ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด สิ่งที่ช่างภาพพูดถึง เลนส์ RF- Part

[รีวิว] เลนส์ RF600mm f/11 IS STM และ RF800mm f/11 IS STM ในการถ่ายภาพทิวทัศน์เมือง

2021-09-13
2
1.02 k
ในบทความนี้:

เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ที่มีทางยาวโฟกัส 600 หรือ 800 มม. บ่อยครั้งจะทำให้นึกถึงการถ่ายภาพสัตว์ป่าหรือเครื่องบิน แต่เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้นี้ ยังสามารถช่วยให้คุณได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ในสถานที่ที่คาดไม่ถึงได้อย่างเช่น ในเมือง ซึ่งดรณ์ อมาตยกุล (@donamtykl) ช่างภาพผู้ถ่ายภาพท่องเที่ยวและภาพในเมืองจากกรุงเทพฯ จะมาเล่าให้เราฟังว่า เลนส์ RF600mm f/11 IS STM และ RF800mm f/11 IS STM ช่วยให้เขามองโลกรอบตัวผ่านมุมมองใหม่ได้อย่างไร (เรื่องโดย: ดรณ์ อมาตยกุล)

1) บทนำ
2) คุณสมบัติที่ชื่นชอบข้อที่ 1: ขนาดและน้ำหนัก
3) คุณสมบัติที่ชื่นชอบข้อที่ 2: ระบบป้องกันภาพสั่นไหว
4) คุณสมบัติที่ชื่นชอบข้อที่ 3: วงแหวนควบคุม
5) เลนส์เปลี่ยนการถ่ายภาพของผมได้อย่างไร
6) ภาพเพิ่มเติม
7) คุณสมบัติจำเพาะของ RF600mm f/11 IS STM
8) คุณสมบัติจำเพาะของ RF800mm f/11 IS STM

 

มุมมองใหม่แม้ในสถานที่เดิม

ในฐานะช่างภาพผู้ถ่ายภาพท่องเที่ยวและภาพในเมือง ผมมักจะมองหาโอกาสในการแบ่งปันความสวยงามของสถานที่ต่างๆ ให้ผู้คนได้เห็น ซึ่งนั่นจะทำให้พวกเขาเห็นสิ่งรอบตัวในมุมมองที่ต่างออกไปและในการนำเสนอมุมมองต่างๆ เหล่านั้น ผมใช้กลุ่มเลนส์ที่ครอบคลุมทางยาวโฟกัสหลากหลาย ตั้งแต่มุมกว้างพิเศษไปจนถึงเลนส์มาตรฐาน และเทเลโฟโต้

ก่อนซื้อเลนส์เหล่านี้ เลนส์ที่ยาวที่สุดที่ผมเคยใช้คือ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM อย่างไรก็ตาม มีบางครั้งที่ผมรู้สึกว่าเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพและการถ่ายภาพระยะใกล้ของเลนส์ยังไม่เพียงพอ ผมเคยอยากใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้มาตลอด แต่ในขณะนั้น ตัวเลือกที่มีจะราคาแพง หนัก และไม่สะดวกต่อการพกพา ผมจึงเลิกความคิดที่จะซื้อเอาไว้ก่อน

หลังจากนั้น แคนนอนก็เปิดตัวเลนส์  RF600mm f/11 IS STM และ RF800mm f/11 IS STM ซึ่งผมมีโอกาสได้ลองใช้ดูแล้ว ในตอนแรกผมรู้สึกกังวลกับรูรับแสงคงที่ที่ f/11 เพราะคิดว่าจะส่งผลอย่างมากต่อภาพที่ผมถ่าย แต่มันกลับไม่เป็นปัญหาอย่างที่คิด และผมประทับใจมากจนตัดสินใจซื้อเลนส์ทั้งสองรุ่น ผมเป็นเจ้าของเลนส์เหล่านี้มาประมาณหนึ่งปีแล้ว และใช้ในการถ่ายภาพประมาณ 40% โดยผมใช้เลนส์สองรุ่นนี้กับกล้อง EOS RP เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งพวกมันทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม

EOS RP/ RF800mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/500 วินาที, ISO 320
องค์พระใหญ่ที่วัดปากน้ำ

พระพุทธรูปปางสมาธินี้ มีความสูงเท่าตึก 20 ชั้น วัดและโครงสร้างที่สวยงามตระการตานับเป็นส่วนสำคัญของกรุงเทพฯ ไม่ต่างจากสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ และเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพที่ 600 และ 800 มม. ซึ่งช่วยดึงองค์ประกอบในฉากหลังให้ดูใหญ่ขึ้น ทั้งพระพุทธรูปและอาคารอยู่ข้างกันได้โดยไม่ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งดูมีขนาดเล็กกว่า


EOS RP/ RF600mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/200 วินาที, ISO 500

ผมพบว่า ตัวเองถ่ายภาพรถไฟบ่อยขึ้นหลังจากซื้อเลนส์ RF600mm f/11 IS STM และ RF800mm f/11 IS STM มาใช้ เลนส์มุมกว้างทำให้คุณจับภาพรถไฟได้ แต่เมื่อใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ คุณจะเห็นผู้คนที่อยู่บนรถไฟและบริเวณรอบๆ ไปจนถึงอารมณ์บนใบหน้าของพวกเขาที่คุณได้เห็นในแต่ละครั้ง


EOS RP/ RF800mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/3200 วินาที, ISO 400

สถาปัตยกรรมในเมือง ด้วยกำลังขยายของเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ทำให้เห็นมุมมองที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อมีเลนส์รุ่นนี้ ผมจึงได้ถ่ายภาพอาคารในระยะใกล้บ่อยขึ้น

 

คุณสมบัติที่ชื่นชอบข้อที่ 1: กะทัดรัดและมีน้ำหนักเบา

พกพาได้สะดวกพอใส่ในกระเป๋า เพื่อออกไปสำรวจเมือง

การถ่ายภาพและฉากต่างๆ ในเมืองต้องอาศัยการเดินสำรวจให้ทั่ว ผมจึงชอบให้กระเป๋ามีน้ำหนักเบาเพื่อที่จะได้ถ่ายภาพอย่างสะดวกสบายและถ่ายภาพได้นานขึ้น สิ่งที่ผมให้ความสำคัญเมื่อต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ คือ ขนาด น้ำหนัก และความสะดวกในการพกพา

เลนส์ RF600mm f/11 IS STM และ RF800mm f/11 IS STM มีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของเลนส์ในตระกูล L และในส่วนของน้ำหนัก เลนส์สองรุ่นนี้ก็เบากว่าอย่างน้อย 70% ซึ่งไม่เพียงแต่มีน้ำหนักเบาเท่านั้นเมื่อใช้คู่กับกล้อง  EOS RP แต่ยังพกพาได้สะดวกพอที่จะใส่ลงในกระเป๋าและออกไปสำรวจเมืองด้วยกันได้ เหมาะที่จะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือก เพราะคุณไม่มีทางรู้ว่าจะได้พบกับอะไรและจะต้องการใช้เมื่อไหร่




ถ่ายที่ระยะ 600 มม.

EOS RP/ RF600mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/640 วินาที, ISO 320
วัดไท่ฮัว ฝอกวงซัน


ถ่ายที่ระยะ 29 มม.

EOS RP/ EF 17-40mm f/4L USM ที่ 29 มม., f/7.1, 1/1600, ISO 320

กรุงเทพฯ นั้นเต็มไปด้วยวัดและสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมอันวิจิตรงดงามมากมาย แต่การถ่ายภาพสถานที่เหล่านี้ในระยะใกล้ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ ด้วยการขยับเข้าไปใกล้ตัวแบบ เลนส์ RF600mm f/11 IS STM ช่วยให้ผมถ่ายภาพรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมขนาดเล็กได้จากมุมที่ดีที่สุด

 

คุณสมบัติที่ชื่นชอบข้อที่ 2: ระบบป้องกันภาพสั่นไหว

การถ่ายภาพด้วยมือถือถ่ายเป็นเรื่องง่ายขึ้น

ระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัวเลนส์ (สูงสุด 5 สต็อปในเลนส์ RF600mm f/11 IS STM และสูงสุด 4 สต็อปในเลนส์ RF800 f/11 IS STM) เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งที่ทำให้ใช้เลนส์ได้ง่ายดายมาก คุณสมบัตินี้รวมกับดีไซน์ที่มีน้ำหนักเบาทำให้การถ่ายภาพด้วยมือโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องเป็นเรื่องง่ายขึ้นแม้ในสภาวะแสงน้อย

EOS RP/ RF600mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/60 วินาที, ISO 320
เสาชิงช้า

ภาพเสาชิงช้ายามเย็นถ่ายด้วยมือถือถ่ายในมุมต่ำ ด้วยระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัวเลนส์ รูรับแสงคงที่ที่ f/11 จึงไม่เป็นปัญหามากนักในสภาพแสงน้อยแม้คุณจะไม่ต้องการใช้ความไวแสงที่สูง การถ่ายภาพที่ 1/60 วินาทีด้วยเลนส์ที่ไม่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวมักจะทำให้เห็นการสั่นของกล้องได้ชัดเจน แต่ในภาพนี้กลับไม่มีการสั่นเลย

 

คุณสมบัติที่ชื่นชอบข้อที่ 3: วงแหวนควบคุม

ควบคุมการเปิดรับแสงได้โดยตรง

ผมคิดว่าวงแหวนควบคุมเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ดีที่สุดที่แคนนอนได้ใส่เข้ามาในเลนส์ คุณสมบัตินี้ช่วยให้คุณควบคุมค่าการเปิดรับแสงที่กำหนดได้ตามต้องการเพียงแค่หมุนวงแหวน คุณจึงไม่พลาดโอกาสอันมีค่าในการถ่ายภาพไปกับการเลื่อนหาเมนูในกล้อง

EOS RP/ RF600mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/500 วินาที, ISO 2000

พนักงานขับรถไฟกำลังปีนเข้าไปในห้องคนขับ การกำหนดให้วงแหวนควบคุมเป็นตัวควบคุมความไวแสง ช่วยให้คุณควบคุมการเปิดรับแสงได้เร็วขึ้นเมื่อต้องย้ายไปยังฉากที่มีสภาพแสงแตกต่างกัน

 

สรุป: ฉากในระยะใกล้ทำให้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

สิ่งที่อยู่รอบตัวเราเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา จึงเป็นเรื่องน่าทึ่งที่แม้แต่สถานที่ที่คุ้นเคยที่สุดจะมีบางอย่างแตกต่างออกไปเสมอในทุกครั้งที่คุณมอง ในระยะเวลา 5 ปีนับจากผมเริ่มถ่ายภาพ การออกไปถ่ายภาพนอกสถานที่ช่วยเพิ่มทักษะให้ผมอย่างมาก เพราะการได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นทำให้ผมหันมาสนใจช่วงเวลาที่อยู่รอบตัวมากขึ้น ผมเข้าใจมากขึ้นว่าต้องการถ่ายภาพในช่วงเวลาแบบใดเพื่อให้ผู้คนได้เห็น

 

อาจต้องทำความคุ้นเคยกับกำลังขยายและระยะทางยาวโฟกัสใกล้สุดสักเล็กน้อย แต่ก็นับว่าคุ้มค่า

เมื่อมองผ่านเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ เช่น RF600mm f/11 IS STM หรือ RF800mm f/11 IS STM กำลังขยายจะทำให้คุณได้เห็นอีกมุมหนึ่งของฉากที่คุณไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน

คุณอาจต้องทำความคุ้นเคยกับกำลังขยายและระยะโฟกัสใกล้สุดที่ยาวขึ้นสักเล็กน้อย (4.5 เมตรสำหรับ RF600mm f/11 IS STM และ 6 เมตรสำหรับ RF800mm f/11 IS STM) คุณอาจต้องเดินสำรวจเพื่อหามุมที่เหมาะสมและเพิ่มระยะห่างระหว่างคุณและตัวแบบให้มากขึ้น แต่เมื่อคุ้นเคยกับมันแล้ว คุณจะสนุกมากและคุณสมบัติเหล่านี้จะช่วยยกระดับการถ่ายภาพของคุณ รวมทั้งความเข้าใจของคุณที่มีต่อสถานที่แห่งนั้นขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง

 

มุมอื่นๆ ในกรุงเทพฯ ที่ระยะ 600 และ 800 มม.

EOS RP/ RF600mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/320 วินาที, ISO 100

องค์พระใหญ่ที่วัดปากน้ำคือภาพแห่งความเงียบสงบที่ตัดกับท้องถนนอันยุ่งวุ่นวาย


EOS RP/ RF600mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/500 วินาที, ISO 320
เสาชิงช้า

ภาพนี้ถ่ายที่ระยะประมาณ 500 เมตรจากเสาชิงช้าซึ่งมีความสูง 27 เมตร เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพของเลนส์ทำให้เห็นขนาดของเสาชิงช้าในแบบที่ต่างออกไป


EOS RP/ RF600mm f/11 IS STM ที่ f/11, 3.2 วินาที, ISO 100
ถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงนานด้วยมือถือถ่าย โดยใช้เลนส์ RF600mm f/11 IS STM ภาพค่อนข้างคมชัดแม้ที่ 3.2 วินาที


EOS RP/ RF800mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/400 วินาที, ISO 800
มุมนี้ทำให้คุณรู้สึกเหมือนกำลังยืนอยู่บนรางรถไฟ แต่ความจริงแล้วถ่ายจากระยะปลอดภัยที่ค่อนข้างไกลทีเดียว!


EOS RP/ RF600mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/320 วินาที, ISO 160
แสงที่ตกกระทบลงบนแผ่นกระจกของตัวอาคาร


EOS RP/ RF800mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/500 วินาที, ISO 320
เงาช่วยขับให้เห็นรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมของอพาร์ตเมนต์เหล่านี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นจากระยะไกล อาคารเหล่านี้อาจดูเหมือนกันและไร้ชีวิตชีวา แต่เมื่อดูจากระยะใกล้ คุณจะเห็นรายละเอียดของชีวิตมนุษย์

 

RF600mm f/11 IS STM


เลนส์ฮูด: ET-88B (มีจำหน่ายแยกต่างหาก)


โครงสร้างของเลนส์

A: เลนส์ DO


ข้อมูลจำเพาะที่สำคัญ

โครงสร้างเลนส์: 10 ชิ้นเลนส์ใน 7 กลุ่ม
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 4.5 ม.
กำลังขยายสูงสุด: 0.14 เท่า
เส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์: 82 มม.
ขนาด: φ93 x 269.5 มม. (ขณะถ่ายภาพ)/199.5 มม. (เมื่อหดเก็บ)
น้ำหนัก: 930 ก. โดยประมาณ

 

RF800mm f/11 IS STM


เลนส์ฮูด: ET-101 (มีจำหน่ายแยกต่างหาก)


โครงสร้างของเลนส์

A: เลนส์ DO


ข้อมูลจำเพาะที่สำคัญ

โครงสร้างเลนส์: 11 ชิ้นเลนส์ใน 8 กลุ่ม
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 6.0 ม.
กำลังขยายสูงสุด: 0.14 เท่า
เส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์: 95 มม.
ขนาด: φ93 x 351.8 มม. (ขณะถ่ายภาพ)/281.8 มม. (เมื่อหดเก็บ)
น้ำหนัก: 1,260 ก. โดยประมาณ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Don Amatayakul

ดรณ์ อมาตยกุล เป็นช่างภาพอิสระจากกรุงเทพฯ ประเทศไทย เขาเริ่มถ่ายภาพเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2016 เพื่อบันทึกช่วงเวลาที่น่าจดจำและถ่ายทอดมุมมองของเขาเมื่อครั้งเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ เมื่ออาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองที่ถ่ายภาพได้สวยงามที่สุดในโลก เขาจึงสนใจการถ่ายภาพในเมืองและทิวทัศน์เมืองและความหลงใหลของเขาก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนการถ่ายภาพได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเขา เขาหวังว่าผู้คนจะได้สังเกตเห็นความงดงามในเมืองและมองสิ่งต่างๆ รอบตัวด้วยมุมมองใหม่ผ่านภาพถ่ายของเขา

อินสตาแกรม: @donamtykl

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา