ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง: คุณสมบัติการแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเลนส์ในกล้องมีประโยชน์ใดบ้าง

2021-08-18
2
1.16 k
ในบทความนี้:

ไม่มีเลนส์รุ่นไหนที่สมบูรณ์แบบ 100% แม้แต่เลนส์ที่ผลิตออกมาดีที่สุดก็ยังมีความคลาดเคลื่อนทางออพติคอลอยู่บ้าง ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของภาพถ่ายในหลายๆ ด้าน โดยปกติแล้ว ความคลาดเคลื่อนเหล่านี้จะได้รับการแก้ไขด้วยการออกแบบเลนส์โดยใช้ชิ้นเลนส์และการเคลือบแบบพิเศษ ทว่าแม้กระทั่งวิธีเหล่านี้ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ โชคดีที่ขณะนี้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีล่าสุดสามารถลดหรือแม้แต่ขจัดความคลาดเคลื่อนเหล่านี้ด้วยวิธีดิจิตอลในกล้องและได้ทันทีที่ถ่ายภาพ ในบทความนี้เราจะมาศึกษาความคลาดเคลื่อนดังกล่าวบางส่วน รวมถึงวิธีที่การแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเลนส์ในกล้องช่วยให้คุณถ่ายภาพคุณภาพสูงไร้ที่ติ (เรื่องโดย: Kazuo Nakahara, Digital Camera Magazine)

 

1. แก้ไขระดับแสงขอบภาพ

ลดความมืดบริเวณมุมภาพ

เมื่อคุณถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงกว้างสุดหรือเกือบกว้างสุด คุณอาจสังเกตเห็นว่าบริเวณใกล้มุมภาพดูมืดลง ปัญหานี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขอบมืดหรือปัญหาแสงน้อยลงที่บริเวณขอบภาพ ซึ่งจะเกิดขึ้นกับเลนส์ทุกรุ่นและความแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือระดับความมืด!

ทั้งสองภาพ: EOS R/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 43 มม./ Flexible-priority AE (f/5.6, 1/400 วินาที, EV +0.3)/ ISO 100

คุณสังเกตเห็นความแตกต่างเมื่อปิดฟังก์ชั่นหรือไม่ ขอบมืดเช่นนี้จะมองเห็นชัดยิ่งขึ้นในบริเวณที่มีสีเรียบๆ หรือมีลวดลายธรรมดาซ้ำๆ กัน เช่น ท้องฟ้าใสกระจ่างในภาพตัวอย่างด้านบน การเปิดใช้ “แก้ไขระดับแสงขอบภาพ” จะเพิ่มความสว่างให้กับบริเวณมุมภาพเพื่อให้ท้องฟ้าดูสว่างทั่วถึงกันยิ่งขึ้น

การแก้ไขระดับแสงขอบภาพมีประโยชน์ในสถานการณ์ต่างๆ ดังนี้
เมื่อองค์ประกอบภาพของคุณเกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาล
- เมื่อคุณถ่ายภาพบุคคล และต้องการใช้รูรับแสงกว้างสุดเพื่อสร้างโบเก้
- ระหว่างการถ่ายภาพมาโครในระยะมุมกว้าง เมื่อคุณต้องการใช้รูรับแสงกว้างสุด

ข้อควรรู้:
- สำหรับระบบ EOS R คุณสมบัติ “แก้ไขระดับแสงขอบภาพ” จะถูกตั้งไว้เป็น “เปิด” โดยปริยาย คุณควรเปิดคุณสมบัตินี้ทิ้งไว้เกือบตลอดเวลา ยกเว้นเวลาที่ต้องการเอฟเฟ็กต์ขอบมืดเพื่อจุดประสงค์ทางศิลปะหรือกำลังใช้เลนส์ยี่ห้ออื่น

 

2. แก้ไขความคลาดส่วน

ลดความบิดเบี้ยวทางออพติคอล

ความคลาดส่วนจะเกิดขึ้นเมื่อใช้ทางยาวโฟกัสมากเกินไปและจะเห็นได้ชัดเป็นพิเศษกับตัวแบบที่มีเส้นตรง คุณอาจเห็นว่าเส้นเหล่านี้ดูเหมือนโค้งเข้าด้านใน (บิดเบี้ยวแบบโป่งออก) หรือออกด้านนอก (บิดเบี้ยวแบบเว้าเข้า) ไปทางขอบด้านนอกของภาพ ซึ่งขึ้นอยู่กับเลนส์นั้นๆ

แก้ไขความคลาดส่วน - เปิด

แก้ไขความคลาดส่วน - ปิด

บริเวณในกรอบสีแดง (เปิดการแก้ไข)

บริเวณในกรอบสีแดง (ปิดการแก้ไข)

ทั้งสองภาพ: EOS R/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/500 วินาที)/ ISO 100

เมื่อซูมเข้าไปในภาพที่ถ่ายโดยตั้งค่าการแก้ไขความคลาดส่วนเป็น “ปิด” เราจะเห็นได้ว่าเส้นแนวนอนนั้นเอียงขึ้นด้านบนเล็กน้อย การแก้ไขความคลาดส่วนจะปรับเส้นให้ตรงและแสดงภาพอาคารอย่างแม่นยำยิ่งขึ้น


การแก้ไขความคลาดส่วนมีความสำคัญในสถานการณ์ต่างๆ ดังนี้
- ในภาพทิวทัศน์ที่มีขอบฟ้าที่เห็นได้ชัด
- เมื่อถ่ายภาพอาคารและโครงสร้างต่างๆ ที่มีเส้นตรง
- ในการถ่ายภาพนิ่ง เพื่อถ่ายทอดรูปร่างของตัวแบบได้อย่างถูกต้อง


ข้อควรรู้: การแก้ไขความคลาดส่วนจะครอปขอบภาพออกเล็กน้อย

แก้ไขความคลาดส่วน - เปิด

แก้ไขความคลาดส่วน - ปิด

ในกระบวนการแก้ไขความคลาดส่วน ขอบภาพจะถูกครอปออกไปเล็กน้อย เช่น ในภาพครอปด้านบนที่มาจากมุมล่างซ้ายของภาพอาคาร การตัดส่วนภาพนั้นแทบไม่เป็นที่สังเกต แต่ก็ควรจดจำข้อนี้ไว้ในสถานการณ์ที่การจัดองค์ประกอบภาพมีความสำคัญจริงๆ 

 

3. Digital Lens Optimizer

แก้ไขปัญหาที่ทำให้คุณภาพของภาพด้อยลงหลายจุดในคราวเดียว

นอกจากความคลาดเคลื่อนของเลนส์และความคลาดส่วนแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลเสียต่อคุณภาพของภาพ หนึ่งในนั้นคือฟิลเตอร์ Low-pass ซึ่งลดการเกิดมอเร่และความเพี้ยนสีที่เกิดขึ้นในตัวแบบที่มีความถี่สูง (มีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ) แต่ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้ความคมชัดลดลงด้วย ในการแก้ไขปัญหานี้และใช้ประโยชน์จากความสามารถในการถ่ายทอดรายละเอียดของเลนส์ EF หรือเลนส์ RF ได้อย่างเต็มที่ยิ่งขึ้น ให้เปิดใช้งาน Digital Lens Optimizer (DLO) ไว้

EOS R/ RF28-70mm f/2L USM/ FL:28 มม./ Aperture-priority AE (f/22, 1/125 วินาที, EV +0.3)/ ISO 160

DLO - เปิด

DLO - ปิด

การถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงที่แคบมาก เช่น f/22 มักทำให้ภาพขาดความคมชัดอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากการเลี้ยวเบนของแสง แต่การเปิดใช้งาน DLO จะลดปัญหาภาพเบลอและสีจางลง ทำให้ความละเอียดและความคมชัดของภาพดียิ่งขึ้น


ข้อควรรู้: สำหรับระบบ EOS R การเปิด DLO ไว้จะไม่ส่งผลต่ออัตราการถ่ายภาพต่อเนื่อง

สำหรับกล้องรุ่นเก่าก่อนระบบ EOS R การเปิดใช้งานฟังก์ชั่น DLO ในกล้องจะทำให้ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องลดลง แต่ปัญหานี้ก็ได้รับการแก้ไขแล้วในระบบ EOS R

แม้ว่าคุณจะตัดสินใจไม่เปิดใช้งาน DLO ก็ยังมีตัวเลือกในการเปิดใช้งานเฉพาะฟังก์ชั่น “แก้ไขการเลี้ยวเบน” หรือ “แก้ไขความคลาดสี”

 

4. แก้ไขความคลาดสี

แก้ไขปัญหาสีเพี้ยน

เนื่องจากความยาวคลื่นที่แตกต่างกันของสีในแสงจะเดินทางด้วยความเร็วต่างกัน แสงจึงหักเหที่องศาต่างกันเมื่อผ่านเข้าสู่เลนส์ เมื่อคุณถ่ายภาพภายใต้แสงที่มีความยาวคลื่นต่างๆ ของสี การกระจายแสงที่เกิดจากดัชนีการหักเหที่ต่างกันเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนสีหรือความคลาดสี (หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “สีเพี้ยน”)

EOS R/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/800 วินาที, EV +0.3)/ ISO 100

แก้ไขความคลาดสี – เปิด

แก้ไขความคลาดสี – ปิด

ความคลาดสีมีอยู่สองประเภท ได้แก่ ตามแกนและตามแนวทแยง ความคลาดสีตามแนวทแยงซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บริเวณขอบภาพนั้น ยากที่จะแก้ไขด้วยการออกแบบออพติคอลเพียงอย่างเดียว แม้แต่ในเลนส์ที่มีประสิทธิภาพสูง การเปิดใช้งาน Digital Lens Optimizer หรือฟังก์ชั่นแก้ไขความคลาดสีจะแก้ไขปัญหาความคลาดสีอย่างได้ผลยิ่งขึ้น

การแก้ไขความคลาดสีมีประโยชน์ในสถานการณ์ต่างๆ ดังนี้
- เมื่อคุณต้องถ่ายภาพที่รูรับแสงกว้างสุดเพื่อให้ได้ระยะชัดที่ต้องการด้วยเลนส์เทเลโฟโต้
- เมื่อถ่ายภาพที่มุมเทเลโฟโต้ เมื่อคุณต้องการหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนการตั้งค่ารูรับแสง เนื่องจากจะส่งผลต่อภาพถ่ายที่ได้
- เมื่อถ่ายภาพที่มุมกว้าง เมื่อคุณใช้มุมมองแบบพิเศษเพื่อสร้างเปอร์สเป็คทีฟให้ดูเกินจริง

 

5. แก้ไขการเลี้ยวเบน

รายละเอียดคมชัดขึ้นเมื่อใช้รูรับแสงแคบ

เมื่อคุณถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงแคบ เช่น f/16, f/22 หรือแคบกว่านั้น ม่านรูรับแสงจะกั้นแสงที่เข้ามา ซึ่งทำให้แสงเกิดการเลี้ยวเบนมากขึ้นและทำให้ความละเอียดลดลงอย่างเห็นได้ชัด การเปิดใช้งานการแก้ไขการเลี้ยวเบนด้วยวิธีดิจิตอลจะกู้คืนรายละเอียดที่หายไปได้

EOS R/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 33 มม./ ISO 100 (ภาพตัวอย่างด้านล่างถ่ายโดยใช้รูรับแสงที่แตกต่างกัน)

เปิดการแก้ไขการเลี้ยวเบน – f/22

ปิดการแก้ไขการเลี้ยวเบน – f/22


ข้อควรรู้: คุณสมบัตินี้ใช้ได้แม้แต่กับภาพที่ถ่ายโดยใช้รูรับแสงกว้างๆ

สังเกตว่าการเปิดใช้งานการแก้ไขการเลี้ยวเบนทำให้เส้นขอบของข้อความคมชัดยิ่งขึ้น แม้ว่าภาพต่อไปนี้จะถ่ายโดยใช้ค่า f/4

เปิดการแก้ไขการเลี้ยวเบน – f/4

ปิดการแก้ไขการเลี้ยวเบน – f/4


การแก้ไขการเลี้ยวเบนมีความสำคัญในสถานการณ์ต่างๆ ดังนี้
- เมื่อใช้รูรับแสงที่แคบมากเพื่อโฟกัสชัดลึกไปที่ทิวทัศน์ หรือสร้างเอฟเฟ็กต์แฉกแสง
- การถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงนานที่จำเป็นต้องใช้รูรับแสงแคบเพื่อควบคุมการเปิดรับแสง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากฉากมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ จำนวนมาก

 

ฟังก์ชั่นที่ควรรู้จัก: การประมวลผลภาพ RAW ในกล้อง

หากคุณต้องการเผยแพร่ภาพทันทีที่ถ่ายเสร็จ คุณสามารถทำการปรับแต่งภาพขั้นพื้นฐานกับไฟล์ RAW ได้ภายในกล้อง

1. ในโหมดดูภาพ ให้กดปุ่ม SET แล้วไปที่ไอคอนประมวลผลภาพ RAW เลือกไอคอนขวาสุดเพื่อปรับแต่งการประมวลผล RAW


2. ตัวเลือกที่อยู่ทางขวาเหล่านี้ช่วยให้คุณทำการปรับแต่งขั้นพื้นฐานได้ เช่น ปรับความสว่าง สมดุลแสงขาว พารามิเตอร์รูปแบบภาพ ฯลฯ


3. คุณสามารถเปิดและปิดใช้งานการแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเลนส์ได้ด้วยการเลือกไอคอนเลนส์

 

สำรวจคุณสมบัติและฟังก์ชั่นเพิ่มเติมที่อาจทำให้ภาพของคุณดูดียิ่งขึ้นได้ในบทความต่อไปนี้
HDR PQ HEIF: ก้าวข้ามขีดจำกัดของภาพแบบ JPEG
3 คุณสมบัติใหม่ของ DPP ที่มีประโยชน์สำหรับแก้ไขภาพถ่าย DPRAW
การปรับแสงในภาพพอร์ตเทรต: ตัวช่วยจัดแสงภายในกล้องของคุณ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา