ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดและเทคนิคของเลนส์- Part

10 แนวคิดที่คุณควรทราบก่อนซื้อเลนส์ตัวที่สอง

2023-07-10
0
3.09 k

คุณได้ถ่ายภาพด้วยเลนส์คิทมาระยะหนึ่ง และรู้สึกว่าตนเองพร้อมสำหรับการใช้เลนส์ระดับสูงขึ้นแล้ว มีเลนส์ชนิดใดบ้างและแตกต่างกันอย่างไร เราจะมาทำความรู้จักศัพท์เทคนิคต่างๆ และอธิบายคุณสมบัติต่างๆ ที่คุณควรให้ความสนใจ

ในบทความนี้:

1. ทางยาวโฟกัส

1. ทางยาวโฟกัส

หมายถึงปริมาณของฉากที่ถ่ายได้ในเฟรมภาพ

ทางยาวโฟกัสของเลนส์จะบอกให้เราทราบถึงมุมรับภาพ นั่นคือ ปริมาณของฉากที่ถ่ายได้และขนาดของตัวแบบภายในเฟรมที่เรามองเห็น

ทางยาวโฟกัสสั้นๆ จะให้มุมรับภาพที่กว้างกว่า ในขณะที่ทางยาวโฟกัสยาวๆ จะให้มุมรับภาพที่แคบกว่า

ข้อควรรู้: เลนส์ต่างๆ สามารถแบ่งประเภทได้ตามทางยาวโฟกัส

ประเภทของเลนส์ ทางยาวโฟกัส (เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)
มุมกว้างอัลตร้าไวด์ ไม่เกิน 24 มม.
มุมกว้าง ไม่เกิน 35 มม.
มาตรฐาน 40 มม. ถึงไม่เกิน 70 มม.
เทเลโฟโต้ระยะกลาง 70 ถึง 135 มม.
เทเลโฟโต้ มากกว่า 135 มม.
ซูเปอร์เทเลโฟโต้ 400 มม. ขึ้นไป

เลนส์คิทมักจะให้มุมรับภาพแบบมุมกว้างไปจนถึงเทเลโฟโต้ระยะกลาง ยกตัวอย่างเช่น เลนส์ RF-S18-45mm f/4.5-6.3 ให้มุมรับภาพเทียบเท่าฟูลเฟรมที่ 28.8 มม. ถึง 72 มม. เนื่องจากมี “คุณสมบัติการครอป” 1.6 เท่า (เราจะอธิบายความหมายของคำนี้ในข้อถัดไป)

หากคุณต้องการถ่ายภาพฉากให้ได้มากกว่าที่เคยทำได้ด้วยเลนส์คิท ควรเลือกใช้เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์

หากคุณต้องการให้สัตว์ป่าหรือวัตถุอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไปดูมีขนาดใหญ่ขึ้นในเฟรมภาพ ให้ใช้เลนส์เทเลโฟโต้หรือซูเปอร์เทเลโฟโต้

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้ช่วงทางยาวโฟกัสที่แตกต่างกันเพื่อการถ่ายทอดภาพอย่างมีศิลปะได้ที่บทความต่อไปนี้
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (3): ดึงความสามารถสูงสุดของเลนส์มาใช้
เลนส์ที่แตกต่าง ความรู้สึกที่แตกต่าง: การถ่ายภาพทิวทัศน์และธรรมชาติ
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับเลนส์มุมกว้าง

2. คุณสมบัติการครอป

2. “คุณสมบัติการครอป”

ทางยาวโฟกัสที่ใช้งานจริงของกล้อง APS-C

หากคุณใช้กล้อง APS-C อย่าลืมนำตัวเลขระบุที่ทางยาวโฟกัสในชื่อเลนส์มาคูณด้วย 1.6 เพื่อให้ทราบขนาดของมุมรับภาพที่ใช้งานได้จริงหากเทียบกับทางยาวโฟกัสแบบฟูลเฟรม มิฉะนั้น คุณอาจจะได้มุมรับภาพที่ดูบีบแน่นมากเกินกว่าที่ต้องการ!

ทั้งนี้เนื่องมาจากเซนเซอร์ภาพ APS-C ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าจะบันทึกฉากได้ในปริมาณน้อยกว่า จึงมีเอฟเฟ็กต์เหมือน “การซูมเข้า” สำหรับกล้อง APS-C ของ Canon เอฟเฟ็กต์ “การซูมเข้า” นี้จะอยู่ที่ 1.6 เท่า ดังนั้น ระยะ 50 มม. จึงให้มุมรับภาพเทียบเท่า 80 มม. (50 x 1.6) ของกล้องฟูลเฟรม

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
เลนส์เดี่ยว RF 4 รุ่นที่ควรใช้กับกล้อง APS-C

3. รูรับแสงกว้างสุด

3. รูรับแสงกว้างสุด

ส่งผลต่อระยะชัด (โบเก้) และการตั้งค่าในสภาวะแสงน้อย

รูรับแสง หมายถึง ช่องในเลนส์ที่เปิดให้แสงผ่านเข้ามา ช่องนี้ประกอบไปด้วยม่านรูรับแสงของเลนส์ที่ขยับได้เพื่อเปลี่ยนขนาดของช่องในการควบคุมระดับแสง ช่องที่เปิดออกได้กว้างที่สุดเรียกว่า “รูรับแสงกว้างสุด” ของเลนส์ ซึ่งจะวัดโดยใช้ f สต็อป (ค่า f) คุณจะทราบขนาดของรูรับแสงกว้างสุดได้จากชื่อของเลนส์ เช่น RF50mm f/1.8 STM (ในชื่อเลนส์บางรุ่น ตัวเลขดังกล่าวอาจแสดงเป็นช่วง เช่น f/4.5-6.3 ซึ่งเราจะอธิบายเพิ่มเติมในข้อ 5)

หากค่า f ยิ่งน้อย รูรับแสงจะยิ่งมีขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้แสงผ่านเข้ามาในระบบภายในระยะเวลาที่กำหนดได้มากขึ้น คุณสมบัตินี้ทำให้สามารถตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์และความไวแสง ISO ได้ยืดหยุ่นกว่า นอกจากนี้ยังให้ระยะชัดที่ตื้นกว่าด้วย ซึ่งจะทำให้โบเก้ (เอฟเฟ็กต์การเบลอเนื่องจากอยู่นอกโฟกัส) มีความชัดเจนขึ้น


โบเก้

f/1.8

f/4


แสงน้อย

เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดใหญ่ๆ จะทำให้เกิดโบเก้ที่ยิ่งชัดเจนขึ้น และยังช่วยให้คุณสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อหยุดการเคลื่อนไหวอันรวดเร็วขณะถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย หรือใช้ค่าความไวแสง ISO ต่ำเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดยิ่งขึ้นโดยไม่เกิดเม็ดเกรน

f/1.8 ที่ 1/1000 วินาที

f/4 ที่ 1/200 วินาที

ทั้งสองภาพถ่ายด้วยค่าความไวแสง ISO 12800 ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ จากการใช้ค่า f/1.8 ทำให้เราสามารถหยุดการเคลื่อนไหวของบอลลูกซ้ายสุดได้กลางอากาศโดยไม่เกิดภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว


ข้อควรรู้: รูรับแสงกว้างสุดใหญ่ๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ AF ได้ด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #2: เลนส์ไวแสงทำให้มองเห็นผ่านช่องมองภาพได้ง่ายขึ้นหรือไม่
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #9: อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ f/2.8 และ f/4

4. เลนส์เดี่ยวและเลนส์ซูม

4. เลนส์เดี่ยวและเลนส์ซูม

ใช้ง่ายและมีช่วงทางยาวโฟกัสที่คุณไม่เคยใช้: เลนส์ซูม
โบเก้และพกพาสะดวก: เลนส์เดี่ยว

มีเลนส์อยู่ 2 ประเภทหลักๆ ที่คุณสามารถเลือกใช้ได้ นั่นคือ เลนส์เดี่ยวและเลนส์ซูม

เลนส์คิทส่วนใหญ่จะเป็นเลนส์ซูม ซึ่งคุณสามารถเปลี่ยนทางยาวโฟกัส (ซูมเข้าและออก) ได้โดยการหมุนวงแหวนการซูม หากคุณซื้อเลนส์ใหม่เพื่อใช้มุมรับภาพที่เลนส์คิทของคุณไม่มี เลนส์ซูมจะเป็นเลนส์ที่ใช้งานง่ายที่สุด!

ส่วนเลนส์เดี่ยวจะมีทางยาวโฟกัสแบบเดียวเท่านั้น คุณจึงต้อง “ใช้เท้าของตัวเองซูมเข้าออก” แต่เพราะเลนส์เหล่านี้มีโครงสร้างที่เรียบง่ายกว่า จึงทำให้นำรูรับแสงกว้างสุดที่มีขนาดใหญ่ๆ มาใช้ได้ง่ายกว่าโดยที่ยังคงความกะทัดรัดและน้ำหนักเบาของเลนส์เอาไว้ได้ หากคุณต้องการโบเก้ที่สวยงามขึ้นหรือประสิทธิภาพที่ดีขึ้นในสภาวะแสงน้อย แต่ก็ต้องการเลนส์ที่มีขนาดเล็กหรือหากคุณมีงบประมาณจำกัดเช่นกัน ให้ลองใช้เลนส์เดี่ยว

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ทั้งสองประเภทได้ในบทความต่อไปนี้
เลนส์เดี่ยวหรือเลนส์ซูม: ควรซื้อแบบไหนดี

EOS R100/ RF85mm f/2 Macro IS STM ที่ FL: 85 มม. (เทียบเท่า 136 มม.), f/2, 1/800 วินาที, ISO 100

โบเก้อันสวยงามในโฟร์กราวด์และแบ็คกราวด์ของภาพนี้ช่วยขับให้ผิวสัมผัสของกลีบดอกไม้ที่เหมือนกำมะหยี่อันนุ่มนวลดูสวยงามยิ่งขึ้น ภาพนี้เกิดจากการใช้ทางยาวโฟกัสยาวร่วมกับรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ที่ f/2

เคล็ดลับ: เลนส์เดี่ยวเหมาะสำหรับการฝึกจัดองค์ประกอบภาพเนื่องจากเลนส์ประเภทนี้จะบังคับให้คุณต้องพยายามมากขึ้นเพื่อให้ถ่ายภาพออกมาดี หากใช้ทางยาวโฟกัสเดิมนานพอ คุณจะเข้าใจเป็นอย่างดีว่าอะไรจะอยู่ในเฟรมภาพบ้างโดยไม่ต้องดูช่องมองภาพเลย! นี่คือวิธีที่ช่างภาพสตรีทบางรายใช้ในการถ่ายภาพให้ออกมาสวยงามแม้จะถ่ายภาพจากระดับสะโพก

5. เลนส์ซูมที่มีรูรับแสงแบบปรับได้และรูรับแสงคงที่

5. เลนส์ซูมที่มีรูรับแสงแบบปรับได้และรูรับแสงคงที่

คุณต้องการความอเนกประสงค์ในรูปแบบใดมากกว่า


เลนส์ซูมที่มีรูรับแสงแบบปรับได้

เลนส์คิทส่วนใหญ่เป็นเลนส์ซูมที่มีรูรับแสงแบบปรับได้ คุณสามารถทราบได้จากชื่อเลนส์ ซึ่งจะระบุรูรับแสงกว้างสุดเป็นช่วง เช่น RF-S18-45mm f/4.5-6.3 IS STM

รูรับแสงกว้างสุดจะเปลี่ยนไปตามทางยาวโฟกัส โดยมักจะกว้างที่สุดที่สุดฝั่งระยะมุมกว้างและแคบที่สุดที่สุดฝั่งระยะเทเลโฟโต้ ยกตัวอย่างเช่น หากใช้เลนส์ RF24-105mm f/4-7.1 IS STM คุณจะสามารถตั้งค่ารูรับแสงกว้างสุด f/4 ได้ที่ระยะ 24 มม. แต่ค่านี้จะค่อยๆ ลดลงในขณะที่คุณซูมเข้า ที่ระยะ 105 มม. รูรับแสงกว้างสุดที่คุณสามารถใช้ได้คือ f/7.1

เลนส์ซูมที่มีรูรับแสงแบบปรับได้มักจะมีขนาดเล็กกว่า เบากว่า และมีราคาย่อมเยากว่า เลนส์เหล่านี้เป็นตัวเลือกที่ดีหากคุณให้ความสำคัญมากกับความสะดวกในการพกพาและถ่ายภาพในเวลากลางวันภายใต้สภาวะแสงที่ดีเป็นส่วนใหญ่


เลนส์ที่มีรูรับแสงคงที่

เลนส์ซูมที่มีรูรับแสงคงที่จะมีรูรับแสงกว้างสุดเท่าเดิมไม่ว่าจะใช้ทางยาวโฟกัสเท่าใด ยกตัวอย่างเช่น สำหรับเลนส์ RF24-105mm f/4L IS USM คุณสามารถตั้งค่ารูรับแสงให้เป็น f/4 ได้ไม่ว่าจะใช้ทางยาวโฟกัสใดตั้งแต่ 24 ถึง 105 มม. คุณสมบัตินี้ทำให้เลนส์ใช้งานได้อเนกประสงค์มากกว่าเลนส์ที่มีรูรับแสงแบบปรับได้ และเลนส์ประเภทนี้ยังมักจะเป็นเลนส์ในระดับมืออาชีพอีกด้วย ซึ่งให้คุณภาพของภาพที่ดีกว่าและมีโครงสร้างที่ทนทานกว่าด้วยซีลป้องกันสภาพอากาศ

6. ระยะโฟกัสใกล้สุดและกำลังขยายสูงสุด

6. ระยะโฟกัสใกล้สุดและกำลังขยายสูงสุด

จำเป็นสำหรับการถ่ายภาพแบบมาโครและภาพโคลสอัพ

ระยะโฟกัสใกล้สุด (หรือระยะการถ่ายภาพต่ำสุด) คือข้อมูลจำเพาะของเลนส์ที่บอกให้ทราบถึงระยะที่สั้นที่สุดที่เลนส์สามารถทำงานได้ก่อนจะไม่สามารถโฟกัสได้

กำลังขยายสูงสุดเป็นแนวคิดที่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยจะทำให้ทราบถึงขนาดของตัวแบบที่ปรากฏในเฟรมภาพเมื่อใช้ระยะโฟกัสใกล้สุด และยังได้รับผลกระทบจากทางยาวโฟกัสด้วย

แต่คุณไม่จำเป็นต้องใช้ระยะโฟกัสใกล้สุดที่สั้นที่สุดทุกครั้ง เนื่องจากตัวแบบที่ตื่นกลัวได้ง่าย เช่น แมลงต่างๆ อาจบินหนีไปหากเลนส์ของคุณอยู่ใกล้เกินไป! นี่คือสาเหตุที่ทำให้เลนส์มาโครเทเลโฟโต้ เช่น RF100mm f/2.8L Macro IS USM เป็นที่นิยมอย่างมากในการถ่ายภาพมาโคร เนื่องจากเลนส์เหล่านี้มีกำลังขยายสูงสุดที่สูงแม้จะถ่ายภาพจากระยะที่ไม่เป็นการรบกวนตัวแบบ

7. ความเข้ากันได้กับอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์

7. ความเข้ากันได้กับอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์

เพิ่มระยะให้เลนส์เทเลโฟโต้ของคุณ

อุปกรณ์ขยายระยะเลนส์หรือที่เรียกกันว่าตัวแปลงเลนส์ (Teleconverter) จะช่วยเพิ่มทางยาวโฟกัสเมื่อติดตั้งลงบนเลนส์ของคุณ ซึ่งค่าการเพิ่มระยะนั้นจะอยู่ในชื่อของอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ ยกตัวอย่างเช่น หากใช้ Extender RF2x กับเลนส์ RF100-400mm f/5.6-8 IS USM ก็จะเพิ่มช่วงโฟกัสออกสองเท่าเป็น 200 ถึง 800 มม. ซึ่งทำให้ถ่ายภาพโคลัสอัพของนกและสัตว์ป่าได้ดียิ่งขึ้น! อุปกรณ์ชนิดนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างสะดวกและประหยัดในการเพิ่มระยะของเลนส์เมื่อจำเป็น

สองสิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์:

1. ใช้ได้กับเลนส์บางรุ่นเท่านั้น
หากคุณคิดว่าจำเป็นต้องใช้ ควรตรวจสอบให้ดีว่าคุณมีเลนส์ที่เข้ากันได้

2. ทำให้รูรับแสงกว้างสุดลดลง
อุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ 1.4 เท่าจะทำให้ค่า f ลดลง 1 สต็อป และอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ 2 เท่าจะทำให้ค่า f ลดลง 2 สต็อป

รูรับแสงกว้างสุด เมื่อใช้ Extender RF1.4x เมื่อใช้ Extender RF2x
f/2.8 f/4 f/5.6
f/4 f/5.6 f/8
f/5.6 f/8 f/11
f/8 f/11 f/16
f/11 f/16 f/22

เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดใหญ่ๆ จะมีความยืดหยุ่นยิ่งขึ้นเมื่อใช้กับอุปกรณ์ขยายระยะเลนส์ และแสงที่ผ่านเข้ามาในเลนส์มากขึ้นยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการโฟกัสอัตโนมัติด้วย!

8. เลนส์ RF กับเลนส์ RF-S

8. ความแตกต่างระหว่างเลนส์ RF กับ RF-S

เลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้องฟูลเฟรมและกล้อง APS-C

เลนส์เมาท์ RF มีอยู่สองประเภทด้วยกัน แม้ทั้งสองประเภทจะสามารถใช้ได้กับกล้องในระบบ EOS R ทุกรุ่นโดยไม่ต้องใช้เมาท์อะแดปเตอร์ แต่ก็มีข้อแตกต่างหลักๆ ดังนี้

 
RF
RF-S
ออกแบบมาสำหรับ
  • กล้องฟูลเฟรมในซีรีย์ EOS R
  • กล้อง APS-C ในซีรีย์ EOS R
รูปลักษณ์ มักมีขนาดใหญ่กว่า
(ต้องรองรับเซนเซอร์ภาพแบบฟูลเฟรมที่มีขนาดใหญ่กว่า)
เบากว่าและเล็กกว่า
(เซนเซอร์ภาพ APS-C มีขนาดเล็กกว่า)
เมื่อติดตั้งเข้ากับกล้องฟูลเฟรม
  • มุมรับภาพจะสอดคล้องกับทางยาวโฟกัสที่อยู่ในชื่อเลนส์ (บันทึกภาพโดยใช้เซนเซอร์ภาพทั้งหมด)
  • กล้องจะเปลี่ยนไปใช้โหมดครอป 1.6 เท่า (บันทึกภาพโดยใช้เซนเซอร์เพียงบางส่วน)
  • มุมรับภาพจะสอดคล้องกับ 1.6 เท่าของทางยาวโฟกัสที่อยู่ในชื่อเลนส์
เมื่อติดตั้งเข้ากับกล้อง APS-C
  • มุมรับภาพจะสอดคล้องกับ 1.6 เท่าของทางยาวโฟกัสที่อยู่ในชื่อเลนส์ (บันทึกภาพโดยใช้เซนเซอร์ภาพทั้งหมด)
  • มุมรับภาพจะสอดคล้องกับ 1.6 เท่าของทางยาวโฟกัสที่อยู่ในชื่อเลนส์ (บันทึกภาพโดยใช้เซนเซอร์ภาพทั้งหมด)
ปัจจุบันมีเลนส์ RF หลากหลายรุ่นให้เลือกอย่างครบวงจรมากกว่าเลนส์ RF-S แต่จำนวนเลนส์ RF-S ก็กำลังเพิ่มขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ เลนส์ RF ยังสามารถใช้งานในอนาคตได้ยาวนานกว่าอีกด้วยหากคุณอัปเกรดจากกล้อง APS-C ในระบบ EOS R มาใช้กล้องฟูลเฟรมในอนาคต

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความ
กล้องฟูลเฟรมและกล้อง APS-C: ควรเลือกรุ่นไหนดี

9. เลนส์ EF กับเลนส์ RF

9. ความแตกต่างระหว่างเลนส์ EF กับ RF

รุ่นเก่าและรุ่นใหม่แตกต่างกันอย่างไร

เลนส์ EF/EF-S ใช้ระบบเมาท์รุ่นเก่าที่ออกแบบมาสำหรับกล้อง EOS DSLR เลนส์ RF/RF-S เป็นระบบเมาท์รุ่นใหม่ที่ออกแบบมาสำหรับระบบกล้องมิเรอร์เลส EOS R และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า

เลนส์ RF/RF-S ไม่สามารถใช้กับกล้อง EOS DSLR หรือกล้องมิเรอร์เลสในซีรีย์ EOS M ได้ คุณจะต้องใช้เมาท์อะแดปเตอร์จึงจะใช้เลนส์ EF/EF-S กับกล้องในซีรีย์ EOS R ได้

บทความของเราเกี่ยวกับเลนส์ EF และ RF จะแสดงข้อมูลอย่างละเอียดว่าสองระบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร แต่เหนืออื่นใด เลนส์ RF/RF-S จะให้ประสิทธิภาพและมีความสามารถในการใช้งานสูงสุดเมื่อใช้กับกล้องซีรีย์ EOS R

ข้อควรรู้: ความสามารถในการสื่อสารระหว่างกล้องกับเลนส์ที่ดียิ่งขึ้นของเลนส์ RF/RF-S ทำให้มีคุณสมบัติใหม่ๆ มากมาย ตัวอย่างหนึ่งคือการแสดงตัววัดระยะโฟกัสแบบเรียลไทม์บนหน้าจอ Live View/EVF (ดังแสดงด้านบน) ซึ่งช่วยในการโฟกัสแบบแมนนวล

10. เลนส์ซีรีย์ L

10. เลนส์ซีรีย์ L

ซีลป้องกันสภาพอากาศและคุณภาพของภาพในระดับสูงสุด

เลนส์ในซีรีย์ “L” จะมีตัวอักษร “L” อยู่ในชื่อและมีเส้นสีแดงรอบท่อเลนส์ ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นเลนส์ระดับมืออาชีพ เลนส์ดังกล่าวนี้มี:

  • การออกแบบทางออพติคอลที่ทำให้ภาพมีความชัดเจนและคมชัดสูงสุด
  • กลไกเพื่อประสิทธิภาพการโฟกัสอัตโนมัติที่รวดเร็วและลื่นไหล
  • ป้องกันฝุ่นละอองและหยดน้ำเพื่อความทนทานและความเชื่อถือได้ในสภาพอากาศหลากหลายแบบ

หากคุณต้องถ่ายภาพกลางแจ้งอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ที่เปียกชื้นหรือมีฝุ่นละอองมาก เช่น ในป่าหรือน้ำตก ซีลป้องกันสภาพอากาศและความทนทานของเลนส์ซีรีย์ L จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า


ข้อควรรู้: หากคุณเป็นเจ้าของกล้องในซีรีย์ EOS R ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดและมีเลนส์ในซีรีย์ L อย่างน้อย 3 ตัว คุณจะมีสิทธิ์เป็นสมาชิก EOS Professional Silver ฟรี ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Canon Professional Services (เอเชีย) (ฉบับภาษาอังกฤษ) โปรดอย่าลืมข้อนี้ขณะสร้างคอลเลกชันเลนส์ของคุณ!

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา