อให้มีการปรับแต่งภาพเพียงเล็กน้อย วิธีนี้จะทำให้ขั้นตอนการทำงานของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น


การโฟกัสเป็นสิ่งสำคัญ

1) เรียนรู้การควบคุมระยะชัด

ทำความเข้าใจว่าระยะชัดมีกลไกอย่างไร เพื่อให้คุณทราบวิธีการและองค์ประกอบที่ต้องปรับเปลี่ยนในยามจำเป็น เพราะระยะชัดจะแตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์และอาหารแต่ละประเภท!

โดยส่วนตัวแล้ว ฉันจะชอบภาพที่มีแบ็คกราวด์เบลอเล็กน้อย (โบเก้ในแบ็คกราวด์) เนื่องจากช่วยเพิ่มความลึกให้กับภาพและเหมาะกับอารมณ์ทุกรูปแบบ อย่างไรก็ตาม หากลูกค้าต้องการหรือสถานการณ์ทำให้ต้องถ่ายตัวแบบหรือฉากทั้งหมดให้อยู่ในโฟกัส ฉันจะปรับค่า f หรือใช้การซ้อนโฟกัส  กล้องในซีรีย์ EOS R รุ่นใหม่ล่าสุดบางรุ่น เช่น EOS R6 Mark II จะมีฟังก์ชั่น Focus Bracketing ในตัวกล้องและฟังก์ชั่น Depth Compositing ที่สามารถถ่ายภาพและนำภาพมาซ้อนกันได้

EOS R6 Mark II + RF50mm f/1.8 STM

โบเก้ก็สามารถอยู่ในโฟร์กราวด์ได้เช่นกัน! ในภาพนี้ ใบไม้เบลอที่อยู่ในโฟร์กราวด์ทำหน้าที่เป็นกรอบให้ตัวแบบ ทั้งยังช่วยเพิ่มสีสันและความมีมิติให้กับภาพ

2) ตรวจสอบโฟกัสหลังถ่ายภาพทุกภาพ หรือลองถ่ายภาพขณะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น

 วิธีนี้จะช่วยให้โฟกัสคมชัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ค่ารูรับแสงกว้าง บางครั้งภาพบนหน้าจอ LCD ก็มองเห็นได้ยาก ดังนั้นจึงควรขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นขณะตรวจดู

หรือคุณอาจถ่ายภาพขณะเชื่อมต่ออุปกรณ์ (เชื่อมต่อกล้องของคุณเข้ากับคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ตในขณะถ่ายภาพ) วิธีนี้จะช่วยให้คุณดูภาพที่ถ่ายได้ด้วยความละเอียดสูงสุดได้ทันทีบนหน้าจอขนาดใหญ่ และยังสามารถบันทึกภาพลงในคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงอีกด้วย! วิธีนี้จะเป็นประโยชน์เป็นพิเศษในการถ่ายภาพจากมุมบนลงล่าง เพราะคุณจะไม่ต้องคอยวิ่งกลับไปที่กล้องเพื่อปรับการตั้งค่าต่างๆ จึงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากในการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าหรือภาพเชิงพาณิชย์

เคล็ดลับการใช้อุปกรณ์: คุณสามารถถ่ายภาพขณะเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้แบบไร้สายด้วย EOS Utility ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ฟรีจาก Canon


สมดุลแสงขาว: ตรวจสอบทันที
คุณคงไม่อยากให้อาหารดูมีสีออกไปทางเหลืองหรือน้ำเงินมากเกินไป ซึ่งไม่ใช่เหตุผลด้านความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่สีเพี้ยนบนอาหารบางประเภท เช่น ครีม อาจทำให้ผู้ชมเข้าใจผิดว่ามีรสชาติทั้งที่ความจริงแล้วอาจไม่มี ในขั้นแรก สมดุลแสงขาวอัตโนมัติ: Ambience-priority จะให้สีที่ค่อนข้างแม่นยำเป็นส่วนใหญ่ เพื่อการควบคุมและความสม่ำเสมอที่ดียิ่งขึ้น ฉันจะปรับอุณหภูมิสีแบบแมนนวลโดยใช้องศาเคลวินในขณะถ่ายภาพ


รูปแบบภาพ: รายละเอียดคมชัด

ฉันใช้การตั้งค่ารูปแบบภาพ “รายละเอียดคมชัด” เพื่อให้เห็นรายละเอียดของอาหารมากขึ้น

รูปแบบภาพคืออะไร
การตั้งค่า “รูปแบบภาพ” คือโปรไฟล์ภาพที่ควบคุมการใช้สี ความเปรียบต่าง และความคมชัดภายในภาพ ซึ่งรูปแบบภาพจะส่งผลต่อภาพที่คุณมองเห็นในกล้อง และรูปแบบภาพมักจะโหลดเองโดยค่าเริ่มต้นเมื่อคุณเปิดภาพ RAW ในซอฟต์แวร์ปรับแต่งภาพ ดังนั้น ภาพที่คุณเห็นก็คือภาพที่คุณถ่ายได้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #10: รูปแบบภาพ


ความไวแสง ISO: รู้จักกล้องของคุณ

รายละเอียดคือสิ่งสำคัญในการถ่ายภาพอาหาร ฉันจึงตั้งค่าความไวแสง ISO ให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดทันทีหลังถ่าย ฉันรู้สึกสบายใจมากกว่าเดิมเวลาใช้ค่าความไวแสง ISO สูงบนกล้องฟูลเฟรมอย่าง EOS R6 Mark II เนื่องจากกล้องรุ่นนี้มีประสิทธิภาพความไวแสง ISO สูงที่ดีกว่า

 

5. การปรับแต่ง

เนื่องจากงานส่วนใหญ่จะเสร็จสิ้นทันทีหลังการถ่ายภาพ โดยมากฉันจึงต้องแก้ไขความสว่าง ความเปรียบต่าง และความคมชัดเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในกระบวนการปรับแต่งภาพ


ดูเคล็ดลับการถ่ายภาพอาหารและอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดในบทความนี้ได้ที่
ถ่ายภาพอาหารให้ดูสวยยิ่งขึ้น: 3 เคล็ดลับง่ายๆ
ภาพมาโครชวนน้ำลายสอ: ศิลปะแห่งการถ่ายภาพอาหารแบบโคลสอัพ
เคล็ดลับในการถ่ายภาพและออกแบบอาหาร
3 เทคนิคการออกแบบและจัดองค์ประกอบสำหรับการถ่ายภาพอาหาร

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา