ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

เรื่องที่คุณไม่เคยรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นทิลต์ในเลนส์ทิลต์-ชิฟต์

2020-12-25
0
1.15 k
ในบทความนี้:

ก่อนหน้านี้ เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นชิฟต์ในเลนส์ทิลต์-ชิฟต์ไปแล้ว ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับฟังก์ชั่นทิลต์ และดูว่าผลทางออพติคอลอันเป็นเอกลักษณ์ของฟังก์ชั่นนี้มีประโยชน์อย่างไรสำหรับการถ่ายภาพในแนวอื่น และไม่ใช่เพื่อการใช้งานจริงเท่านั้น แต่เพื่อการถ่ายทอดภาพอย่างสร้างสรรค์มากขึ้นด้วย!


การทิลต์และชิฟต์เลนส์เป็นเทคนิคมาตรฐานสำหรับกล้องขนาดใหญ่ซึ่งเชื่อมต่อเลนส์เข้ากับกล้องด้วยส่วนพับยืด อย่างไรก็ตาม มีระบบกล้อง DSLR หรือกล้องมิเรอร์เลสไม่มากนักที่มีเลนส์ในกลุ่มทิลต์-ชิฟต์ ระบบ EOS ของ Canon เป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ระบบที่มีเลนส์กลุ่มนี้ และยังเป็นกลุ่มเลนส์ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับกล้องฟูลเฟรม โดยมีเลนส์เมาท์ EF ทิลต์-ชิฟต์ 5 รุ่น ซึ่งมีทางยาวโฟกัส 17 มม., 24 มม., 50 มม., 90 มม. และ 135 มม.

โดยทั่วไป เลนส์ทิลต์-ชิฟต์มักเป็นเลนส์โฟกัสแบบแมนนวล แต่เลนส์ของ Canon มีการควบคุมรูรับแสงแบบอัตโนมัติ จึงสามารถใช้ได้กับโหมดการถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงอัตโนมัติ และยังสามารถใช้กับกล้องในระบบ EOS R ได้ด้วยเมื่อมีเมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R

 

ฟังก์ชั่นทิลต์ทำงานอย่างไร

ฟังก์ชั่นทิลต์ในเลนส์ทิลต์-ชิฟต์จะเปลี่ยนมุมของเลนส์ ทำให้คุณสามารถเปลี่ยนมุมของระนาบโฟกัสได้ตามเซนเซอร์ภาพ

เพื่อให้เข้าใจการทำงานของฟังก์ชั่นนี้ เราจะมาดูหลักการที่อยู่เบื้องหลังเอฟเฟ็กต์ทิลต์กันก่อน


การใช้งานเดิมของฟังก์ชั่นทิลต์: โฟกัสชัดลึกในฉากที่มีความลึก

หลายคนเข้าใจว่าการโฟกัสเกิดขึ้นที่จุดเดียว แต่ความจริงแล้ว การโฟกัสเกิดบนแนวระนาบ หรืออีกนัยหนึ่งคือ สิ่งใดก็ตามที่อยู่ห่างจากเลนส์เป็นระยะเท่ากับจุดโฟกัสที่กำหนดจะอยู่ในโฟกัส

สำหรับเลนส์ทั่วๆ ไป ระนาบโฟกัสจะขนานกับระนาบภาพ (เซนเซอร์ภาพของกล้อง) ส่วนต่างๆ ในฉากที่อยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังของระนาบโฟกัสจะอยู่นอกโฟกัสมากขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะห่าง ฉากส่วนที่อยู่ในโฟกัสคือสิ่งที่เราเรียกว่า ระยะชัด ซึ่งสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยการทำให้รูรับแสงแคบลงเพื่อให้ตัวแบบอยู่ในโฟกัสได้มากขึ้น


ทบทวนความรู้เรื่องนี้ได้ที่:
[บทที่ 3] เรียนรู้เกี่ยวกับรูรับแสง

 

ระนาบโฟกัส (ปกติ)

ระนาบโฟกัส (ฟังก์ชั่นทิลต์)


อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวแบบที่มีความลึกมาก คุณจะต้องใช้รูรับแสงที่แคบมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงสองประการ ได้แก่:
- การเลี้ยวเบน ซึ่งส่งผลเสียต่อคุณภาพของภาพ
- ความไวแสง ISO ที่สูงขึ้นและจุดรบกวนในภาพมากขึ้นเนื่องจากแสงเข้าสู่เลนส์ได้น้อยลง

ฟังก์ชั่นทิลต์ในเลนส์ทิลต์-ชิฟต์แก้ปัญหานี้ได้โดยให้คุณสามารถปรับมุมของระนาบโฟกัสได้ตามระนาบภาพ ดังแสดงในแผนภาพด้านบน จึงทำให้องค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่ตามแนวความลึก (ด้านหน้าและหลัง) ของฉากอยู่ในโฟกัสได้ทั้งหมด

เลนส์ทิลต์-ชิฟต์ที่ใช้ฟังก์ชั่นทิลต์


เลนส์ TS-E ของ Canon มีระบบการหมุนแบบ TS ซึ่งทำให้สามารถปรับการทิลต์ของเลนส์ได้ในทุกทิศทาง เลนส์มีช่วงมุมทิลต์ดังแสดงด้านล่าง:
- TS-E17mm f/4L: ±6.5°
- TS-E 24mm f/3.5L II, TS-E50mm f/2.8L Macro: ±8.5°
- TS-E90mm f/2.8L Macro, Canon TS-E135mm f/4L Macro: ±10°

 

เราสามารถใช้ฟังก์ชั่นทิลต์ในฉากแบบใดบ้าง


ฉากที่ 1: ให้ฉากทิวทัศน์ที่มีความลึกอยู่ในโฟกัสทั้งหมด

ภาพเนินเขาสูงต่ำที่อยู่ในโฟกัสทั้งภาพ

TS-E50mm f/2.8L Macro / FL: 50 มม./ Manual exposure (f/2.8, 1/2000 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

 

คุณเห็นเนินเขากี่ลูกในภาพนี้ตั้งแต่โฟร์กราวด์ตลอดไปจนถึงแบ็คกราวด์

หากเราถ่ายฉากด้านบนด้วยเลนส์ปกติ แม้แต่รูรับแสงที่แคบที่สุดก็ไม่สามารถทำให้เนินเขาทั้งหมดอยู่ในโฟกัสได้ อย่างไรก็ตาม การปรับระนาบโฟกัสจนกระทั่งเนินเขาทุกลูกอยู่ในระยะชัดทำให้ภาพนี้อยู่ในโฟกัสทั้งหมดตั้งแต่ด้านหน้าจนถึงด้านหลัง แม้ใช้ค่า f/2.8 ลองนึกดูว่าฟังก์ชั่นนี้จะเป็นประโยชน์แค่ไหนในฉากที่คุณไม่ต้องการใช้ความไวแสง ISO ที่มากเกินไปหรือความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำเกินไป!

 

ฉากที่ 2: โฟกัสชัดลึกในการถ่ายภาพโคลสอัพ

จานหลายใบบนโต๊ะ

TS-E50mm f/2.8L Macro / FL: 50 มม./ Manual exposure (f/11, 0.4 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ภาพจานหลายใบบนโต๊ะด้านบนนี้เป็นภาพที่คุณมักจะเห็นในเมนูของร้านอาหาร สถานการณ์เช่นนี้มักต้องใช้การถ่ายภาพโคลสอัพ ซึ่งทำให้เกิดระยะชัดที่ตื้นมาก หากเป็นเลนส์ทั่วไป การจับโฟกัสให้ได้ทั้งภาพจะทำได้ยาก แต่ฟังก์ชั่นทิลต์ทำให้ง่ายขึ้นมากเพราะคุณเพียงแค่ต้องหามุมในการทิลต์ที่เหมาะสมเท่านั้น และยังเป็นฟังก์ชั่นที่มีประโยชน์ในการโฟกัสชัดลึกเมื่อถ่ายภาพผลิตภัณฑ์โดยไม่ต้องใช้การซ้อนโฟกัสด้วย

 

วิธีการประมาณตำแหน่งของระนาบโฟกัส


เราจะมองไม่เห็นระนาบโฟกัสเมื่อใช้ฟังก์ชั่นทิลต์ แต่มีวิธีที่จะสามารถทำให้มองเห็นได้

ลองนึกภาพระนาบสองเส้น โดยให้เส้นหนึ่งขนานกับพื้นผิวเลนส์ และอีกเส้นหนึ่งขนานกับเซนเซอร์ภาพ ระนาบโฟกัสจะเริ่มจากจุดที่สองเส้นนี้บรรจบกัน วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถประมาณได้ว่าต้องใช้การทิลต์มากเท่าใดเพื่อให้ได้ระนาบโฟกัสในจุดที่ต้องการ

 

“การทิลต์ในทิศตรงข้าม”: เพิ่มความสร้างสรรค์ด้วยการเลือกจุดโฟกัส

นอกจากจะใช้เพื่อทำให้ตัวแบบที่มีความลึกอยู่ในโฟกัสทั้งหมดแล้ว คุณยังสามารถใช้ฟังก์ชั่นทิลต์ “ในทิศตรงข้าม” เพื่อทำให้ทุกอย่างนอกจากตัวแบบบางตัวอยู่นอกโฟกัสได้ด้วย ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการเลือกจุดโฟกัส

 

วิธีการถ่ายภาพด้วยการทิลต์ในทิศตรงข้าม

จัดตำแหน่งให้ระนาบโฟกัสตัดกับตัวแบบ เฉพาะพื้นที่ภายในระนาบโฟกัสเท่านั้นที่จะอยู่ในโฟกัส การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมตำแหน่งของพื้นที่ที่อยู่ในและนอกโฟกัสได้มากกว่าที่ทำได้ด้วยเลนส์รูรับแสงกว้างทั่วไป

ระนาบโฟกัสระหว่างการเลือกโฟกัส

 

ฉากที่ 3: การเลือกจุดโฟกัสเฉพาะบางส่วนของเฟรมภาพ 

TS-E90mm f/2.8L Macro / FL: 90 มม./ Manual exposure (f/2.8, 1/640 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

หากเป็นเลนส์รูรับแสงกว้างทั่วไป การถ่ายภาพจากระยะเท่านี้จะทำให้เกิดระยะชัดที่กว้างขึ้น และทุกสิ่งที่อยู่ทางด้านซ้ายและขวาของโตเกียวทาวเวอร์จะอยู่ในโฟกัส แต่ในภาพนี้ นอกจากโตเกียวทาวเวอร์และอาคารที่ตั้งอยู่ด้านหน้า ส่วนอื่นๆ ล้วนอยู่นอกโฟกัสทั้งหมด นี่คือเอฟเฟ็กต์อันเป็นเอกลักษณ์ของเลนส์ทิลต์-ชิฟต์

 

ฉากที่ 4: เอฟเฟ็กต์ย่อส่วน

แยกทางข้ามล้อมรอบด้วยอาคาร

TS-E135mm f/4L Macro / FL: 135 มม./ Manual exposure (f/4, 1/1250 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ภาพนี้ดูคุ้นตาหรือไม่ นี่คือ ‘เอฟเฟ็กต์ย่อส่วน’ แบบดั้งเดิม ซึ่งเกิดจากวิธีการแบบออพติคอลของเลนส์ทิลต์-ชิฟต์โดยการปรับระนาบโฟกัสให้ตัดกับพื้นดิน ฟิลเตอร์สร้างสรรค์ ‘เอฟเฟ็กต์ย่อส่วน’ สามารถจำลองเอฟเฟ็กต์นี้ได้ด้วยวิธีการแบบดิจิตอล แต่คุณจะมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าในการปรับระนาบที่อยู่ในโฟกัส

เคล็ดลับน่ารู้: หุ่นย่อส่วนจะดูไม่เหมือนในภาพนี้เวลาที่คุณได้เห็น แต่เมื่อคุณถ่ายภาพหุ่นย่อส่วน คุณมักจะต้องถ่ายในระยะใกล้ซึ่งทำให้เกิดระยะชัดที่ตื้นมาก “เอฟเฟ็กต์ย่อส่วน” จึงได้ชื่อนี้มาเนื่องจากทำให้เรานึกถึงภาพถ่ายของหุ่นย่อส่วนที่เคยเห็น

 

การใช้งานอื่นๆ ของฟังก์ชั่นทิลต์

นอกจากภาพตัวอย่างในบทความนี้ ฟังก์ชั่นทิลต์ในเลนส์ทิลต์-ชิฟต์ยังสามารถนำไปใช้งานแบบอื่นได้อีกมาก ลองดูตัวอย่างได้ในวิดีโอด้านล่าง


ภาพพอร์ตเทรต


การถ่ายภาพวิดีโอ

 

กลุ่มเลนส์ทิลต์-ชิฟต์ของ Canon

 

TS-E17mm f/4L

TS-E24mm f/3.5L II

 

TS-E50mm f/2.8L Macro

TS-E90mm f/2.8L Macro

 

TS-E135mm f/4L Macro

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา