พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ 8: เลนส์เทเลโฟโต้
เลนส์เทเลโฟโต้ให้คุณถ่ายทอดตัวแบบได้เต็มเฟรม และสร้างแบ็คกราวด์เบลอที่นุ่มนวลโดยเกิดความบิดเบี้ยวเพียงเล็กน้อย อ่านต่อเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเลนส์เทเลโฟโต้
ลักษณะเฉพาะของเลนส์เทเลโฟโต้:
1. ช่วย “ดึง” ตัวแบบเข้ามาใกล้ และถ่ายทอดตัวแบบในระยะไกลมากได้เต็มเฟรม
2. ให้ระยะชัดลึกที่ตื้นจึงสร้างแบ็คกราวด์เบลอ (“โบเก้” ที่ส่วนแบ็คกราวด์) ได้ง่าย
3. ให้มุมรับภาพแคบ จึงช่วยตัดองค์ประกอบในส่วนแบ็คกราวด์ที่ไม่ต้องการออกจากเฟรมภาพได้ง่าย
4. ให้เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพ ทำให้องค์ประกอบในภาพดูใกล้กันมากขึ้น
โดยทั่วไป เลนส์เทเลโฟโต้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆ ได้อีกสามประเภทตามทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากับฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ได้แก่
เลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลาง(หรือที่เรียกว่าเลนส์เทเลโฟโต้ชนิดปานกลาง) : ประมาณ 85 มม. ถึง 100 มม. หรือกระทั่ง 135 มม.
เลนส์เทเลโฟโต้ปกติ: 200 มม. ถึง 300 มม.
เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้: 400 มม. ขึ้นไป
ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์เทเลโฟโต้มักออกมาสมจริงมากขึ้น เนื่องจากตัวแบบบิดเบี้ยวน้อยกว่าภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง เมื่อช่างภาพให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดรูปร่างของตัวแบบให้ดูสมจริง มักจะเลือกใช้เลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลางหรือเลนส์เทเลโฟโต้ปกติ อันที่จริง เลนส์เดี่ยว 85 มม. มักเรียกว่า "เลนส์พอร์ตเทรต” ด้วย เนื่องจากนิยมใช้ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตนั่นเอง
อ่านได้ที่: ทำไม EF85mm f/1.8 USM จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต
ยิ่งเลนส์มีทางยาวโฟกัสยาวเท่าใด จะยิ่งสามารถ "ดึงตัวแบบให้เข้ามาใกล้" และถ่ายทอดตัวแบบที่อยู่ไกลได้เต็มเฟรมมากขึ้น (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์นี้ได้ใน: คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #7: อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างเลนส์เทเลโฟโต้ 200 มม. และ 300 มม.) และเนื่องจากเลนส์เทเลโฟโต้มีระยะชัดลึกที่ตื้น จึงทำให้ภาพมีบริเวณที่อยู่ในโฟกัสแคบลง และเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการถ่ายภาพเพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์
ลักษณะเด่นที่ชัดเจนอีกอย่างหนึ่งของเลนส์เทเลโฟโต้คือ มุมรับภาพที่แคบ ซึ่งช่วยตัดองค์ประกอบในส่วนแบ็คกราวด์ที่ไม่ต้องการออกจากภาพ เพื่อให้องค์ประกอบภาพดูงดงามขึ้น นอกจากนี้ เลนส์เทเลโฟโต้ยังมีประสิทธิภาพในการทำให้ระยะห่างระหว่างองค์ประกอบที่อยู่ใกล้กับอยู่ไกลดูใกล้กันมากขึ้น ซึ่งเรียกว่าเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพ โดยคุณสามารถใช้เอฟเฟ็กต์นี้เพื่อลดมุมมองเปอร์สเปคทีฟในภาพได้
ประเภทหลักๆ ของเลนส์เทเลโฟโต้
เลนส์ L สำหรับกล้องฟูลเฟรม
เลนส์ที่ไม่ใช่เลนส์ L สำหรับกล้องฟูลเฟรม
เลนส์ EF-S/EF-M
เราสามารถแบ่งเลนส์เทเลโฟโต้ของ Canon ออกได้เป็น 3 หมวด ได้แก่ เลนส์ L สำหรับกล้องฟูลเฟรม เลนส์ที่ไม่ใช่เลนส์ L สำหรับกล้องฟูลเฟรม และเลนส์ EF-S/EF-M
เลนส์เทเลโฟโต้ L สำหรับกล้องฟูลเฟรม คือเลนส์ระดับพรีเมี่ยมที่ให้คุณภาพระดับมืออาชีพและทนทานสูง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเลนส์จึงมักมีน้ำหนักมากกว่าและราคาสูงกว่า
เลนส์เทเลโฟโต้ที่ไม่ใช่เลนส์ L สำหรับกล้องฟูลเฟรม ให้คุณภาพของภาพที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน แต่มีราคาต่ำกว่าและมักมีขนาดกะทัดรัดและเบากว่า
เลนส์เทเลโฟโต้ EF-S/EF-M ใช้สำหรับกล้อง DSLR ที่มีเซนเซอร์ขนาด APS-C และกล้องมิเรอร์เลสซีรีย์ EOS M ตามลำดับ เลนส์มักมีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา และพกพาสะดวก เหมาะกับกล้องที่เลนส์นี้ทำขึ้นโดยเฉพาะ
คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้:
พัฒนาทักษะการถ่ายภาพท่องเที่ยวของคุณด้วย EOS M10 ตอนที่ 3: การใช้เลนส์ซูมเทเลโฟโต้
ช่วงทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้
โดยปกติ เลนส์ที่จะถือว่าเป็นเลนส์โฟโต้ได้นั้นจะต้องมีทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ซึ่งมีทางยาวโฟกัสยาวกว่า 70 มม. โดยช่วงทางยาวโฟกัสที่ถือว่าเป็น “เทเลโฟโต้” จะกว้างมากดังที่แสดงในแผนภาพด้านบน ยิ่งเลนส์มีทางยาวโฟกัสยาวเท่าใดก็จะยิ่งสามารถถ่ายทอดตัวแบบที่อยู่ไกลออกไปได้เต็มเฟรมมากขึ้นเท่านั้น
เทคนิคที่ลองใช้กับเลนส์เทเลโฟโต้
1. ทำให้แบ็คกราวด์ดูใกล้ขึ้น
เทคนิคนี้เรียกว่าเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพ ซึ่งจะเด่นชัดขึ้นเมื่อใช้ทางยาวโฟกัสยาวขึ้น ตัวอย่างด้านล่างถ่ายโดยใช้ทางยาวโฟกัส 70 มม. และ 200 มม. ตามลำดับ แม้จะเป็นฉากเดียวกัน แต่ในตัวอย่างที่ถ่ายที่ 200 มม. เราจะเห็นกำแพงด้านหลังชัดเจนขึ้น แสดงว่าแบ็คกราวด์ถูก "บีบ" เข้ามาในภาพถ่าย คุณสามารถใช้ภาพนี้บีบองค์ประกอบให้อยู่ใกล้กันเพื่อให้องค์ประกอบภาพแน่นขึ้นได้อีกด้วย
เอฟเฟ็กต์การบีบภาพอ่อนกว่า
EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/60 วินาที, EV-0.7)/ ISO 2000/ WB: แสงแดด
เอฟเฟ็กต์การบีบภาพเด่นชัด
EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/160 วินาที, EV-0.7)/ ISO 6400/ WB: แสงแดด
อ่านบทช่วยสอนเกี่ยวกับเทคนิคนี้:
เคล็ดลับที่ไม่ควรพลาดจากมืออาชีพในการเพิ่มความลึกให้กับภาพ
2. เบลอส่วนแบ็คกราวด์และจัดเฟรมภาพเพื่อทำให้ตัวแบบหลักที่เป็นเป้าหมายดูโดดเด่น
เราสามารถใช้มุมรับภาพที่แคบและความสามารถในการสร้างแบ็คกราวด์ได้ง่ายของเลนส์เทเลโฟโต้นี้เพื่อทำให้แบ็คกราวด์ดูเรียบง่ายขึ้นและดึงความสนใจจากภาพน้อยลง จึงทำให้ตัวแบบหลักดูโดดเด่น อันที่จริง การปรับสีและความสว่างของแบ็คกราวด์สามารถเปลี่ยนอารมณ์ภาพได้มากเช่นกัน วิธีหนึ่งที่จะพัฒนาทักษะการถ่ายภาพของคุณคือ เมื่อกำหนดองค์ประกอบภาพ นอกจากให้ความสำคัญกับการเลือกตัวแบบหลักแล้ว ควรระมัดระวังในการเลือกแบ็คกราวด์ด้วย
แบ็คกราวด์อยู่นอกโฟกัสให้สีสันเข้มขึ้น
EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/5, 1/160 วินาที, EV-1)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
แบ็คกราวด์ที่เต็มไปด้วยวงกลมโบเก้
EOS 6D/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/3200 วินาที)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
บทช่วยสอนสำหรับเทคนิคนี้:
การใช้เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพและโบเก้ขนาดใหญ่ด้วยเลนส์เทเลโฟโต้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง 15: ฉันจะถ่ายภาพสัตว์ตัวเล็กๆ ตัดกับแบ็คกราวด์ที่ยุ่งเหยิงแต่งดงามได้อย่างไร
4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการถ่ายภาพวงกลมโบเก้ที่เข้าใจยาก
เทคนิคเพิ่มเติม! ต่อไปนี้คือเทคนิคการสร้างโบเก้ในระดับที่ยากขึ้นเล็กน้อย:
เทคนิคของเลนส์เทเลโฟโต้ - การสร้างโบเก้ซ้อนกันหลายชั้น
เลนส์เทเลโฟโต้เหมาะสำหรับ…
EOS 6D/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/640 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
…ถ่ายภาพตัวแบบในระยะใกล้มากๆ แม้ไม่สามารถเข้าใกล้ได้ด้วยตัวเอง
เลนส์เทเลโฟโต้มีประโยชน์เมื่อคุณจำเป็นต้องถ่ายภาพตัวแบบจากระยะไกล ตัวอย่างเช่น สัตว์ในสวนสัตว์ หรือแม้แต่ดอกไม้ในแปลงดอกไม้ สำหรับภาพด้านบน ผม "ดึง" ดอกไม้ให้เข้ามาใกล้โดยใช้ทางยาวโฟกัส 200 มม.
EOS 700D/ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 222 มม. (เทียบเท่า 355 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/400 วินาที)/ ISO 160/ WB: อัตโนมัติ
…บีบระยะห่างระหว่างองค์ประกอบในฉากถนนให้ดูแน่นยิ่งขึ้น
คุณอาจใช้เลนส์เทเลโฟโต้เพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพดังเช่นที่ผมทำในฉากถนนด้านบนนี้ ซึ่งถ่ายที่ทางยาวโฟกัส 355 มม. (เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.) ด้วยการใช้ประโยชน์จากความรู้สึกที่อัดแน่น ผมจึงสามารถถ่ายทอดบรรยากาศความคึกคักบนท้องถนนที่เต็มไปด้วยนักช้อปได้
ดูเพิ่มเติมได้ที่:
การถ่ายภาพต้นซากุระในญี่ปุ่น: จุดชมวิวและเคล็ดลับของช่างภาพมืออาชีพ (2) (ตัวอย่างที่ 4)
หากมีเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ หรืออยากทราบรายละเอียดว่าเลนส์เหล่านี้ทำอะไรได้บ้างหรือไม่ ทั้ง 2 บทความต่อไปนี้มีเคล็ดลับและบทช่วยสอนสำหรับการใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้:
วิธีถ่ายภาพไฟประดับตกแต่งให้ดูชวนฝัน
เทคนิคการใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ - ภาพซิลูเอตต์ของสัตว์ป่าในสภาวะย้อนแสง
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!