พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #6: เลนส์มุมกว้าง
เลนส์มุมกว้างสามารถเก็บภาพในมุมกว้างได้อย่างน่าทึ่ง พร้อมกับสร้างภาพที่มีเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟอันโดดเด่น ในบทความนี้ เราจะมาศึกษาลักษณะเฉพาะของเลนส์มุมกว้าง รวมทั้งตักตวงเคล็ดลับเกี่ยวกับการฝึกฝนใช้งานจนชำนาญกัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)
ลักษณะเฉพาะของเลนส์มุมกว้าง
1. สามารถถ่ายระยะชัดลึกที่กว้างได้อย่างน่าทึ่ง
2. สามารถใช้เพื่อเน้นเปอร์สเป็คทีฟ
3. ทำให้บริเวณขอบภาพดูบิดเบี้ยว
4. ช่วยให้ได้โฟกัสชัดลึกง่ายขึ้น
โดยทั่วไป เลนส์มุมกว้างหมายถึงเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัส 35 มม. หรือต่ำกว่านั้น เมื่อเทียบกับฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ยิ่งทางยาวโฟกัสสั้น มุมรับภาพที่ได้ก็จะยิ่งกว้างขึ้น อันที่จริง เลนส์มุมกว้างสามารถถ่ายภาพฉากได้มากกว่าที่ตาของคนเรามองเห็น
เนื่องจากเลนส์มุมกว้างขับเน้นเปอร์สเป็คทีฟด้วยเช่นกัน ดังนั้น ในผลภาพที่ได้ วัตถุที่อยู่ใกล้จึงดูใหญ่ขึ้น และวัตถุที่อยู่ไกลจะดูเล็กลง นี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเลนส์มุมกว้าง แต่ในขณะเดียวกันเลนส์อาจทำให้เกิดความบิดเบี้ยวอันไม่พึงประสงค์ในภาพถ่ายได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวแบบ เอฟเฟ็กต์ความบิดเบี้ยวเห็นได้ชัดที่บริเวณขอบภาพ คุณจึงอาจต้องวางตัวแบบไว้ที่กึ่งกลางเฟรม หากไม่ต้องการให้ตัวแบบดูบิดเบี้ยวไป
เลนส์มุมกว้างยังมีระยะชัดลึกที่กว้าง ซึ่งทำให้ง่ายต่อการโฟกัสแบบชัดลึก และสร้างภาพถ่ายที่ภาพทั้งหมดอยู่ในโฟกัสตั้งแต่ส่วนโฟร์กราวด์จนถึงแบ็คกราวด์ การใช้มุมกว้างนี้ยังหมายความว่าคุณสามารถต้านทานการสั่นของกล้องได้ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์กว้างใหญ่ ห้องแคบ ถนน และอาคารต่างๆ ได้
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของเลนส์มุมกว้างได้ที่:
ถาม-ตอบเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพ ลักษณะเฉพาะของเลนส์มุมกว้างและการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 1: เอฟเฟ็กต์ภาพที่ได้จากเลนส์มุมกว้าง
ประเภทหลักๆ ของเลนส์มุมกว้าง
เลนส์ L สำหรับกล้องฟูลเฟรม
เลนส์ IS สำหรับกล้องฟูลเฟรม
เลนส์ EF-S/EF-M
เราสามารถแบ่งเลนส์มุมกว้างของ Canon ออกได้เป็นสามหมวดใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่
1. เลนส์ L สำหรับใช้กับกล้องฟูลเฟรม
2. เลนส์ IS สำหรับใช้กับกล้องฟูลเฟรม และ
3. เลนส์ EF-S/EF-M
เลนส์ L คือเลนส์ระดับพรีเมี่ยมและมักมีขนาดใหญ่กว่า รวมทั้งมีคุณภาพในระดับพรีเมี่ยม จึงทำให้มีราคาสูง
ส่วนเลนส์ที่มีระบบ IS (ระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัว) ส่วนใหญ่เป็นเลนส์เดี่ยว และมีขนาดกะทัดรัดกว่ามากเมื่อเทียบกับเลนส์ L
ส่วนเลนส์ EF-S/EF-M คือเลนส์สำหรับใช้กับกล้อง DSLR ขนาด APS-C และกล้อง EOS-M โดยเฉพาะตามลำดับ และหลายรุ่นมีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบา
ทางยาวโฟกัสมุมกว้าง
เลนส์มุมกว้างที่มีทางยาวโฟกัสน้อยกว่า 20 มม. เมื่อเทียบกับฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ถือว่าเป็นเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ ยิ่งทางยาวโฟกัสสั้น มุมรับภาพก็จะยิ่งกว้างขึ้น และเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟจะยิ่งชัดเจนขึ้นด้วย
เทคนิคสำหรับการใช้เลนส์มุมกว้างอย่างมีประสิทธิผล
1. เข้าใกล้ตัวแบบเพื่อให้เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟมีประสิทธิภาพสูงสุด
ดังที่ได้แนะนำไว้ในพื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #5: เปอร์สเป็คทีฟเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟจะออกมาเด่นชัดหรือด้อยลงขึ้นอยู่กับระยะการถ่ายภาพ เช่น ระยะห่างระหว่างกล้องกับตัวแบบ ตัวอย่างด้านล่างถ่ายโดยใช้ทางยาวโฟกัสที่เท่ากัน (16 มม.) แต่ในภาพที่ถ่ายจากตัวแบบที่อยู่ใกล้กว่า (ขวา) ตัวแบบในส่วนโฟร์กราวด์ของภาพดูมีขนาดใหญ่ขึ้น และทำให้ภาพดูน่าสนใจยิ่งขึ้น นี่จึงช่วยส่งเสริมแนวคิดที่ว่ายิ่งกล้องอยู่ใกล้ตัวแบบมากเท่าใด เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟจะยิ่งชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น
เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟด้อยลงเมื่อคุณถอยห่างจากตัวแบบ
EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/4.0, 1/200 วินาที, EV-1.0)/ ISO 100/ WB: Manual
การเข้าใกล้ตัวแบบจะช่วยเพิ่มเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟ
EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/4.0, 1/200 วินาที, EV-1.0)/ ISO 100/ WB: Manual
2. วางตัวแบบไว้กึ่งกลางเฟรมเมื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรต
เมื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรต ควรระวังความบิดเบี้ยวที่เกิดจากความคลาด ซึ่งเกิดกับเลนส์มุมกว้างโดยเฉพาะ ตัวอย่างด้านล่างถ่ายโดยใช้ทางยาวโฟกัสที่เท่ากัน (17 มม.) อย่างไรก็ดี ในภาพด้านซ้ายซึ่งวางตัวแบบไว้ด้านข้างเฟรม ใบหน้าของตัวแบบดูบิดเบี้ยว เนื่องจากความคลาดดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ซึ่งความบิดเบี้ยวดังกล่าวจะยิ่งเด่นชัดมากขึ้นเมื่อใกล้กับบริเวณขอบภาพมากขึ้น นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงควรวางตัวแบบบุคคลไว้กึ่งกลางภาพเมื่อถ่ายภาพด้วยเลนส์มุมกว้าง
แต่มีข้อยกเว้นอย่างหนึ่งคือ หากคุณต้องการทำให้ขาของนางแบบดูยาวขึ้น ศึกษาไอเดียเพิ่มเติมได้ที่:
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 2: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับเลนส์มุมกว้าง
ใบหน้าบิดเบี้ยวบริเวณขอบภาพ
EOS 6D/ EF17-40mm f/4L USM/ FL: 17 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/500 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
ไม่มีความบิดเบี้ยวเมื่อวางตัวแบบไว้กึ่งกลางภาพ
EOS 6D/ EF17-40mm f/4L USM/ FL: 17 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/400 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
ใช้เลนส์มุมกว้างสำหรับฉากเหล่านี้
EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/40 วินาที, EV-1.3)/ ISO 4000/ WB: อัตโนมัติ
พื้นที่แคบในที่ร่มซึ่งคุณต้องการถ่ายระยะชัดลึกที่กว้าง
ใช้เลนส์มุมกว้างเพื่อเก็บภาพมุมกว้างของพื้นที่แคบในที่ร่ม เพื่อสร้างความรู้สึกถึงความกว้างและพื้นที่อันกว้างใหญ่ ให้ถือกล้องเอียงขึ้นที่ตำแหน่งที่ต่ำและมุมต่ำ
EOS 6D/ EF17-40mm f/4L USM/ FL: 17 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/100 วินาที, EV+1)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
เพื่อทำให้อาคารดูสูงตระหง่านขึ้น
มุมรับภาพที่กว้างของเลนส์มุมกว้างยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับทำให้อาคารดูสูงตระหง่านขึ้น โดยมีวิธีคือขยับเข้าใกล้กำแพงอาคารมากขึ้น และเล็งกล้องไปด้านบนตรงๆ เพื่อให้เกิดเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟ และหากต้องการเน้นเอฟเฟ็กต์ให้เด่นชัดขึ้นอีก ควรจัดองค์ประกอบภาพในแนวตั้ง
หากต้องการทราบเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพอาคารและการตกแต่งภายใน โปรดอ่านบทความต่อเนื่องของเราเกี่ยวกับเคล็ดลับในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม:
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #1: 3 แนวคิดพื้นฐาน
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #2: การใช้มุมกว้าง/ทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #3: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพที่มีประสิทธิภาพ
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #4: การถ่ายภาพอาคารยามค่ำคืน
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!