ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด คุณสมบัติที่สำคัญของเลนส์ RF- Part20

RF85mm f/1.2L USM: เลนส์ที่สมบูรณ์แบบด้วยเมาท์ RF

2019-06-12
8
1.34 k
ในบทความนี้:

RF85mm f/1.2L USM เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2019 ในฐานะเลนส์เดี่ยวเทเลโฟโต้ระยะกลางที่มีเทคโนโลยีออพติคอลใหม่ล่าสุดจาก Canon อัดแน่นอยู่เต็มในตัวกล้องประสิทธิภาพสูง เราจะมาดูกันว่าความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นของเมาท์ RF ทำให้ความสามารถเหล่านี้เป็นไปได้อย่างไร

เพราะเหตุใดคุณจึงเห็นเลนส์เดี่ยว 85 มม. ในชุดอุปกรณ์ของช่างภาพพอร์ตเทรตอยู่เสมอ

เลนส์เดี่ยว 85 มม. เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต จนแทบจะเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า “เลนส์พอร์ตเทรต” ด้วยเหตุผลหลักสองข้อ 

ข้อแรกคือ มุมรับภาพ 85 มม. สามารถนำเสนอรูปร่างและความมีมิติของตัวแบบได้คล้ายคลึงกับสิ่งที่คุณเห็นด้วยตาเปล่าเป็นอย่างมาก 

และข้อสอง เลนส์นี้มีระยะการถ่ายภาพที่พอเหมาะสำหรับการถ่ายภาพใบหน้าและภาพครึ่งตัว ช่างภาพจึงไม่อยู่ในระยะที่ใกล้หรือไกลตัวแบบจนเกินไป ทำให้สามารถสื่อสารกันได้ง่ายโดยไม่รู้สึกว่าเป็นการรบกวนเท่าใดนัก

คุณสมบัติเหล่านี้ยังมีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นด้วยรูรับแสงกว้างสุดที่ f/1.2 ซึ่งให้ระยะชัดที่ตื้นมาก จึงสามารถสร้างโบเก้ในแบ็คกราวด์ได้อย่างนุ่มนวลมากและทำให้ตัวแบบในภาพพอร์ตเทรตมีความโดดเด่น

 

ก้าวสู่อีกระดับแห่งการถ่ายภาพพอร์ตเทรต: ต่อยอดจากจุดแข็งของเมาท์ RF

แม้ผู้ผลิตเลนส์รายอื่นๆ มากมายผลิตเลนส์เดี่ยว 85 มม. เช่นกัน แต่มีเลนส์เพียงไม่กี่รุ่นเท่านั้นที่มีรูรับแสงกว้างถึง f/1.2 นี่ทำให้เห็นว่าการผลิตเลนส์ที่มีสเปคแบบนี้เป็นเรื่องยากเพียงใด 

นับตั้งแต่มีการเปิดตัวเลนส์ FD85mm f/1.2 S.S.C. ในปี 1976 เลนส์ 85mm f/1.2 ของ Canon ก็ได้กลายมาเป็นที่ชื่นชอบในบรรดาช่างภาพมืออาชีพเนื่องจากความสว่างและคุณภาพของภาพที่สูง แต่อย่างไรก็ตาม จุดด้อยข้อหนึ่งของเลนส์รุ่นก่อนๆ เหล่านี้คือ มีแนวโน้มที่จะทำให้สีม่วง ซึ่งเป็นความคลาดสีรูปแบบหนึ่ง เกิดขึ้นบริเวณขอบของชุดแต่งงาน เครื่องประดับ หรือตัวแบบอื่นๆ ที่มีความเปรียบต่างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงเกือบกว้างสุด

ซึ่งจุดด้อยนี้ได้รับการแก้ไขแล้วในเลนส์ RF85mm f/1.2L USM เพราะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเมาท์ขนาดใหญ่และระยะแบ็คโฟกัสที่สั้นของเมาท์ RF จึงสามารถยกระดับคุณภาพของภาพให้สูงขึ้นอีกได้

 

เลนส์ RF85mm f/1.2L USM

ข้อมูลจำเพาะที่สำคัญ
โครงสร้างเลนส์: 13 ชิ้นเลนส์ใน 9 กลุ่ม
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 0.85 ม.
กำลังขยายสูงสุด: 0.12 เท่า
จำนวนม่านรูรับแสง: 9 (กลีบ)
เส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์: 82 มม.
ขนาด: φ103.2 x 117.3 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 1,195 ก.

 

ทำไมจึงใช้ f/1.2 แทนที่จะเป็น f/1.4

“การผสมผสานกันระหว่างความคมชัดอันน่าทึ่งในพื้นที่โฟกัสและระยะชัดที่ตื้นมากของค่า f/1.2 ทำให้สามารถถ่ายทอดภาพออกมาได้ในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน และถึงแม้เลนส์ RF50mm f/1.2L USM ซึ่งวางจำหน่ายไปก่อนหน้าจะเป็นเลนส์ที่ให้ความคมชัดสูงมาก แต่ทางยาวโฟกัสที่ยาวกว่าของเลนส์ RF85mm f/1.2L USM นั้นสามารถสร้างโบเก้ได้ชัดเจนกว่า”

- Kaishi Kawai ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์

ภาพพอร์ตเทรตของหญิงสาว

EOS R/ RF85mm f/1.2 L USM / FL: 85 มม./ Manual exposure (f/1.2, 1/80 วินาที, EV±0)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ

 

รูรับแสง 0.5 สต็อปนับเป็นความแตกต่างมหาศาลหากดูที่ความยากในการออกแบบออพติคอล

ค่า f/1.4 และ f/1.2 มีรูรับแสงต่างกันเพียง 0.5 สต็อปเท่านั้น และทำให้แสงผ่านเข้ามาในเลนส์ได้มากขึ้น 1.4 เท่า อย่างไรก็ตาม ในด้านการออกแบบออพติคอล ความแตกต่างขนาดนี้ไม่ใช่สิ่งที่ได้มาง่ายๆ อย่างที่คิด

 “เพื่อให้ได้คุณภาพของภาพระดับเดียวกับเลนส์ที่มีรูรับแสงแคบกว่าและมีค่า f สูงๆ นั้น ความสามารถในการแก้ไขความคลาดในระดับสูงยิ่งขึ้นเป็นสิ่งจำเป็น  ความแตกต่างเพียงครึ่งสต็อปอาจฟังดูไม่มาก แต่เมื่อออกแบบเลนส์ที่ได้ชื่อว่ามีรูรับแสงกว้าง เช่น f/1.2 และ f/1.4 ครึ่งสต็อปนี้สร้างความแตกต่างได้อย่างมหาศาลในด้านความยากในการออกแบบ”

 - Satoshi Maetaki ฝ่ายออกแบบออพติคอล

ยิ่งเลนส์มีรูรับแสงกว้างเท่าใด การแก้ไขความคลาดทางออพติคอลก็ยิ่งมีความสำคัญเท่านั้น

เมื่อแสงผ่านเข้ามาในเลนส์ จะเกิดการโค้งงอเนื่องจากการหักเหของแสง ทำให้เกิดความคลาดซึ่งลดทอนประสิทธิภาพทางออพติคอลลง ในการสร้างเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างนั้น ต้องทำให้เลนส์มีเส้นผ่านศูนย์กลางรูรับแสงที่กว้างเพื่อให้แสงผ่านเข้ามาได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม นั่นหมายความว่าลำแสงในปริมาณมากขึ้นจะเกิดการหักเหเมื่อผ่านเข้ามาตามขอบเลนส์ ทำให้เลนส์เกิดความคลาดได้ง่ายขึ้นอีก เพื่อให้ได้คุณภาพของภาพเช่นเดียวกับเลนส์ที่มีรูรับแสงแคบกว่า จึงต้องออกแบบให้เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างๆ มีความสามารถสูงขึ้นในการแก้ไขความคลาด 

ความสำเร็จในการออกแบบเลนส์ที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน

หากเป็นเมาท์ EF การจะได้ประสิทธิภาพการแก้ไขความคลาดในระดับเดียวกันนี้จะต้องใช้ชิ้นเลนส์จำนวนมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ตัวเลนส์มีขนาดใหญ่ขึ้นมาก และยังทำให้ความเร็ว AF ลดลงด้วย การออกแบบเช่นนี้อาจเป็นไปได้ในทางทฤษฎี แต่เป็นไปไม่ได้กับผลิตภัณฑ์จริง 

ในทางกลับกัน เมาท์ RF ไม่เพียงแต่มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายในที่กว้างเช่นเดียวกับเมาท์ EF เท่านั้น แต่ยังมีระยะแบ็คโฟกัสที่สั้นด้วย จึงสามารถวางชิ้นเลนส์ที่มีขนาดใหญ่ไว้ใกล้กับเซนเซอร์ภาพมาก ทำให้สามารถแก้ไขความคลาดได้ในระดับสูงโดยไม่ทำให้เลนส์มีขนาดใหญ่เกินไป

 

เลนส์ RF85mm f/1.2L USM - ยกระดับการแก้ไขความคลาด 

ภาพกลางคืนถ่ายด้วยเลนส์ RF85mm f/1.2L USM

ไม่เกิดความคลาด

นี่คือภาพครอปแบบโคลสอัพของป้ายนีออนตรงกลางภาพ บริเวณที่มีความเปรียบต่างสูงเช่นนี้จะเกิดเป็นสีม่วงได้ง่ายเมื่อใช้รูรับแสงกว้างสุด แต่เลนส์ RF85mm f/1.2L USM สามารถลดความคลาดได้ดี จึงทำให้ถ่ายทอดภาพออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ

ภาพโคลสอัพของแสงไฟในสำนักงานที่อยู่ตรงมุมภาพ

แหล่งกำเนิดแสงที่อยู่ตรงมุมภาพมักจะเกิดการบิดเบี้ยวจากความคลาดแบบโคม่า แต่เลนส์นี้สามารถแสดงรูปร่างออกมาได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน

EOS R/ RF85mm f/1.2L USM / FL: 85 มม./ Manual exposure (f/1.2, 0.4 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

 

ผสมผสานเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจาก Canon เช่น ระบบออพติค BR และ ASC

Tomohiko Ishibashi นักพัฒนาที่ดูแลการออกแบบชิ้นเลนส์ออพติคอล BR และการเคลือบแบบ DS Coating เปิดเผยว่า การนำชิ้นเลนส์ Blue Spectrum Refractive (BR) (ฉบับภาษาอังกฤษ) มาใช้ คือปัจจัยสำคัญที่สุดในการลดความคลาดสีของเลนส์ RF85mm f/1.2L USM

ความจริงแล้ว RF85mm f/1.2L USM เป็นเลนส์รุ่นที่สองเท่านั้นที่ใช้ระบบออพติค BR ซึ่งมีใช้เป็นครั้งแรกในเลนส์ EF35mm f/1.4L II USM 

“เมื่อเทียบกับวัสดุออพติคอลอื่นๆ ชิ้นเลนส์ออพติคอล BR หักเหแสงสีน้ำเงิน (สเปกตรัมความยาวคลื่นสั้น) ได้มากกว่า และมีคุณสมบัติในการกระจายแสงที่น่าทึ่งเมื่อเทียบกับวัสดุออพติคอลแบบเดิม จึงให้ประสิทธิภาพในการลดความคลาดสีที่เพียงพอแม้เลนส์จะบางมาก ทำให้เราสามารถสร้างเลนส์ที่มีประสิทธิภาพสูงได้อย่างไม่น่าเชื่อ”

 - Tomohiko Ishibashi ฝ่ายออกแบบชิ้นเลนส์ออพติคอล BR และการเคลือบแบบ DS Coating


แผนภาพของเลนส์ RF85mm f/1.2L USM

A: ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม
B: ชิ้นเลนส์ UD
C: ชิ้นเลนส์ BR
D: การเคลือบแบบ ASC (Air Sphere Coating)

นอกจากชิ้นเลนส์ BR แล้ว RF85mm f/1.2L USM ยังใช้องค์ประกอบต่อไปนี้ด้วย

- ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมแบบเจียร (ฉบับภาษาอังกฤษ) ซึ่งทำจากวัสดุแก้วที่เหมาะสำหรับการแก้ไขความคลาดสีแต่ไม่สามารถใช้ได้ในเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมแบบขึ้นรูปด้วยแก้ว
- การเคลือบแบบ Air Sphere Coating (ASC) (ฉบับภาษาอังกฤษ) ซึ่งช่วยลดแสงหลอกและแสงแฟลร์

 

USM ชนิดวงแหวนที่มีวงแหวนใหญ่ขึ้นเพื่อ AF ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น

แม้ RF85mm f/1.2L USM จะนับได้ว่าเป็นเลนส์ที่มีขนาดกะทัดรัดหากดูจากคุณภาพที่มี แต่น้ำหนัก 1,195 ก. ก็อาจยังคงทำให้หลายคนประหลาดใจ ในขณะที่น้ำหนักส่วนใหญ่มาจากชิ้นเลนส์ต่างๆ สาเหตุหลักอีกข้อหนึ่งอยู่ที่แรงบิดซึ่งมีความจำเป็นต่อการขับเคลื่อนชุดโฟกัส

“RF85mm f/1.2L USM ใช้ USM ชนิดวงแหวน (ฉบับภาษาอังกฤษ) เช่นเดียวกับเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ ซึ่งให้แรงบิดที่มีกำลังสูงสุดใน Canon เมื่อปรับแต่งวิธีการควบคุม แรงบิดสูงสุดของมอเตอร์ก็เพิ่มขึ้นด้วย จึงสามารถขับเคลื่อนชุดโฟกัสที่หนักได้ด้วยความแม่นยำสูง”

- Masami Ichinose ฝ่ายออกแบบระบบไฟฟ้า

ภาพพอร์ตเทรตครึ่งตัว

EOS R/ RF85mm f/1.2 L USM / FL: 85 มม./ Manual exposure (f/1.2, 1/400 วินาที, EV±0)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ

 

เคล็ดลับ: ใช้วงแหวนควบคุมเพื่อชดเชยแสงขณะถ่ายภาพพอร์ตเทรต

เหล่านักพัฒนาเลนส์มีคำแนะนำข้อหนึ่งสำหรับผู้ใช้ในการใช้เลนส์นี้ถ่ายภาพพอร์ตเทรต คือ กำหนดให้วงแหวนควบคุมเป็นตัวปรับการชดเชยแสง

“หากกำลังถ่ายภาพพอร์ตเทรตกลางแจ้งและเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแสงอย่างทันทีทันใด คุณสามารถใช้มือซ้ายหมุนวงแหวนควบคุมและปรับการชดเชยแสงและยังใช้มือขวาในการลั่นชัตเตอร์ได้ในเวลาเดียวกัน คุณจึงสามารถปรับการตั้งค่าต่างๆ ได้อย่างยืดหยุ่นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมที่ช่างภาพมืออาชีพจะถ่ายพลาดไม่ได้ และความแตกต่างเพียง 0.1 วินาทีก็สามารถเปลี่ยนทุกอย่างไปได้"

- Kaishi Kawai ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์

 

เลนส์ที่กำลังจะเปิดตัวเร็วๆ นี้: เลนส์ทางเลือกที่ให้โบเก้นุ่มนวลยิ่งขึ้น

RF85mm f/1.2L USM เป็นเลนส์ที่นักพัฒนาของ Canon ให้ความสำคัญกับการขจัดความคลาดสีอย่างสมบูรณ์และเพิ่มความละเอียดและความคมชัดในพื้นที่โฟกัสให้สูงขึ้น แต่เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างเช่นนี้ยังสามารถออกแบบให้เป็นเลนส์ที่เน้นคุณภาพของโบเก้ที่นุ่มนวลสวยงามได้ด้วย 

นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ Canon พัฒนาเลนส์นี้ในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือ เลนส์ RF85mm f/1.2L USM DS ที่ใช้การเคลือบ Defocus Smoothing Coating แบบใหม่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ Canon พัฒนาขึ้นเอง เพื่อให้สามารถสร้างโบเก้ที่มีความสวยงามนุ่มนวลมากยิ่งขึ้น เลนส์รุ่นนี้มีกำหนดเปิดตัวภายในปี 2019


เลนส์ RF85mm f/1.2L USM DS

เลนส์ RF85mm f/1.2L USM DS

 

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับเลนส์ RF ที่ Canon วางแผนจะเปิดตัวในปี 2019 ได้ที่นี่:
กล้อง EOS RP ใหม่จาก Canon: ออกเดินทางไปกับกล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรมของคุณได้แล้ววันนี้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ RF รุ่นบุกเบิก 4 รุ่นได้ที่:
ขยายขีดความสามารถในการถ่ายภาพของคุณด้วยเลนส์ RF รูปแบบใหม่ทั้งหมด
ความประทับใจจากการใช้เลนส์: RF24-105mm f/4L IS USM ในการถ่ายภาพแนวสตรีท
ความประทับใจจากการใช้เลนส์: RF50mm f/1.2L USM ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตและภาพแนวสตรีท
ความประทับใจจากการใช้เลนส์: RF28-70mm f/2L USM ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ
ความประทับใจจากการใช้เลนส์: RF35mm f/1.8 Macro IS STM ในการถ่ายภาพแนวสตรีท

 

อ่านบทสัมภาษณ์นักพัฒนาเลนส์ RF85mm f/1.2L USM ฉบับเต็มได้ที่นี่ (ฉบับภาษาอังกฤษ)

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา