เลนส์ที่แตกต่าง ความรู้สึกที่แตกต่าง: การถ่ายภาพทิวทัศน์และธรรมชาติ
หากภาพทิวทัศน์และธรรมชาติของคุณไม่เป็นอย่างที่ต้องการ บางครั้งคุณเพียงแค่ต้องเปลี่ยนการจัดเฟรมและองค์ประกอบภาพเท่านั้น เลนส์ที่คุณใช้และวิธีการใช้เลนส์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งที่คุณสามารถทำได้! ต่อไปนี้คือแรงบันดาลใจในการใช้เลนส์รุ่นปัจจุบันของคุณให้ดียิ่งขึ้นรวมถึงการเลือกเลนส์รุ่นถัดไป
เลนส์มุมกว้างและวิธีการใช้งาน
เลนส์มุมกว้าง
1. เอียงกล้องเพื่อขับเน้นความลึก
EF16-35mm f/2.8L III USM ที่ 18 มม.
ภาพโดย: Toshiki Nakanishi
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่: วิธีการถ่ายภาพนี้: การเพิ่มความพิเศษให้กับภาพทิวทัศน์ในป่าอันกว้างใหญ่
การเอียงกล้องจะทำให้เอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ (ทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรมต่ำกว่า 24 มม.) เด่นชัดขึ้น เปอร์สเปคทีฟแบบเกินจริงจะทำให้วัตถุต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงดูเหมือนอยู่ใกล้ขึ้น และวัตถุที่อยู่ไกลออกไปจะดูห่างไกลขึ้น ทำให้ภาพที่ได้ดูลึกและกว้างใหญ่มากขึ้น
RF15-35mm f/2.8 IS USM ที่ 15 มม.
ภาพโดย: Edwin Martinez
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่: เลนส์ RF15-35mm f/2.8L IS USM ในการถ่ายภาพทิวทัศน์
ทำให้เปอร์สเปคทีฟดูเกินจริงยิ่งขึ้นอีกโดยการถ่ายภาพให้ใกล้กับวัตถุบางอย่างในโฟร์กราวด์
พัฒนาทักษะการจัดองค์ประกอบภาพมุมกว้างของคุณด้วยเคล็ดลับและแบบฝึกหัดที่:
ภาพโคลสอัพระยะ 24 มม.: 3 แบบฝึกหัดง่ายๆ เพื่อฝึกใช้มุมมองเปอร์สเปคทีฟมุมกว้างให้ชำนาญ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
การตัดสินใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์: ถ่ายภาพจากมุมสูงหรือมุมต่ำ
2. ถ่ายภาพมาโครมุมกว้างโดยเข้าใกล้ตัวแบบขนาดเล็กมากขึ้น
RF24mm f/1.8 Macro IS STM ที่ f/1.8
ภาพโดย: Chikako Yagi
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่: บทวิจารณ์เลนส์: RF24mm f/1.8 Macro IS STM กับการถ่ายภาพธรรมชาติ
ขยับเลนส์ของคุณให้เข้าใกล้ต้นไม้และรายละเอียดต่างๆ มากขึ้น! เลนส์มุมกว้างบางรุ่นมีคุณสมบัติแบบกึ่งมาโคร ซึ่งแม้แต่ตัวแบบขนาดเล็กก็จะดูมีขนาดค่อนข้างใหญ่ในเฟรมภาพ ยกตัวอย่างเช่น ภาพด้านบนถ่ายด้วยอัตราขยายภาพที่ประมาณ 0.5 เท่าหรือกึ่งมาโคร ซึ่งเหมาะสำหรับการถ่ายภาพตั๊กแตนที่กำลังหาอาหารและธรรมชาติที่อยู่โดยรอบ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์: ฉันจะได้ภาพแบบไหนหากถ่ายด้วยกำลังขยาย 0.25 หรือ 0.5 เท่า
3. ภาพติดโอเวอร์-อันเดอร์: ถ่ายโลกสองใบในภาพเดียว
RF16mm f/2.8 STM ที่ f/9
ข้อดีของเลนส์มุมกว้างคือปริมาณบริบทโดยรอบที่เลนส์สามารถถ่ายได้ คุณสมบัตินี้ทำให้เหมาะสำหรับภาพติดโอเวอร์-อันเดอร์ ซึ่งแสดงให้เห็นโลกใต้น้ำและผืนดินหรือท้องฟ้าในเฟรมเดียวกัน! คุณน่าจะลองถ่ายภาพอันเป็นเอกลักษณ์นี้ดูในครั้งถัดไปที่คุณไปดำน้ำหรือไปเที่ยวที่ชายหาด หมายเหตุ: คุณจะต้องใช้กล่องครอบกันน้ำในการถ่ายภาพเช่นนี้เนื่องจากกล้องของคุณจะต้องอยู่ในน้ำ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการถ่ายภาพและยกระดับภาพติดโอเวอร์-อันเดอร์ได้ที่:
โอเวอร์-อันเดอร์: แนวคิดการถ่ายภาพใต้น้ำแบบแยกส่วน
การถ่ายทั้งโลกใต้น้ำและบนบกไว้ในภาพเดียวกัน
4. ต่อภาพพาโนรามา: ถ่ายภาพดวงดาวด้วยเลนส์ฟิชอาย
EF8-15mm f/4L Fisheye USM ที่ 15 มม., f/4, 20 วินาที, ISO 6400/ ภาพพาโนรามาจาก 3 ภาพ
ภาพโดย: Mitsunori Yuasa
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่: EF8-15mm f/4L Fisheye USM: เลนส์ที่ผมใช้เป็นประจำในการถ่ายภาพดวงดาว
เลนส์ฟิชอายเป็นเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ชนิดพิเศษ เลนส์เหล่านี้ให้มุมรับภาพที่กว้างที่สุดในท้องตลาด ซึ่งสูงสุดถึง 180 องศาสำหรับเลนส์ EF8-15mm f/4L Fisheye USM! คุณจึงสามารถถ่ายภาพท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวได้กว้างขึ้นโดยไม่ต้องตัดองค์ประกอบอันน่าทึ่งในท้องทะเลหรือบนพื้นดินออกไป! (คลิกที่นี่เพื่อดูเทคนิคการถ่ายภาพดวงดาวที่ควรลองใช้)
แม้คุณจะไม่ชอบความบิดเบี้ยวแบบโป่งออกที่ไม่เหมือนใครของเลนส์ฟิชอายก็สามารถถ่ายภาพเช่นนี้ได้ เพียงนำภาพหลายภาพมาต่อกันเป็นภาพพาโนรามา มีเอฟเฟ็กต์ที่แตกต่างกันหลายแบบที่คุณสามารถใช้ได้ขึ้นอยู่กับวิธีการถ่ายภาพและนำมาต่อกัน
เลนส์มุมกว้างที่แนะนำ
เลนส์มุมกว้างที่แนะนำ
ระยะมุมกว้างบนเลนส์ซูมมาตรฐานของคุณ (24 มม. บนกล้องฟูลเฟรม) ถือว่าเพียงพอสำหรับการถ่ายภาพให้มีเปอร์สเปคทีฟมุมกว้างแบบเกินจริง แต่หากคุณต้องการภาพมุมกว้างที่ดูมีพลังมากขึ้น ให้ลองใช้เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ดู อย่าลืมคำนึงถึงคุณสมบัติการครอป 1.6 เท่าด้วยหากคุณใช้กล้อง APS-C!
งบประมาณจำกัด
ระดับมืออาชีพ
เลนส์มาตรฐานและวิธีการใช้เลนส์เหล่านี้อย่างสร้างสรรค์
เลนส์มาตรฐาน (ทั่วไป)
5. ค้นพบมุมกล้องใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนใคร
RF50mm f/1.8 STM ที่ f/5.6
ภาพโดย: GOTO AKI
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่: ภาพทิวทัศน์ระยะ 50 มม. ในสไตล์เฉพาะตัว: เลนส์ที่จุดประกายให้ทดลองสิ่งใหม่ๆ
เลนส์เดี่ยวขนาดเล็ก เช่น RF50mm f/1.8 STM ได้รับการออกแบบมาเพื่อความคล่องตัว จึงเหมาะสำหรับการสำรวจและค้นพบสิ่งใหม่ๆ และทางยาวโฟกัสคงที่ยังเป็นการทดสอบทักษะการจัดองค์ประกอบภาพของคุณด้วย! เนื่องจากให้เปอร์สเปคทีฟที่เป็นธรรมชาติ ระยะ 50 มม. (เทียบเท่าฟูลเฟรม) จึงเป็นทางยาวโฟกัสแบบหนึ่งที่ใช้งานง่ายที่สุด ดังที่ GOTO AKI ได้กล่าวไว้ในบทความข้างต้น หากต้องการให้กว้างกว่านี้ คุณอาจลองใช้ระยะ 35 มม. ได้
ต้องการความยืดหยุ่นที่มากขึ้นในการจัดองค์ประกอบภาพหรือไม่ คุณสามารถใช้เลนส์ซูมมาตรฐานแบบคอมแพค เช่น RF24-50mm f/4.5-6.3 IS STM ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับ RF35mm f/1.8 Macro IS STM
เคล็ดลับ: โหมดครอป 1.6 เท่าในกล้องฟูลเฟรมทำให้คุณมีทางยาวโฟกัส 2 แบบในกล้องเดียว
หากคุณใช้กล้อง EOS R แบบฟูลเฟรม ให้ใช้โหมดครอป 1.6 เท่าเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้มุมรับภาพ* ผู้ใช้กล้อง APS-C สามารถใช้ตารางด้านล่างเป็นแนวทางเกี่ยวกับมุมรับภาพที่ใช้ได้ในกล้องของคุณ
ทางยาวโฟกัสแบบฟูลเฟรม | ใช้การครอป 1.6 เท่า |
16 มม. | 25.6 มม. |
24 มม. | 38.4 มม. |
35 มม. | 56 มม. |
50 มม. | 80 มม. |
*ใช้เพียงบางส่วนของเซนเซอร์ภาพในการบันทึก
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
เลนส์เดี่ยวหรือเลนส์ซูม: ควรซื้อแบบไหนดี
6. สร้างภาพถ่ายแบบมุมกว้าง
EF24-105mm f/4L IS USM ที่ 67 มม./ อุปกรณ์เสริมอื่นๆ: ฟิลเตอร์ Graduated ND
ภาพโดย: Yoshinori Takahashi
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่: เทคนิคการใช้เลนส์สำหรับภาพทิวทัศน์: เลียนแบบภาพเลนส์มุมกว้างที่ระยะ 67 มม.
ภาพมุมกว้างมักทำให้เรานึกถึง:
- ระยะชัดที่ลึกกว่า
- ความลึกของพื้นที่ที่เด่นชัดขึ้น
- มุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริง
ทางยาวโฟกัสยาวอาจไม่สามารถถ่ายภาพที่มุมรับภาพเดียวกันได้ แต่หากใช้เทคนิคที่เหมาะสม ก็อาจทำให้ได้ภาพที่ดูเหมือนถ่ายด้วยเลนส์ที่กว้างกว่าได้ คลิกที่บทความในลิงก์ด้านบนเพื่อดูวิธีการโดยละเอียด
เลนส์มาตรฐาน/ซูมมาตรฐานที่แนะนำ
เลนส์มาตรฐาน/ซูมมาตรฐานที่แนะนำ
เลนส์คิทที่มาพร้อมกับกล้องของคุณส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเลนส์ซูมมาตรฐานหรือเลนส์ซูเปอร์ซูม และมักจะมีทางยาวโฟกัสครอบคลุมระยะมาตรฐานไปจนถึงเทเลโฟโต้ระดับกลางเป็นอย่างน้อย แต่ด้านล่างนี้คือตัวเลือกอื่นๆ หากคุณต้องการความอเนกประสงค์ที่มากขึ้นไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบชองช่วงการซูมที่กว้างขึ้น รูรับแสงคงที่ (ดูไอเดียหลักที่ (3) ในพื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #1: เลนส์ซูม) หรือบอดี้ที่มีขนาดเล็กกว่า
ช่วงการซูมที่กว้างกว่า: เลนส์ซูเปอร์ซูม
รูรับแสงคงที่: เลนส์ระดับมืออาชีพ
ขนาดเล็กและมีความไวแสง: เลนส์เดี่ยวแบบคอมแพค
ขนาดเล็กและอเนกประสงค์: เลนส์ซูมแบบคอมแพค
เลนส์เทเลโฟโต้: ใช้อย่างสร้างสรรค์ได้นอกเหนือจากการถ่ายภาพโคลสอัพ
เลนส์เทเลโฟโต้
7. ถ่ายภาพแนวแอบสแตรกต์โดยการแยกรายละเอียดออกมา
EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM ที่ 200 มม.
ภาพโดย: Toshiki Nakanishi
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่: การจัดแสงธรรมชาติ: แสงส่องเป็นแนวบนป่าในฤดูใบไม้ร่วง
แทนที่จะพยายามให้ทุกสิ่งอยู่ในเฟรมภาพเดียว ลองมองหาลวดลายหรือรายละเอียดที่น่าสนใจแล้วถ่ายภาพโคลสอัพด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ ยกตัวอย่างเช่น ภาพครอปในระยะใกล้ที่ 200 มม. ด้านบนจะดึงความสนใจของเราไปยังความเปรียบต่างระหว่างแสงและเงาอันน่าประทับใจซึ่งทำให้ยอดสนในป่าแห่งนี้ดูโดดเด่น
8. ภาพพอร์ตเทรตของวัตถุขนาดเล็ก
นอกจากฉากที่อยู่ไกลแล้ว เลนส์เทเลโฟโต้ยังสามารถถ่ายภาพโคลสอัพของวัตถุขนาดเล็กรอบตัวเราจากระยะที่ไม่ห่างจนเกินไปได้อย่างน่าสนใจด้วย! คุณลักษณะเฉพาะของเลนส์ที่ทำให้ภาพดูแตกต่าง: ระยะโฟกัสใกล้สุดและอัตราขยายภาพสูงสุด
RF135mm f/1.8L IS USM ที่ f/1.8
ภาพโดย: Chikako Yagi
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่: บทวิจารณ์เลนส์: RF135mm f/1.8L IS USM กับการถ่ายภาพธรรมชาติและทิวทัศน์
RF135mm f/1.8L IS USM เป็นที่รู้จักในฐานะเลนส์ถ่ายภาพพอร์ตเทรตที่โดดเด่นเนื่องจากความคมชัดและโบเก้สวยงามที่ f/1.8 คุณสามารถลองใช้เลนส์นี้ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตของธรรมชาติให้มีเอกลักษณ์ได้
และทางยาวโฟกัสแบบเทเลโฟโต้ยังช่วยให้คุณเข้าถึงตัวแบบที่อยู่ไกลออกไปได้ เช่น ใบไม้บนต้นไม้หรือใยแมงมุมบนเพดาน
RF70-200mm f/4L IS USM ที่ 200 มม.
ภาพโดย: Chikako Yagi
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่: บทวิจารณ์เลนส์: RF70-200mm f/4L IS USM ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ
RF70-200mm f/2.8L IS USM ที่ 200 มม.
ภาพโดย: Takashi Karaki
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่: บทวิจารณ์เลนส์: RF70-200mm f/2.8L IS USM ในการถ่ายภาพทิวทัศน์
9. ศิลปะโบเก้ชวนฝัน
EF300mm f/2.8L IS USM ที่ f/2.8
ภาพโดย: Yukie Wago
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่: การจัดแสงธรรมชาติ: ภาพดอกไม้แบบมาโครเทเลโฟโต้ในแสงยามเย็น
ทางยาวโฟกัสยาวมักจะมีระยะชัดตื้นโดยธรรมชาติ ซึ่งคุณจะได้โบเก้ที่สวยงามแม้ไม่มีรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ ใช้ประโยชน์จากคุณสมบัตินี้โดยการสร้างศิลปะจากโบเก้! โบเก้อันนุ่มนวลชวนฝันในภาพด้านบนทำให้เรานึกถึงความบอบบางอันอ่อนนุ่มของดอกไม้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
เทคนิคของเลนส์เทเลโฟโต้: การสร้างโบเก้ซ้อนกันหลายชั้น
ซูเปอร์เทเลโฟโต้
10. ทำให้วัตถุในแบ็คกราวด์ดูใหญ่ขึ้น
EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM ที่ 380 มม.
ภาพโดย: Toshiki Nakanishi
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพ: การสร้างภาพลวงตาให้พระจันทร์ดูใหญ่ขึ้น
เอฟเฟ็กต์การบีบภาพแบบเทเลโฟโต้จะ “ดึง” วัตถุในแบ็คกราวด์เข้ามาและทำให้ดูมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนกว่าเมื่อใช้ทางยาวโฟกัสยาวๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฉากที่มีความลึก! ใช้ประโยชน์จากคุณสมบัตินี้โดยการใส่โฟร์กราวด์ปริมาณมากเข้ามาในภาพ
11. การบีบอัดเปอร์สเปคทีฟ
RF100-500mm f/4.5-7.1L IS USM ที่ 223 มม.
การบีบอัดแบบเทเลโฟโต้ทำให้ภาพดูแบนราบขึ้นได้ด้วย โดยนำต้นซากุระมาซ้อนเข้าด้วยกันเป็นชั้นๆ จนดูเหมือนลวดลายแบบแอบสแตรกต์ในภาพด้านบน สามารถใช้คุณสมบัตินี้เพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์ที่มีความสร้างสรรค์หรือทำให้ผู้ชมรู้สึกดื่มด่ำไปกับฉากได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: ภาพทิวทัศน์ซูเปอร์เทเลโฟโต้: “ถ้ำ” ลึกลับในช่องเขาที่ถูกปกคลุมไปด้วยตะไคร่น้ำ
เลนส์เทเลโฟโต้และซูเปอร์เทเลโฟโต้ที่แนะนำ
เลนส์เทเลโฟโต้และซูเปอร์เทเลโฟโต้ที่แนะนำ
การถ่ายภาพทิวทัศน์มักจะเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและเดินทางไกล คุณอาจพบว่าความยืดหยุ่นของทางยาวโฟกัสของเลนส์ซูมเทเลโฟโต้นั้นคุ้มค่าความพยายามมากกว่าเลนส์เดี่ยวเทเลโฟโต้!
แต่ถึงอย่างนั้น หากคุณต้องถ่ายภาพในสภาวะที่มืดและคุณไม่กังวลเรื่องความยืดหยุ่นในการจัดองค์ประกอบภาพเท่าใดนัก คุณอาจชื่นชอบรูรับแสงกว้างของเลนส์เดี่ยวเทเลโฟโต้ที่มีความไวแสงสูง และเลนส์บางรุ่นยังมีคุณสมบัติแบบมาโครซึ่งช่วยให้คุณถ่ายภาพตัวแบบขนาดเล็กในระยะใกล้ได้ด้วย
ระยะ 600 มม. นั้นยาวเกินไปสำหรับฉากธรรมชาติส่วนใหญ่ แต่คุณอาจลองใช้ในการถ่ายภาพโคลสอัพรายละเอียดของตัวแบบที่อยู่ไกลออกไป หรือนกและสัตว์ป่าที่คุณอาจได้พบ
เลนส์ซูมซูเปอร์เทเลโฟโต้
เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ระดับมืออาชีพ
เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ราคาประหยัด
เลนส์เดี่ยวเทเลโฟโต้/เทเลโฟโต้ระยะกลาง
สิ่งอื่นที่ควรพิจารณาเมื่อเลือกซื้อเลนส์สำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์
ซีลป้องกันสภาพอากาศ
เลนส์ซีรีย์ L ระดับมืออาชีพของ Canon มีคุณสมบัติป้องกันฝุ่นละอองและน้ำได้ ซึ่งช่วยให้เลนส์ของคุณทนทานต่อสภาพแวดล้อมกลางแจ้ง เช่น หิมะ ฝนปรอย อากาศที่มีฝุ่นมาก หรือละอองจากน้ำตก เลนส์เหล่านี้เป็นเลนส์ที่มีซีลป้องกันสภาพอากาศอย่างสมบูรณ์แบบ แม้จะมีราคาแพงกว่าเลนส์ที่ไม่ใช่เลนส์ L มาก แต่ในระยะยาวก็นับว่าเป็นการลงทุนที่ให้ความทนทานมากกว่าสำหรับช่างภาพที่ต้องถ่ายภาพกลางแจ้งอยู่เสมอ
รูรับแสงกว้างสุด
หากไม่นับเอฟเฟ็กต์โบเก้ เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่จะช่วยให้คุณได้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นและการตั้งค่าความไวแสง ISO ที่ต่ำลงเมื่อต้องถ่ายภาพในสภาวะที่มืดหรือมีแสงน้อย ซึ่งรวมถึงการถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก ภาพยามค่ำคืน หรือในป่าทึบ
น้ำหนักและความสะดวกในการพกพา
เลนส์ซูมที่มีรูรับแสงคงที่จะให้ความยืดหยุ่นได้มากที่สุดแม้ในสภาวะแสงน้อย แต่ก็มักจะหนักกว่าด้วย เลนส์เดี่ยวความไวแสงสูงสามารถทำงานได้ดีในสภาวะแสงน้อย แต่ให้ความยืดหยุ่นในการจัดองค์ประกอบภาพน้อยกว่า เลนส์ซูมน้ำหนักเบาให้ความยืดหยุ่นในการจัดองค์ประกอบภาพมากกว่า แต่มักจะ “ช้ากว่า” ในสภาวะแสงน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่ยาวกว่า คุณให้ความสำคัญกับสิ่งใดมากที่สุด
สมรรถนะในการแก้ไขแสงจากด้านหลัง
แสงหลอกและแสงแฟลร์มักจะเกิดเมื่อแหล่งแสงที่สว่างจ้าเช่นดวงอาทิตย์อยู่ในเฟรมภาพ เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดมากขึ้น ควรเลือกใช้เลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อลดแสงหลอกและแสงแฟลร์ เช่น เลนส์ของ Canon ที่มีการเคลือบ ASC (Air Sphere Coating) เพื่อป้องกันการสะท้อน
คุณอาจสนใจบทความต่อไปนี้
4 แนวคิดเกี่ยวกับเลนส์ที่จะพลิกโฉมภาพถ่ายของคุณ
การเริ่มต้นถ่ายภาพทิวทัศน์: 5 สิ่งที่ควรทราบ
ภาพทิวทัศน์ที่มีท้องฟ้าสไตล์มินิมัลลิสต์
3 คุณสมบัติของกล้องสำหรับการปรับแต่งภาพทิวทัศน์ของคุณให้สวยสมบูรณ์แบบ
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!