ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด จุดโฟกัส: การตั้งค่ารูรับแสงสำหรับฉากต่างๆ- Part5

f/4: สำหรับถ่ายภาพพอร์ตเทรตให้เห็นรายละเอียดสิ่งที่อยู่โดยรอบ

2019-12-30
3
7.32 k
ในบทความนี้:

ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตหลายประเภท ควรมีโบเก้ที่นุ่มนวลและเด่นชัด เพราะทำให้แบ็คกราวด์เรียบง่ายขึ้นและตัวแบบดูโดดเด่น อย่างไรก็ตาม มีภาพพอร์ตเทรตบางประเภทที่คุณจะต้องการเก็บรายละเอียดของสถานที่ถ่ายภาพให้มากขึ้น และต่อไปนี้คือเหตุผลที่ทำให้ค่า f/4 เป็นแนวทางที่ดีในสถานการณ์ดังกล่าว (เรื่องโดย Teppei Kohno)

ภาพพอร์ตเทรตหญิงสาวหน้าอาคาร

 

เมื่อรายละเอียดบริบทแวดล้อมของสถานที่นั้นมีความสำคัญไม่แพ้ตัวแบบในภาพพอร์ตเทรต

บางทีคุณอาจกำลังเที่ยวทริปพักร้อนในฝันกับคนที่คุณรักและอยากเก็บภาพใบหน้าเปี่ยมสุขของพวกเขาตัดกับทิวทัศน์และฉากต่างๆ ของสถานที่ที่คุณไป หรือคุณอาจกำลังพยายามถ่ายภาพบุคคลกับสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นภาพพอร์ตเทรตรูปแบบหนึ่งที่มุ่งถ่ายภาพบุคคลในสถานที่ที่มีความสำคัญต่อการทำงาน วิถีชีวิต หรือบุคลิกลักษณะของบุคคลนั้น

ในสถานการณ์เช่นนี้ การทำให้ตัวแบบในภาพพอร์ตเทรตดูโดดเด่นนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แต่การเก็บรายละเอียดที่บอกให้ผู้ชมทราบว่าภาพนั้นถ่ายขึ้นที่ไหนก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน รวมถึงสิ่งอื่นๆ ในแบ็คกราวด์ซึ่งช่วยเสริมเรื่องราวให้ดียิ่งขึ้น หากโบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์ชัดเจนเกินไป อาจทำให้รายละเอียดบริบทแวดล้อมดังกล่าวเบลอเกินไปจนมองไม่ออก แต่หากโบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์อ่อนเกินไป แบ็คกราวด์ก็อาจดึงความสนใจของผู้ชมไปจากตัวแบบได้

ควรลองใช้รูรับแสงกว้างพอประมาณอย่างค่า f/4 เพื่อสร้างความกลมกลืนระหว่างแบ็คกราวด์กับตัวแบบ

 

จะเกิดอะไรขึ้นหากคุณใช้รูรับแสงที่แคบเกินไป

ค่า f/8
ภาพพอร์ตเทรตหญิงสาวนอกบ้าน
f/8/ 1/125 วินาที/ ISO 800
แบ็คกราวด์ดูชัดเจนจนเกินไป ส่งผลให้ภาพที่ออกมาดูไม่ค่อยมีมิติ และตัวแบบขาดความโดดเด่น

ค่า f/4
ภาพพอร์ตเทรตหญิงสาวนอกบ้าน แต่มีโบเก้ชัดเจนขึ้น
f/4/ 1/100 วินาที/ ISO 800
ในแบ็คกราวด์มีเอฟเฟ็กต์โบเก้ปริมาณพอเหมาะ ทำให้รายละเอียดบริบทแวดล้อมยังคงอยู่ แม้ว่าภาพจะดึงดูดสายตาของเราไปที่นางแบบและยิ้มสวยๆ ของเธอ

 

ข้อควรรู้: ระยะห่างระหว่างตัวแบบกับแบ็คกราวด์มีความสำคัญเช่นกัน!

ค่า f เป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยสี่ประการที่ส่งผลต่อความเข้มของโบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์ องค์ประกอบของแบ็คกราวด์ที่อยู่ไกลจากตัวแบบจะมีโบเก้ชัดเจนกว่าเมื่อเทียบกับองค์ประกอบที่อยู่ใกล้ตัวแบบ ส่วนปัจจัยอื่นๆ ทั้งหมดยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ค่า f/4 นั้นเป็นเพียงค่าพื้นฐานที่ควรเริ่มใช้ ดังนั้น คุณสามารถปรับการตั้งค่ารูรับแสงได้ตามความเหมาะสม

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อโบเก้ได้ใน: 
พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #3: การสร้างโบเก้

 

เทคนิคพิเศษ: รู้จักประเภทเลนส์ที่ควรใช้

ช่างภาพมืออาชีพมักจะใช้ทางยาวเทเลโฟโต้ระยะกลาง (ทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรม: 80-100 มม.) เนื่องจากมีการบิดเบี้ยวน้อยที่สุดและคุณไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้กับตัวแบบเกินไป ควรใช้ทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรม 80-90 มม. เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

หากคุณใช้กล้องแบบ APS-C คุณสมบัติการครอปแบบ APS-C 1.6 เท่า จะทำให้ทางยาวโฟกัสที่ระบุในชื่อเลนส์ของคุณต้องครอบคลุม 50-55 มม. ซึ่งคุณมีตัวเลือกมากมาย เช่น

i) เลนส์ซูมมาตรฐาน (เช่น EF-S18-55mm f/3.5-5.6 IS STM ซึ่งเป็นเลนส์คิทยอดนิยมสำหรับกล้อง DSLR)
ii) เลนส์เดี่ยว EF50mm “ความไวสูง” (เช่น EF50mm f/1.8 STM)
iii) เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ (เช่น EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM)

ตัวเลือกทั้งหมดนี้อาจไม่เท่าเทียมกันเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีเลนส์ที่มีรูรับแสงแบบปรับได้  สำหรับเลนส์ดังกล่าว รูรับแสงกว้างสุดที่คุณใช้ได้จะกว้างสุดที่ระยะสุดฝั่งมุมกว้างและแคบสุดที่ระยะสุดฝั่งเทเลโฟโต้เสมอ

ยกตัวอย่างเช่น
- สำหรับเลนส์ EF-S18-55mm f/3.5-5.6 IS STM ที่ระยะ 55 มม. ค่ารูรับแสงกว้างสุดจะอยู่ที่ f/5.6
- สำหรับเลนส์ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM ที่ระยะ 55 มม. ค่ารูรับแสงกว้างสุดจะอยู่ที่ f/4

ดังที่เห็นในภาพด้านล่าง ค่า f/5.6 แคบกว่า f/4 เพียง f-stop เดียว แต่ผลลัพธ์ที่ได้อาจต่างกันพอสมควร


55 มม. (เทียบเท่าฟูลเฟรม 88 มม.) ที่ค่า f/5.6

ภาพพอร์ตเทรตหญิงสาวที่ถ่ายด้วยค่า f/5.6

FL: 55 มม. (เทียบเท่า 88 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/60 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ
ถ่ายที่ระยะสุดฝั่งเทเลโฟโต้ของเลนส์ EF-S18-55mm f/3.5-5.6 IS STM


55 มม. (เทียบเท่าฟูลเฟรม 88 มม.) ที่ค่า f/4

ภาพพอร์ตเทรตหญิงสาวที่ถ่ายด้วยค่า f/4

FL: 55 มม. (เทียบเท่า 88 มม.)/ Aperture-priority AE (f/4, 1/125 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ
ถ่ายที่ระยะสุดฝั่งมุมกว้างของเลนส์ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM

ภาพต่อไปนี้เป็นภาพโคลสอัพของแบ็คกราวด์ สังเกตว่าโบเก้ในภาพตัวอย่างที่ถ่ายด้วยค่า f/4 นั้นชัดเจนกว่า แม้ว่าทั้งสองภาพจะถ่ายโดยใช้ทางยาวโฟกัสเท่ากัน

ภาพ GIF เปรียบเทียบโบเก้

สิ่งที่เรียนรู้: สำหรับกล้องแบบ APS-C ควรเลือกใช้เลนส์ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM หรือ EF50mm เพื่อให้มีตัวเลือกในการใช้รูรับแสงกว้างขึ้นที่ 55 มม.

---

หากคุณไม่แน่ใจว่าควรเปลี่ยนการตั้งค่ารูรับแสงอย่างไร คลิกที่นี่เพื่อดูคำแนะนำทีละขั้นตอน

---

หากต้องการเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตที่รวมสถานที่ถ่ายภาพไว้ด้วย โปรดอ่านบทความต่อไปนี้:
5 เทคนิคการถ่ายภาพพอร์ตเทรตสำหรับทั้งตอนกลางวันและกลางคืน
ถ่ายภาพพอร์ตเทรตยามค่ำคืนให้สวยงามโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องและแฟลช

ลองท้าทายตัวเอง! มาเรียนรู้วิธียกระดับภาพพอร์ตเทรตกลางแจ้งของคุณด้วยแฟลชเสริมได้ในบทความ:
2 เทคนิคทันใจที่ช่วยเพิ่มชีวิตชีวาให้ภาพพอร์ตเทรตกลางแจ้งของคุณ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Teppei Kohno

เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย

http://fantastic-teppy.chips.jp

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา