ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด สิ่งที่ช่างภาพพูดถึง เลนส์ RF- Part

บทวิจารณ์เลนส์: RF100-500mm f/4.5-7.1L IS USM ในการถ่ายภาพนก

2021-01-14
0
3.69 k
ในบทความนี้:

การถ่ายภาพนกมักถือว่าเป็นหน้าที่ของเลนส์เดี่ยวซูเปอร์เทเลโฟโต้ แต่คุณภาพของภาพถ่ายที่ดีเยี่ยม ความสามารถในการซูมด้วยขนาดบอดี้ที่กะทัดรัดและเบา ตลอดจนระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัวเลนส์สูงสุดถึง 5 สต็อป (สูงสุด 6 สต็อปเมื่อใช้ร่วมกับกล้อง EOS R5 หรือ EOS R6) ทำให้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้อย่างเช่น RF100-500mm f/4.5-7.1L IS USM มีข้อได้เปรียบในการถ่ายภาพแนวนี้เช่นกัน Gaku Totsuka ช่างภาพนกมืออาชีพ จะมาบอกเล่าประสบการณ์และเหตุผลที่คุณอาจต้องพิจารณาสำรองเลนส์รุ่นนี้ไว้ทดแทนเลนส์เดี่ยวซูเปอร์เทเลโฟโต้ความไวแสงสูงที่คุณมีอยู่ (เรื่องโดย: Gaku Tozuka, Digital Camera Magazine)

 

เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้คุณภาพเยี่ยมพร้อมระบบป้องกันภาพสั่นไหวที่ทรงพลัง


ความประทับใจแรก

RF100-500mm f/4.5-7.1L IS USM เป็นอีกหนึ่งเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ในกลุ่มเลนส์เมาท์ RF ของ Canon เช่นเดียวกับที่ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM เป็นในกลุ่มเลนส์ EF เลนส์รุ่นนี้มีบอดี้สีขาวโดดเด่นแบบฉบับเลนส์ L เทเลโฟโต้ของ Canon แต่มีเลนส์ฮู้ดสีขาวด้วย ซึ่งให้ความรู้สึกถึงความเป็น Canon โฉมใหม่

ตัวเลนส์มีเส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์ 77 มม. เท่ากับเลนส์ในเวอร์ชัน EF ระยะในการเข้าใกล้ของเลนส์ขยายจาก 400 มม. เป็น 500 มม. ส่วนรูรับแสงกว้างสุดปรับได้จาก f/4.5 ถึง f/7.1 คุณจึงอาจจะต้องเพิ่มค่าความไวแสง ISO เพื่อเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ แต่เมื่อใช้ร่วมกับกล้อง EOS R5 และ EOS R6 ซึ่งผมใช้ถ่ายภาพทั้งคู่ จุดรบกวนจากความไวแสง ISO สูงก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด


คุณภาพของภาพถ่ายอันยอดเยี่ยม

โครงสร้างเลนส์ประกอบด้วยการเคลือบแบบ Air Sphere Coating (ASC) พิเศษ ชิ้นเลนส์ Super UD (ฉบับภาษาอังกฤษ) 1 ชิ้น และชิ้นเลนส์ UD 6 ชิ้น ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาสีจางจากกึ่งกลางภาพไปจนถึงขอบภาพ คุณจึงรู้สึกได้ถึงคุณภาพของภาพที่ดีเยี่ยม

EOS R5/ FL: 500 มม./ โหมด Flexible-priority AE (f/10, 1/4,000 วินาที, EV ±0)/ ISO 500/ WB: อัตโนมัติ

โดยปกติคุณต้องใช้ทางยาวโฟกัสอย่างน้อย 500 มม. เพื่อถ่ายภาพนกป่า แต่เมื่อจับภาพฝูงนกที่กำลังโผบิน เช่น นกตีนเทียนในภาพนี้ การสร้างองค์ประกอบภาพที่สมดุลโดยใช้เลนส์ซูมจะทำได้สะดวกกว่าหากเทียบกับเลนส์เดี่ยว


EOS R5/ FL: เทียบเท่า 800 มม. (โหมดครอปตัด 1.6 เท่า)/ โหมด Flexible-priority AE (f/8, 1/125 วินาที, EV ±0)/ ISO 2,500/ WB: อัตโนมัติ

นกกระเต็นแดงตัวนี้ดูไม่ค่อยโดดเด่นนักในป่าที่มืดทึบ ผมไม่มีเวลาใส่ท่อต่อเลนส์ จึงต้องใช้ฟังก์ชั่นครอปตัด 1.6 เท่า ของกล้อง EOS R5 วิธีนี้ช่วยดึงเอานกสีแดงออกมาจาก “การพรางตัว” โดยไม่ตั้งใจของมัน และสร้างความโดดเด่นตัดกับแบ็คกราวด์สีเขียว

 

คุณสมบัติสำคัญข้อที่ 1: รองรับการถ่ายภาพแบบไม่ใช้ขาตั้งกล้อง ด้วยระบบ IS สูงสุด 6 สต็อป

คุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของเลนส์ RF100-500mm f/4.5-7.1L IS USM อาจเป็นระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบออพติคอล (IS แบบออพติคอล) ซึ่งช่วยลดการสั่นของกล้องได้ด้วยตัวเองเทียบเท่าความเร็วชัตเตอร์สูงสุด 5 สต็อป (อ่านเพิ่มเติมได้ที่: เราจะกำหนดสต็อปของระบบป้องกันภาพสั่นไหวได้อย่างไร) เมื่อใช้ร่วมกับกล้อง EOS R5 หรือ EOS R6 ระบบ IS แบบออพติคอลและ IS ในบอดี้กล้องจะทำงานร่วมกัน (IS แบบประสานการควบคุม) เพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์เทียบเท่าความเร็วชัตเตอร์สูงสุด 6 สต็อป เรียกได้ว่าไม่ต้องมีคำบรรยายใดๆ นอกจาก “น่าทึ่ง”

การป้องกันปัญหากล้องสั่นเป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายภาพด้วยทางยาวโฟกัสซูเปอร์เทเลโฟโต้ เลนส์รุ่นนี้มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวเทียบเท่าความเร็วชัตเตอร์สูงสุด 6 สต็อปเมื่อใช้งานร่วมกับกล้อง EOS R5 หรือ EOS R6 ซึ่งสร้างความแตกต่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องในสภาวะแสงน้อย นับเป็นความรู้สึกอันน่าอัศจรรย์ที่ได้มองผ่านช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EVF) ที่ระยะ 500 มม. และเห็นภาพที่นิ่งและคมชัดในช่องมองภาพ!

 

คุณสมบัติสำคัญข้อที่ 2: น้ำหนักเบา กะทัดรัด และมีความสมดุลที่ดีเยี่ยมด้วยกล้อง EOS R5 และ EOS R6

เลนส์รุ่นนี้มีความสมดุลมากเมื่อติดตั้งกับตัวกล้อง EOS R5 และ EOS R6 และด้วยระบบป้องกันภาพสั่นไหว 6 สต็อปในตัวจึงเพิ่มอิสระอย่างมากในการถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง

ผมพบว่าเลนส์ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM มีน้ำหนักค่อนข้างเบา ทว่าถึงแม้จะมีทางยาวโฟกัสเพิ่มขึ้น 100 มม. เลนส์ RF100-500mm f/4.5-7.1L IS USM ก็ยังเบากว่าถึง 200 กรัม คุณไม่จำเป็นต้องใช้เมาท์อะแดปเตอร์เพื่อติดตั้งเลนส์กับกล้องในระบบ EOS R จึงช่วยลดน้ำหนักอุปกรณ์ทั้งหมดได้มากขึ้นอีก เรียกได้ว่าสร้างความแตกต่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถ่ายภาพเป็นเวลานานๆ โดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง

 

EOS R5/ FL: 500 มม./ โหมด Flexible-priority AE (f/7.1, 1/4,000 วินาที, EV ±0)/ ISO 2,000/ WB: อัตโนมัติ

นกนางแอ่นน้อยตัวนี้กำลังบินหาอาหารรอบทุ่งนาท่ามกลางสายฝน การถ่ายฉากเช่นนี้โดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องมักทำได้ยาก แต่การถ่ายภาพนี้ทำได้ค่อนข้างง่ายเพราะเลนส์ RF100-500mm f/4.5-7.1L IS USM นั้นเบากว่าและใช้งานได้ง่ายกว่า


โฟกัสอัตโนมัติ: มีการปรับปรุงมากกว่าที่คาดไว้

ความเร็วและความแม่นยำในการโฟกัสอัตโนมัติได้รับการปรับปรุงมากกว่าที่ผมคาดไว้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่มืด โฟกัสอัตโนมัติจะล็อคที่ตัวแบบได้ไวมากจนคุณอาจแทบได้ยินเสียงการจับโฟกัส (แม้ว่าความจริงแล้ว การโฟกัสนั้นเงียบมาก)

EOS R5/ FL: เทียบเท่า 1,000 มม. (เมื่อติดตั้ง Extender RF 2x)/โหมด Flexible-priority AE (f/14, 1/2,000 วินาที, EV ±0)/ ISO 2,500/ WB: อัตโนมัติ

ภาพนกยางควายที่บินตรงมาทางผม ถ่ายที่ระยะ 1,000 มม. และใช้ท่อต่อเลนส์ Extender RF 2x ไม่เพียงแต่ได้ AF ที่ถูกต้องแม่นยำเท่านั้น คุณภาพของภาพก็ไร้ที่ติเช่นกัน

 

คุณสมบัติสำคัญข้อที่ 3: รองรับการใช้งานกับท่อต่อเลนส์

 

Extender RF 1.4x 

- ขยายทางยาวโฟกัสเป็น 420-700 มม.
- f/8-10

Extender RF 2x

- ขยายทางยาวโฟกัสเป็น 600-1,000 มม.
- f/11-14

ท่อต่อเลนส์ RF เป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้ได้มุมมองที่ใกล้เป็นพิเศษของทางยาวโฟกัสที่ยาวถึง 1,000 มม. (สูงสุด 1,600 มม. หากคุณใช้โหมดครอปตัด 1.6 เท่าร่วมด้วย) ผมไม่พบว่าคุณภาพของภาพด้อยลงแต่อย่างใดเมื่อใช้ท่อต่อเลนส์ RF และรู้สึกพอใจที่ได้เห็นภาพไร้ที่ติเช่นนี้ โปรดทราบว่าสามารถติดตั้งท่อต่อเลนส์ได้ก็ต่อเมื่อเลนส์มีทางยาวโฟกัสอย่างน้อย 300 มม. เท่านั้น


EOS R5/ FL: เทียบเท่า 1,120 มม. (เมื่อติดตั้ง Extender RF 1.4x + โหมดครอปตัด 1.6 เท่า) / โหมด Flexible-priority AE (f/10, 1/30 วินาที, EV ±0)/ ISO 32,000/ WB: อัตโนมัติ

นกเค้ากู่กับอาหารมื้อเย็นในจงอยปากของมัน ผมใช้ Extender RF 1.4x แต่ก็ตัดสินใจถ่ายภาพระยะใกล้ขึ้นและใช้โหมดครอปตัด 1.6 เท่าร่วมด้วย ผลที่ได้คือมุมรับภาพเทียบเท่า 1,120 มม. ซึ่งจับภาพเหยื่อของนกเค้าได้อย่างชัดเจนและสร้างความประทับใจยิ่งขึ้น แม้จะใช้ความไวแสง ISO 32,000 คุณภาพของภาพก็ยังดูดี ซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพอันดีเยี่ยมด้านความไวแสง ISO สูงของกล้อง EOS R5

 

ความเห็นส่งท้าย

น้ำหนักเบา กะทัดรัด และมีความสามารถรอบด้าน แม้แต่ผู้ใช้งานเลนส์เดี่ยวซูเปอร์เทเลโฟโต้ความไวแสงสูงซึ่งมีราคากว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐก็อาจอยากซื้อ RF100-500mm f/4.5-7.1L IS USM ไว้เป็นเลนส์สำรอง ไม่เพียงมีประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพนกเท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับการถ่ายตัวแบบชนิดอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงการถ่ายภาพทิวทัศน์ คุณอาจจะพบว่าเลนส์รุ่นนี้ทำหน้าที่ได้ไม่ต่างจากเลนส์อื่นๆ อีกไม่น้อย! แน่นอนว่านี่คือเลนส์รุ่นหนึ่งที่ผมจะแนะนำ


ติดตั้งกับกล้อง EOS R5

 

เลนส์ฮูด ET-83F (มีให้)

 

โครงสร้างเลนส์

A: ระบบป้องกันภาพสั่นไหว (IS)
B: ASC
C: ชิ้นเลนส์ Super UD
D: ชิ้นเลนส์ UD

 

ข้อมูลจำเพาะ
โครงสร้างเลนส์: 20 ชิ้นเลนส์ใน 14 กลุ่ม
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 0.9 ม. (ที่ 100 มม.)
รูรับแสงต่ำสุด: f/32–51
กำลังขยายสูงสุด: 0.33 เท่า (ที่ 500 มม.)
จำนวนม่านรูรับแสง: 9 (ทรงกลม)
เส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์: 77 มม.
ขนาด: φ93.8 x 207.6 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 1,370 ก. (ไม่รวมเมาท์สำหรับขาตั้งกล้อง)

 

ชมภาพฉากบางส่วนที่ถ่ายด้วยเลนส์ซูมซูเปอร์เทเลโฟโต้และวิธีถ่ายภาพดังกล่าวได้ที่:
ภาพทิวทัศน์ซูเปอร์เทเลโฟโต้: “ถ้ำ” ลึกลับในช่องเขาที่ถูกปกคลุมไปด้วยตะไคร่น้ำ
ฉันถ่ายภาพอย่างไรให้เฉียบ: นกสีเขียวตัวน้อยท่ามกลางโบเก้สีชมพูสวยงาม
วิธีถ่ายภาพไฟประดับตกแต่งเพื่อสร้างบรรยากาศชวนฝัน
ทิวทัศน์ฤดูหนาวแสนมหัศจรรย์: เมื่อเกล็ดหิมะระยิบระยับราวอัญมณีกลายเป็นเสาแสงอาทิตย์

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Gaku Tozuka

เกิดเมื่อปี 1966 ที่จังหวัดไอชิ Tozuka เริ่มสนใจในการถ่ายภาพขณะเรียนอยู่ไฮสคูลปีที่ 3 และหัดถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติรวมทั้งชีวิตสัตว์ป่ามานับแต่นั้น เมื่ออายุ 20 ปี เขากลายมาเป็นผู้ที่สนใจการถ่ายภาพนกธรรมชาติอย่างจริงจัง หลังจากถ่ายภาพติดนกหัวขวานโดยบังเอิญ ผลงานของเขาจำนวนมากมายหลายชิ้นได้รับการเผยแพร่ในสื่อต่างๆ เช่น นิตยสาร วารสาร หนังสือ ปฏิทิน และโฆษณาโทรทัศน์

http://happybirdsday.jp/

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา