ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดและเทคนิคของเลนส์- Part

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์

2024-07-24
23
75.1 k

คุณเคยมองภาพถ่ายชิ้นเอกแล้วนึกสงสัยว่าช่างภาพใช้วิธีอะไรถ่ายภาพนั้นหรือไม่ ความลับที่ไม่ลับสักทีเดียวนักก็คือ เลนส์นั่นเอง วิธีที่คุณเลือกและใช้งานเลนส์สามารถสร้างความแตกต่างระหว่างภาพธรรมดากับผลงานที่น่าสนใจ ดังนั้น ขั้นตอนแรกคือรู้จักตัวเลือกของคุณ ต่อไปนี้เป็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเลนส์ประเภทต่างๆ และประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง

ในบทความนี้:

 

เลนส์ต่างประเภทกันช่วยให้คุณมองเห็นฉากเดียวกันในมุมมองที่ต่างออกไป

แม้คุณสมบัติและสเปคที่คุณพบในกล้องระบบ EOS R ช่วยให้ได้ภาพถ่ายอันน่าทึ่ง แต่หากพูดถึงการสร้างสรรค์ภาพถ่าย กุญแจสำคัญก็คือเลนส์

เลนส์แต่ละแบบมีคุณสมบัติพิเศษในตัวที่ให้คุณสามารถใช้ประโยชน์สำหรับฉากและสถานการณ์การถ่ายภาพที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นภาพทิวทัศน์กว้างใหญ่สุดลูกลูกตา ภาพโคลสอัพของโลกมาโครจิ๋วที่ชวนให้ตื่นตาตื่นใจ ไปจนถึงชีวิตลึกลับของสัตว์ป่าและอีกมากมาย การเปลี่ยนเลนส์จะช่วยให้คุณค้นพบสิ่งต่างๆ ที่คุณอาจไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน

 

เลนส์มุมกว้าง

ภาพสี่แยกถนนทางหลวงที่มีการจราจรคับคั่งและเต็มไปด้วยเส้นแสง ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์

EOS R5/ RF10-20mm f/4L IS USM/ FL: 10มม/ โหมด Bulb (f/6.3, 59.9 วินาที, EV ±0)/ ISO 100/ WB: ฟลูออเรสเซนต์
ถ่ายด้วย: เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์

คุณลักษณะเฉพาะที่สำคัญ
- ถ่ายภาพให้เห็นฉากได้มากขึ้น (ขอบเขตภาพใหญ่ขึ้น)
- มุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริงที่น่าประทับใจ
- ยิ่งระยะชัดกว้าง = ยิ่งจับโฟกัสที่วัตถุมากขึ้นได้ง่าย
- แบ็คกราวด์เบลอเห็นชัดน้อยลง

เลนส์มุมกว้างถ่ายระยะชัดลึกได้กว้างกว่าที่ตาของคนเรามองเห็น  ด้วยเหตุนี้ เราจึงมักใช้เลนส์ชนิดนี้ถ่ายภาพทิวทัศน์ที่กว้างใหญ่

เลนส์ที่ถือว่าเป็นเลนส์มุมกว้างคือ เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสไม่เกิน 35 มม. หากทางยาวโฟกัสไม่เกิน 24 มม. จะถือว่าเป็นเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ 

เลนส์มุมกว้างยังให้มุมมองเปอร์สเป็คทีฟเกินจริง เช่น สามารถทำให้วัตถุที่อยู่ใกล้ดูมีขนาดใหญ่ขึ้นและใกล้ขึ้น และวัตถุที่อยู่ไกลดูมีขนาดเล็กลงและอยู่ห่างมากขึ้น จึงนิยมใช้คุณลักษณะนี้ในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมเพื่อทำให้อาคารดูน่าสนใจมากขึ้น

ด้วยจุดแข็งในการถ่ายภาพทิวทัศน์และสถาปัตยกรรมดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้เอง เลนส์มุมกว้าง (รวมถึงมุมกว้างอัลตร้าไวด์) จึงเหมาะมากสำหรับพกติดตัวไปด้วยขณะเดินทาง

 

เลนส์มาโคร

ภาพโคลสอัพของใบไม้ ถ่ายด้วยเลนส์มาโคร 100 มม.

EOS R5/ RF100mm f/2.8L Macro IS USM/ FL: 100มม/ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/2000 วินาที)/ ISO 400/ WB: Manual
ประเภทของเลนส์: มาโคร

คุณลักษณะเฉพาะที่สำคัญ
- ภาพโคลสอัพของรายละเอียด ถ่ายวัตถุขนาดเล็กๆ ได้เต็มเฟรม
- กำลังขยายสูงสุดในระดับสูง
- ระยะชัดตื้นในขณะถ่ายภาพโคลสอัพ

เลนส์มาโครเหมาะอย่างยิ่งสำหรับถ่ายภาพต้นไม้ แมลง อาหาร ของตกแต่งชิ้นเล็กและเครื่องประดับ รวมถึงตัวแบบอื่นที่มีขนาดเล็ก

เนื่องจากมี

- ระยะโฟกัสใกล้, มาก หมายความว่าคุณสามารถถ่ายภาพตัวแบบโดยวางเลนส์ไว้ใกล้ตัวแบบมากๆ ได้
- อัตราส่วนกำลังขยาย สูงมากถึงอย่างน้อย 0.5 เท่า ซึ่งช่วยให้คุณถ่ายภาพโคลสอัพให้ตัวแบบเต็มทั้งเฟรม เลนส์มาโครแท้ๆ จะมีกำลังขยายเท่าขนาดจริง (1 เท่า) เป็นอย่างน้อย กำลังขยายสูงสุดของ RF100mm f/2.8L Macro IS USM คือ 1.4 เท่า!

เลนส์มาโครมี ระยะชัดที่ตื้นมาก ซึ่งเหมาะสำหรับการการสร้างโบเก้ (เอฟเฟ็กต์โฟกัสตื้น) ที่ทำให้ตัวแบบดูเด่นออกมา แต่คุณจะต้องใช้ค่า f สูงกว่าปกติเพื่อให้ภาพอยู่ในโฟกัสมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถ่ายภาพโคลสอัพหรือลองใช้ focus bracketing.

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์: ฉันจะได้ภาพแบบไหนหากถ่ายด้วยกำลังขยาย 0.25 หรือ 0.5 เท่า มีเลนส์

 

เลนส์เทเลโฟโต้

Swimming duck shot on a telephoto lens

EOS R6/ RF100-400mm f/5.6-8 IS USM/ FL: 400มม/ Aperture-priority AE (f/8, 1/125 วินาที, EV -1)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ
ประเภทของเลนส์: เทเลโฟโต้

คุณลักษณะเฉพาะที่สำคัญ
- ภาพโคลสอัพของวัตถุที่อยู่ห่างไกล
- การบีบมุมมองภาพ: เอฟเฟ็กต์แบบ “ทำให้แบน”/ วางซ้อน
- ระยะชัดที่ตื้นขึ้น

เลนส์เทเลโฟโต้ช่วย "ดึง" ตัวแบบที่อยู่ไกลให้เข้ามาใกล้ขึ้น และทำให้ตัวแบบดูมีขนาดใหญ่และใกล้ขึ้นกว่าความเป็นจริง เหมาะสำหรับการถ่ายภาพสัตว์ป่า กีฬา รถยนต์ และการแข่งขันจักรยาน รวมถึงตัวแบบอื่นๆ ที่ถ่ายในระยะใกล้ได้ยาก

เลนส์เทเลโฟโต้ยังขึ้นชื่อในเรื่องเอฟเฟ็กต์การบีบภาพที่ทำให้ตัวแบบดูใกล้กันมากขึ้น 

เมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์มาตรฐาน (ปกติ) เลนส์เทเลโฟโต้สามารถถ่ายภาพให้มีแบ็คกราวด์เบลอมากๆได้ เนื่องมาจากเหตุผลสองประการคือ 
1) ระยะชัดลึกที่ตื้นขึ้น
2) วัตถุนอกโฟกัสที่อยู่ห่างไกลถูก "ดึง" ให้เข้ามาใกล้และขยายใหญ่ขึ้นจนส่วนที่เบลอดูมีขนาดใหญ่ขึ้น
 คุณจึงสามารถใช้คุณลักษณะเฉพาะนี้เบลอองค์ประกอบในแบ็คกราวด์ที่ดึงความสนใจไปจากภาพและนำความสนใจของผู้ชมไปสู่ตัวแบบของคุณ 

คุณสมบัติพิเศษประการที่สี่ของเลนส์เทเลโฟโต้คือ ทำให้ภาพบิดเบี้ยวน้อยลงเมื่อเทียบกับเลนส์ประเภทอื่นอย่างเลนส์มุมกว้าง จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต

เลนส์เทเลโฟโต้แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทย่อยหลักๆ ได้แก่
- เลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลาง: ทางยาวโฟกัส 70 มม. ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 135 มม.
- เลนส์เทเลโฟโต้: ทางยาวโฟกัส 135 มม. ขึ้นไป
- เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้: ทางยาวโฟกัส 300 มม. ขึ้นไป

 

วิธีอื่นๆ ในการจัดประเภทเลนส์

“มุมกว้าง” และ “เทเลโฟโต้” เป็นประเภทที่อธิบายขอบเขตภาพของเลนส์และบ่งชี้ถึงทางยาวโฟกัสที่ใช้งานได้จริงของเลนส์นั้น

เลนส์มาโครเป็นเลนส์พิเศษที่สามารถโฟกัสได้ใกล้มากๆ และมีอัตราส่วนกำลังขยายสูง

ต่อไปนี้เป็นอีกสามวิธีหลักๆ ในการจัดประเภทเลนส์


1. เลนส์เดี่ยวกับเลนส์ซูม

เลนส์เดี่ยว
เลนส์ในภาพ:RF16mm f/2.8 STM

เลนส์ซูม
เลนส์ในภาพ:RF-S18-150mm f/3.5-6.3 IS STM

เลนส์ซูมสามารถครอบคลุมทางยาวโฟกัสช่วงใดช่วงหนึ่งได้
เลนส์เดี่ยวมีทางยาวโฟกัสคงที่เพียงระยะเดียว

เลนส์ซูมใช้ปรับการจัดเฟรมภาพได้สะดวกกว่า เพียงแค่คุณหมุนวงแหวนซูมเท่านั้น แต่เลนส์เดี่ยวส่วนใหญ่มีรูรับแสงกว้างสุดที่ใหญ่กว่า (“สว่างกว่า”)
ซึ่งทำให้เลนส์ประเภทนี้สร้างเอฟเฟ็กต์โฟกัสตื้น (“โบเก้”)
และถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อยได้ดีกว่า เมื่อคุณคุ้นเคยกับการถ่ายภาพมากขึ้น

 

บางทีคุณอาจพบว่าเลนส์เดี่ยวช่วยให้คุณขยายขอบเขตการสร้างสรรค์ได้หลากหลายแบบ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่างเลนส์เดี่ยวกับเลนส์ซูม รวมถึงความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ได้ใน
เลนส์เดี่ยวหรือเลนส์ซูม: ควรซื้อแบบไหนดี


2. เมาท์เลนส์ (กล้องที่รองรับ)

ผู้ผลิตกล้องผลิตเลนส์เพื่อใช้กับบอดี้กล้องและเซนเซอร์ภาพขนาดต่างๆ

ตัวอย่างเช่น
• เลนส์ RF จะไม่สามารถติดตั้งบนกล้อง EOS DSLR หรือกล้องมิเรอร์เลสซีรีย์ EOS M ได้ เนื่องจากใช้เมาท์เลนส์ต่างกัน
• คุณจะต้องใช้เมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R จึงจะใช้เลนส์ DSLR (EF หรือ EF-S) กับกล้องในซีรีย์ EOS R ได้
• เลนส์ RF-S ทำขึ้นสำหรับกล้องในซีรีย์ EOS R ที่มีเซนเซอร์ภาพขนาด APS-C โดยเฉพาะ เช่น กล้อง EOS R50. นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ได้กับกล้องซีรีย์ EOS R แบบฟูลเฟรมในโหมดครอป 1.6 เท่า ซึ่งจะบันทึกภาพโดยใช้บางส่วนของเซนเซอร์

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณใช้เลนส์ถูกประเภทสำหรับกล้องของคุณ!

ความแตกต่างของขนาดระหว่าง RF50mm f/1.8 STM และ EF50mm f/1.8 STM

การใช้เมาท์อะแดปเตอร์จะทำให้ชุดอุปกรณ์ถ่ายภาพของคุณมีน้ำหนักและความยาวเพิ่มขึ้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน
เลนส์ RF-S กับ RF แตกต่างกันอย่างไร
เลนส์ RF กับเลนส์ EF: แตกต่างกันอย่างไรและควรตัดสินใจเลือกอย่างไร

 

ข้อควรรู้: คุณสมบัติการครอป

หากคุณใช้กล้อง APS-C จาก Canon ให้นำเลขทางยาวโฟกัสในชื่อเลนส์ไปคูณกับ 1.6 เท่า เพื่อให้ทราบขอบเขตภาพของเลนส์บนกล้องของคุณอย่างคร่าวๆ เพราะทางยาวโฟกัสในชื่อเลนส์มักจะระบุไว้ในแง่ของกล้องฟูลเฟรม ภาพบนกล้อง APS-C จะดู “ซูมเข้า” มากกว่า เพราะคุณสมบัติการครอปแบบ APS-C ซึ่งอยู่ที่ 1.6 เท่าบนกล้อง Canon

คุณสมบัติการครอปนี้อาจเปลี่ยนประเภทของเลนส์ได้ ตัวอย่างเช่น เลนส์มาตรฐาน “50 มม. ความไวสูง” ยอดนิยมอย่าง RF50mm f/1.8 STM จะกลายเป็นเลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลางที่มีขอบเขตภาพใกล้เคียงกับ 80 มม. บนกล้องฟูลเฟรม ซึ่งจะเหมาะสำหรับภาพพอร์ตเทรต แต่แคบเกินไปเล็กน้อยสำหรับการถ่ายภาพในชีวิตประจำวัน

ข้อนี้ควรจดจำไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณต้องการเลนส์กว้างๆ!

((ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน กล้องฟูลเฟรมและกล้อง APS-C: ควรเลือกรุ่นไหนดี)

 


3. เลนส์ระดับมืออาชีพ (ซีรีย์ L)

เลนส์ระดับมืออาชีพ
เลนส์ในภาพ:RF14-35mm f/4L IS USM

เลนส์สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
เลนส์ในภาพ:RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM

หากคุณสังเกตเห็นความแตกต่างอย่างมากในด้านราคา (และขนาด) ระหว่างเลนส์ RF สองรุ่นที่มีทางยาวโฟกัสเท่ากัน/ช่วงทางยาวโฟกัสใกล้เคียงกัน เลนส์ที่มีราคาแพงกว่าก็น่าจะเป็นเลนส์ระดับมืออาชีพ ซึ่งจะมีวงแหวนสีแดงรอบท่อเลนส์และมีตัวอักษร “L” ในชื่อเลนส์

เลนส์ระดับมืออาชีพได้รับการออกแบบพร้อมด้วยกระจกแบบพิเศษเพื่อให้ได้คุณภาพด้านออพติคอลที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากนี้ ยังมีโครงสร้างที่แข็งแรงกว่าและซีลป้องกันสภาพอากาศเพื่อความทนทานยิ่งขึ้นในสภาพอากาศที่สมบุกบัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ถ่ายภาพเป็นงานอดิเรกซึ่งถ่ายภาพกลางแจ้งบ่อยๆ อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Tกลุ่มสามเลนส์ซูม f/4L ทรงพลังตระกูล RF: “ชุดเลนส์เริ่มต้น” ระดับมืออาชีพ

 

ควรตัดสินใจเลือกซื้อเลนส์อย่างไรดี

มีเลนส์ RF กว่า 40 รุ่นวางจำหน่ายอยู่และจะมีเพิ่มอีกในอนาคต อีกทั้งยังมีเลนส์ EF กว่า 90 รุ่น แม้แต่คุณตัดสินใจได้แล้วว่าต้องการเลนส์มุมกว้าง เลนส์เทเลโฟโต้ หรือเลนส์มาโคร ก็ยังมีเลนส์อีกหลายรุ่นในประเภทเดียวกัน แล้วคุณจะมีวิธีเลือกเลนส์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้ดีที่สุดอย่างไร


1. พิจารณาข้อดีและข้อเสียของเลนส์แต่ละประเภท

ตัวอย่างเช่น เลนส์ซูมระดับมืออาชีพที่มีรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่จะใช้งานได้ยืดหยุ่นมากที่สุดแต่ก็มีน้ำหนักมากขึ้นด้วย ในขณะเดียวกัน ทางยาวโฟกัสคงที่ของเลนส์เดี่ยวอาจดูมีข้อจำกัดในตอนแรก แต่ความสะดวกในการพกพา ประสิทธิภาพการถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย โบเก้ และความคมชัดของเลนส์ก็อาจจูงใจให้อยากถ่ายภาพและสนุกกับการถ่ายภาพมากขึ้น!

กล้องที่ใช้เลนส์ซูมมาตรฐาน (ซ้าย) และเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ (ขวา) ในภาพนี้ บอดี้กล้องทั้งสองตัวเหมือนกัน แต่เลนส์ที่แตกต่างกันทำให้น้ำหนักโดยรวมและความรู้สึกเมื่อถือกล้องไว้ในมือเปลี่ยนไป


2. พิจารณากล้องของคุณ รูปแบบการถ่ายภาพ และประเภทของภาพที่คุณต้องการถ่าย

ภาพถ่ายส่วนใหญ่ใน SNAPSHOT จะระบุชื่อเลนส์ที่ใช้ถ่ายภาพในข้อมูลการถ่ายภาพ หากคุณพบภาพที่คุณชื่นชอบจริงๆ ควรศึกษาเลนส์ที่ใช้แม้ว่ารุ่นของเลนส์อาจไม่เหมาะกับความต้องการของคุณ เพราะนั่นอาจช่วยให้คุณลดตัวเลือกให้เหลือรุ่นที่คล้ายคลึงกันได้

หากคุณเห็นภาพที่คุณชื่นชอบ ให้ดูชื่อเลนส์ในข้อมูลการถ่ายภาพ

 

สรุป

ท้ายที่สุดแล้ว เลนส์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณคือ เลนส์ที่ช่วยให้คุณถ่ายภาพได้อย่างที่จินตนาการไว้ ซึ่งการค้นหาเลนส์ที่ใช่ คุณต้องทราบความต้องการและรู้ว่าเลนส์แบบไหนเหมาะกับภาพถ่ายของคุณ ส่วนแรกคือกระบวนการเรียนรู้ การสำรวจและค้นพบตัวเองอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาตัวเองต่อไปในฐานะช่างภาพ ส่วนที่สองเกี่ยวกับการรู้ัจักตัวเลือกของคุณ

ในบทความ SNAPSHOT คุณจะพบข้อมูลที่ช่วยเหลือคุณในทั้งสองส่วน

บทความต่อเนื่องเกี่ยวกับพื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ประเภทต่างๆ เช่น ข้อดีและข้อเสีย คุณสมบัติเด่น และวิธีการใช้งาน

บทความต่อเนื่องเกี่ยวกับคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ จะเจาะลึกเรื่องทางเทคนิค ตอบคำถามทั่วไป (และอาจไม่ทั่วไปนัก) เกี่ยวกับเลนส์และข้อมูลจำเพาะของเลนส์

สำหรับในบทความ คุณสมบัติที่สำคัญของเลนส์ RFคุณจะพบบทวิจารณ์เลนส์ ข้อมูลเปรียบเทียบ บทสัมภาษณ์ทีมพัฒนา และข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับเลนส์เฉพาะรุ่น หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณพบเลนส์ที่สมบูรณ์แบบสำหรับภาพถ่ายของคุณ

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา