ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด In Focus: Lenses FAQs- Part3

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #3: เราจะกำหนดสต็อปของระบบป้องกันภาพสั่นไหวได้อย่างไร

2019-06-03
6
4.5 k
ในบทความนี้:

ปกติแล้ว เรามักจะอธิบายประสิทธิภาพของระบบป้องกันภาพสั่นไหวโดยใช้จำนวนสต็อปของความเร็วชัตเตอร์ เช่น “เทียบเท่าความเร็วชัตเตอร์ 5 สต็อป” หรือ “เทียบเท่า 4 สต็อป” เราวัดตัวเลขเหล่านี้ได้อย่างไร พบคำตอบได้ในบทความนี้ (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)

ความสามารถของระบบ IS

 

ความสามารถของระบบ IS

ปัญหากล้องสั่นไหวคืออะไร

ปัญหา “กล้องสั่นไหว” คือการเบลอที่เกิดขึ้นในภาพเนื่องจากการเคลื่อนไหวของกล้อง รวมทั้งการเคลื่อนไหวที่เกิดจากมือที่ไม่นิ่งด้วย

เพราะเหตุใดระบบป้องกันภาพสั่นไหวจึงมีความสำคัญ

โดยหลักการทั่วไป หากต้องการถ่ายภาพโดยถือกล้องด้วยมือ ชัตเตอร์ของคุณจะต้องมีความเร็วอย่างน้อย 1/ทางยาวโฟกัส วินาที เพื่อป้องกันการสั่นไหวของกล้อง

แต่การถ่ายภาพที่ความเร็ว 1/ทางยาวโฟกัส อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น ในสภาวะการถ่ายภาพที่ค่อนข้างมืด คุณอาจต้องใช้ทั้งรูรับแสงกว้างสุดและความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลง เพื่อให้แน่ใจว่าภาพมีความสว่างที่เพียงพอโดยไม่เกิดจุดรบกวนมากเกินไป

ระบบป้องกันภาพสั่นไหว (IS) จะช่วยแก้ไขการสั่นของกล้องเพื่อให้คุณสามารถถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงได้โดยเกิดภาพเบลอจากการสั่นของกล้องน้อยมากหรือไม่เกิดเลย (หมายเหตุ: ระบบนี้ไม่สามารถแก้ไขภาพเบลอที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของตัวแบบได้!)


เปิด IS

สะพานในยามค่ำคืน ถ่ายโดยเปิดระบบ IS

ภาพโคลสอัพแสดงความคมชัด


ปิด IS

สะพานในยามค่ำคืน ถ่ายโดยปิดระบบ IS

ภาพโคลสอัพแสดงการเบลอ

EOS R/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม. / Manual (f/4, 1/4 วินาที) / ISO 800/ WB: แสงแดด

ภาพตัวอย่างนี้ใช้ทางยาวโฟกัส 105 มม. แต่ความเร็วชัตเตอร์อยู่ที่ 1/4 วินาที ซึ่งช้ากว่าหลักการ 1/ทางยาวโฟกัสไปถึง 4 สต็อป จึงเห็นการสั่นของกล้องได้ชัดเจนเมื่อไม่ใช้ IS


“ประสิทธิภาพ IS เทียบเท่าความเร็วชัตเตอร์สูงสุดถึง XX สต็อป” หมายความว่าอย่างไร

หมายความว่า เมื่อคุณถ่ายเปิดโดยเปิดระบบ IS กล้องจะสามารถแก้ไขการสั่นไหวได้เหมือนกับคุณกำลังถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงกว่าถึง XX สต็อป

ในภาพตัวอย่างด้านบน เลนส์ RF24-105mm f/4L IS USM มีประสิทธิภาพ IS เทียบเท่าความเร็วชัตเตอร์ 5 สต็อปโดยประมาณ ซึ่งหมายความว่า ภาพตัวอย่างที่ “เปิด IS” มีความคมชัดเช่นเดียวกับภาพที่ถ่ายด้วยความเร็วประมาณ 1/100 ถึง 1/125 วินาที

 

วิธีการวัดจำนวนสต็อปของ IS

การวัดค่าและกำหนดจำนวนสต็อปที่มีประสิทธิภาพสำหรับระบบ IS จะใช้วิธีมาตรฐานที่กำหนดโดย Camera & Imaging Products Association (CIPA) (ฉบับภาษาอังกฤษ)

ลิงก์นี้ (ฉบับภาษาอังกฤษ) อธิบายข้อมูลวิธีการวัดและกำหนดค่าโดยละเอียด แต่สามารถสรุปสั้นๆ ได้ดังนี้


ขั้นตอน:

1. กล้องที่ต้องการวัดจะถูกวางลงบนอุปกรณ์การสั่นสะเทือน

2. จากนั้นจะได้รับคลื่นการสั่นสะเทือนหนึ่งหรือสองแบบที่สร้างขึ้นด้วยกลไก ขึ้นอยู่กับมวลรวมของตัวกล้อง เลนส์ สื่อหน่วยความจำ และแบตเตอรี่

3. ระหว่างการสั่น กล้องจะถูกนำมาถ่ายแผนผังตรวจวัดการเบลอภาพโดยเปิดระบบป้องกันภาพสั่นไหวด้วย

โดยทั่วไปแล้ว จะถ่ายภาพรวมทั้งหมด 10 ภาพ โดยเว้นระยะระหว่างภาพเป็นเวลา 1 วินาทีโดยประมาณ และหยุดถ่ายภาพหลังจาก 30 วินาทีแม้จะถ่ายภาพไปน้อยกว่า 10 ภาพ

4. ถ่ายภาพแผนผังตรวจวัดการเบลออย่างน้อย 200 ภาพภายใต้สภาวะเดียวกัน (ความเร็วชัตเตอร์ ทางยาวโฟกัส ระยะถ่ายภาพ ฯลฯ)

5. เพิ่มหรือลดความเร็วชัตเตอร์สูงสุดไม่เกินหนึ่งสต็อป และทำซ้ำในขั้นตอนที่ 3 และ 4

6. ทำซ้ำในขั้นตอนที่ 1 ถึง 5 จนกว่าจะได้ผลการวัดสองค่า ได้แก่
1) ความเร็วต่ำสุดที่เกิดภาพเบลอไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด (หรือที่เรียกกันว่า “ระดับที่กำหนดสำหรับประสิทธิภาพของระบบป้องกันภาพสั่นไหว”) และ
2) ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดที่เกิดภาพเบลอเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้

7. ภาพที่ได้จะถูกนำไปกำหนดค่าโดยใช้ซอฟต์แวร์ตรวจวัดการเบลอโดยเฉพาะ และทำดัชนีจำนวนสต็อปไว้โดยใช้วิธีการคำนวณที่อธิบายไว้ด้านล่าง


ข้อควรรู้:

1) เพื่อป้องกันความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นจากทักษะทางเทคนิคที่แตกต่างกันของช่างภาพ จะไม่วัดประสิทธิภาพของระบบ IS ด้วยการถ่ายภาพแบบถือด้วยมือ

2) ในทางปฏิบัติ จะลดการสั่นไหวของกล้องได้ยากเมื่อถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ช้าถึง 30 วินาที ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุดที่ระบบ IS สามารถใช้ได้ผลและอาจจะแตกต่างกันไปในกล้องแต่ละรุ่น Canon ได้กล่าวไว้ว่ากล้อง DSLR ของ Canon “สามารถทำงานได้ที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุดถึง 30 วินาที”

3) สภาวะที่เกิดจากอุปกรณ์การสั่นสะเทือนจะแตกต่างจากการสั่นไหวจริงของกล้อง ดังนั้น จำนวนสต็อปของระบบ IS อาจไม่ตรงกันกับสิ่งที่ผู้ใช้ได้สัมผัสเมื่อใช้งานกล้อง

 

วิธีคำนวณประสิทธิภาพของระบบ IS อ้างอิงตามมาตรฐานของ CIPA

กราฟของ CIPA แสดงวิธีการคำนวณ

A: ประสิทธิภาพของ IS (จำนวนสต็อปของความเร็วชัตเตอร์)
B: ปริมาณความเบลอของภาพที่เคลื่อนไหวแบบอ้างอิง
C: ปริมาณความเบลอของภาพที่เคลื่อนไหวที่ตรวจวัด
D: ระดับที่กำหนดสำหรับประสิทธิภาพของระบบป้องกันภาพสั่นไหว

ที่มา: ภาพ 4-5-3b วิธีคำนวณประสิทธิภาพของระบบป้องกันภาพสั่นไหวนำมาจากวิธีตรวจวัดและคำอธิบายเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของระบบป้องกันภาพสั่นไหวของกล้องดิจิตอล (ระบบออพติคอล) ที่จัดพิมพ์โดย CIPA


นิยามคำศัพท์

- ปริมาณความเบลอของภาพที่เคลื่อนไหวแบบอ้างอิง (B): ค่าที่แสดงถึงปริมาณของความเบลอเมื่อไม่ใช้ IS

- ปริมาณความเบลอของภาพที่เคลื่อนไหวที่ตรวจวัด (C): ค่าที่แสดงถึงความเบลอจากการเคลื่อนไหวที่หลงเหลืออยู่เมื่อใช้ IS ซึ่งได้มาจากผลการใช้อุปกรณ์การสั่นสะเทือน

- ระดับที่กำหนดสำหรับประสิทธิภาพของระบบป้องกันภาพสั่นไหว (D): หากเกิดการเบลอน้อยมาก จะสามารถบอกได้ยากว่าระบบป้องกันภาพสั่นไหวทำงานหรือไม่ ค่านี้แสดงถึงระดับของการเบลอที่กำหนดไว้ล่วงหน้าซึ่งเพียงพอที่จะให้กรรมการของ CIPA ทราบได้ว่าระบบป้องกันภาพสั่นไหวทำงานหรือไม่


การคำนวณปริมาณ

1. ระบุจุดบน B และ C ที่ตัดกับ D

2. ระบุความเร็วชัตเตอร์ (แกนแนวนอน) ที่จุดตัดเหล่านี้เกิดขึ้น

3. ประสิทธิภาพที่ดีของระบบ IS ในแง่ของจำนวนสต็อปของความเร็วชัตเตอร์จะถูกคำนวณจากผลต่างระหว่างจุดตัดสองจุด

 

ตัวอย่างเลนส์ของ Canon ที่มี IS ในตัว


ประมาณ 5 สต็อป

EF70-200mm f/4L IS II USM

EF70-200mm f/4L IS II USM


ประมาณ 4 สต็อป

หมายเหตุ: IS จะทำงานด้วยความเร็วที่ระบุไว้เมื่อใช้กับกล้องรุ่นที่เข้ากันได้เท่านั้น

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Ryosuke Takahashi

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ นอกจากถ่ายภาพสำหรับงานโฆษณาและนิตยสารทั้งในและนอกญี่ปุ่นแล้ว เขายังทำหน้าที่เป็นนักรีวิวให้กับ "Digital Camera Magazine" นับตั้งแต่นิตยสารเปิดตัว ตลอดจนตีพิมพ์ผลงานต่างๆ มากมาย ในส่วนของการรีวิวผลิตภัณฑ์และเลนส์ Takahashi เน้นให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพที่ดึงประสิทธิภาพการทำงานของเลนส์ออกมาผ่านมุมมองและการทดสอบเฉพาะตัวของเขาเอง ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา